|
เจ้านายจ๋า....น้องหมาปวดฟัน
ที่มา : All Breeds , It's all about dogs. A dogs lover 'free copy magazine 4th Issue January 2007
ใครไม่ชอบแปรงฟันยกมือขึ้น !!!!
เงียบ....?? มองไปมองมาก็เห็นแต่เจ้าตูบของเรานั่งส่ายหางดิก ๆ แต่พอคว้าแปรงสีฟันขึ้นมาเท่านั้นก็เผ่นแนบไม่เป็นท่า อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าน้องหมาส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นกับการแปรงฟันนั่นเอง แต่สำหรับเจ้านายที่รักความสะอาดทั้งหลายต่างก็งัดสาระพัดกลเม็ดเพื่อหามาเผด็จคราบสกปรกและกลิ่นปากให้กับน้องหมาสุดเลิฟ บางท่านก็สรรหาของขบเคี้ยวทีจะมาช่วยทำความสะอาดฟันมาให้น้องหมาแทะ ซึ่งก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับเจ้านายหลายท่านแล้ว "นั่นยังไม่สะอาดพอ" จึงต้องยอมลงทุนควักกระเป๋าจ่ายค่าอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นแปรงสีฟันหรือยาสีฟันสำหรับน้องหมาทั้งรสเนื้อ รสไก่ นัยว่าจะถูกใจน้องหมาและหันมารักการแปรงฟัน แต่พอจะแปรงเข้าจริง ๆ ร้อยทั้งร้อยก็ต้องเจอกับฤทธิ์เดชของเจ้าสี่ขาจนการแปรงฟันเป็นเรื่องทุลักทุเลไม่เบา ก็แน่ละสิเพราะคงไม่มีหมาหน้าไหนยืนยิงฟันให้เจ้านายสีหน้าตาเฉยเป็นแน่
การแปรงฟันให้แปรงเฉพาะด้านนอกก็พอ โดยเปิดปากด้านบนออกแล้วแปรงไปที่โคนเหงือกของสุนัขจากนั้นจึงปัดลง ทำเหมือนกันทั้งฟันล่างและฟันบน สำหรับฟันด้านในนั้น ลิ้นสุนัขจะหน้าที่ในการพายาสีฟันเข้าไปด้านในเอง ดังนั้นเจ้าของจึงไม่จำเป็นต้องแปรงด้านในช่องปากให้กับสุนัข ส่วนขั้นตอนให้เริ่มแปรงทีละด้าน อย่าให้น้องหมารู้สึกว่าถูกบังคับ และใช้เวลาแปรงฟันทั้งปากไม่ควรเกิน 1 นาที เพราะหากนานกว่านี้สุนัขจะเกิดอาการเบื่อ และหมดสนุก ทำให้เริ่มลุกลี้ลุกลนจนยากแก่การแปรงฟัน หากเจ้านายยังคงบังคับอีก สุนัขจะขยาดกับการแปรงฟันและเริ่มโยเยเหมือนเด็กที่ไม่อยากไปโรงเรียนนั่นเอง ที่สำคัญอย่าลืมชมเชยหรือให้รางวัล เช่น พาไปเดินเล่นหลังการแปรงฟันเพราะสุนัขจะเริ่มเรียนรู้ได้เองว่าหลังแปรงฟันแล้วก็จะมีเรื่องดี ๆ ตามมาทุกครั้ง คราวหน้าเมื่อถึงเวลาแปรงฟันก็แทบจะยิงฟันรอเลยเชียวแหละ ส่วนยาสีฟันที่ใช้ควรเป็นยาสีฟันเฉพาะสำหรับสุนัขเท่านั้น ไม่ควรใช่ยาสีฟันชนิดเดียวกับคน เนื่องจากสารบางตัว เช่น ฟลูออไรด์ จะไปทำอันตรายหรือกัดกระเพาะของสุนัขได้ สำหรับยาสีฟันของสุนัขนั้น สุนัขสามารถกลืนกินเข้าไปได้โดยไม่เป็นอันตราย อีกประการที่เจ้าของควรใส่ใจ คือแปรงสีฟันของสุนัขควรใช้แปรงที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานตามความเหมาะสมของสุนัขแต่ละสายพันธ์ เช่น แปรงสีฟันด้ามยาว สามารถใช้ได้กับสุนัขสายพันธ์ที่มีหน้ายาว และแปรงสีฟันแบบสวมนิ้วเหมาะสำหรับสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะหน้าสั้น การแปรงฟันสุนัขนั้น ควรฝึกตั้วแต่ยังเป็นลูกสุนัขอยู่ ซึ่งจะเป็นการทำให้สุนัขคุ้นชินมากกว่าที่จะต้องมาเริ่มทำความรู้จักเมื่อตอนโต นอกจากนี้แล้วหากยังไม่แน่ใจในความสะอาด เจ้าของยังสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอรับบริการตรวจเช็คความสะอาดของฟันสุนัขได้ ด้วยการย้อมสีฟันสุนัขซึ่งจะใช้ EOSIN <อีโอชิน> ซึ่งมีสีแดง โดยปกติการย้อมสีฟันสุนัขในต่างประเทศ จะหยดอีโอชิน ลงบนลิ้นของสุนัข 2-3 หยด แล้วสุนัขจะใช้ลิ้นเลียฟันด้วยตัวเอง แต่สัตวแพทย์เห็นว่าการใช้วิธีหยดสีลงบนลิ้นสุนัข ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการใช้สำลีชุบแล้วป้ายไปที่ฟันสุนัขโดยตรงจะให้ผลที่ดีกว่า ในขั้นตอนแรกของการย้อมสีฟัน คือจะใช้สำลีชุบอีโอชินแล้วป้ายไปที่ฟันของสุนัขให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำ หลังจากนั้นให้สังเกตดูว่ามีสีแดงติดอยู่ที่ใดบ้าง ถ้าส่วนใดของฟันสุนัขมีสีแดง แสดงว่า มีคราบน้ำลายติดอยู่ อันเป็นสาเหตุเนื่องมาจากสุนัขได้รับการแปรงฟันไม่สะอาด หลังจากที่เห็นแล้วว่าตรงไหนยังไม่สะอาดก็ให้แปรงอีกรอบหนึ่ง การย้อมสีฟันเพื่อตรวจดูคราบน้ำลายนั้น ต้องอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ ไม่อนุญาตให้เจ้าของทำเอง เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่เกิดในช่องปากของสุนัข และนำสุนัขมาตรวจสุขภาพปากและฟันทุก ๆ 6 เดือน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือรักษารากฟัน หลายคนคงไม่เคยรู้ว่าสุนัขก็มีปัญหาฟันได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะสุนัขที่ปวดฟันจะไม่แสดงอาการโอดครวญเหมือนอย่างที่เด็ก ๆ ทำกัน แต่มักจะแสดงออกด้วยการไม่กินอาหารหรือกินน้อยกว่าปกติซึ่งผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเกิดจากการเบื่ออาหาร ไม่สบาย หรืออากาศที่ร้อนเกินไปทำให้ไม่เจริญอาหาร แต่จะมีกี่คนที่จะคิดไปว่า "ปวดฟัน" อีกทั้งสมัยก่อนเทคโนโลยี และเครื่องไม้เครื่องด้านทันตอนามัยสำหรับสัตว์ก็ยังไม่ก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ รู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เห็นฟันน้องหมาผุเป็นรูโหว่ลึกไปแล้ว ต่างจากทุกวันนี้ ที่เทคโนโลยีทางด้านทันตกรรมสำหรับสุนัขและแมว ไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน ถอนฟัน และการรักษารากฟัน ก้าวล้ำไปจากเมื่อก่อนค่อนข้างมากในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
การอุดฟันในสุนัขและแมว มักทำในกรณีที่ฟันผุเป็นรูแต่ยังไม่ถึงโพรงประสาทฟัน หรือในกรณีที่ฟันแตกจนถึงโพรงซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือการแทะของแข็ง วัสดุอุดฟันจะไม่ทำให้สีของฟันเดิมเปลี่ยนไป การอุดฟันในสัตว์เลี้ยงยังนิยมทำในกรณ๊ที่มีการตัดฟันเขี้ยวและอุดปิดโพรงฟัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาฟันไม่สบกันในสุนัขพันธ์หน้าสั้น หรือสุนัขที่ดุมาก ซึ่งการอุดฟันจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่โพรงฟันได้เป็นอย่างดี กรรมวิธีในการอุดฟันเริ่มจากการกรอเนื้อฟันบริเวณที่ผุให้สะอาดและเรียบ หลังจากนั้นจึงอุดด้วยวัสดุอุด ในกรณีที่ตัดเขี้ยงก็ทำเช่นเดียวกัน แต่ใช้หัวกรอตัดฟันออกครึ่งหนึ่งก่อนแล้วค่อยลงมืออุดปิดโพรงฟัน
ในส่วนของการรักษารากฟันจะทำในกรณ๊ที่ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน หรือในกรณีที่ฟันแตกแต่ไม่ได้ทำการอุดจนเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่โพรงฟันทำให้เกิดการอักเสบหรือเป็นหนองที่รากฟัน เจ้าของสุนัขสามารถสังเกตความผิดปกติได้จากสีของเนื้อฟันที่เปลี่ยนไป ขั้นตอนในการรักษารากฟันเริ่มจากการวัดความลึกของโพรงฟัน โดยใช้ลวดวัดจากตัวฟันจนถึงรากฟันแล้วถ่ายเอ๊กซเรย์ฟันซี่นั้น ๆ หลังจากนั้นจึงนำเอาเนื้อเยื่อฟันที่ตายแล้วออกจากโพรงฟันให้ได้มากที่สุด โดยใช้ลวดบาง ๆ ร่วมกับการ Flush ล้างโพรงฟัน หลังจากนั้นจึงซับให้แห้ง แล้วจึงเคลือบโพรงฟันเพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่รากฟัน ตามด้วยขั้นตอนการอุดฟันโดยใช้วัสดุอุดสามชั้น แล้วทำการถ่ายเอ็กซเรย์ซ้ำอีกครั้งเพื่อดูความสมบูรณ์ของการอุด แล้วจึงขัดผิววัสดุอุดให้เรียบเนียน
ความสำเร็จในการรักษารากฟันขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหักของฟัน โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องจำไว้เสมอว่าเวลาที่เริ่มสังเกตุเห็นฟันที่ผิดปกติ ฟันซี่นั้น ๆ อาจไม่ใช่ฟันที่หักเป็นครั้งแรก อาจมีการหักของฟันมาก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนั้น การดูแลหลังจากการรักษาถือเป็นกฏเหล็ทที่เจ้าของต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การรักษาได้ผลเป็นอย่างดี เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรนำสุนัขที่เคยรักษาฟันแล้วกลับมาทำการเอ๊กซเรย์เป็นระยะ ๆ เพื่อเช็คสภาพของฟัน
โดยปกติแล้วฟันน้ำนมของลูกสุนัขจะหลุดเองตามธรรมชาติเมื่อมีอายุ 7 เดือน แต่ถ้าหากเกินกว่า 7 เดือนแล้วฟันน้ำนมยังไม่หลุดก็จำเป็นที่จะต้องมีการถอนออก เนื่องจากการทิ้งเอาไว้จะทำให้ฟันแท้ของลูกสุนัขขึ้นผิดตำแหน่ง และอาจเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหารและนำไปสู่ปัญหาในช่องปากต่อไป ก่อนการผ่าตัดถอนฟันสุนัขทุกครั้ง จะต้องมีการบล๊อคเส้นประสาทฟันก่อน เพื่อเป็นการช่วยให้สุนัขสามารถฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้เร็วขึ้น ในกรณีที่ต้องถอนฟันเนื่องจากอุบัติเหตุก็จำเป็นต้องให้ยาสลบเนื่องจาก รากฟันของสุนัขมีความยาวกว่าของคนปกติ รวมไปถึงเนื้อฟันที่มีความแข็งแรงกว่าของคนด้วย ดังนั้นการใช้ยาสลบจะช่วยลดอาการเจ็บปวดให้มันได้ 
|
Create Date : 22 มกราคม 2550 |
Last Update : 29 มิถุนายน 2550 18:02:04 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1037 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ice_angel วันที่: 27 มกราคม 2550 เวลา:17:37:57 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
สมัคร blog มานานโคด ๆ แต่ยังไม่ได้ริสร้างอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
วันนี้ว่าง ๆ วันพ่อ รู้สึกคิดถึงพ่อมากมาย เลยมาคิดเริ่มสร้างบ๊อคซะที จะได้เป็นสิริมงคลในวันนี้น๊ะ เจิม & เริ่มเขียนบ๊อค 5 ธันวา 2006
|
|
|
|
|
|
|
ขอบคุณะคะ สำหรับความรู้เรื่องฟันน้องหมา