เติ้งเสี่ยวผิง เคยกล่าวไว้ว่า “แมวนั้นไม่สำคัญว่าสีขาวหรือสีดำ ขอให้จับหนูได้ ก็ต้องถือว่าเป็นแมวดี” งานแต่งบ้านก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีใดแล้วแต่งบ้านให้ได้ ถูกใจเจ้าของบ้าน ก็ถือว่าถูกต้องซะทุกวิธี ละครับ

Group Blog
 
All Blogs
 
ท่องเที่ยวตามดาว : นมัสเต เนปาล ดินแดนหลังคาโลก ภาคต่อ กาฐมาณฑุ - โพครา

กลับมาแล้ว กับภาคต่อของการตะลอนแบกเป้เที่ยวเนปาล จากภาคแรกของการผจญภัย เริ่มจาก กรุงเทพฯ สู่เมืองกาฐมาณฑุ ตามย้อนไปอ่านได้นะครับ

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=nongpladao&month=27-02-2012&group=5&gblog=100

ภาคต่อนี้ จะเป็นการย้ายเมือง จาก กาฐมาณฑุ สู่เมือง โภครา เมืองแห่งทะเลสาป และ หุบเขาแห่งหิมาลัย



จากคืนก่อนหน้าการเดินทาง เราก็ไปคุยกับเจ้าของโรงแรมขอข้อมูลการเดินทางสู่เมืองโภครา ง่ายที่สุด ก็ไปรถบัสท่องเที่ยว จะซื้อตั๋วที่ไหนรึ ก็ไม่ยาก ก็ซื้อได้ที่โรงแรมได้เลยละครับ เจ้าของโรงแรมแทบทุกโรงแรมก็จะเป็นเอเยนต์ตั๋วรถ ตั๋วเครื่องบินอยู่แล้ว ราคาก็ตกลงที่ 400 รูปี/คน

เรื่องตั๋วเดินทางเรียบร้อย ก็จัดแจงเตรียมเสบียงกันดีกว่า น้ำดื่มเป็นขวด แทบทุกยี่ห้อจะเป็นน้ำแร่จากหิมาลัย รสชาติดี ราคาจะประมาณ 15-20 รูปี/ลิตร ก็ราวๆ ไม่ถึง 10 บาทไทยต่อขวด

ส่วนร้านเบเกอร์รี่ในทามาล ก็มีหลายร้าน แต่มีร้านนึง ของในร้าน ดูดี มีชาติตะกูล ยิ่งราคาตอนหลัง สามทุ่ม จะลดครึ่งราคา ว่าแล้ว เราก็ไปฝังตัวที่ร้านซะตั้งแต่สองทุ่มแก่ๆ เลือกให้จนถึงสามทุ่ม ค่อยเช็คบิล รวมเงินแล้วไม่ถึง 90 บาทไทย ได้มาสองถุงตุงๆ แล้วหลังจากนั้น ฝรั่งต่างชาติ ก็เริ่มทยอยเข้ามา จนแน่นร้าน เลือกของเหลือจากคณะเรา HaHaHa



ถึงเวลาเช้ากำหนดเวลารถออก ก็ 7 โมงเช้า คณะก็เดินงัวเงียไม่ไกลจากโรงแรมนัก อากาศเย็นสบาย ก็ไปถึงจุดนัด จัดแจงไปเลือกที่นั่งก่อน
ถ้าไม่ได้จองตั๋วมา ก็ไปขึ้นเลยก็ได้ ถ้ารถยังไม่เต็ม เห็นแว๊บๆ ราคาที่เก็บ ก็ราว 350 รูปี
รถบัสที่ใช้ ก็เป็นรถบัสแอร์ธรรมชาติ เบาะปรับเอนได้นิดหน่อย



รถบัสจะจอดพักรถ 3 หน หนแรกให้เหล่าสุภาพบุรุษ แวะเข้าไปเบาในคอกพลาสติกสีดำ ระบายทุกข์พร้อมชมวิวท่ามกลางขุนเขา ส่วนสุภาพสตรี ต้องไปเข้าคิวยาวววกันในห้องน้ำปิดที่มีแค่ 2 ห้อง

แล้วก็จะมีจอดให้พักทานอาหาร กับจุดจอดรถที่เป็นร้านอาหารอีก 2 หน มี Menu ให้เลือกทาน แบบ Fast Food และแล้วคณะเรา สาว J ของเราจัดเลย Hot Lemon ดูท่าจะน่าดื่มในท่ามกลางอากาศเย็นๆ พอได้รับถ้วยเครื่องดืม ก็ต้องงงเล็กน้อย เพราะที่ได้รับมา คือ น้ำร้อน 1 ถ้วยพลาสติก กับ มะนาวฝาน 1 กลีบ ให้มาใส่ เสียรู้แขกไป HaHaHa



ใช้เวลาหลับๆ ตื่นๆ ร่วม 6 ชั่วโมงครึ่ง ก็ถึงเมือง โพครา ซะที พอลงจากรถบัสเท่านั้น ก็เจอเหล่าคนที่คุ้นเคย เหล่านายหน้าโรงแรม และ แท๊กซี่ เข้ามาล้อมหน้าล้อมหลัง ตรึม

และแล้วเราก็ได้ นายหน้าโรงแรมคนนึง มีคนพื้นที่ที่นั่งคุยด้วยกันมาบนรถบัส เป็นคนรับประกันคุณภาพ แท็กซี่ก็พาไปเลยโรงแรมเปิดใหม่ บรรยากาศดี ราคาเป็นกันเอง แต่ตกลงราคากันไม่ได้ซะงั้น ก็เลยไม่พัก

แต่จุดนี้ คณะเราพลาดเรื่องค่าโดยสารกับแท๊กซี่ไป เพราะเงื่อนไขแทีกซี่ถ้าเราพักโรงแรมที่จอดก็จะฟรีค่าแท๊กซี่ แต่พอเราตัดสินใจไม่พักแท๊กซี่ก็เลยเรียกค่าโดยสารซะ 200 รูปี แต่หัวหน้าคณะเรา สาว G ก็ต่อรองจนไปจบที่ 150 รูปี ถึงจะยกกระเป่าลงจากรถกันได้

ทีนี้คณะเราก็แปลงร่างเป็นเต่ากันต่อ สวมเป้หลังออกเดินทางหาโรงแรม เริ่มจากโรงแรมอยู่ข้างๆ กันถูกใจกับบรรยากาศเลย อีกทั้ง ราคาก็ถูกใจ 500 รูปี/ห้อง ไม่มี Tax ก็เลยได้ที่พักในเวลาอันรวดเร็ว



หลังจากจัดแจงเรื่องห้องพักเรียบร้อย คณะเราก็ออกทัวร์เมืองกัน เมืองโพครา ก็เป็นเมืองเล็กๆ เดินสบายๆ กับร้านค้าเยอะแยะ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินจะน้อยกว่าที่ กาฐมาณฑุ นิดหน่อย ว่าแต่ ที่ โพครา ก็มี Chev Captiva วิ่งด้วยน่ะเนี่ยะ ไม่ธรรมดาจริงๆ

MoMo จะเป็นอาหารที่มาจากทิเบต ที่มีขายกันทั่วไปที่เนปาล รวมทั้งที่ โพครา ด้วย ก็จะเหมือนเกี๊ยวซ่าเอาไปปรุงรสหลากหลาย อย่าลืมมาชิมกันนะครับ

แต่ร้านที่ไม่แวะไม่ได้ ก็จะเป็นร้านขายผ้าทอ พรม กระเป๋า จะอยู่นานที่สุด จับอะไรชิ้นไหน ราคาก็ถูกไปซะหมด ก็อยู่นานจน เจ้าของร้าน ต้องไปสั่ง ชานมเนปาลี มาให้ชิม รสชาติหอมมันกลมกล่อมอร่อย จนคณะเราต้องไปซื้อกลับบ้านกันทุกคน



แผนสำหรับเช้าวันต่อมา คณะเราไปให้เจ้าของร้านผ้าวางแผนมาให้เรียบร้อยแล้ว เจ้าของร้านว่า U ต้องตื่นแต่เช้ามืด สักตี 4 พอเดินออกมาที่ถนนจะเห็น รถแท๊กซี่ จอดเป็นแถวยาววว เพื่อรอเรียกพาไปจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น U ต้องบอกว่าให้ไปส่งที่จุดชมวิวจุดที่ 2 นะ จุดชมวิวจุดที่ 1 ที่แท๊กซี่ชอบไปจอด ต้องเดินขึ้นเขาไปอีก 1 ชั่วโมง แล้ว U ก็ไม่ต้องจ้างแท๊กซี่ไป-กลับ ก็ได้ เพราะขากลับ ก็เดินลงเขากันมาเอง จะมาลงแถวริมทะเลสาป เฟวา แล้ว U ก็จ้างเรือพายมาส่งที่เมือง ได้บรรยากาศ ทั้ง ภูเขา-ทะเลสาป สวยม๊าก

คณะเราก็ตกลงเดินตามแผนนั้น นัดกันเลยตี 4 ตื่น ตี 4 ครึ่ง เจอกัน เดินส่องไฟฉายออกไปริมถนน ทำไมมันมืดจังฟร่ะ มองซ้ายมองขวา มีแท๊กซี่จอดปิดไฟแค่คันเดียว ก็เลยได้แต่คิดอำนาจการต่อรองของเราจะเหลือแค่ไหนเนี่ยะ ก็เลยตกลงไปคุยกับแท๊กซี่พาไปจุดชมวิวบนยอดเขา

แท๊กซี่เปิดราคามา 800 รูปี คณะเราต่อเหลือ 500 รูปี ไม่ตกลงก็สบัดก้นเดินดุ่มๆ มืดๆ ไปหาแท๊กซี่คันอื่น ดีนะ ที่เจ้าแท๊กซี่คันเดิม สตาร์ทเครื่องขับตามมา ปิดราคาที่ 700 รูปี คณะเราเลยรีบตะครุบในทันใด ตลอดทางที่ขับผ่านตัวเมืองยันขึ้นเขา ไม่เห็นรถแท๊กซี่อีกเลย เกือบอดดูพระอาทิตย์ขึ้นซะละ HaHaHa



พอขึ้นไปถึงจุดชมวิว แท๊กซี่ที่เราเรียกพามาส่งที่จุดชมวิวจุดที่ 1 เอง ที่รู้เพราะที่ทางขึ้นมีแผนที่บอก ต้องเดินขึ้นเขาไปอีก 1 ชั่วโมง แต่ถ้าให้แท๊กซี่ขับไปต่อก็วิ่งอีกไปแค่ 10 นาที ก็เลยเสียท่าแท๊กซี่รอบเช้ามืดอีกรอบ ฮือ

เมื่อไปแท๊กซี่ต่อไม่ได้ ก็เลยต้องเริ่มลงขาเดิน ระหว่างนั้น ก็ได้ยินเสียงผู้หญิงเรียก "หนีห่าว" "คนนิชิวะ" และอีกหลายภาษา แล้วมาจบที่ "สวัสดีก๊า" เราถึงตอบรับ แล้ว เธอคนนั้น ก็เลยคะยั้นคะยอเชิญชวนขึ้นไปบนบ้านเค้า บ้านเค้าเป็นจุดชมวิวที่ไม่ต้องเดินขึ้นเขา มีเก้าอี้นั่งชมได้เลย ก็เลยลงล๊อคคณะเรา หลังจากที่เราตัดสินใจอยู่ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่นี่ ก็ได้ยินเสียงคนจีน โช้งเช้ง จำนวนมาก เดินมา คณะเราก็ไวประดุจสายฟ้า รีบวิ่งปรู๊ดไปจองที่นั่งแถวหน้าของชั้น เร็วกว่ากันแค่เสี้ยววินาที

ก็นั่งมืดๆ คุยกันไป จนกระทั่วท้องฟ้าเริ่มมีแสงสว่าง และแล้วเราก็ได้เห็นยอดเขาหิมาลัยที่ค่อยๆ ชัดขึ้นๆ และแล้ว สาว D ของเราก็จัดภาพวิวยอดเขาหิมาลัยช่วงพระอาทิตย์ขึ้นแบบ Panorama จาก Iphone มาให้ชมกัน



พอแสงสว่างมาเต็ม เหล่าสมาชิกทัวร์จีนกลับไปหมดแล้ว เราก็ค่อยมาสำรวจสถานที่ที่คณะเรามาใช้สถานที่กันซะตั้งแต่มืด ที่แห่งนี้เป็นเหมือน ร้าน OTOP ของเหล่าชาวบ้านละแวกนั้น ชาวบ้านเค้าจะใช้เวลาว่างถักทองานออกมาวางขายให้เหล่านักท่องเที่ยวกัน โดยเฉพาะผ้ายัก (YAK) เป็นผ้าทอจากขนจามรีภูเขา บางแต่ให้ความอบอุ่นได้ ราคารึก็ถูกกว่าร้านค้าข้างล่างครึ่งต่อครึ่ง

มีป้า สุศิรา เป็นผู้ดูแล แกใจดีมากโดยเฉพาะกับคนไทย-มั้ง ลดราคาชิ้นงานให้ถูกใจคณะเราสุดๆ แถมแกยังว่า จะพาไปดูบ้านเหล่าสมาชิกแม่บ้านที่ทองาน แต่ต้องรอร้านปิดก่อนนะ 5 โมงเย็น --ใครจะอยู่รอป้าได้ละน๋อ--

พอได้เวลาหลังจากฝากท้องอาหารเช้าบรรยากาศวิวภูเขาหิมาลัยแล้ว ก็ได้เวลาเดินลงเขา อาวุธไม้เท้ามีโช๊คที่ติดตัวมาจากคลองถม อันละ 200 บาท ก็ถูกนำมาใช้ ยังไม่ทันที่จะก้าวขาลงเขา สาว G ก็เล่นไม้เท้าประจำตัวพังซะละ 555



เส้นทางที่คณะเราใช้เดินลง ก็เป็นเส้นทางปรกติที่ชาวบ้านแถวนั้นเค้าใช้ บ้านชนบทแต่ละบ้าน จะมีทุ่งมัสตาด ปลูกเป็นแนวขั้นบันได เวลาออกดอก จะเหลืองสะพรั่งทั้งเขา



ส่วน สาว J ของเรา ก็เป็นปลื้มกับบ้านชนบท โดยมากก็จะเป็นบ้านปลูกด้วยหิน อิฐ สลับกับไม้ทาสีสดๆ



วิถีชีวิตของชาวบ้าน ก็อยู่กันอย่างเรียบง่าย พ่อค้าที่จะขายของก็ต้องลงทุนแบกสินค้าไปเคาะประตู เพื่อขายของ ตาชั่งไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมาก แค่ใช้ตาชั่งถ่วงน้ำหนัก ที่ใช้กันมานับร้อยๆ ปี ก็พอแล้ว

แม่บ้านที่ต้องซักผ้า ถูบ้าน ก็มีน้ำใช้ตลอดเวลา ก็เป็นน้ำจากภูเขาไหลผ่านช่องระบาย ตักใช้ได้เลย ใสแจ๋ว

เด็กนักเรียน ก็จะไปโรงเรียนกันสายหน่อย เพราะตอนเช้าจะหนาวม๊าก ก็จะมีรถโรงเรียนขับมารับ พอดีว่าไม่ได้เตรียมลูกอมหลากรสที่ขนมาจากเมืองไทยใส่กระเป๋าไป มีแต่ลูกหยียักษ์คลุกน้ำตาลจากชุมพรในกระเป๋า ก็เลยจัดให้ไป ทั้งเด็ก ทั้งแม่เด็ก ชอบกันใหญ่ ตามข้อมูล ถ้ามีปากกา หรือ ดินสอ เด็กๆ ก็จะชอบมากเหมือนกัน



คณะเราใช้เวลาเดินขึ้นเขา ลงเขา สลับถ่ายรูป แวะชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ตั้งแต่ยอดเขายันตีนเขา ไปเรื่อยๆ
เหนื่อยเราไม่เหนื่อย เมื่อยเราไม่เมื่อย แต่หิ๊วหิว



ผ่านไป สามชั่วโมงกว่าๆ เราก็บรรลุเป้าหมาย ลงมายืนบนพื้นราบได้แล้ว เย้
แรกสุด ก็เป็นเรื่องห้องน้ำ กับ เรื่องกิน เราก็ได้ร้านอาหารริมน้ำ บรรยากาศดี ให้นั่งพัก

ถ้าทำตามแผนต่อไป เราต้องหาทางกลับไปที่ตัวเมือง โพครา ที่อยู่ไกลลิบๆ ของทะเลสาบ ปู๊น



เมื่อเติมพลังกันเสร็จ ก็ถึงเวลาจะกลับเมืองกันละ จะกลับยังงัยดีน้อ
ทางเลือกแรก -- เรือรับจ้าง ถ้าเลือกได้ ก็จะมีคนพายเรือเลาะทะเลสาบไปส่งถึง ท่าเรือในเมือง
--- แต่ หาเรือรับจ้างไม่เจอ ไม่รู้ว่าท่าเรืออยู่ที่ไหน ทางเลือกแรก ตกไป

ทางเลือกสอง -- นั่งรถบัสโดยสาร ชาวบ้าน ก็จะขึ้นรถบัสวิ่งระหว่างเมืองอยู่แล้ว ระหว่างที่นั่ง ก็เห็นรถโดยสารวิ่งผ่านไปบ้าง ก็ต้องยืนโดยสารไป
--- แต่ รถโดยสาร มาเมื่อไหร่ ตอบไม่ได้ จะให้รอรึก็ใช่ที่

ทางเลือกสาม -- จ้างแท๊กซี่ไปส่ง จะเร็ว และ ตรงที่สุด
--- แต่ ตั้งแต่เดินๆ นั่งๆ มา ไม่เห็นแท๊กซี่เปล่า วิ่งผ่านมาสักคัน ดูท่าจะคอยแบบไม่มีอนาคต

ทางเลือกสี่ -- ชาวบ้าน เค้าจะใช้การเดินเป็นกิจวัตร สาวที่ร้านอาหารบอก เธอก็ใช้การเดิน ใช้เวลาอาจจะแค่ครึ่งชั่วโมง ก็ถึง
+++ ตกลง เราเลือกการเดินก็แล้วกัน ค่อยๆ เดินไป เดี๋ยวก็ถึง

แต่แค่เดินออกจากร้านอาหารไปไม่กี่ก้าว ด้วยสายตาอันไวประดุจเหยี่ยว ก็เห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งแบกเป้สองคน กำลังโบกรถบรรทุกขอติดรถเข้าเมือง คณะเราก็เลย เฮ ขอตามน้ำไปด้วยซะงั้น

ใช้เวลาไม่นาน เราก็กลับเข้าเมืองได้ แต่แล้วเหตุการณ์นึงก็เกิดขึ้น มีฝนตก ใน โภครา แต่ด้วยคณะเราศึกษาพยากรณ์อากาศในอินเตอร์เนทมาตั้งแต่ก่อนเดินทาง ในพยากรณ์อากาศก็ว่า จะมีฝนบ้างในบางวัน คณะเราก็เลยได้ใช้ ร่ม-เสื้อกันฝนที่เตรียมมาด้วยซะ

สำหรับ นักท่องเที่ยวต่างถิ่น ต้องการโทรศัพท์กลับบ้าน ก็ไม่มีปัญหา มีร้านโทรศัพท์-อินเตอร์เนท อยู่ทั่วไปหมด ค่าโทรก็ไม่แพง นาทีละ 10 รูปี (4 บาท)



จบแล้วนะครับ Ep2 เมือง โภครา ยังมีการผจญภัยใน โภครา อีก เอาไว้มาเล่าให้ฟังกันต่อใน Ep3 นะครับ (ถ้าว่าง)
ขอบคุณที่แวะมาชมกัน จุ๊บจุ๊บ




Create Date : 13 มีนาคม 2555
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2555 15:06:59 น. 4 comments
Counter : 987 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ อยากไปเดินเขาที่เนปาลที่ซู้ดดดดด... แต่ยังไม่มีโอกาส แค่ได้อ่านรีวิวก็ชื่นใจแล้วจ้าาา....


โดย: ป้าฟู IP: 70.174.33.83 วันที่: 13 เมษายน 2555 เวลา:3:48:34 น.  

 
love to go there someday
thanks for inspirations


โดย: หมี่จู IP: 86.188.130.68 วันที่: 13 เมษายน 2555 เวลา:11:13:50 น.  

 
ชอบมากค่ะแวะมาให้กำลังใจและเก็บข้อมูลเดินทางค่ะ


โดย: มิลเม วันที่: 13 เมษายน 2555 เวลา:20:29:15 น.  

 
เข้ามากรี๊ด 1 ที :)
กำลังจะไปเดือนหน้านี่แล้ว ข้อมูลเป็นประโยชน์น่าสนใจมากค่ะ
ขอบคุณนะค่ะ


โดย: Nepster วันที่: 18 เมษายน 2555 เวลา:13:02:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้องปลาดาว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 76 คน [?]




อย่าลืมตามไปเจอกันใน Web Pladaodesign.com

สินค้า ของสะสม แมคโดนัลด์ McDonald คลิ๊กเลยจร้า

mcdonald

กระดาษ แน๊พกิ้นสำหรับงานเดคูพาจ Decoupage

แน๊พกิ้น

ชิ้นงานดิบ ไม้-วัสดุสาน สำหรับงานเดคูพาจ Decoupage

แน๊พกิ้น



สำหรับ Fan FB อย่าลืมแอดเป็นเพื่อนกัน จะได้ไม่พลาดข่าวสารกันละค่ะ

Follow pladaodesign on Twitter

Friends' blogs
[Add น้องปลาดาว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.