โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
 

ขีปนาวุธในสงคราม

ว่าด้วยการใช้ขีปนาวุธในสงคราม



ในการวางยุทศาสตร์ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐ รัสเซีย จีน นั้นมีหลักการใช้ขีปนาวุธพื้น-สู่-พื้น ที่ค่อนข้างพาสับสนเหมือนกัน โดยขีปนาวุธพื้น-สู่-พื้น มีหลักๆ5ประเภทดังนี้
1. tactical ballistic missile ขีปนาวุธทางยุทธวิธี

มีระยะยิงช่วงน้อยกว่า100ก.ม.หรือมากกว่า100-300ก.ม.  โดยภารกิจเสริมอำนาจการยิงต่อจากระยะยิงของปืนใหญ่และจรวดหลายลำกล้อง และอาจจะขยายระยะยิงครอบคลุมจากระยะ150-900ก.ม.  แต่ส่วนใหญ่คุณสมบัติเบื้องต้นคือน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ความแม่นยำสูง เน้นใช้ถล่มลึกไปในแนวหลังเช่นกองบัญชาการ คลัง จุดรวมพล

2.Theatre ballistic missile ขีปนาวุธสมรภูมิ
ระยะยิง300-3500ก.ม. โดยยังแบ่งเป็นขีปนาวุธระยะใกล้-กลาง-ไกล เดิมทีนั้นสมัยสงครามเย็นเป็นขีปนาวุธสำหรับภูมิภาคหรือสมรภูมิที่จะเกิดสงคราม เช่นสมัยสงครามโลกคือสมรภูมิยุโรป สมรภูมิแฟซิฟิค ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ราคาค่าตัวยังถูกกว่าขีปนาวุธระดับIRBMหรือICBM 


ในปัจจุบันสร้างเข้าประจำการในหลายชาติเพื่อถ่วงดุลประเทศข้างเคียงหรือในภูมิภาคเท่านั้น โดยในอดีตสหรัฐสร้างเพื่อติดตั้งในบริเวณใกล้โซเวียตเช่นในเกาะอังกฤษ ตรุกรี เช่นเดียวกับโซเวียตที่ติดตั้งในคิวบา ในยูเครน  ด้วยคุณลักษณะไม่ใหญ่มาก ห้วงโคจรไม่นานและสูงเหมือนระบบICBMที่ตรวจจับได้ง่าย ปัจจุบันมีรูปลักษณะเล็กลงมากความแม่นยำสูง

3.IRBM ( intermediate-range ballistic missile) ขีปนาวุธข้ามทวีประยะปานกลาง
DF-3, IRBM
ระยะยิงต่อเนื่องจากขีปนาวุธสมรภูมิแต่ขนาดจะเล็กกว่าICBM ระยะยิง3500-5500ก.ม. 


4.ICBM (intercontinental ballistic missile) ขีปนาวุธข้ามทวีประยะไกล
ขีปนาวุธระยะไกล5000กม.+ ปัจจุบันมีใช้ในระดับมหาอำนาจ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีสูงในการสร้างเพื่อให้มีระยะยิงไกล ขนาดเล็ก มีความแม่นยำสูงและความเร็วสูง 

5.SLBM(submarine-launched ballistic missile) ขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ยิงจากเรือดำน้ำ
อยู่ในกลุ่มICBM ระยะยิง5000-8000กม.+ โดยทำการยิงเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์





 

Create Date : 27 ธันวาคม 2557   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2558 14:10:12 น.   
Counter : 2124 Pageviews.  


เมื่อนาซียิงจรวดV-2ถล่มนิวยอร์กจาก " ใต้ทะเล "

ไม่ใช่นิยาย แต่ทำให้สหรัฐเปิดยุทธการ " Teardrop " ตามล่ากองเรือดำน้ำยิงจรวดV2 อย่างขนานใหญ่ในปี1945


ถ้าคิดว่าญี่ปุ่นนำ I-400บรรทุกเครื่องบินไปลอบโจมตีสหรัฐ คือสุดยอดวีรกรรมและหักมุมแนวคิดในยุคนั้น กองทัพเยอรมัน-นาซี ก็คือสุดยอดยิ่งกว่าในเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะสามารถไปถล่มเป้าหมายใดๆก็ได้ทั่วโลกด้..วยอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในยุคนั้นคือ " ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง V-2 "
หลังจากเปิดตัวจรวดนำวิถีโจมตีระยะไกล(ที่ไม่เคยมีใครเคยเจอมาก่อน)ไม่ว่าจะV-1และV-2 ถ้าบอกตามตรงจะว่ามันสุดยอดยัีงไง แน่นอนว่าฐานยิงบนบกมันยังไม่เทพพอ.........แต่ถ้ายิงจากเรือดำน้ำกลางมหาสมุทรล่ะ เอ้อเหอ หักมุมทุกแนวคิดและกว้างขนาดนั้นจะไปตรวจค้นยังไงเจอ (เรือดำน้ำยิงจรวดหรือขีปนาวุธยังไม่เคยมีมาก่อน สงครามเย็นถึงจะมีแค่สหรัฐและโซเวียต)

ผมเองศึกษามาตั้งเยอะ ก็พึ่งจะรู้เนี้ยต้นฉบับท่อVLSจากนาซี ที่ปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนไป

เพ้อเจ้อมาพอควร  เยอรมันเริ่มแนวคิดแหวกกฎด้วยการจะยิงจรวด V-1 จากเรือดำน้ำ  แต่ก่อนหน้านั้นศูนย์วิจัยที่Peenemunde ทดลองลับๆในฤดูร้อนปี1942 จรวดยิงจากเรือดำน้ำU-511 เป็นจรวดไม่นำวิถีชื่อSchweres Wurfgerat 41 และจรวดWurfkorper Spreng 42  ติดตั้งบนดาดฟ้าเรือดำน้ำจำนวน12ลูก ทดสอบยิงระดับความลึก12เมตร ประสบความสำเร็จในเดือนมิถุนายน ปี1942

ยิงได้แต่ใช้อะไรนำวิถี  จรวดไม่นำวิถีจะยิงถล่มกองเรือที่เคลื่อนที่ก็ลำบากเพราะอาจขาดความแม่นยำแลตัวอาวุธจมน้ำนานๆเกิดปัญหา โครงการนี้จึงพับไปก่อน







ที่มาของแนวคิดนี้มาจาก ดร.Ernst Steinhoff นะครับ ลืมกล่าวไป
กรกฎาคม ปี1943  เมื่อจรวด V-1 ถูกพัฒนาข้น ดร.เอิร์น ก็ขอมั่ง ว่ามันต้องยิงจากเรือดำน้ำได้แน่ๆ แต่V-1 ถูกพัฒนาให้ยิงจากรางและไม่สามารถยิงใต้น้ำได้ กองทัพจึงไม่สนใจใยดี ขณะเดียวกันก็เกิดโปรเจ็ค"อูเซล" ที่เป็นเหมือนจรวดนำวิถียิงจากเรือดำน้ำแต่จนสิ้นสงครามก็ไม่ได้เกิดขึ้น






เมื่อV-2ถูกทดสอบราวปี1943 จึงเริ่มโครงการ " ทดสอบครั้งที่10 " โครงการเริ่มเข้าสู่การพัฒนาอย่างเร่งด่วนจนเข้าปี1944ที่ทุกอย่างเริ่มย่ำแย่ วิกฤติทางอุปกรณ์ขาดแคลนหนักแต่ก็ผลักดันจนเป็นรูปเป็นร่างจนได้.....ซึ่งเป้าหมายคือถล่มนิวยอร์ก ด้วยจรวดV-2 ที่บรรจุในท่อยิงแล้วลากผ่านแอนแลนติกไปยิงถล่มแผ่นดินอเมริกาเพื่อให้พลเมืองอเมริการับรู้ว่าไม่มีที่ปลอดภัยอีกต่อไป( V-2ยิงไกล และเร็วเกินกว่าจะป้องกันได้)

ตัวยานหนัก500ตัน ยาว105ฟุต สั่งสร้างจำนวน3ลำ



แน่นอนว่าช่วงปี1944-45 หน่วยข่าวกรองสหรัฐมีประสิทธิภาพสูงเพียงพอจะทราบปฏิบัติการยิงถล่มนิวยอร์กนี้ จึงเปิดยุทธการTeardrop ล่าทำลายเรือดำน้ำเยอรมัน-นาซี เต็มรูปแบบ จนสามารถจมเรือดำน้ำ6ลำได้ในเดือนมีนาคม1945

ถึงV-2 จะถูกลากไปยิงที่ไหนก็ตาม แต่เมื่อยังใช้เรือดำน้ำลากจูง ก็ไม่สามารถรอดกองเรือสัมพันธมิตรไปได้

น่าสนใจว่าต้นแบบยานปล่อยV-2 จากจำนวน3ลำที่สร้างถูกปิดเงียบในหน้าประวัติศาสตร์แต่เป็นต้นแบบให้สหรัฐและโซเวียตนำไปใช้กับเรือดำน้ำติดขีปนาวุธของตัวเองในช่วงต้นทศวรรษ1950 เช่นการทดสอบจรวด เรกูลัส ยิงจากเรือดำน้ำของสหรัฐในช่วงปี1950 เป็นต้น



ทันทีที่ได้ของ สหรัฐรีบทดสอบจรวดLTV-N-2 ลูน (V-1นั้นแล) ตั้งแต่ปี1946เรื่อยมาบนบก และทดสอบยิงจากเรือดำน้ำ USS.คาโบเนโร่ ซึ่งติดตั้งรางยิงบนดาดฟ้าเรือ ขณะยิงต้องลอยลำเหนือน้ำ ผลที่ได้คือจรวดมีความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายครึ่งไำมล์

อันนี้ทดสอบปี1948 เป็นการทดสอบครั้งที่4ระเบิดก่อนบนเรือUSS Cusk


โซเวียตเองก็ได้ของไปไม่น้อย สร้างจรวดR-11FM ที่ก๊อปจากV-2 นั้นแลดัดแปลงนิดหน่อยระยะยิงไกลราว150ก.ม.
กว่าโซเวียตจะดำเนินโครงการเรือดำน้ำบรรทุกขีปนาวุธก็ปาเข้าไปปี1955 พร้อมกับเรือดำน้ำชั้น ซูลู จำนวน2ลำติดตั้งลำล่ะ2นัดกลางลำเรือ  ขณะที่อเมริกาทดสอบยิงจากดาดฟ้าเรือแต่โซเวียตติดตั้งท่อยิงไซโลกลางเรือดำน้ำเลย แต่ก็ต้องลอยลำยิงเหมือนกัน(เหมือนของนาซีเด๊ะๆ)








พอเรือดำน้ำโปรเจ็ค629 กอฟ์-1และ2 ต้นยุค1960 เรือชั้นนี้ออกแบบให้ติดตั้งR11FM จำนวน3นัดในตัวเรือยิงจากใต้น้ำด้วยการผนึกไซโลป้องกันแรงดันน้ำใต้ทะเลทำลายลูกจรวดขณะยิง จะเห็นหอสะพานเรือที่ยาวขึ้น



จนถึงปัจจุบันโซเวียตจึงเป็นหนึ่งในด้านกองเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธ เพราะมีการทดสอบและพัฒนามาตลอดช่วงสงครามเย็นนั้นเอง เราจึงจะเห็นเรือดำน้ำติดขีปนาวุธของโซเวียตหลายรุ่นมาก




 

Create Date : 14 กันยายน 2556   
Last Update : 14 กันยายน 2556 21:43:43 น.   
Counter : 2832 Pageviews.  


ปลูตอง ขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์

Pluton SRBM


ปลูตอง ขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์พิสัยใกล้




ปลูตอง เป็นขีปนาวุธเคลื่อนที่ทางยุทธศาสตร์พิสัยใกล้( short-range ballistic missile )ของกองทัพบกฝรั่งเศสในช่วงยุคสงครามเย็น หลักๆนั้นเป็นขีปนาวุธเคลื่อนที่ติดตั้งบนยานปล่อย ทีอีแอล ( ทรานสปอรเตอร์ อิเล็คโทร ลันเชอร์) แบบ AMX-30 มีความคล่องตัวในการเข้าทำการยิงในจุดต่างๆได้รวดเร็ว  สามารถใช้ยิงทำลายเป้าหมายได้ทั้งหัวรบนิวเคลียร์15-25กิโลตัน (ประมาณระเบิด ทีเอ็นทีขนาด 1ถึง2หมื่น5พันตัน ) และหัวรบระเบิดแรงสูง สำหรับทำลายเป้าหมายหลังแนวข้าศึกที่ลึกเข้าไปในพื้นที่ยึดครองเช่น กองบัญชาการ จุดรวมพล เป็นต้น


แผนพัฒนา ปลูตองเริ่มในทศวรรษที่1960 โดย แอรโรว์ สเปซ แอน์ด สเตติคซิสเต็ม และได้ส่งมอบเข้าสู่สายการผลิตให้กองทัพฝรั่งเศสในปี 1974  ซึ่งต่อมากำหนดแผนพัฒนาขีปนาวุธ ซุปเปอร์ ปลูตอง รุ่นอัพเกรดแต่โครงการได้ถูกสั่งหยุดและหันไปพัฒนา ขีปนาวุธแบบ คาเดส รุ่นใหม่ในปี1983  ปลูตองนั้นมีพิสัยยิงไกลสุดที่ 120 ก.ม. ระบบการนำทางสู่เป้าหมายแบบ ซีที-20 ผลที่ได้คือความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายมากถึง150เมตร แต่กระนั้นก็ยังสามารถแก้ไขข้อมูลเป้าหมายได้ขณะกำลังโคจร ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็งทำความเร็วได้ราวๆ3มัค  โดยปลูตองนั้นเป็นแบบใช้หัวรบเดี่ยว ยาว 7.64เมตร หนัก 2.4ตัน  ยานปล่อยนำไปได้คันล่ะ1นัด




 ปลูตอง ถูกผลิตออกมา30นัด  ประจำการอยู่ทางภาคเหนือของฝรั่งเศสติดกับเยอรมันตะวันออก จำนวน5กองพันทหารปืนใหญ่  และถูกปลดประจำการในปี 1993


 


 




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2552   
Last Update : 8 สิงหาคม 2552 12:53:42 น.   
Counter : 4934 Pageviews.  


ขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ MGM-31 Pershing 1 และ 2

ในปี 1958 มาร์ตินได้เริ่มพัฒนา เพอร์ชิ่ง ลำเลียงบนยานสายพาน เอฟเอ็มซี สี่คัน ยานเหล่านี้บรรทุกแท่นยิงและตัวอาวุธปล่อย สถานีทดสอบโปรแกรมเมอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชุดเครื่องรับวิทธยุและหัวรบนิวเคลียร์ อาวุธปล่อยเมื่อประกอบแล้วจะถูกยกขึ้น เพื่อยิงในแนวตั้ง การยิงจะกระทำในระยะไกล


กำลังขับเคลื่อนได้มาจาก มอเตอร์จรวดธิโอคอล สองขั้น การควบคุมทำด้วยระบบนำวิถีแรงเฉื่ือย การยิงอาวุธปล่อยขึ้นไปในอวกาศแล้วกลับลงมาเหนือเป้าในพิสัย 100 ถึง 460 ไมล์ทำการทดสอบในเดือน กุมภาพันธ์ 1960 และเข้าประจำการครั้งแรกในสหรัฐ เดือน กรกฎาคม 1962 พอถึงปี 1964 ก็วางกำลังในกองทัพอากาศสหรัฐและในเยอรมันตะวันตก ในหน่วยของทหารอากาศเยอรมัน
เพอร์ชิ่ง 1 เอ ผลิตมาตั้งแต่ปี 1967 บรรทุกบนรถ เอ็ม 656 ขนาด5ตันที่ดัดแปลงโดยเฉพาะให้สามารถลำเลียงไปกับ บ.ล. ซี-130 ได้ ระบบอาวุธทั้งหมดสามารถบรรทุกไปได้โดยรถเพียงคันเดียว การปรับปรุงอื่นๆได้แก่ระบบการสื่อสารและลดเวลาปฏิกิริยาตอบโต้อีกครั้งในปี 1976 ทำให้สามารถยิงอาวุธปล่อยได้3นัดต่อเนื่องและปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว จากสถานที่ๆไม่เคยสำรวจมาก่อน


การพัฒนาครั้งต่อมาเป็นผลให้ได้ เพอร์ชิ่ง 2 ออกมาเพื่อลดยีลด์หัวรบลงไปได้ เนื่องจากมีความแม่นยำสูงขึ้น เพราะระบบนำวิถีด้ยเรดาห์เฉพาะพื้นที่ เพอร์ชิ่ง 2 มีพิสัยไกลกว่า รุ่น 1 เอ เป็นสองเท่าและได้พัฒนาโดยสัญญาเป็น 360 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาทดแทนระบบแรกๆจำนวน 108 ระบบในเยอรมันตะวันตกเริ่มในปี 1984 งานปรับปรุงอื่นๆได้แก่ลดบริภัณฑ์สนับสนุนและกำลังพลปรับปรุงเวลาปฏิกิริยาปฏิบัติการและให้อยู่รอดได้สูงขึ้น



หัวรบเจาะลงไปในพื้นดินทำให้อาวุธปล่อยมีประสิทธิภาพลึกลงไปถึง98ฟุต พิสัยของอาวุธปล่อย 120 ไมล์ ยิงทดสอบความแม่นยำอยู่ภายใน 82 ฟุต ขีปนาวุธแบบนี้ยิงได้สูง 1 ล้านฟุต ความเร็ว 12 มัค




 

Create Date : 17 มีนาคม 2551   
Last Update : 17 มีนาคม 2551 23:43:06 น.   
Counter : 1097 Pageviews.  


มาร์ติน TM-61 มาทาดอร์ ระบบขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์แบบแรกของโลก

ระบบ อาวุธ พื้น สู่ พื้น ทางยุทธวิธีรุ่นแรกพัฒนาในช่วงระหว่างสงครามเกาหลี โดย อเมริกาและฝรั่งเศส มีรูปทรงคล้ายเครื่องบินปีกลู่หลัง ยิงจากฐานพื้นแข็งหรือแท่นยิงเคลื่อนที่ ระบบช่วยส่งแรงขับ 50000 ปอน์ด แรงขับเดินทางได้จากเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ต อัลลิสัน เจ-33 แรงขับ 4600 ปอนด์ ติดหัวรบหนัก 3000 ปอนด์ ได้ทั้งหัวรบธรรมดาและหัวรบนิวเคลียร์



......ระบบนำวิถีเชื่อมโยงกับวิทยุเส้นสายตา ทำให้พิสัยอาวุธจำกัดกว่าที่ควรจะเป็นคือ 650 ไมล์ ต่อมาเพิ่มระบบนำวิถีไฮเปอร์โบลิค ทำให้แล่นไปได้ถึง500ไมล์ มาทาดอร์ชุดแรก 1000 ชุดเข้าประจำการใน ท.อ.สหรัฐในปี 1955



แบบที่ได้รับการปรับปรุงใหม่รู้จักในนามว่า เมซ Martin TM-76 Mace missile ใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้น บรรจุเชื้อเพลิงมากขึ้นเป็นสองเท่าและหัวรบใหญ่ขึ้น ระบบนำวิถีแบบใหม่และพัฒนาให้พิสัยไกลออกไปอีก ระบบ เมซเข้าประจำการในเยอรมันตะวันตกในปี 1959และปลดประจำการในปี1966






 

Create Date : 17 มีนาคม 2551   
Last Update : 17 มีนาคม 2551 20:56:54 น.   
Counter : 807 Pageviews.  



ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com