ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

มีบทความเดิม ข้อเสนอในการปกป้องสมบัติชาติ มรดกแห่งประวัติศาสตร์ ที่เคยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



มีบทความเดิม ข้อเสนอในการปกป้องสมบัติชาติมรดกแห่งประวัติศาสตร์ ที่เคยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บทความเมื่อวันวาน ของ ดร.วสุโปษยะนันทน์ เกี่ยวกับ อาคารศาลยุติธรรม และศาลฎีกาที่กำลังจะถูกรื้อแล้วสร้างใหม่ ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ (ในขณะนั้น จากบล็อกดร.วสุ เมื่อเดือน กันยายน 2552) ....(แต่ปัจจุบันขณะที่ผมเขียนบล็อกเผยแพร่นี้ เป็น เดือนธันวาคม 2555 ซึ่งบางส่วนของอาคารศาลได้มีการรื้อถอนไปบ้างแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการคัดค้านอยู่ในขณะนี้ ....ผู้เผยแพร่ “ชมวิวทิวทัศน์” จากบล็อก OKnation)

ถ้าอ่านบท ความด้านล่างจนจบจะเห็นได้ว่า หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และกังวล เรื่องการรื้อถอน กลุ่มอาคารฎีกามาเป็นเวลานานแล้ว และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

จะมีภาพอัพเดท สถานการณ์ปัจจุบันแนบท้ายครับ

เข้าบทความกันครับ

บทความโดย ดร.วสุ โปษยะนันทน์ :: สถาปนิกระดับชำนาญการพิเศษ (๘ วช.เดิม) กลุ่มสถาปัตยกรรม สำนักสถาปัตยกรรม




ภาพจากแฟ้มบนบล็อก เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาพ.ศ. 2552

อาคารศาลยุติธรรม และศาลฎีกา ที่กำลังจะถูกรื้อแล้วสร้างใหม่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์

แต่ปัจจุบัน ธันวาคม ๒๕๕๕ ได้รื้อถอน บางส่วนของอาคารไปแล้ว



ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ มีการประชุมกัน เรื่องอาคารศาลยุติธรรม และอาคารศาลฎีกา

ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นวันนัดหมายที่นายเกรียงไกรสัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากรได้อนุญาตให้ผู้แทนจากสามสมาคมเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ ซึ่งประกอบด้วย นางจุฬาสุดบรรทัด นายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) นายเดโชสวนานนท์ นายกสมาคมอิโคโมสไทย และ ดร.วันชัย มงคลประดิษฐประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยนางภารนี สวัสดิรักษ์ จากสมาคมอิโคโมสไทย นายวสุ โปษยะนันทน์ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ ฯ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และนางปองขวัญ สุขวัฒนาลาซูส ได้เข้าพบตามที่สมาคมฯ ของเราเป็นผู้ทำจดหมายไปร้องขอด้วยตั้งใจจะหารือกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของมรดกวัฒนธรรมในกรณีต่างๆที่ทั้งสามสมาคมได้มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง



ภาพจากแฟ้มบนบล็อก เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาพ.ศ. 2552

อาคารศาลยุติธรรม และศาลฎีกา ที่กำลังจะถูกรื้อแล้วสร้างใหม่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์

แต่ปัจจุบัน ธันวาคม ๒๕๕๕ ได้รื้อถอน บางส่วนของอาคารไปแล้ว

โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่อาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกาซึ่งสมาคมฯได้ประกาศไว้ทั้งการเป็นอาคารควรค่าแห่งการอนุรักษ์(Heritage @ Risk) และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปีล่าสุดด้วยเป้าหมายที่จะแสดงให้สาธารณชนและผู้ที่มีความรับผิดชอบได้เห็นว่าอาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้เป็นสถาปัตยกรรมที่คุณค่าความสำคัญควรที่จะเก็บรักษาไว้โดยนัยที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่จะรื้อกลุ่มอาคารดังกล่าวลงเพื่อสร้างใหม่ทั้งหมดด้วยเพียงเหตุผลที่ว่า เป็นอาคารที่ไม่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยไม่เหมาะกับพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ แล้วสร้างอาคารใหม่ขนาดใหญ่เต็มพื้นที่โดยนำเอาองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี(อย่างวัดหรือวัง)ขึ้นแทนที่

เนื่องจากกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ มีความเห็นว่าอาคารศาลยุติธรรมและศาลฎีกานี้มีคุณค่าไม่เฉพาะแต่ในความเป็นสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางการศาล แต่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมModern Architecture ที่แสดงถึงการพัฒนาอย่างตะวันตกของอาคารหลังแรกและแบบโมเดิร์นที่ผสมผสานลักษณะไทยซึ่งต้องการแสดงตัวตนของเราควบคู่ไปกับความทันสมัยของอาคารที่สร้างถัดมาได้ทำให้อาคารแห่งนี้เป็นตัวแทนของรูปแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีด้วยความที่เป็นสถาบันที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศแม้เบื้องต้นจะยังไม่ชัดเจนว่าเข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่แต่การตัดสินใจที่จะรื้อลงทั้งหมดถือเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญได้แก่การที่เป็นโครงการก่อสร้างในบริเวณใจกลางพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นสนามหลวง ศาลหลักเมือง หรือคลองคูเมืองเดิมซึ่งล้วนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วและที่สำคัญที่สุดคืออยู่ใกล้กับวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังโครงการที่มิได้มีการหารือกับกรมศิลปากรในเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโบราณสถานและมีการยกเว้นไม่ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ควบคุมความสูงของอาคารที่อาจไปบดบังมรดกวัฒนธรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยได้จึงเป็นเรื่องที่น่าข้องใจอย่างยิ่ง

ในวันนี้กรมศิลปากรจึงเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ข้อข้องใจนี้เกี่ยวกับคุณค่าและความเป็นโบราณสถานของอาคารหลังจากที่ทั้งสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมและสมาคมอิโคโมสไทยได้จัดการเสวนาและมีข้อสรุปที่ระบุถึงคุณค่าที่ต้องรักษาไว้ของอาคารนี้อย่างชัดเจนโดยได้ทำหนังสือแจ้งต่อประธานศาลฎีกาไปแล้วซึ่งจากการพบปะกันในวันนี้ก็ได้รับทราบว่า กรมศิลปากรได้พิจารณาแล้วเห็นว่าอาคารศาลยุติธรรมมีคุณค่า และลักษณะครบถ้วนตามคำนิยามของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯจึงจะได้แจ้งไปยังประธานศาลฎีกาว่า อาคารนี้เป็นโบราณสถานของชาติ ที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนถือว่าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การจะดำเนินการใดใดต้องแจ้งต่อกรมศิลปากรนิติกรของกรมศิลปากรยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่อนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมของตนประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิ์ที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีนี้ได้

ความจริงสมาคมสถาปนิกสยามฯก็ได้มีความพยายามตั้งคำถามนี้กับสังคมมาตั้งแต่การจัดเสวนาของกรรมาธิการอนุรักษ์ในงานสถาปนิก๕๑ สืบเนื่องจากโครงการประกวดจัดทำข้อมูลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์และมีกิจกรรมที่แสดงถึงความเห็นคัดค้านการรื้ออาคารศาลฎีกาและก่อสร้างใหม่มาโดยตลอดแต่กระนั้นก็ยังมีคำถามจากกรมศิลปากรย้อนกลับมาบ้างว่าในเมื่อสมาคมฯไม่เห็นด้วยกับโครงการและสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารใหม่ก็เป็นสมาชิกของสมาคมฯเหตุใดจึงไม่มีการดำเนินการภายในสมาคมฯเองให้ตรงจุดเหตุใดจึงต้องอ้างว่าเพราะเกรงใจจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งให้บริการออกแบบในขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรท่านนี้ก็เป็นสถาปนิกที่จบการศึกษาจากจุฬาฯจึงไม่น่าที่จะนำเรื่องของสถาบันมาเกี่ยวข้องกับความถูกผิด

ภาพอัพเดท สถานการณ์ปัจจุบันครับ ....ธันวาคม 2555




จดหมายเปิดผนึก ตามลิ้งก์

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1



กรมศิลป์ ฝ่ากระแส เสือกระดาษ ไร้อำนาจ “เดินหน้าค้านทุบศาลฎีกา” จาก Thairathonline

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-1

หมายเหตุ :: เนื่องจากลิ้งก์อ้างอิง บนบล็อกที่ ดร.วสุได้เขียนบทความไว้ ไม่สามารถสร้างลิ้งก์มาบนบล็อกนี้ได้จึงขออภัยด้วยครับอย่างไรก็แล้วแต่ ผมจะนำลิ้งก์มาแปะใน Facebook ของผมเพื่อท่านจะได้เข้าถึงข้อมูลตรงที่อ้างอิงได้ครับ.....

หมายเหตุ : บทความย้อนหลัง


"เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา(โดยทันที)" โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร

//www.facebook.com/photo.php?fbid=254402251355830&set=t.100004878248310&type=3&theater

องค์กรใหญ่ มีความเห็นไม่ตรงกัน ขาดคนกลางมาไกล่เกลี่ย ...การอนุรักษ์มรดกชาติมีปัญหา

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-2

ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ (เฮือกสุดท้าย) คงจะหายสาบสูญถ้าเราไม่ช่วยกัน (ส่งเสียง)

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1

"คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล" ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/23/entry-1

"ข่าวเดียวกัน ออกมาพร้อมๆ กันจาก 2 หน่วยงานแต่สับสน"

//www.facebook.com/photo.php?fbid=256110064518382&set=t.100004878248310&type=3&theater

กรมศิลป์ ฝ่ากระแส เสือกระดาษ ไร้อำนาจ “เดินหน้าค้านทุบศาลฎีกา” จาก Thairathonline

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-1



ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเราเข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2555    
Last Update : 27 ธันวาคม 2555 21:15:41 น.
Counter : 2112 Pageviews.  

อีโคโมสต์ไทย จัดเสวนา [หยุด]รื้อ โบราณสถาน ศาลฎีกา [...] วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 56

ท่านที่ยังเพิ่งทราบข่าวเกี่ยวกับประเด็นการรื้อถอนบางส่วนของกลุ่มอาคารศาลฎีกา จนเกิดประเด็นความเห็นไม่ตรงกันของหน่วยงานสำคัญเชิญอ่านได้ตามลิ้งก์ต่างๆ แนบท้าย ข่าวกิจกรรมเสวนานี้ครับ


วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ณ ห้องดำรงราชานุภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

การเสวนาวิชาการของสมาคมอิโคโมสไทยองค์การด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในหัวข้อ

[หยุด]รื้อ โบราณสถาน ศาลฎีกา [...]

กำหนดการ

๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน

๑๓.๓๐ น. ชมสารคดีสร้างสรรค์Light of the Valley เรื่องราวเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศเนปาล ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกฝ่าย

๑๔.๐๐ น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

๑๔.๑๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๔.๓๐ น. เริ่มการเสวนาวิทยากรประกอบด้วย

นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร

นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม

นางภารนี สวัสดิรักษ์ สมาคมนักผังเมืองไทย

นางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส สมาคมสถาปนิกสยามฯ

นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร

ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วสุโปษยะนันทน์

๑๖.๐๐ น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

๑๖.๓๐ น. สรุปการเสวนา

อ้างอิงลิ้งก์ //www.facebook.com/photo.php?fbid=354224621342924&set=a.178986842200037.35415.165356676896387&type=1&theater


หมายเหตุ : บทความย้อนหลัง

"เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา(โดยทันที)" โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร

//www.facebook.com/photo.php?fbid=254402251355830&set=t.100004878248310&type=3&theater


องค์กรใหญ่ มีความเห็นไม่ตรงกัน ขาดคนกลางมาไกล่เกลี่ย...การอนุรักษ์มรดกชาติ มีปัญหา

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-2


ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ (เฮือกสุดท้าย) คงจะหายสาบสูญถ้าเราไม่ช่วยกัน (ส่งเสียง)

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1


"คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล" ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/23/entry-1


"ข่าวเดียวกัน ออกมาพร้อมๆ กันจาก 2 หน่วยงาน แต่สับสน"

//www.facebook.com/photo.php?fbid=256110064518382&set=t.100004878248310&type=3&theater


กรมศิลป์ ฝ่ากระแส เสือกระดาษ ไร้อำนาจ “เดินหน้า ค้านทุบศาลฎีกา”จาก Thairathonline

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-1


ความเป็นห่วงเรื่องทัศนียภาพเกาะรัตนโกสินทร์เนื่องจากโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-2

ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเราเข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai






 

Create Date : 26 ธันวาคม 2555    
Last Update : 26 ธันวาคม 2555 19:36:07 น.
Counter : 1705 Pageviews.  

องค์กรใหญ่ มีความเห็นไม่ตรงกัน ขาดคนกลางมาไกล่เกลี่ย ...การอนุรักษ์มรดกชาติ มีปัญหา

อาการน่าเป็นห่วงครับ...

หลายฝ่ายความเห็นไม่ตรงกัน ยังไปคนละทิศละทางโดยเฉพาะองค์กรหลักๆ

อัพเดทข่าว ก็ยังไม่มีคนกลางมาไกล่เกลี่ย นับเป็นสัญญาณไม่ดีกับการอนุรักษ์มรดกอันทรงคุณค่าของเราครับ ถ้าคุยกันเข้าใจ หันหน้าเข้าหากันก็น่าจะดีน่ะครับทุกท่าน...



สัญญาณไม่ดีครับ ยังไปคนละทิศละทาง ระบบเตือนภัยเรื่องการร่วมมือกัน อนุรักษ์ มีปัญหาอย่างแน่นอนครับ

อ้างอิง เนื้อหาด้านล่าง ผมคัดลอกจาก นสพ. คมชัดลึก ฉบับวันที่24 ธันวาคม 2555

ประธานศาลฎีกา ถกรับมือวันนี้หลังกรมศิลป์ขู่แจ้งความรื้อถอนโบราณสถาน โต้ไม่มีสิทธิ์ชีคุกชี้ตะราง ยุแจ้งความจะได้ผิดฐานแจ้งเท็จ อธิบดีกรมศิลป์ รอคำตอบขอชะลอรื้อตึก

ความคืบหน้ากรณีเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และกรมศิลปากรรวมตัวคัดค้าน หลังจากศาลฎีกา ดำเนินการรื้อถอนอาคารเก่า 2 หลังโดยหลังแรกเป็นอาคารศาลยุติธรรมตั้งอยู่บริเวณหลังพระราชานุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ส่วนหลังที่ 2 เป็นอาคารศาลอาญากรุงเทพใต้อยู่ติดกับคลองหลอด ซึ่งอาคารทั้งสอง ถือว่าเป็นโบราณสถานมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการพัฒนากฎหมายกระทั่งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชุปถัมภ์ประกาศมอบรางวัลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ เมื่อปี 2550 และรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นปี 2552

ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมรายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากกรมศิลปากร ออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือแจ้งไปถึงศาลฎีกาหลายครั้งว่าอาคารศาลฎีกาเป็นโบราณสถาน ห้ามรื้อถอน ทั้งนี้หากทางศาลยังเพิกเฉย ดึงดันที่จะรื้อถอนต่อไป อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. โบราณสถานฯ และมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 7ปี ทำให้ทางศาลไม่พอใจอย่างมากเพราะเห็นว่าเป็นการข่มขู่ประธานศาลฎีกา โดยจะเคลื่อนไหวเรื่องนี้ทันที ในวันที่ 24ธันวาคม เวลา 9.00 น.เริ่มด้วยการประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ซึ่งมีนายไพโรจน์ วายุภาพประธานศาลฎีกา เป็นประธาน และเนื้อหาของการประชุมจะหารือถึงท่าทีของกรมศิลปากรเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

แหล่งข่าวจากศาลยุติธรรม ระบุว่า ทางกรมศิลปากรไม่ใช่เป็นผู้ชี้คุกชี้ตะราง และเรื่องนี้มีผู้พิพากษาพูดคุยกันว่าอยากจะให้กรมศิลปากร ไปแจ้งความดำเนินคดีกับศาล จะได้มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

ด้านนายนิกร ทัสสโร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลช่วยงานประธานศาลฎีกาและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการแก้ไขปัญหา และข้อขัดข้องการสร้างอาคารใหม่ศาลฎีกากล่าวถึงกรณีกรมศิลปากร ระบุว่าศาลได้ทุบทิ้งอาคารพัฒนากฎหมายว่า ไม่เป็นความจริงเพราะอาคารพัฒนากฎหมาย มีการรื้อถอนตั้งแต่ประมาณปี 2485 และอาคารพัฒนากฎหมายที่ถูกรื้อถอนไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกับกลุ่มอาคารศาลฎีกาในปัจจุบัน แต่อยู่ที่ท่าช้าง วังหน้าซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงธรรมการเดิม โดยเมื่อกระทรวงธรรมการย้ายออกไปทางศาลจึงเข้าไปใช้ในช่วงปี 2454-2484 โดยอาคารพัฒนากฎหมายแสดงให้ถึงเอกราชทางศาลจะมี 3 หลัง เป็นที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรมหนึ่งหลังศาลฎีกาหนึ่งหลัง และเป็นที่ยกร่างกฎหมายอีกหนึ่งหลังต่อมาเมื่ออาคารศาลฎีกาหลังพระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ฯ สร้างเสร็จในปี 2484ศาลฎีกาย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบัน จากนั้น กรมศิลปากรจึงเข้าไปรื้ออาคารพัฒนากฎหมาย แล้วสร้างเป็นโรงละครแห่งชาติจะมาบอกว่าทางศาลเป็นผู้รื้อได้อย่างไรในเมื่อกรมศิลปากรเป็นผู้รื้ออาคารพัฒนากฎหมายเอง

นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม กล่าวว่าส่วนตัวยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งกรมศิลปากร และยังไม่เคยเห็นหนังสือที่ขอให้ชะลอการรื้อถอนอาคารขณะที่การดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารศาลฎีกา ยังต้องมีต่อไป ยืนยันว่าศาลไม่ได้ดำเนินการใดๆ โดยพลการ เพราะก่อนจะสรุปแผนโครงการก่อสร้างได้คุยกันชัดเจนแล้ว โดยในช่วงปี 2552-2553 ได้พูดคุยกันต่อหน้าของผู้ที่เกี่ยวข้องและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมขณะนั้น คือ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติเรียกว่าทุกอย่างคุยกันไปหมดแล้ว โครงการก็เดินหน้าไปแล้ว ถ้าจะมาขอให้ชะลอตอนนี้คงต้องพูดคุยกันให้ชัดถึงสิ่งที่เคยตกลงกันจนได้ข้อยุติไปแล้ว

นายวิรัชกล่าวต่อว่า เมื่อมารับตำแหน่งเลขาธิการศาลยุติธรรมยังเคยถูกถาม และต่อว่าจากผู้พิพากษาส่วนใหญ่ว่าเมื่อใดจะดำเนินการก่อสร้างตามโครงการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในอดีตและคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ตั้งมาเคยเห็นชอบ เนื่องจากผู้พิพากษาที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากสภาพอาคารที่ทรุดโทรม อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารใหม่ตามแบบความเห็นชอบที่กระทำในรูปคณะกรรมการ ต้องเดินหน้าต่อไปขณะที่การก่อสร้างอาคาร ยังคงความมุ่งหมายศาลฎีกาในการทำหน้าที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

ขณะที่แหล่งข่าวศาลฎีกา กล่าวว่า ที่ผ่านมา ครม.อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างมาให้แล้ว 2 รอบ ประมาณ 800 ล้านบาทจากงบก่อสร้างทั้งหมด 2,000 กว่าล้านบาททำให้ต้องเดินหน้าตามโครงการต่อไป ซึ่งอดีตที่ผ่านมา ครม.มีหนังสือให้หน่วยราชการเกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือกับศาลในโครงการนี้ และการตกลงก่อสร้างอาคารใหม่กระทั่งได้ข้อยุติว่า จะเก็บอาคารเก่า 1 หลังไว้คือหลังพระราชานุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งได้คุยกันรู้เรื่องแล้วอีกทั้งอดีตอธิบดีกรมศิลปากรรับทราบ ขณะที่เอกสารต่างๆที่สรุปเกี่ยวกับข้อตกลงก็มีอยู่ ถ้าจะคุยอะไรกัน ต้องย้อนไปดูเอกสารด้วยทั้งก่อนปี 2552 และในปี 2552 รวมทั้งปี2554

วันเดียวกัน นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวยืนยันอีกครั้งในเรื่องคำสั่งห้ามรื้อถอนอาคารศาลว่า ก่อนหน้านี้ได้ลงนามส่งหนังสือ นำเรียนไปยังประธานศาลฏีกา และเลขาธิการศาลยุติธรรม เกี่ยวกับการชะลอการรื้อถอนอาคารเก่าทั้ง2 หลังแล้วซึ่งกรมศิลปากรอยู่ระหว่างรอคำตอบจากศาลฎีกาในสัปดาห์นี้ว่าจะมีความเห็นเป็นเช่นไร เพื่อจะดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

นายสหวัฒน์ กล่าวว่า เมื่อเกิดการคัดค้านขึ้นจากทางประชาชนและกรมศิลปากร ส่วนตัวเห็นว่า ศาลฎีกาควรชะลอการรื้อถอนหรือ กระทำใดๆ ไปก่อนเพราะจะเป็นการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากเมื่อปี 2552 ทางกรมศิลปากรทำหนังสือแจ้งไปยังศาลฏีกาแล้วว่า ทั้ง 2 อาคารถือเป็นโบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์โดยอาคารศาลเป็นโบราณสถานอย่างชัดเจน เทียบเท่าโบราณสถานที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียน ต้องได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม2535) เพราะฉะนั้นการรื้อ การทำลาย ตกแต่ง ต่อเติมต้องขออนุญาตกรมศิลปากรหากใครฝ่าฝืนกรณีโบราณสถานที่ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีโทษสูงสุด 10ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท ทั้งนี้กรณีโบราณสถานบางแห่ง ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเพราะกระบวนการตรวจสอบต้องถูกต้องชัดเจน เนื่องจากภายใน 1 ปี กรมศิลปากร สามารถประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานได้เพียง 100 กว่าแห่งเท่านั้น ขณะที่มีโบราณสถานที่อยู่ในบัญชีอีก 8,000 แห่ง ทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินการ หรือแจ้งผู้ครอบครองให้รับทราบและยินยอมเข้าสู่กระบวนการการประกาศเป็นโบราณสถาน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมศิลปากร ได้รับการแจ้งข้อมูลและร้องเรียนมาจาก3 ฝ่าย คือ 1.จากภาคประชาชนในโลกโซเชียลมีเดีย 2. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำหนังสือแจ้งมายังกรมศิลปากร ว่า มีการรื้อถอนอาคารศาลฎีกาใกล้กับพื้นที่สนามหลวง พร้อมกับรูปถ่ายการรื้อถอน ทั้งที่เป็นอาคารโบราณสถาน และ 3. สมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อน โดยนายศรีสุวรรณ จรรยาได้ออกแถลงการณ์เรื่องคัดค้านการรื้อทุบตึกศาลฎีกาซึ่งทุกฝ่ายต่างเรียกร้องให้กรมศิลปากร ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแต่ยังไม่มีหน่วยงานใด หรือบุคคลใดขอเข้ามา เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยหรือแจ้งความดำเนินคดี เพราะที่ผ่านมา หากมีกรณีละเมิด พ.ร.บ. โบราณสถานฯจะเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร ต้องเข้าแจ้งความร้องทุกข์เองเท่านั้น

“ในกรณีศาลฎีกานั้น หากที่สุดแล้วยังฝ่าฝืนกรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจะทำหน้าที่เข้ายื่นแจ้งความกฎหมาย มิเช่นนั้นทางกรมศิลปากรจะกระทำผิดกฎหมายเพราะละเลยหน้าที่ แต่ขณะนี้ยืนยันว่า ยังไม่มีการแจ้งความคดีใดๆเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว อยู่ระหว่างรอคำตอบจากศาลฏีกาเท่านั้น” อธิบดีกรมศิลปากรกล่าว

หมายเหตุ : บทความย้อนหลัง

"เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา(โดยทันที)" โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร

//www.facebook.com/photo.php?fbid=254402251355830&set=t.100004878248310&type=3&theater

ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ (เฮือกสุดท้าย) คงจะหายสาบสูญถ้าเราไม่ช่วยกัน (ส่งเสียง)

//www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1

"คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล" ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/23/entry-1

"ข่าวเดียวกัน ออกมาพร้อมๆ กันจาก 2 หน่วยงานแต่สับสน"

//www.facebook.com/photo.php?fbid=256110064518382&set=t.100004878248310&type=3&theater




 

Create Date : 24 ธันวาคม 2555    
Last Update : 24 ธันวาคม 2555 21:34:54 น.
Counter : 1589 Pageviews.  

คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล

อ้างอิงหัวข้อข่าวออนไลน์ Bangkokbiznews ลิ้งก์ //bit.ly/XXLXah

คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล





จากกรณีเครือข่ายโซเชียลมีเดียและกรมศิลปากร ดำเนินการคัดค้านศาลฎีกาดำเนินการรื้อถอนอาคารเก่า 2 หลังซึ่งหลังแรกเป็นอาคารศาลยุติธรรม ตั้งอยู่บริเวณหลังอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังที่ 2 เป็นศาลอาญากรุงเทพใต้ อยู่ติดกับคลองหลอด ซึ่งทั้ง 2 อาคารถือว่าเป็นโบราณสถานมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการพัฒนากฎหมาย กระทั่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศมอบรางวัลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ เมื่อปี 2550 และรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปี 2552นั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.

นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่า เรื่องการรื้อถอนอาคารเก่าของศาลฎีกาทั้ง 2 หลัง ทางศาลฎีกาได้มาร่วมประชุมกับกรมศิลปากร และคณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์หลายครั้งโดยทางคณะกรรมการฯและกรมศิลปากรได้ให้เหตุผลว่าเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่สมควรอนุรักษ์เอาไว้ หากรื้อถอนในเกาะรัตนโกสินทร์ก็จะไม่เหลืออาคารสำคัญนี้ และไม่มีอีกแล้วในประเทศแห่งนี้ส่งผลให้ทางศาลฎีกาชะลอโครงการนี้มานานกว่า 5 ปีแต่ตอนนี้ทางศาลฎีกาไม่ฟัง และดำเนินการรื้อถอนอาคารทั้ง 2หลัง โดยยึดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2531ให้ดำเนินการรื้อถอนอาคารทั้ง 2หลังได้แต่ต้องส่งแบบไปยังกรมศิลปากร ขณะที่ทางศาลฎีกาก็ไม่ได้ส่งแบบการก่อสร้างมาให้กรมศิลปากรพิจารณาแต่อย่างใด

“ตอนนี้ไม่มีใครกล้าทำอะไร เพราะกลัวอำนาจของศาลแม้แต่คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทำหน้าที่ทัดทาน ก็ยังไม่กล้าซึ่งสมควรที่จะลาออกทั้งคณะและผมเองก็จะลาออกหากยังรักษามรดกของกรุงรัตนโกสินทร์ไว้ไม่ได้ตอนนี้ในเกาะรัตนโกสินทร์แทบจะไม่เหลืออาคารเก่าแล้ว นอกจากพระบรมมหาราชวังกระทรวงกลาโหม กระทรวงพาณิชย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือวังหน้าวังสราญรมย์ กรมการรักษาดินแดน ผมมองว่า มติคณะรัฐมนตรีที่นานกว่า 20 ปีไม่ควรจะนำมาใช้ ให้มองความสำคัญของประวัติศาสตร์ไม่งั้นคณะรัฐมนตรีไม่อยากเก็บอาคารเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์เอาไว้มีคำสั่งรื้อก็ต้องรื้อออกทั้งหมด”คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์กล่าว

นายสุวิชญ์ กล่าวอีกว่า การทุบรื้อถอนอาคารทั้ง 2 หลังนี้ตนได้รับทราบเหตุผลมาจากศาลฎีกาอีกข้อหนึ่งว่าโครงสร้างของอาคารเก่าเกินไปไม่สามารถดำเนินการบูรณะได้ ซึ่งตนในฐานะที่บูรณะอาคารเก่ามาทั่วประเทศและเคยเป็นอธิบดีกรมศิลปากรขอบอกเลยว่า อาคารเก่าทั้ง 2หลังของศาลฎีกาใหม่กว่าอาคารของกระทรวงกลาโหม ถึง 80 ปีเป็นไปไม่ได้ที่โครงสร้างจะใช้งานไม่ได้ หากทำไม่ได้ตนจะบูรณะให้ดู ตนขอรับรองว่าอาคารยังมีความมั่นคงแข็งแรงดี และทางอีโคโมส สมาคมสถาปนิกสยามฯก็ได้พยายามคัดค้าน แต่ก็ยังไม่เป็นผล ดังนั้น ตนขอเสนอแนะให้กรมศิลปากรแจ้งจับผู้รับเหมา เพื่อชะลอการรื้ออาคาร แต่ว่าจะกล้าหรือไม่ เพราะเป็นศาลอย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากร ภาคประชาชนทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องยอมเสียสมบัติของชาติไป

ด้านนายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่าขณะนี้ตนได้ลงนามส่งหนังสือนำเรียนไปยังประธานศาลฎีกา และเลขาธิการศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการชะลอการรื้อถอนอาคารเก่าทั้ง 2 หลังว่า ทางศาลฎีกาจะมีความเห็นเป็นเช่นไร เพื่อที่จะดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

อีกข่าวหนึ่งทางด้าน Social Media ก็มี จดหมายเปิดผนึก จาก อ. ชาตรีประกิตนนทการ

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร




จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร,และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา

โดย Chatri Prakitnonthakan เมื่อ 21 ธันวาคม 2012 เวลา 15:03 น. ·

เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร

ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบันผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5ข้อดังต่อไปนี้

1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร

กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาดกฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณปัจจุบัน.อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา.แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้นแม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง “ความชอบธรรม” เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุดคือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด.

หากปล่อยให้มีการสร้างจริงกฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่?

โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตรที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้นอยากเรียนว่ามิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้.เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย

2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา

โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้องเพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน.แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่องการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากรและส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น “โบราณสถาน” ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติมทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร

อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมพ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อพ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่าการรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร

ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอจึงมีดังต่อไปนี้

2.1 อธิบดีกรมศิลปากรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร?

2.2 หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้วอยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจากการอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร

2.3 หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคตอธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น “โบราณสถาน”(แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน)ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่?

3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา

ในการชี้แจ้งของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือการเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปและจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง.

แต่จากงานวิจัย “โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา”ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้นหากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคารแม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งานแต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็วและเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด.

อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว

4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่านถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง

ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่าหน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้วและส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือการได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และมีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้นไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ

5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล

โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาลเมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่าอาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้นมิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน)ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียวจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่.ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบันสามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน.

จากเหตุผลที่กล่าวมาอยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร

สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาจะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากลและคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎรเพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน

ด้วยความนับถือ

ชาตรี ประกิตนนทการ

21 ธันวาคม พ.ศ 2555





 

Create Date : 23 ธันวาคม 2555    
Last Update : 23 ธันวาคม 2555 23:23:16 น.
Counter : 2257 Pageviews.  

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมนำชมและกระชากภาพ กับ อ.ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น




เครดิต อ. ThirasakWongcumnan ชมรมพิพิธสยาม (Variety Siam)

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมนำชมและกระชากภาพวัดราชนัดดาวัดเทพธิดา เรือนริมหลอด ชุมชนแม้นศรี วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๐๑๒ งานฟรีพกอุปกรณ์วาดภาพไปด้วย พบกันที่ลานเจษฎาบดินทร์ผ่านฟ้า เวลา ๘.๓๐ น.โดยผมเป็นหัวหน้าทีมนำชมและกระชากเส้นเล่นสี ไปลงทะเบียนที่งานวันนั้นได้เลยครับแฟนๆ

อ้างอิงลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=467649836620115&set=at.283126958405738.82112.100001253096318.100003578161591&type=1&theater






 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2555 10:14:12 น.
Counter : 2867 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.