โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
 

เรือดำน้ำ.......ไทยเราควรมีหรือไม่

  ค่อนข้างเป็นกระแสผิดกับอาวุธชนิดอื่นๆ เมื่อทร.ไทยวางแผนจัดหาเรือดำน้ำ หลายกระแสพุ่งไปชี้ชีดจุดเดียวเลยว่า"ควร" หรือ"ไม่ควร " มีประจำ ซึ่งจะขอกล่าวถึงเรือดำน้ำก่อนว่าต่างจากเรือผิวน้ำอย่างไร


เรือดำน้ำนั้นเป็นอาวุธอีกชนิดนึงที่อาวุธชนิดอื่นๆไม่สามารถทำการรบทดแทนหรือต่อต้านล่าทำลายได้อย่างสมบูรณ์ด้วยเรือผิวน้ำหรืออากาศยาน

เนื่องจากเรือดำน้ำสามารถปฏิบัติการได้ทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ ดำได้จนถึงระดับความลึกหลัก100เมตร เรือดำน้ำไม่สามารถตรวจจับได้โดยเรดาห์หรือกล้องความร้อน ต้องอาศัยโซนาร์ฟังเสียงขับเคลื่อนเท่านั้น  สามารถกบดานหรืออยู่ทะเลได้เป็นสัปดาห์ หากเรือไม่เคลื่อนที่ก็ไม่ต่างอะไรจากก้อนหินเท่านั้น ตรงนี้เวอร์หรือไม่ โดยในอดีตนั้นเกิดเหตุเรือดำน้ำโซเวียตชนกับเรือดำน้ำสหรัฐ หรือเรือดำน้ำโซเวียตโดนสายโซนาร์เรือผิวน้ำสหรัฐพันใบจักรโดยที่ฝ่ายสหรัฐไม่รู้ตัว

ในด้านภารกิจเรือดำน้ำสามารถโจมตีเป้าหมายทางเรือหรือทางบก(ขึ้นอยู่กับอาวุธที่เลือกใช้) วางทุ่นระเบิด  ส่งกำลังบำรุงเช่นหน่วยรบพิเศษ
ในด้านปฏิบัติการนั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธอย่างนึงที่นอกจากล่าทำลายเรือผิวน้ำแล้ว ยังใช้กดดันลดทอนอำนาจการปฏิบัติการอย่างเสรีของกองเรือฝ่ายตรงข้ามด้วยอาวุธเช่นตอร์ปิโดหรือจรวด ซึ่งล้วนแต่เป็นภัยคุกคามเรือผิวน้ำที่ยังไม่มีอาวุธชนิดใดต่อต้านได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ถ้าไม่มีเรือดำน้ำจะล่าทำลายเรือฝ่ายตรงข้ามอย่างไร?  มีเรือผิวน้ำ เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินลาดตระเวณ ต้องใช้ถึง3ชนิด ยังไม่รวมข้อมูลทางการข่าวอิเล็คทรอนิคเช่นสัญญาณการสื่อสาร เสียงที่เคยบันทึกไว้ เพื่อใช้ประกอบการล่าทำลาย ยังไม่รวมถึงระยะเวลาในการปฏิบัติการซึ่งอากาศยานนั้นทำได้จำกัด ถามว่าทำไมไม่จัดหาเครื่องบินกับฮ. แล้วก็เรือเยอะๆในการทำลายเรือดำน้ำ  เพราะอาวุธ3อย่างข้างต้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการค้นหาเรือดำน้ำเหมือนเรือดำน้ำด้วยกันเอง

แต่ไม่ได้หมายความว่าใช้เรือดำน้ค้นหาเรือดำน้ำ เพียงแต่เรือดำน้ำเป็นอีกนึงชุดตรวจจับเพื่อประสานกับอาวุธอีก3ชนิดคือเรือผิวน้ำ อากาศยาน เพื่อป้อนข้อมูลและวางแผนทำลาย

ประสิทธิภาพที่สำคัญของเรือดำน้ำคือความเงียบและประสิทธิภาพในการโจมตี  โดยเฉพาะการโจมตีจากใต้น้ำ ที่สร้างความกดดันให้แก่เป้าหมายได้มาก

ประเทศไทยจะเหมาะหรือไม่? อ่าวไทยลึก80เมตรโดยประมาณ ยังไม่ใช่ข้อจำกัดของเรือดำน้ำ เนื่องจากในอดีตเรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรก็เคยมาปฏิบัติการในอ่าวไทยหรือการฝึกเรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐก็เคยเข้ามาฝึกในอ่าวไทยมาแล้ว หรือข้อสังเกตุเช่นอ่าวไทยตื้น สามารถมองเห็นเรือดำน้ำ ล้วนแต่ขาดข้อมูลอ้างอิงทั้งนั้น

ส่วนตัวผู้เขียนจึงกล่าวได้เพียงสั้นๆว่า " ภัยคุกคามเหนือผิวน้ำทร.จะพึ่งพา เครื่องบินทหารอากาศก็ได้ แต่ภัยใต้น้ำทร.ต้องพึ่งตัวเอง "




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2558   
Last Update : 2 พฤษภาคม 2558 15:59:26 น.   
Counter : 2820 Pageviews.  


ม้าตัวใหม่ที่ท.บ.สนใจ T-84 Oplot รู้จักกันไหม??


พอมีข่าวออกมาเกี่ยวกับจัดหารถถังจากยูเครนรุ่น Oplot ทำเอาแฟนๆรถถังชื่อดังเช่น Leopard2A4 T-90 ยอมรับ รับไม่ได้(มีด่าผสมไปด้วยว่าเลือกมาได้ยังไง)และก็งงๆก็มีว่ามันเป็นแบบไหน ????


ผมในฐานะผู้เขียนเองก็ไม่ได้เชียร์หรือก็ไม่ได้ไม่เห็นด้วย แต่เรามาไล่หาสาเหตุที่ทำให้ท.บ.สนใจม้าจากยูเครนกันดีกว่า


ถ้าจะดูว่าตัวเลือกเหนือความคาดหมายรึเปล่า มันก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายมากนักระหว่างม้าจากยูเครนกับม้าจากเกาหลีใต้


-ยูเครน ได้กินบุญเก่าตรงที่สามารถจัดการขายรถเกราะให้ท.บ.ได้และเรื่องการดัดแปลงให้ตรงกับความต้องการเรามากที่สุด ด้านราคาจะส่งผลอีกเช่นกัน เพราะปริมาณการจัดหาหลักร้อย รวมถึงบริษัทจากยูเครนสามารถดัดแปลงรถถังเก่าอย่างM-60ได้อีกด้วย รวมถึงประสิทธิภาพในการอัพเกรดรถถังหลักของยูเครนเอง ซึ่งดูเหมือนจะผูกกันได้เกือบหมดเลยสำหรับหน่วยยานเกราะของไทย


-เกาหลีใต้ ทุกอย่างลงตัวหมดสำหรับ K-1A1 แต่ต้องเปิดสายการผลิตใหม่ถ้าท.บ.ไม่คิดจะเอาของมือ2 ซึ่งต้องดูว่าราคาจะคุยให้มันลดลงได้หรือไม่


สำหรับ Leopard-2A4 นั้นถูกจัดหาไปในหลายประเทศเช่นซาอุฯ ชิลี และรถถังสำรองจะมีเพียงพอกับที่เราต้องการแค่ไหน แน่นอนว่าราคาคงไม่ถูกเพราะมีรถถังอะไหล่ ถ้าจำนวนความต้องการเพิ่มขึ้นเกิน200คัน แล้วหารุ่นมือ2อย่าง A4 ไม่ได้ ก็ต้องหารุ่นใหม่อย่าง A-5/6 ซึ่งมีหลายส่วนที่ต่างกับ A4 เช่นเกราะ ระบบภายใน ปืนหลัก เป็นต้น เราไม่ได้มองว่าLeopard ไม่ดี แต่การจัดหาโดยไม่ได้มาจากแหล่งเดียวกันจะกลายเป็นยุ่งยากและเสียงบประมาณในอนาคต เพราะต้องคอยถามชาติที่จะปลด แต่ถ้าจากยูเครนหรือเกาหลีใต้คือของส่งจากโรงงานแหล่งเดียว



สำหรับรถถังในกองทัพไทยถ้าต้องการจำนวนมากถึง200คันตามที่เป็นข่าวเพื่อตั้งกองพลใหม่ แทน M-41ของเก่า รถถังที่มีอะไหล่รองรับนั้นสำคัญมากและจำนวนรถถังอาจจะเพิ่มขึ้นในกรณีปลด M-48 ที่เก่ามากถึงจะต้องใช้เวลาอีกนาน สำหรับยูเครนในช่วงหลังค่อนข้างเปิดในเรื่องการพัฒนาอาวุธและรองรับระบบอาวุธที่เป็นค่ายในกลุ่มนาโต้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอ่อนตัวมากกว่าค่ายอื่นๆเช่นรัสเซีย


กลับมาดูกันที่ TH-91 T-92 ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันเป็นแบบไหน แต่ว่ากันว่า(ข่าวว่า)มันเป็นเวอร์ชั่นไทยแลนด์ของOplot นั้นเอง ถ้าเอาที่ยูเครนมีตอนนี้สามารถทำรถถังให้ท.บ.ไทยได้มากที่สุด เราจะได้รถถังแบบไหน


-ปืนใหญ่ 120ม.ม. พร้อมระบบโหลดกระสุนอัตโนมัติ ระบบนี้ตรุกรีได้ไปใน T-84-120Yatagan สามารถยิงกระสุนมาตราฐานนาโต้ทุกประเภท ส่วนนึงที่คิดว่าจะใช้ปืน120ม.ม. เพราะหากท.บ.จะอัพเกรดM-60ที่มีในอนาคตให้ใช้ปืน120ม.ม. ก็ต้องทำให้มีความสามารถในการใช้กระสุนร่วมกัน


-ปืนกลร่วมแกน PKTและปืนกลหนักเหนือป้อมKT มีใช้ในรถเกราะBTR ซึ่งใช้กระสุนร่วมกันได้ เพราะรถเกราะเองก็หลักร้อยเช่นกัน แต่ถ้าหากจะติดตั้งปืนกลร่วมแกนFN-MAG และM-2HB ก็เหมือนแผนแบบ PT-91Mของมาเลเซีย


-วิทยุ อาจจะเป็นระบบวิทยุของอิสราเอลเหมือนดังBTR แต่ในกรณีข้อมูลดาวเทียม สามารถรองรับได้ทั้งมาตราฐานสหรัฐและรัสเซีย


-เครื่องยนต์ดีเซลเดิมจากยูเครน มีแต่ของฝรั่งเศส ถ้าคิดจะเปลี่ยนคงเสียเงินอีกเพียบ แต่การจัดหามากถึงหลักร้อยคงไม่มีปัญหาในการซ่อมเพราะเป็นจำนวนกลุ่มใหญ่มากกว่าของเดิมที่มีใช้อย่างM-60


จุดที่น่าสนใจสำหรับ Oplot-M (ถ้าเป็นรุ่น M)



T-84 Oplot ธรรมดา


-เกราะหนากว่า T-90 เกราะเสริมหนารอบทั้งตัวป้อมและด้านข้างรถ เกราะเสริมเหนือหลังคากันระเบิดเหนือป้อม น้ำหนักจึงมากกว่ารถถังตระกูลT ด้วยกันคือ Oplot-Mหนักถึง51ตัน ในขณะที่Tทั่วไปหนักราวๆ46-48ตัน หากดูภาพว่ามันเทอะทะ บริเวณด้านข้างโป่งๆ นั้นคือเกราะเสริมป้องกันด้านข้าง ซึ่งเป็นจุดอ่อนของรถถังตรกูลT ที่ตัวรถจะบางกว่าป้อม


-ปืนกลหนักเหนือป้อม(ปืนปตอ.) บังคับด้วยรีโมทจากภายในตัวรถ


-กล้องpanoramic สำหรับค้นหาเป้าหมายติดตั้งเหนือป้อม ซึ่งทำหน้าที่ค้นหา ชี้เป้า ควบคุมการยิงชุดที่2นอกจากในตัวรถ กล้องตัวนี้รถถังส่วนใหญ่จากค่ายT ไม่มีไม่ว่าจะ PT-91M T-90 แต่สำหรับOplot ธรรมดานั้นไม่มี


-เกราะเสริมหนากว่า T-90 โดยป้อมเดิมๆของOplotนั้นเป็นป้อมเชื่อมหนาที่สุดที่ส่วนหน้าซึ่งเป็นเหล็กกล้าสลับชั้นกับเซรามิกและแผ่นยาง ซึ่งป้อมเดิมๆนั้นใหญ่กว่าป้อมเดิมของT-90  เกราะที่เสริมเข้าไปนั้นเป็นเกราะERAที่สามารถป้องกันกระสุนหัวระเบิดแรงสูงและกระสุนพิเศษพลังงานจลล์(SABOT)ได้ในเกราะชิ้นเดียว วางเป็นมุมแหลมซ้อนกันปิดทับด้วยเหล็กกล้ารอบคันเพื่อป้องกันกระสุนปืนกลหนัก จรวดหัวรบเบามาทำลายเกราะเสียหาย ก่อนเจออาวุธที่หนักกว่าเช่นจากกระสุนปืนใหญ่และจรวดหัวรบหนัก


-ในกรณีที่เลือก Oplot ธรรมดา การวางเกราะก็เหมือนT-90 นั้นเอง



Oplot-M นั้นถูกพัฒนาในราวปี2008 ส่วนนึงเพื่อเข้าประจำการในกองทัพยูเครนและทำส่งออกด้วย หากดูแล้วทำไมม้ายูเครนตัวนี้มันดูโยกเยก เราต้องอย่าลืมว่าม้ายูเครนตัวอาวุธหนักมากเทียบกับน้ำหนักที่เบา ปืนใหญ่125ม.ม. เวลายิงย่อมไม่แปลกว่ามันจะโยกขนาดไหน โดยเฉพาะเวลายิงขณะเคลื่อนที่


.....แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังเป็นแค่ข่าวน่ะครับ ต้องรอดูจากรูปหรือจนกว่ายานเกราจะวิ่งในบ้านเรา ถ้าเป็นOplot-M ก็เห็นด้วยครับ แต่ถ้าไม่ใช่ม้ายูเครนตัวนี้ก็ขอ T-90ไปเลยดีกว่า หรือว่ายูเครนจะเสนอเงื่อนไขเอาชนะใจท.บ.หลังจากที่ขายBTR-3 สนสำเร็จมาแล้ว จะหาลูกค้าได้เพิ่มหรือไม่??


เพราะในอนาคตเราคงได้เจอ ตระกูลT-72/80/90 รอบบ้านแน่นอนเนื่องจากราคาไม่แพง อัพเกรดง่ายประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องเอาแบบวิ่งไปยิงไปแต่ความหนักของหมัด125mm. ยังไงก็น่ากลัว โดยเฉพาะในพม่าและเวียดนาม เพราะฉะนั้นรถถังที่เอามาต้องหยุดพวกนี้ให้ได้ในนัดแรกที่เปิดฉาก เพราะเราคงไม่เจอประสิทธิภาพ แต่จะเจอในด้านปริมาณแทน หากจะดูรถถังที่เด็ดขีดความสามารถสูงก็คงมีแต่ M-60A3 กับ คอมมานโด-สตริงเรย์ ที่จำนวนรวมกันน้อยมากเทียบกับรถถังที่เวียดนามหรือพม่ามี


เทียบการวางเกราะของ Olpot-M T-90 PT-91M





จะเห็นความแตกต่างของความหนาของเกราะชัดเจน PT-91M บางสุด แปะติดตัวรถไปเลย ส่วนเกราะป้องกันการโดนเจาะด้านข้างตัวรถก็ไม่มีทั้ง T-90และPT-91M







 

Create Date : 27 มีนาคม 2554   
Last Update : 23 กันยายน 2554 13:09:03 น.   
Counter : 7020 Pageviews.  


RBS-15 การก้าวกระโดดของ ท.อ. ไทย

RBS-15 กับภารกิจโจมตีก้าวกระโดด



หลังจากท.อ. ได้จัดหา JAS-39 กรีเพ้น เข้าประจำการจนแล้วจนรอด มาดูของเล่นตัวใหม่ที่มาด้วยอย่างแน่แท้แบบ RBS-15 ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยโจมตีเรือผิวน้ำกันดีกว่า


ในอดีตนั้น การโจมตีเรือรบด้วยอากาศยาน นับเป็นมวยต่างน้ำหนักที่แลกกันดุเดือดและเป็น อากาศยานที่สร้างความเสียหายให้กับเรือรบได้มากที่สุดแม้ว่าจะโดนยิงตกก็ตามที แต่หากอากาศยานมีประสิทธิภาพสูงและระเบิดแม่นยำ เรือรบที่ว่าแน่ๆก็ลงไปนอนก้นทะเลมามากแล้วโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ที่เรือรบแกร่งๆทั้งอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ต่างลงสู่ก้นมหาสมุทรด้วย อากาศยานทิ้งระเบิดที่ไม่ต่างจากจรวดโจมตีเรือรบ ถึงว่าเรือรบจะมีปืนปตอ.มากมาย เกราะหนา สุดท้ายก็ยังโดนทิ้งระเบิดจมในที่สุด แสดงให้เห็นว่าอากาศยานเป็นภัยคุกคามแก่เรือรบมาอย่างยาวนาน


แม้จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย อากาศยานรบติดจรวดก็ยังสร้างผลงานได้ดีจึงเป็นตัวเลือกสำหรับเปิดฉากโจมตีแก่ข้าศึกชุดแรกที่ดีกว่าเอาเรือรบไปแลกเป็นไหนๆเพราะระยะยิงอาวุธปล่อยปจะรำเรือรบนั้นแทบจะมีระยะยิงพอๆกันเลย หากไม่นับว่าบ.ข.ที่ถูกส่งไปจะโดนยิงตก แต่ก็คุ้มกว่าเรือรบทั้งลำที่ราคาแพงมหาศาล  และสำหรับเรือรบแล้ว น้อยชาติมากที่จะมีเรือรบประสิทธิภาพสูงที่รบได้ดีสุดๆทั้ง3มิติ เข้าประจำการ เราจึงมองไปที่ภัยคุกคามรอบบ้านเรา


ถามว่า กรีเพ้นจะโจมตีเรือรบได้ดีแค่ไหน สำหรับผู้เขียนมองว่า กรีเพ้นจัดว่าโครตอันตรายสำหรับเรือรบรอบบ้านเรา จะถามว่าเวอร์ไปป่าว? ไม่หรอกครับ กรีเพ้นนั้นมีมิติที่เล็กมาก การออกแบบเดิมทีก็ลดการตรวจจับด้วยเรดาห์อยู่แล้ว หากแม้อากาศยานด้วยกันยังจับเป้ายากเลย อะไรกับเรือรบใหญ่ๆ เพราะการที่บินเข้าตีได้อิสระ  ในอดีตที่ผ่านมา บ.ข.ที่บินเรี่ยพื้นน้ำเข้าโจมตีเรือรบประสบความสำเร็จเรียกได้ว่าเกือบ80% ไม่ว่าจะในฟอล์คแลนด์  การรบระหว่างอิรัก-อิหร่าน กรีเพ้นสามารถใช้ยุทธวิธีบินเข้าโจมตีเป้าหมายเรี่ยผิวน้ำในกรณีที่เราทราบว่าฝ่ายตรงข้ามมีแซมป้องกันระยะไกล หรือยิงจากเพดานบินปกติในกรณีที่เรือรบข้าศึกไม่สามารถสอยเราได้ก่อน


เช่น RBS-15 มีระยะยิงจากบ.ข.ที่70ก.ม. พกไปลำละ2นัด หากเรือรบเป้าหมายไม่สามารถยิงเราได้เกิน50ก.ม.(รอบบ้านเราก็ยังไม่มีใครใช้แซมระยะไกลเกิน50ก.ม.เลยล่ะครับ) เราก็สามารถยิงนัดแรกที่ราวๆ60ก.ม. แล้วบินวนรอดูผลเตรียมซ้ำหรือโจมตีจากทิศทางต่างๆกัน ในกรณีนี้หากเรือรบยังอยู่ได้ เราก็สามรถบินไปเติมอาวุธมาถล่มซ้ำได้อีก นี่คือการโจมตีจากอากาศยานที่อ่อนตัวมากกว่าและหลบหนีได้ดีกว่าเรือรบหรือหากเรือรบเป็นเรือที่ไม่มีแซม(บ้านเราและเพื่อนบ้านก็มีแบบนี้) เราก็สามารถโจมตีระยะใกล้ที่สุดได้ดีอีกเช่นกัน


สำหรับ RBS-15 นั้นเองก็ถูกออกแบบให้มีขีดความสามารถในการตรวจจับได้ยากและเข้าตีเป้าหมายได้หลายทิศทางซึ่งจะสร้างความสับสนให้แก่ข้าศึกได้ดี


ซึ่งแน่นอนว่าหากทำการรบคู่กับการข่าวที่ได้จากเครื่องบินแจ้งเตื่อนทางอากาศที่เราได้มาประจำการจะทำให้มีการข่าวและตรวจจับความเคลื่อนไหวของเรือรบข้าศึกได้ดีมากกว่าเดิม


สำหรับในกรณีโจมตีภาคพื้นสำหรับเป้าหมายบนบกนั้น กรีเพ้นมีตัวเลือกที่เรียกว่า มีอำนาจโจมตีที่ดีและแม่นยำคือระเบิดร่อน(สมาร์ทบอม) โดยรุ่นที่กรีเพ้น ได้รับการทดสอบคือ เทารัส-KEPD150/350 โดยระยะยิงตามตัวเลข ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยโจมตีภาคพื้นน้ำทางด้วย จีพีเอส/ไอเอ็นเอส เดินทางด้วยความเร็วต่ำเกาะติดภูมิประเทศเข้าหาเป้าหมาย ซึ่งประสิทธิภาพข้างต้นทำให้ข้าศึกตรวจจับได้ยากแก่การป้องกันรวมถึงบ.ข.ที่นำอาวุธไปก็ปลอดภัยจากการตอบโต้จากปืนปตอ.และแซมภาคพื้นเช่นกัน โดยกรีเพ้นสามารถนำพาไปได้2นัด



หากท.อ.จัดหาอาวุธตามที่ผู้เขียนว่าไว้ในอนาคต จะทำให้ท.อ.มีขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศเทียบเท่าชาติชั้นนำในยุโรปเลยทีเดียว ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในท.อ.ไทย  ซึ่งต้องมาติดตามกันว่าท.อ.จะสนใจจัดหาไว้ประจำการหรือไม่


 



 





 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2553 20:02:46 น.   
Counter : 4168 Pageviews.  


อาวุธทหารเป้าอ่อนๆของสื่อไทย

อาวุธทหารเป้าอ่อนๆของสื่อไทย


สืบเนื่องมาจากการที่กองทัพดำเนินแผนพัฒนาในแต่ล่ะปี และปีนี้ดันเฮงโดนชงเข้าประเด็นทางการเมืองที่ดันระอุขึ้นมา แน่นอนว่าโครงการอาวุธหลายพันล้าน ย่อมโดนโจมตีจากสื่อต่างๆและบทความย่อยจากสื่อทั้งในโลกออนไลน์และสิ่งพิมพ์ได้ง่าย การอธิบายจากทหารผ่านสื่อทีวีแทบไม่มีน้ำหนักมากพอเทียบกับสื่อที่เขียนให้คนอ่านที่มีมากกว่า ผมไม่ขอพูดว่าเป็นสื่อใดบ้าง แต่หากติดตามในสื่อต่างๆนั้นและท่านที่เข้ามาชมBlogผมคงพอจะเข้าใจ ความหมาย จุดมุ่งหมายว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งที่สื่อนำมาเขียนนั้นเป็นเรื่องเท็จจริงแค่ไหน


เพราะเวลาอ่านเจอทีมันก็ปี๊ดขึ้นมา เหมือนท่านที่เป็นแฟนพันธ์แท้อะไรซักอย่างแล้วโดนวิจารณ์สิ่งที่ท่านศึกษามาอย่างผิดๆเหมือนแบบไม่มีข้อมูลทะลึ่งเขียน ประมาณ.....คอลัมนิสต์ เขียนแบบรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องจริง ..... ข้อมูลในเน็ตเพียบแต่คงไม่เคยอ่าน ใช้เขียนแบบงูๆปลาๆ ขายได้เป็นพอ


ซึ่งสิ่งที่เผยแพร่ออกไป ไม่ต่างจากเสนอข้อมูลผิดๆให้ประชาชนและสิ่งที่ทหารต้องใช้ ต้องพัฒนากลายเป็นเรื่องไกลตัวออกไปทุกทีๆหรือย่ำกับที่ในเรื่องการเมือง ซึ่งผมก็ติดตามและเจอแบบนี้ทุกทีเวลากองทัพจัดหาอะไร แทบจะต้องเงียบๆหรือหามาจำนวนน้อยๆ


..แน่นอนว่าผมสนับสนุนความโปร่งใส ชัดเจน ในการดำเนินงานพัฒนากองทัพเพราะงบประมาณไม่น้อย แต่มีรึจะสู้สื่อที่ปักอยู่ในหัวคนไทยไม่น้อยดีว่า จุดหมาย ที่มาที่ไป ของสิ่งที่กองทัพทำคืออะไรกันแน่.....


....ในสื่อต่างประเทศแทบจะอธิบายละเอียดยิบว่า ไม่ต่างจากบทความที่ดูมีสาระ อ่านแล้วได้รับความเข้าใจในทันที ว่าสิ่งที่กองทัพจัดหาคืออะไร สำคัญอย่างไร


...เอาเถอะ หวังว่าผมจะเจอบทความแบบนี้ในสื่อไทยบ้าง



 




 

Create Date : 29 มกราคม 2553   
Last Update : 29 มกราคม 2553 20:35:46 น.   
Counter : 965 Pageviews.  


วิเคราะห์ หารถถังรุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย

วิเคราะห์ หารถถังรุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย


T-90S-001.jpg


T-90S ของประเทศรัสเซีย


ในรอบนี้ผมจะมาวิเคราะห์ รถถังรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาประจำการแทนรถถังเก่าที่บางส่วนเป็นรถถังสมัยยุคสงครามเวียดนามทำให้รถถังของกองทัพในรุ่นที่ทันสมัยจริงๆ มีไม่มากครับเช่น M-60A3,Commando Stingray ,TYPE-69 II รุ่นอัพเกรดใช้ปืนใหญ่ 105 ม.ม. ถึงแม้รถถังหลักตอนนี้จะไม่ใช่ตัวเลือกเร่งด่วนก็ตามที แต่ตัวเลือกรถถังที่จะนำมาประจำการนั้นล่ะที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่รถถังมาตราฐานนาโต้แต่เดิมและรถถังตระกูล T จากกลุ่มอดีตประเทศสหภาพโซเวียตกลับมาแรง และกองทัพเปิดใจมากขึ้น รถถังหลักจากนาโต้จึงไม่ใช่ตัวเลือกเดียวอีกต่อไป รถถังหลักนาโต้ชั้นนำ ราคาแพง(มาก) ถึงจะทันสมัยก็ตาม น้ำหนักก็มากจนมองกันว่าไม่สามารถจะวิ่งในภูมิประเทศไทยได้ดีเท่าที่ควร(จากภาพวิเคราะห์ รถถังหลักมาตราฐาน M-60 A3 ยังติดหล่มเอาง่ายๆ) เอาเป็นว่ารถถังหลักที่มีน้ำหนักทะลุ 55ตันขึ้นไปดูแล้วจะประสบปัญหาเท่าที่ควร ทำให้รถถังตระกูล T มีภาษีดีกว่ามาก แต่ก็ยังไม่ใช่ซะทีเดียว หลายคนมองกันว่ารถถังตระกูล T ดีก็จริงแต่ระบบการเชื่อมโยงเช่นอาวุธและสื่อสาร การซ่อมบำรุงยังจะเป็นปัญหาในการใช้งาน เพราะบ้านเราเป็นมาตราฐานนาโต้ เช่น วิทยุ ปืนใหญ่ 125 ม.ม. กระสุนปืนกลร่วมแกน/ปืนกลหนักต่อสู้อากาศยาน ซึ่งมีใช้กันมากในกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งจะมาวิเคราะห์กันว่ารุ่นไหนมีสิทธิแจ้งเกิดมากกว่ากัน โดยใช้ภาพประกอบ หลักการทั่วไป และ ความเห็นส่วนตัวและของพลขับตอนที่เรียนมานะครับ โดยจะมองไปที่รถถังมือหนึ่งจากกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต


T-84 MBT testing


T-84 ของประเทศยูเครน



บทที่ 1 ทำความรู้จักกับรถถังตระกูล T กันก่อน


หลายคนอาจจะสงสัยว่ารถถังตระกูล T มีดีจริงหรือไม่ โดยผมจะไม่เลือกรถถังนาโต้ทุกรุ่นมาเนื่องจากบางคนอาจจะทราบกันดี รถถังตระกูล T นี้จะเลือกรถถังในรุ่นที่เป็นไปได้มากที่สุดอย่าง T-80/84-120 ประเทศยูเครน ,T-90S ประเทศรัสเซีย โดย2รุ่นนี้มีชื่อและมีผู้ใช้เยอะที่สุดในตระกูลนี้(T-90Sเข้าประจำการในประเทศอินเดียและซาอุดิอาราเบีย ชาติล่ะเกือบ300 คัน ส่วน T-80/84 เข้าประจำการในตรุกรีและเกาหลีใต้ ถึงจะไม่มากก็ตาม แต่นับว่ามียอดส่งออกมากกว่ารุ่นอื่นๆในตระกูลเดียวกัน) ถ้าถามว่าประสิทธิภาพในการรบกับรถถังนาโต้รุ่นใหม่หรือข้าศึกทั่วไปมันจะดีพองั้นหรือ? ต้องบอกว่ารถถังเดี๋ยวนี้ถ้ารุ่นใหม่ซะอย่าง ระบบอำนวยการรบมันพอๆกันแล้วครับ อยู่ที่ยุทธวิธีซะมาก และ มีสิทธิน้อยมากที่รถถังด้วยกันจะฉะกันตรงๆ มีสิทธิโดนยิงด้วยจรวดต่อสู้รถถังที่มีความอ่อนตัวและมีอำนาจการทำลายสูงกกว่าถึงแม้จะเสริมเกราะก็ตาม รวมถึงจากทางอากาศยานไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินหรือฮ.โจมตี แต่ที่ว่ายังต้องมีรถถังหลักเพื่อดำเนินการรบทางยุทธวิธี ใช้ข่มขวัญข้าศึก ยิงสนับสนุนและเป็นแนวหน้าในการเข้าตี ผลักดัน ด้วยอำนาจการยิงที่สูงกว่าครับ ว่ากันถึงรถถังตระกูล T ต่อ ข้อดีของรถถังตระกูลนี้คือ มีขนาดน้ำหนักเบา รูปทรงแบนต่ำ อัพเกรดดัดแปลงได้ง่าย ทนทรหดและมีอำนาจการยิงที่รุนแรง(ปืนต่อสู้รถถังขนาด 125 ม.ม.) เหมาะกับชาติที่งบประมาณไม่ค่อยจะมี ถ้าสังเกตุให้ดีมีหลายชาติที่ใช้รถถังตระกูล T-55/62/64/72 ใช้กันอยู่นั้นล่ะเก่ากึก ไม่ค่อยบำรุงรักษาแต่ยังวิ่งได้ บางชาติไม่ซื้อรถถังใหม่แม้จะเก่าแค่ไหนใช้อัพเกรด ดัดแปลงเพื่อให้ทันสมัยเทียบเท่ารถถังรุ่นใหม่ๆใช้งานได้อีกนานและขายให้กับชาติอื่นซะอีก แสดงถึงความง่ายและอ่อนตัวของรถถังรุ่นนี้



บทที่ 2 ว่ากันถึงน้ำหนักของรถ ที่มีกันพูดถึงกันมาก มีความสำคัญขนาดไหน



Leopard 2 A4 อันดับหนึ่งตลอดการจากนาโต้


น้ำหนักของรถนี่น่ะครับ ส่วนหนึ่งมีความสำคัญในการรบทางยุทธวิธีภูมิประเทศป่าเขา ท้องนา (ไม่รวมถนนนะ) ซึ่งหากรถติดหล่มได้ง่ายและหลุดจากการติดหล่มได้เร็วย่อมหมายถึงความปลอดภัยของรถและชัยชนะในการทำเกมรบกับฝ่ายตรงข้าม หากลงหล่มปุ๊ปก็มีสิทธิโดนรุมกินโต๊ะไม่ว่าจะจาก รถถัง จรวดต่อต้านรถถัง เครื่องบิน เป็นต้น ฉะนั้นยิงมีความคล่องตัวไม่หยุดกับที่เท่าไรยิ่งดี อีกเรื่องหากต้องติดหล่มมีสิทธิโดนยิงพังจนถึงเพื่อนที่เอารถมาลากขึ้นไปด้วย ว่ากันว่า รถถังนาโต้นั้นน้ำหนักไม่ใช่ปัญหาหรอก วิ่งในไทยได้แน่ อีกอย่าแรงกดต่อสายพาน คืออีกเรื่องด้วย รถจะใหญ่เท่าไร หนักเท่าไร อยู่ที่ความกว้างสายพานหรอก ส่วนตัวผมจากเท่าที่ดูประมวลภาพ รถถังนาโต้พิกัดน้ำหนักทะลุ 55 ตันขึ้นไปจมดินกันมากถึงจะหน้าสายพานกว้างก็ตาม ดูตามภาพในGoogle แม้แต่ภาพของรถถังในไทยก็ตาม ส่วนตัววิเคราะห์จากประสบการณ์ที่เคยซ่อมและขับรถ แม็คโครและแท็คเตอร์ จะบอกตามนี้ว่า ถึงแม้หน้าสายพานจะกว้างแต่ว่า น้ำหนักของรถมันจะกดให้รถจมดิน ดินหน้าสายพานกระจายตัวออกจนกว่าจะถึงบริเวณที่ดินแข็งซึ่งส่งผลให้ใต้ท้องรถติดพื้นดินไปไหนไม่ได้ หรือไปได้ช้ามาก นึกภาพตอนเราใส่ร้องเท้าที่พื้นรองเท้าใหญ่แต่หากน้ำหนักบนตัวเรามากเราจะค่อยๆจม หากมองถึงรถยิ่งจมดิน ยิ่งเร่งเครื่องให้สายพานตะกุยดินมากในขณะที่ท้องรถติดพื้นดิน รถจะจมเร็วขึ้นหรือไปไหนไม่ได้เพราะดินใต้สายพานถูกสายพานฉุดไปหมด และสายพานที่ดินเข้าไปอัดจนไม่มีร่องสายพานเหลือแต่พื้นสายพานเรียบๆติดแหง่ก (ใช้การวิเคราะห์จาก รถแท็คเตอร์ แม็คโคร ซึ่งมีสายพานคล้ายกัน มีน้ำหนักต่างกัน เช่นเดียวกับรถถัง) ตรงนี้ เทียบกับรถแท็คเตอร์รุ่น D-31PกับD-8L หน้าแทร็คสายพาน 80-100 ม.ม. เท่ากัน แต่น้ำหนัก ที่12และ18 ตัน วิ่งบนพื้นดินที่ถมใหม่ๆแล้วฝนตกดินจะเป็นเหมือนฟองน้ำ 14 ตันยังพอเอาชีวิตรอดวิ่งถูๆไถๆไปได้แต่ 18 ตันจมต้องเร่งเครื่องตะกายสุดท้ายก็ต้องใช้ แม็คโครมาฉุด หากนำมาเทียบในรถถังบ้าง รถถังตระกูล T หนักสุดที่ 46.5ตัน(รุ่น T-90 รัสเซีย) นอกนั้นไม่มีเกินนี้ รถถังนาโต้หนักที่55ตันจนถึง62ตันเลยทีเดียว เช่น Leopard 2 A6 เป็นต้น พอจะนึกภาพออกรึไม่ล่ะครับหากต้องวิ่งตะลุยในพื้นที่เดียวกัน อ่อ ในเรื่องความเร็ว 2 ค่ายก็ไม่ต่างกันน่ะครับ พอๆกัน แล้วสภาพพื้นที่ในไทยจะเป็นแนวดินร่วนๆ ดินเหนียว ไม่ใช้พื้นทีทะเลทรายและมีฝนตก ตามฤดู สภาพพื้นที่ทั่วไปยิ่งภาคกลางแล้ว มีสิทธิจมได้น่ะครับ ถึงแม้จะไม่เคยเห็นสภาพจริง(ของรถทุกรุ่น แต่จากข้อมูลของพลขับที่ ม.พัน4 ร.อ.)และมีสิทธิเกิดสภาพนี้ได้แค่ไหน แต่น้ำหนักน้อยและภาพรวมย่อมดูดีกว่านะครับ ถึงจะเอารถไปประจำการแถวภูมิภาคชายแดนที่ออกแนวดินแข็ง ลูกรัง แต่ก็ยังมีความอ่อนตัวเมื่อเจอฝนครับฉะนั้นรถที่น้ำหนักเบาก็ยังพอได้คะแนนตรงนี้นะ อีกอย่างรถถังที่ผลิตจากประเทสยูเครนไม่ว่าจะ T80/84 มีอัตราขับต่อน้ำหนักที่สูงมาก ราวๆ26แรงม้าต่อตัน ซึ่งมากพอจะทำให้รถเคลื่อนที่ ลุยได้ดีกว่า


ABRAMS TANK - STUCK IN THE MUD!




tank stuck in mud in Russia 3



tank stuck in mud in Russia 6




บทที่ 3 ความเข้ากันได้ของระบบโดยรวม


หมวด 1 .ระบบสื่อสาร


ระบบสื่อสาร ตรงนี้ก็เข้าใจว่ามันย่อมเป็นธรรมดาที่มันไม่เหมือนกัน แต่ว่าระบบการสื่อสารหากเป็นรถถังที่ผลิตจากประเทศยูเครนเองตอนนี้สามารถดัดแปลงได้ อีกทั้งมีบรัษัทที่ดัดแปลงระบบสื่อสารให้เป็นนาโต้ได้อีกเช่นกันจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แล้วในตอนนี้สถาปัตยกรรมในการดัดแปลงของรถถังที่ผลิตจากปนะเทศกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตค่อนข้างเปิดทำให้เลือกติดอาวุธอื่นๆได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธมาตราฐานนาโต้อีกเช่นกัน ซึ่งจะเป็นกรณี ปืนกลร่วมแกน ปืนกลต่อสู้อากาศยาน(เหนือป้อม) ระบบสื่อสาร รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น โดยชาติที่ทำมาแล้วได้แก่ มาเลเซียที่จัดหารถถัง PT-91 มาจากประเทศโปแลนด์ ซึ่งได้มาดัดแปลงระบบปืนกลและระบบสื่อสาร เท่านั้นครับ ส่วนในกรณีรถถังนาโต้คงไม่ต้องพูดถึง


หมวด 2. ระบบอาวุธ


ในอาวุธหลักอย่างปืนใหญ่หลักต่อสู้รถถังขนาด 125 ม.ม. ลำกล้องเรียบ มีใช้ใน T-84และ90 แต่ทว่ารถถังจากประเทศ ยูเครนสามารถใช้ปืนใหญ่ขนาด 120 ม.ม. รวมถึงกระสุน มาตราฐานนาโต้ได้เช่นกัน ซึ่งตรุกรีเองได้เลือกในรุ่นนี้ไปใช้ในชื่อ T-84-120 (โมเดล T-72AG-120) ส่วนรถถังจากนาโต้ทุกรุ่นใช้ปืนใหญ่ 120 ม.ม.เช่นกัน ในกรณีนี้ไม่ว่าจะจัดหารถถังที่ใช้ปืน 125 หรือ 120 ม.ม. ล้วนเป็นของใหม่ที่บ้านเรายังไม่มีใช้ ต้องจัดหาใหม่หมดเช่นกัน (บ้านเรารถถังทุกรุ่นใช้ปืน 105 ม.ม. มาตราฐานนาโต้ครับ) ส่วนระบบปืนกลนั้นก็ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าต้องดัดแปลงแน่นอน ในรถถังจากประเทศรัสเซียมีระบบโหลดกระสุนอัตโนมัติ ทำให้ใช้พลประจำรถน้อยกว่า


หมวด 3 เครื่องยนต์


เครื่องยนต์ที่กล่าวมาเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เหมือนกันครับ


หมวด4 ระบบอำนวยการรบภายใน


ตรงนี้ค่อนข้างจะคล้ายกันในเรื่องระบบพื้นฐานเช่น เล็งด้วยเลเซอร์ ระบบคำนวณการยิง อำนวยการรบกลางวัน/กลางคืน(กล้องมองกลางคืน) เกราะเสริมชนิดต่างๆ รวมถึงระบบ สเตบิไลน์เซอร์ประมาณวิ่งไปยิงไปได้อย่างแม่นยำ หากเป็นของจากนาโต้อาจจะดีเรื่องมีแผนที่ดาวเทียมเข้าช่วย และความทันสมัยที่ค่อนข้างจะสูงเช่นกัน



บทที่ 4 ความเป็นไปได้ของแต่ล่ะค่ายในภาพรวม


รถถังนาโต้(ทุกรุ่น) มือหนึ่งมีราคาแพงมาก ประเทศไทย(ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางจัดหามาประจำการได้แทนของเก่านับ 100-200คัน) ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้แถมกองทัพมีภาระในการจัดหาอาวุธประเภทอื่นเช่นกัน ถึงจะจัดหารถถังมือ 2 รุ่นที่กองทัพไทยมีความสนใจและได้รับการสนใจมากกว่ารถถังรุ่นอื่นๆในสายนาโต้คือ Leopard 2A4-6 มีการจัดหาเข้าประจำการในหลายประเทศ แต่ราคามันก็แพงพอตัวเลยล่ะครับ เนื่องจากต้องจัดหารถมาเป็นอะไหล่อีกจำนวนนึงด้วย


ข้อเสีย Leopard 2A4-6 ติดเรื่องน้ำหนักรถที่มาก และราคาที่พอตัวอยู่(มือ2) แต่ข้อดี คือสามารถเข้ากันได้เหือบหมดกับของเดิมที่บ้านเราเช่น ปืนกล ระบบวิทยุ เป็นต้น


รถถังจากจากประเทศ ยูเครนและรัสเซีย 2ประเทศนี้ออกจะมีภาษีหน่อยตรงที่ว่า กองทัพบ้านเรามีการจัดหาอาวุธเข้าประจำการ โดยเฉพาะ ยานเกราะจากประเทศยูเครน คือ BTR-3E และยานเกราะรัสเซียเองก็เคยเข้ามาทดลอง มีข่าวพัวพันมาแล้วเช่นกัน อื่นๆได้แก่เครื่องบินรบ SU-30 ที่เคยได้ถูกนำมาพิจารณา และมีการสั่งฮ.ลำเลียง ธุรการแบบ Mi-17 มาทดลองใช้งานรวมถึง จรวดต่อสู้อากาศยาน Igla-S ด้วย จึงทำให้รถถังจาก2ชาตินี้มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการนำการแลกเปลี่ยนด้วยสินค้า (บาร์เตอร์เทรด ) เข้ามาจึงทำให้น่าสนเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขตรงนี้ค่อนข้างจะมีปัญหากับรถถังหรืออาวุธจากกลุ่มนาโต้


ข้อเสีย เรื่องระบบอาวุธรองการสื่อสารภายใน ที่ต้องดัดแปลงกันบ้าง การซ่อม ด้วยเช่นกัน ข้อดี น้ำหนักเบา ดัดแปลงง่าย อาวุธและเกราะเลือกติดได้ตามใจ ได้ทุกอย่างไม่มีกั๊ก แต่หักกันภายในตรงที่ รัสเซียคือต้นตำหรับรถถังตระกูล T แต่ ยูเครนใช้การดัดแปลง T-80 U (ซึ่งยูเครนเคยมีการผลิตใช้ในช่วงก่อนแยกตัวและมีการผลิตใช้เองเรื่อยมา)ครับ


ตรงนี้ต้องมาเทียบกันว่า รถถัง Leopard 2 (มือ2) กับรถถัง T (มือหนึ่ง)เปลี่ยนอุปกรณ์เช่นระบบสื่อสาร ปืนกล อย่างใดจะมีราคาถูกกว่า คุ้มค่ากว่ากันครับ


บทที่ 5 ความเป็นไปได้ วัดตามคุณลักษณะที่กองทัพต้องการ


โดยคุณลักษณะทั่วไป ของรถถังที่จะจัดหาทดแทน รถถัง เอ็ม.๔๑ มีดังนี้


๑. เป็นรถถังหลัก ( Main Battle Tank ) มีน้ำหนัก ๒๗ ตันขึ้นไป


-ผ่านทั้ง T-84/90และ Leopard 2


๒. พลประจำรถ ๓-๔ นาย


-ผ่านทั้งคู่อีกเช่นกัน


๓. แผ่นเกราะเป็นเหล็กกล้า หรือเกราะหลายชั้น


-ทั้ง3รุ่นใช้เกราะผสมเช่นกัน และเสริมเกราะได้ อีกในรุ่น T-90และ84


๔. เครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์ดีเซล ที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ( Multi – Fuel ) ระบายความร้อนด้วยน้ำ หรืออากาศ


-ใช้เครื่องยนต์ดีเซลหมดทั้ง3รุ่น


๕. อาวุธหลัก ปืนใหญ่รถถังกว้างปากกลำกล้องตั้งแต่ ๑๐๕ มม. ขึ้นไป และมีระบบจุดอ้าง ปากลำกล้อง ( MRS – Muzzle Reference System ) เป็นแบบลำกล้องมีเกลียว หรือแบบลำกล้องเรียบ พร้อมอาวุธรอง ปืนกลร่วมแกนและปืนกลต่อสู้อากาศ มีเครื่องยิงลูกระเบิดควัน


-ปืนใหญ่ขนาด 120 ม.ม. และ 125 ม.ม. ตามข้อกำหนด ลำกล้องเรียบ
๖. สามารถทำการยิงปืนใหญ่รถถังขณะเคลื่อนที่ได้ ( Stabilizer )


-มีระบบนี้ทั้ง3รุ่น
๗. มีระบบควบคุมการยิงคอมพิวเตอร์แบบทันสมัย ได้แก่ มีเครื่องหาระยะด้วยด้วยแสงเลเซอร์ มีระบบตรวจการณ์ และกล้องเล็ง เป็นแบบจับภาพด้วยความร้อน ( Thermal imaging System )


-มีทั้ง3รุ่นอีกเช่นกัน
๘. มีกล้องตรวจการณ์เวลากลางคืนของพลขับ


-มีทั้ง3รุ่น
๙. เครื่องมือสื่อสารเป็นระบบ FM ที่สามารถใช้งานกับทุก Mode ที่มีประจำการอยู่แล้ว ในกองทัพบก ซึ่งสามารถรองรับระบบสื่อสารที่ทันสมัยได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบสั่งการภายในรถ ( Intercom )


-ตรงนี้ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงในรถค่ายรัสเซียและยูเครน แต่สำหรับ รถของเยอรมันสามารถรองรับได้
๑๐. มีระบบอุปกรณ์ผจญเพลิง


-มีทั้ง3รุ่น
๑๑. เป็นตระxxxลรถถัง ซึ่งยังคงมีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อม ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี


-ทั้ง3รุ่นยังคงเข้าประจำการและเป็นรถถังหลักในปัจจุบัน เพียงแต่รถถัเยอรมันถุกประจำการแทนด้วยรุ่น A-5/6 แต่ก็ยังมีรุ่น A-4 ใช้งานนอกจากนั้นยังมีใช้ในอีกหลายชาติ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ tow จากเว็บ Thaifighterclub.org



บทสรุปรถถัง เทคโนโลยีไม่ได้เหนือกว่า


ในสงครามที่ผ่านมาพระเอกยานเกราะรถถังที่เราเห็นๆคือรถถัง M-1A2 ของอเมริกาที่ทะลวงแนวรถถังอิรักกระจายแต่ในอีกมุมนึงรถถังพวกนี้กลับโดนทำลายด้วยอาวุธต่อสู้รถถัง ระเบิด ได้เช่นกันจนป้อมหลุด ไม่ได้หมายถึงแต่เพียง รถถังนาโต้เท่านั้นแต่คือทุกรุ่น แต่อย่างน้อยรถถังต้องมีความอยู่รอดในการดำเนินกลยุทธมากพอตัว ไม่ใช่ยิงแม่นแต่เชื่องช้า อุ้ยอ้าย ติดหล่มจมโคลนแล้วโดนกินโต๊ะเป็นต้นครับ


















 

Create Date : 05 ตุลาคม 2552   
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 18:03:26 น.   
Counter : 5890 Pageviews.  


1  2  

ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com