โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
 

เทคโนโลยีแห่งกองทัพอากาศอิหร่าน

หลังจากโดนอเมริกาและอิสราเอลหมายหัวไว้ ทำให้อิหร่านต้องพัฒนาตัวเองอย่างสูงสุดเท่าที่จะทำได้หากไม่อยากเป็นเหมือนอิรักที่โดนละเลงไปแล้ว อิหร่านต่างจากเกาหลีเหนือตรงที่เงินน่ะมีแต่ตัวเลือกในการหาของไว้ป้องกันตัวทำได้ยากตัวเลือกมีไม่มากและจัดหาได้แบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าใดนัก สิ่งที่อิหร่านทำอยู่ตลอดคือการใช้เทคโนโลยีและการช่วยเหลือจากจีนและรัสเซียเข้ามาพัฒนาให้ได้มากที่สุด

อิหร่านรู้ดีกว่าศักยภาพการโจมตีทางอากาศจากอเมริกาและอิสราเอลนั้นสูงอันดับต้นๆของโลก ยิ่งโดยเฉพาะอิสราเอลที่มีประสบการณ์ในการใช้กำลังทางอากาศปะทะกับระบบป้องกันฝ่ายรัสเซียด้วยแล้ว ทำให้อิสราเอลน่ากลัวมากขึ้นไปอีก

ดังนั้นอิหร่านจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบป้องกันอากาศยานมาก ซึ่งสิ่งที่พอทำได้คือเอาของเก่าที่ได้มาตั้งแต่ยุคปฏิวัติพระเจ้าซาร์มาดัดแปลงอัพเกรดใหม่ โดยเฉพาะระบบHawk-B แซมพิสัยกลางจากอเมริกาที่หลายชาติปลดไปหมดแล้วอิหร่านยังคงอัพเกรดจับโน้นใส่นี่ โดยยังไม่ปลดประจำการ(ไม่รู้ติดใจอะไรขนาดนั้น) โดยอิหร่านอัพเกรดระบบHawkของอเมริกาใหม่ภายใต้ชื่อ Mersad ซึ่งประกอบด้วยจรวดแบบShaheen/Shalamche ซึ่งมีระยะยิงราวๆ30-60ก.ม.(แบ่งเป็น2เฟส) นำวิถีแบบเซมิ-แอคทีฟเรดาห์ ความเร็ว2.4-3มัค ซึ่งเริ่มทำและผลิตเป็นจริงๆจังๆในปี2010

Mersad ยังไม่มีข้อมูลเปิดเผยออกมามากนัก ภาพรวมดูมีการดัดแปลงระบบควบคุมการยิงที่ทันสมัย มีกล้องทีวีสำหรับเกาะติดเป้าหมายที่ตัวเรดาห์ มีความคงทนต่อการถูกแจมให้มากขึ้น

จริงๆแล้วอิหร่านใช้จรวดHawk ทำทุกอย่าง(แสดงว่าคงหามาไว้เยอะมาก) ซึ่งหลังจากปฏิวัติพระเจ้าซาร์ เพื่อดำรงความสามารถของF-14ไว้พอจรวดAIM-54หมดอายุใช้งานลงไป อิหร่านถึงขั้นนำHawkมาติดกับF-14ในชื่อHawk-Sam แต่ประสิทธิภาพไม่ค่อยโดนเท่าไรเลยถอดออกในที่สุด



NNIIRT 1L119 Nebo SVU “counter-stealth” VHF-band AESA คือเรดาห์ปริศนาของอิหร่าน ซึ่งเป็นเรดาห์ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่อิหร่านมี แต่เป็นเรดาห์ตัวเก่าที่ผลิตโดยรัสเซียตั้งแต่ปี1980 มีความสามารถในการค้นหาอากาศยานตรวจจับได้ยากเป็นลักษณะเด่น
เรดาห์ตัวนี้ผลิตโดยรัสเซียและก๊อปโดยจีนในชื่อP-12/18 Spoon Rest subtype เพราะรูปร่างที่ผสมกันทำให้นักวิเคราะห์มองว่าประสิทธิภาพจะดีกว่าต้นฉบับหรือไม่ อีกอย่างนึงก็ไม่มีข้อมูลการผลิตหรือส่งออกจากฝ่ายรัสเซียอย่างแน่ชัด จึงทำให้มองกันว่าเรดาห์น่าจะเป็นตัวก๊อปจีนมากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรแต่ประสิทธิภาพของเรดาห์ตัวนี้ก็สูงจนทำให้การป้องกันทางอากาศของอิหร่านก้าวกระโดด เพราะระบบค้นหาเป้าหมายดิจิตอลที่สามารถอัพเกรดให้สูงขึ้นได้อีกทั้งยังมีระยะตรวจจับไกลและค้นหาและเกาะติดเป้าหมายหลายๆเป้าไปในตัว ถึงขนาดอเมริกาต้องคิดค้นกระเปาะALQ-99 ที่มีความถี่ต่ำในการแจมเรดาห์พวกความถี่VHF แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาชนะเรดาห์Nebo 1L119 ที่เป็นดิจิตอลและอัพเกรดให้มีประสิทธิภาพสูงได้เสมอ
แต่กระนั้นก็ยังไม่แน่ชัดว่าอิหร่านมีเรดาห์ตัวนี้กี่ระบบและประจำการในหน่วยใดกันแน่

องทัพอากาศของอิหร่านเองก็มีความสำคัญไม่น้อยอิหร่านพยายามสุดแสนจะรักษากองทัพอากาศที่มีอาวุธหลักได้จากอเมริกาไว้ให้ได้นานสุดๆ โดยเฉพาะF-14 ที่ยังพอบินได้โดยมีภาพนึงที่น่าสนใจคือการนำจรวดR-27(AA-10 อลาโม่) ติดตั้งเข้ากับF-14ในชื่อ ทูพาน-โปรเจ็ค แต่ไม่รู้เป็นไงมั่งไม่ได้รับการเปิดเผย

ส่วนอากาศยานอื่นๆนั้นก็มีทั้งรัสเซียและจากฝรั่งเศส บ.ข.หลักอีกรุ่นนึงคือเครื่องบินขับไล่แบบ มิราจ เอฟ-1 ที่มาจากอิรัก โดยมิราจที่ประจำการมีรุ่นสองที่นั้งคือBQ ส่วนEQ-2/4/5/6 เป็นทั้งขับไล่ครองอากาศ ขับไล่โจมตีและติดจรวดเอ็กโซเซ็ทโจมตีเรือรบตามลำดับ

อากาศยานอื่นๆที่น่าสนใจเ้ช่นF-16A จำนวน200เครื่องที่สั่งไปแต่มาจริงๆไม่รู้ว่ากี่เครื่อง ซึ่งตอนหลังได้จำหน่ายเป็นอะไหล่ให้เวเนซูเอล่าไป




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2555   
Last Update : 15 มิถุนายน 2555 16:15:05 น.   
Counter : 2380 Pageviews.  


เกราะเสริม VS เกราะซ้อนทับ


Challenger-2 ของอังกฤษที่เกราะหนามากและยังมีการเสริมเกราะที่ด้านข้างเข้าไปอีกชั้น


ในปัจจุบันนั้นเกราะของรถถังหลักที่มีใช้อยู่จะมี2ประเภทหลักด้วยกันที่นิยมใช้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ล่ะชาติหรือบริษัท โดยเกราะทั้ง2ประเภทนี้คือ " เกราะเสริม " และ " เกราะซ้อนทับ " ซึ่งการเรียกนั้นในภาษาฝรั่งตามบทความจะเรียกว่า "second-tiered" protection systems หรือ "three-tiered" protection systems ก็แปลง่ายๆว่าระบบเกราะคุ้มกันชั้นที่2และ3 ซึ่งเป็นเกราะที่พบในรถถังหลายๆรุ่นที่เราได้ติดตามในหัวข้อ " การจัดหารถถังใหม่ของท.บ.ไทย "


แต่ในภาษาไทยนั้นส่วนใหญ่เรียกตามลักษณะที่ติดตั้งหรือประกอบเข้าไปกับตัวป้อมปืน ซึ่งป้อมปืนมาตราฐานของรถถังแต่ล่ะคันนั้นจะเป็นเกราะเหล็กกล้าเดิมๆหล่อขึ้นหรือประกอบขึ้น หรืออาจจะเป็นวัสดุผสม2ชนิดขึ้นไปหล่อหรือนำมาประกอบกันเพื่อเป็นป้อมก่อนใช้เกราะทั้ง2ประเภทข้างต้นทับเข้าไปอีกชั้น




แผ่นเหล็กที่ทำเกราะเสริมถูกนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2โดยฝ่ายเยอรมัน ในภาพรถถัง Sturmgeschütz III โดยภาพล่างแสดงให้เห็นถึงการถูกยิงหลายนัดและกระสุนถูกบริเวณรอยต่อระหว่างเกราะ


โดยการใช้เกราะเสริมนี้ เริ่มใช้กันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่2 โดยเยอรมันนิยมแนวคิดนี้มากกว่าอังกฤษ โดยรถถังอังกฤษนั้นเน้นการสร้างตัวรถหรือป้อมเป็นเหล็กกล้าหนาสุดๆจนปืนต่อสู้รถถังมาตราฐานในยุคนั้นของเยอรมันเจาะไม่เข้า จำพวก37-50ม.ม. รถถังพวกนี้ได้แก่ มาทิลด้า(Matilda M.K.-1) ชาร์ล(Char B-1)ของฝรั่งเศส เป็นต้น ที่เกราะหนาแต่เชื่องช้ามากๆเพราะน้ำหนักตัวรถ  ส่วนเยอรมันได้ประสบการณ์หลายแนวรบเพราะรถถังรุ่นแรกๆที่ใช้บุกจำพวก แพนเซอร์-1-4 แม้ว่ามีความคล่องตัวอาวุธที่รุนแรง(ในช่วงต้นสงคราม) แต่เกราะบางเกินไปแล้วพอเข้าช่วงกลางสงครามที่ แนวรบตะวันออกซึ่งการปะทะกับรถถังโซเวียต หลายๆรุ่นเช่นหัวหอกหลักT-34 แม้ว่าตัวรถเกราะจะบางแต่ตัวป้อมเป็นเหล็กหล่อหนาทั้งชิ้นแบบรถถังอังกฤษ อีกทั้งปริมาณที่เยอะ จึงทำให้ปืนที่รุนแรงของเยอรมันยิงไม่ทันหรือจัดการไม่ได้ในนัดเดียว จึงทำให้โดนยิงจากทุกทาง เยอรมันจึงต้องแก้ด้วยการนำแผ่นเหล็กทั้งแผ่นมาบังข้างรถ เวลาโดนยิงจากทางด้านข้างถึงแม้จะไม่สามารถต้านทานกระสุนไม่ให้ทะลุถึงตัวรถหรือจุดสำคัญแต่ก็ลดทอนอำนาจการทำลายของกระสุนไปเยอะเช่นกัน โดยรถถังที่ว่านี้(ไม่รวมพวกไทเกอร์ ที่เกราะหนามากจัดเป็นประเภทรถถังหนัก นับรถถังอื่นๆเช่นแพนเซอร์และแพนเธอร์ ที่เกราะบางกว่าไทเกอร์มาก แถมป้อมก็บางมีฝาเปิดหลายจุด)เช่น สตรัมเกซชุส-3(Sturmgeschütz III)ที่เป็นรถถังล่าสังหารไม่มีป้อมปืน แต่ตัวรถแบนต่ำ ซึ่งทำให้ความคล่องตัวในการหมุนรถลดลงไปจึงโดนยิงทางด้านข้าง หรือรถถัง แพนเซอร์-4อัฟส์.จี ที่ติดเกราะประเภทนี้ที่ป้อมปืนและด้านข้าง โดยหลักๆลดการทำลายของกระสุนหัวระเบิด


 




จากบนลงล่าง รถถังในช่วงยุคสงครามเย็น M-60อเมริกา ชีฟเท่น-อังกฤษ และ T-72รัสเซีย ที่เกราะเป็นเหล็กกล้าเดิมๆเท่านั้น


ถึงจะล่วงเลยยุคสงครามโลกครั้งที่2เข้าสู่สงครามเย็นรถถังหลักส่วนใหญ่เกราะยังเป็นเหล็กล้วนๆหรือวัสดุผสมที่มีการพัฒนาอยู่บ้างในรถถังอังกฤษและเริ่มชัดเจนในช่วงกลางทศวรรษ1975เป็นต้นมา รถถังหลักของนาโต้เริ่มใช้เกราะผสมทำป้อมและซ้อนด้วยเกราะชนิดพิเศษต่างๆเข้าไปอีกชั้น ในขณะเดียวกันรถถังรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในยุคนั้นมีจำนวนเยอะกว่ามากยังเป็นเกราะเหล็กกล้าหนาไม่ต่ำกว่า200ม.ม. เหมือนดังรถถังหลักพวก js-2 แต่ตัวรถยังบางเหมือนเดิม แก้ไขด้วยการเสริมเกราะแปะเข้าไปตามจุดต่างๆของตัวรถ โดยสามารถแปะเข้าไปที่ตัวป้อมได้รวดเร็วไม่ต้องผลิตป้อมใหม่


ทีนี้เราจะมาดูกันคร่าวๆว่าเกราะทั้ง2ประเภทมีข้อดี-เสียอย่างไรกันบ้าง



การวางเกราะของ M-1 อับรามที่ป้อมกับตัวรถที่แนบติดกันมาก


เริ่มที่เกราะซ้อนทับ ลองนึกภาพง่ายๆคือขนมชั้น เริ่มจากเกราะเดิมสลับด้วยวัสดุประเภทต่างๆเช่น อัลลอย์ด ไทเทเนียม เคฟลาห์ เกราะระเบิดปฏิกิริยาเคมี เป็นต้น ตามแต่ประเทศหรือบริษัทนั้นจะวิจัยหรือพัฒนา เกราะประเภทนี้มีจะติดเข้ากับป้อมได้ชิดทั้ง4ด้าน และยังมีผลในการออกแบบป้อมปืนที่มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ที่มีผลทำให้ความหนาของเกราะเท่ากันทุกด้าน ข้อดีคือความหนาเท่ากันและสามารถเสริมเกราะเข้าไปได้หลายๆชนิด จากเดิมทีป้อมนั้นมีขนาดเล็กกว่าตัวรถแต่การเสริมเกราะออกไปจะทำให้ป้อมมีขนาดเท่ากับตัวรถพอดี(เหมือนดังเราวางกล่องจากเล็กสวมด้วยกล่องใบใหญ่ออกไปเรื่อยซัก2-3ใบ)ทำให้มีมุมที่จะยิงทำลายได้น้อยมาก เพราะยังมีการเสริมแผ่นเกราะบังบริเวณแทร็คสายพานจนชิดป้อมอีกเช่นกัน


ข้อเสียที่แน่ชัดคือ รถถังจะมีน้ำหนักที่มากเพื่อแลกกับเกราะที่แข็งแกร่ง และหากโดนยิงจังๆเกราะจุดนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งแผงเนื่องจากเกราะเป็นเนื้อเดียวกัน รวมถึงการดัดแปลงป้อมทำได้ยากกว่าเกราะเสริมมาก เนื่องจากถูกผลิตมาเรียบร้อยจากโรงงาน


เกราะเสริม เกราะประเภทนี้เราอาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือการเอาแผ่นเกราะเสริมที่มีขนาดเท่ากับสมุดโดยประมาณหนาที่2-3นิ้วตามแต่ประเทศผู้ผลิตมาแปะไว้ให้ทั่วป้อม โดยอาจจะห่างจากป้อมเดิมราวๆครึ่งนิ้ว(ตรงนี้ผมไม่ขอยืนยันเพราะการออกแบบรถถังในกลุ่มนี้จะไม่เหมือนกันทุกประเทศ) โดยส่วนมากจะแปะบริเวณด้านหน้าและด้านข้าง เกราะทำมุมเฉียงเพื่อให้เกิดความหนา โดยสามารถแปะเพิ่มได้1-2ชนิด เพื่อประสิทธิภาพที่ต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะนิยมแปะเกราะระเบิดปฏิกิริยาที่มุ่งเน้นป้องกันการถูกยิงจากจรวดหรือปืนใหญ่กระสุนหัวระเบิดแรงสูงหรือหัวรบสองชั้น กล่าวคือแผ่นเกราะเสริมจะระเบิดทำให้หัวรบที่พุ่งมาชนระเบิดก่อนถึงเกราะหลักที่เป็นเหล็กเดิม ซึ่งทำให้ตัวรถปลอดภัยหรือลดทอนอำนาจการทำลายของกระสุนบางประเภทได้


Image


การวางเกราะเสริมของรถถัง T-80


ข้อดีคือ สามารถดัดแปลงได้ไวและใช้ได้กับรถถังทุกรุ่นเช่น T-55/62/72/80หรือแม้แต่ M-48/60 ใช้งบประมาณไม่มาก อีกทั้งน้ำหนักยังเบามาก



T-72ที่แปะเกราะเสริมไว้ทั่วคัน


Image


การติดตั้งแผ่นเหล้กบังเกราะเสริมของ T-80BM


ข้อเสียคือ มันใช้ได้ในการป้องกันครั้งแรก ซึ่งหากเกราะเสริมระเบิดไปแล้วจุดนั้นก็จะเป็นช่องหรือรูที่มองเห็นถึงเกราะเดิมของป้อม ซึ่งมีผลทำให้อาจจะโดนยิงซ้ำได้  ซึ่งใช้ได้ดีในการป้องกันแล้วถอยเพื่อป้องหลักในกรณีที่หาจุดต่อตีไม่ได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อเกราะระเบิดจากกระสุนปืนกลหนักเจาะเกราะ12.7ม.ม.ขึ้นไป พุ่งมาชนทำให้เกราะระเบิดก่อนถูกยิงด้วยจรวดหรือปืนใหญ่จากรถถังโดยตรงเช่นกัน  จึงได้มีการออกแบบให้มีแผ่นเหล็กป้องกันกระสุนพุ่งชนเกราะระเบิดก่อน อีกทั้งการวางแผ่นเกราะซึ่งช่องรอยต่อระหว่างแผ่นเกราะเสริมอาจจะสร้างปัญหาในกรณีที่กระสุนเข้าปะทะได้


ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายชาติที่เสริมกำลังของตนเองก็เลือกจัดหารถถังมือ2เกราะเดิมๆมาดัดแปลงหรือดัดแปลงของเก่าด้วยการเสริมเกราะเข้าไปเพื่อเพิ่มอำนาจการป้องกันลดความเสียหายของตัวรถไม่ให้ถูกยิงทำลายพังได้ในนัดเดียว รวมถึงใช้งบประมาณไม่มากนั้นเอง


File:M60A1-Patton-Blazer-latrun-2.jpg


M-60ของอิสราเอลติดตั้งเกราะ เบลเซอร์






 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2553 19:21:31 น.   
Counter : 3385 Pageviews.  


ป้อมปืนใหญ่เบา CTA-40



ป้อม CTA-40


ป้อมปืนใหญ่เบาอัตโนมัติ แบบ CTA-40ม.ม. CTAW เป็นป้อมปืนที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่าง2ประเทศคืออังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อใช้ร่วมกันในกองทัพทั้ง2ประเทศไม่ว่าจะตัวป้อมจนถึงกระสุน  ขีดความสามารถเทียบเท่ารถถังเบาที่ใช้ปืนขนาด76ม.ม.ในอดีต แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในเรื่องอำนาจการยิงและใช้งาน ด้วยกระสุนหลากประเภท อำนาจการยิงเกิน50นัด/นาที  มีอำนาจการทำลายมากกว่าปืนกลหนัก25-30ม.ม. ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจการทำลายน้อยกว่าและยังไม่สามารถต่อต้านยานเกราะฝ่ายข้าศึกที่เกราะหนาได้ โดยทั้ง2ประเทศได้ตระหนักถึงขีดความสามารถของรถเกราะสายพานลำเลียงพลฝ่ายรัสเซียเช่น BMP-2/3และBMD-3/4  อย่างที่ทราบกันว่ารถทั้ง2รุ่นมีอำนาจการยิงค่อนข้างรุนแรงต่อเป้าหมายทุกชนิดจากปืน76-100ม.ม. และยิงได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากรถหุ้มเกราะฝ่ายนาโต้โดยสิ้นเชิงที่ติดอาวุธเบากว่า ส่วนนึงคือการออกแบบตัวรถฝ่ายรัสเซียที่แบนต่ำทนทานแรงถอยของปืนและมีมุมยิงได้ค่อนข้างมาก


โดยทั้ง2ประเทศได้ร่วมมือกันพัฒนามานานกว่า 15ปี ผ่านบริษัทหลักคือ CTA International ที่มี2บริษัทร่วมลงทุนคือ BAEของอังกฤษและNEXTERของฝรั่งเศส โดยตอนก่อตั้งในปี1994 ตอนนั้นเป็น บริษัท เกียตและรอยัล-ออแนลด์ ซึ่งวางแผนไว้คือพัฒนาปืน45ม.ม. ต่อมาในปี1997 จึงเปลี่ยนมาใช้40ม.ม. โดยอีกประเทศที่พัฒนาในแบบของตนเองคือสวีเดนกับรถ CV-90 ที่ใช้ป้อม40ม.ม.เช่นกันและมีกระสุนที่หลากหลาย โดยไม่ต้องพึ่งพาจรวดนำวิถีต่อต้านยานเกราะ


โดยอังกฤษต้องการพัฒนาใส่ รถหุ้มเกราะ วอร์ริเออร์ และเสนอให้อเมริกาไปติดกับ รถแบรด์ลีย์เช่นกัน ในปี1999 โดยอังกฤษได้เพิ่มแบบคือติดตั้งกับรถหุ้มเกราะสายพาน FRES-SCOUT ที่พัฒนาโดย BAE ของอังกฤษ ซึ่งกำลังจะเข้าประจำการในอนาคต ส่วนฝรั่งเศสยังไม่มีความชัดเจนมากเท่าใด แต่อาจจะติดตั้งกับรถEBRC VBCIและAMX-10  โดยจะทำการผลิตและเข้าประจำการอย่างเต็มรูปแบบในปี2012 โดยการทดสอบยิงมากกว่า15000นัด ก่อนเข้าสู่การผลิตใช้กับป้อมปืนน้ำหนักระหว่าง1.5-2ตัน


ปืน40ม.ม. มีความยาวลำกล้องเท่ากับ ปืน30ม.ม.เอ็มเค.44 บุช-II ตัวกระสุนต่างจากกระสุน40ม.ม.ปกติที่ใช้มายาวนานที่เราจะเห็นปลอกและหัวกระสุน แต่กระสุนCTA40ม.ม.ที่พัฒนานี้จะมีรูปทรงกระบอกเป็นแท่งๆเหมือนถ่านไฟฉายซึ่งมีหัวกระสุนและดินปืนอยู่ภายใน โดยความยาวของกระสุนมีขนาดเท่ากับกระสุน30ม.ม.ที่ใช้กับปืน ราเด้น ของอังกฤษ




การทำงานด้วยวิธีบรรจุกระสุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ด้วยตัวบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงแบบลุกโม่(อธิบายไม่ค่อยถูกดูภาพเอาล่ะกัน) มีการทำงานที่รวดเร็วแม่นยำทำให้อัตรายิงสูงถึง200นัด/นาที แน่นอนว่าอัตรายิงระดับนี้แถมหัวระเบิดที่รุนแรงจะทำให้เป้าหมายพรุนโดยไม่ทันได้ตอบโต้ด้วยซ้ำ  โดยตัวปืนมีอายุการใช้งานก่อนซ่อมคือ 10000นัด ตามมาตราฐานอังกฤษและฝรั่งเศส สามารถทำงานในสภาวะอุณหภูมิ-46ถึง+63องศา มีความน่าเชื้อถือสูงถึง98% ระบบสลับกระสุน2ชนิดใช้เวลาน้อยกว่ามากกว่า3วินาที ควบคุมการยิงด้วยรีโมทคอนโทรล ด้วยพลประจำ2นาย




ขั้นตอนการบรรจุกระสุน


กระสุนมาตราฐานมี3ชนิดคือ


กระสุนหัวระเบิดแรงสูงGPR-T(General Purpose Round Tracer) ขั้นทดสอบยิงเป้าหมายคอนกรีตเสริมเหล็กหนา215ม.ม. ทะลุ ด้วยความเร็ว1010เมตร/วินาที  อัตรายิงต่อนัดน้อยกว่า3วินาที หัวระเบิด115กรัม



กระสุนเจาะเกราะพลังงานจลล์ CTWS APFSDS-T เจาเกราะเหล็กกล้าหนา140ม.ม. ที่ระยะ1500เมตร ด้วยความเร็วพุ่งชน1480เมตร/วินาที



ซึ่งยังมีกระสุนอีก2ชนิดคือ TP-TและGPR-T ซึ่งกำลังพัฒนา ซึ่งจะเปิดตัวในราวปี2012


...เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ ปกติรถหุ้มเกราะก็บางอยู่แล้วเจอแบบนี้ไป คงไม่รอด ประสิทธิภาพเหมือนรถถังเบาอย่างแท้จริงครับ



 




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 20:23:31 น.   
Counter : 1534 Pageviews.  


CFT ถังเชื้อเพลิงเสริมเครื่องบินขับไล่

Conformal fuel tanks (ซีเอฟที)เป็นถังเชื้อเพลิงเสริมที่ติดตั้งภายนอก แนบไปกับลำตัวของอากาศยานทางด้านข้างหรือหลังห้องนักบิน เพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิงในการบินได้ไกลขึ้นนานขึ้นนอกจากถังเชื้อเพลิงสำรองบริเวณใต้ลำตัว และยังทำให้มีพื้นที่ติดตั้งอาวุธเพิ่มมากขึ้นใต้ลำตัวด้วยเช่นกัน เพราะไม่ต้องเอาพื้นที่ไปติดตั้งถังเชื้อเพลิงสำรอง


โดยปัจจุบันอากาศยานรบ(บ.ข.)ส่วนใหญ่ทำออกมาหรือดัดแปลงให้ติดตั้งถังเชื้อเพลิงแนบไปกับลำตัวได้เกือบจะทุกรุ่น และเพื่อส่งออกในด้านประสิทธิภาพที่มากขึ้น  โดยรุ่นที่ทำการติดตั้งแรกๆที่เห็นได้ชัดคือ เอฟ-16บล็อค50/52  โดยแค่ติดตั้งยังไม่พอต้องมีการออกแบบให้มีรุปทรงเพียวลดการสะท้อนเรดาห์ อีกด้วยเช่นกัน


เริ่มที่ ยูโรไฟเตอร์-ไต้ฝุ่น กับเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอีก3000ลิตร(ถังล่ะ1500ลิตร) (เสนอให้อินเดียไปเลือกด้วย) ทำให้ ไต้ฝุ่นมีพื้นที่ติดตั้งอาวุธเพิ่มขึ้นอีกเพียบเลยทีเดียว โดยเฉพาะในภารกิจครองอากาศ(ปกติก็ติดตั้งได้เยอะอยู่แล้วนะนั้น)


Image


 


 


 


 


 


 


 


 


 


   Image


ราฟาล (ถังล่ะ1150ลิตร)ซึ่งน่าจะส่งออกทำตลาดได้เพราะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งได้ส่งเข้าแข่งที่อินเดียและบราซิลเช่นกัน



Image
Image


เอฟซี-20 (เจ-10)ของปากีสถาน ซึ่งอนาคตเราคงได้เห็นกัน
Image


มิก-29 เอสเอ็มที(หลังห้องนักบิน)



เอฟ-16บล็อค60บริเวณด้านข้างลำตัวถังล่ะ1701ลิตร



เอฟ-15 ขณะติดตั้งถังเชื้อเพลิงซีเอฟที




เอฟ-5 บริเวณด้านข้างลำตัว







 

Create Date : 29 มีนาคม 2553   
Last Update : 29 มีนาคม 2553 20:35:36 น.   
Counter : 1317 Pageviews.  


MANPAD DANGER

THE MANPAD DANGER



เอฟไอเอ็ม-92 สติงเจอร์ของสหรัฐ


ระบบแซมประทับบ่าหรือที่เรียกรวมอาวุธประเภทนี้ว่าMANPAD Man-portable air-defense systems(แมนแพต)เป็นระบบต่อต้านอากาศยานระดับต่ำและอันตรายแก่อากาศยานทุกชนิดที่บินอยู่ใกล้ในระยะยิงของมัน นอกจากนั้นยังตรวจับได้ยากและมีความคล่องตัวสูงอย่างมาก สามารถใช้ยิงได้จากทุกจุด ทุกมุมยิงที่สามารถเห็นอากาศยานได้ ใช้การยิงด้วยพลประจำเพียง1นาย ใช้งานง่ายเทียบเท่าระบบต่อสู้รถถังเช่น อาร์พีจี บาซูก้า คือ ประทับบ่า-เล็ง-ลั่นไก และหนีไปได้เลยโดยปล่อยให้จรวดวิ่งตามเป้าหมายเอง ซึ่งจะทำให้อากาศยานไม่ทราบที่มาของเป้าหมายแถมยังต้องหนีจากจรวดที่ถูกยิงมา เรียกว่าสามารถจัดการเป้าหมายได้แบบนัดเดียวจอด เรียกว่าเป็นการแลกกันที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้มเพราะ แมนแพตราคาไม่แพงถูกว่าอากาศยานหลายเท่าตัวแต่สามารถจัดการอากาศยานราคาแพงหลักร้อยล้านได้สบายๆ


แซมประทับบ่าหรือแมนแพตนั้นใช้หัวรบค้นหาเป้าหมายด้วยอินฟาเรด ขีดความสามารถเทียบเท่ากับที่อากาศยานใช้ยิงอากาศยานด้วยกันเช่น ไซด์ไวน์เดอร์ เอเอ-11 อาร์เชอร์ เป็นต้น เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่ามากและมีระยะยิงไม่ไกล เป้าหมายส่วนใหญ่คืออากาศยานที่ต้องบินต่ำเข้าไปในพื้นที่เช่น สนับสนุนการสู้รบโดยใกล้ชิด หรือต้องบินผ่านพื้นที่ในระดับต่ำ ประมาณมองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนด้วยสายตาเปล่า ซึ่งเป้าหมายหลักคือ ฮ.ทุกชนิดและเครื่องบินที่บินโจมตีต่ำและที่พึ่งขึ้นจากรันเวย์


อากาศยานประทับบ่านั้นถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามเย็น รุ่นหลักๆเช่น เรดอายของสหรัฐ เอสเอ-7แกร ของโซเวียต โดยเฉพาะรุ่นหลังถูกพัฒนาและผลิตในหลายประเทศ นอกจากนั้นยังถูกนำไปใช้ในกลุ่มผู้ก่อการร้ายใช้ยิงเครื่องบินที่บินขึ้นจากสนามบินอีกเช่นกัน


ปัญหาที่พบในรุ่นแรกๆของแมนแพตคือ หัวรบอินฟาเรดไม่มีประสิทธิภาพมากพอ คือหลงเป้านั้นเอง ถูกรบกวนจากเป้าลวงด้วยความร้อนได้ง่าย(แฟร์)จนหลงทิศวิ่งไม่ชนเป้าหมาย นอกนั้นยังมีมุมยิงจำกัดเพราะต้องเล็งยิงให้หัวรบจับเป้าหมายท้ายลำที่เป็นแหล่งก่อเกิดความร้อนจากไอพ่นเท่านั้น ไม่สามารถยิงสวนเข้าหาเป้าหมายตรงหน้าได้ และอากาศยานเริ่มพัฒนาระบบแฟร์(พลุความร้อน)ติดตั้งกันอย่างกว้างขวางเพื่อใช้ลวงแมนแพต และ จากจรวดประจำอากาศยานหัวรบนำทางอินฟาเรด แต่สำหรับฮ.ทุกชนิดยังเป็นเป้าหมายที่ยังไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากมีความเร็วต่ำ บินไม่สูงมากจึงไม่ทันหนีและป้องกันแมนแพตที่ยิงมาในระยะใกล้จนไม่สามารถจัดการอะได้ทันจนเสียหายตกไปนั้นเอง


 


อิ๊กล่า ขณะทำการยิง แสดงให้เห็นว่ามีขนาดเล็กและใช้งานง่ายจนเป็นเป้าหมายขนาดเล็กที่อากาศยานมองไม่เห็นและโดนยิงตกในที่สุด


ส่วนนึงที่จะทำให้แมนแพตไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างเพียงพอ เหตุผลนึงคือ ความรู้ความสามารถของกำลังพล ขาดการฝึก รวมถึงไม่ทราบขีดความสามารถอย่างแท้จริง เช่นระยะยิง พิสัยยิง จนยิงไม่โดน ปัญหานึงสำหรับพลยิงคือ สายตาไม่สามารถมองเห็นได้ไกลมากพอ อาจจะด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศที่มีเมฆบดบังการยิง โดยเฉพาะตอนกลางคืนหากไม่มีกล้องตรวจจับความร้อนการยิงให้โดนไม่สามารถเป็นไปได้เลยเพราะมองไม่เห็นเป้าหมาย หรือโดนทำลายโดยตัวเองไม่รู้ตัวก็มีเช่นกัน อีกเรื่องคือทิศทางของเป้าหมายที่ต้องทราบก่อนยิง หากไม่มีเรดาห์แจ้งให้พลประจำรู้ทิศทางของเป้าหมายการจะยิงให้โดนจัดการเป้าได้ทันทีก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน


ในการรบที่อัฟกานิสถาน อิรัก ที่ผ่านมาครั้งโซเวียตและอเมริกาบุก นั้นปัญหาที่ฝ่ายต่อต้านไม่สามารถจัดการอากาศยานโซเวียตและอเมริกาได้ คือ ไม่ทราบความสูงของเป้าหมายจึงทำการยิงออกไป นอกจากจะยิงไม่ถึงแล้วอาจจะเปิดเผยจุดยิงทำให้โดนถล่มได้ อีกทั้งความเก่าของอาวุธไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการเป้าหมายได้เพียงพอ


manpad.jpg


แสดงส่วนประกอบต่างๆใน1ชุดยิง


หลังจากช่วงปลายสงครามเย็น กลุ่มประเทศนาโต้ผู้ผลิต แมนแพตเช่น สติงเจอร์ โบว์ไพน์ มิสตรัล และ โซเวียตที่พัฒนามากที่สุดคือ เอสเอ-14/16/18 เข้ามาใช้งานซึ่งจัดเป็นสุดยอด แมนแพต(เอสเอ-18)เหนือกว่าทุกรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับปรุงการใช้งาน ความคงทน และหัวรบทางให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถยิงเข้าหาเป้าหมายได้ทุกทิศทาง หัวรบมีระบบป้องกันการลวงโดยพุ่งทะลุกลุ่มเป้าลวงเข้าหาอากาศยานจนเสียหายได้ใช้หัวรบนำทางถึง2หัวในการจับเป้าหมาย จึงทำให้มีเป็นแมนแพตที่น่ากลัวมากรุ่นนึง โดยไทยก็ได้จัดหาไว้ประจำการเช่นกัน


แมนแพตกับคำขู่กัมพูชา


7011.jpg  clip2k.jpg


เอฟเอ็น-6 ที่เขมรนำมาโชว์


หลังจากเกิดกรณีข้อพิพาทเขาพระวิหารเป็นต้นมาจนถึงการเมืองระหว่างประเทศมีครั้งนึง เขมรได้สวนสนามแสดงกำลังรบที่จัดหาจากประเทศจีนจำนวนนึง โดยเฉพาะแมนแพตรุ่นใหม่ FN-6 ที่ได้มาจัดโชว์เช่นกัน ขู่อากาศยานไทยว่าบินล้ำน่านฟ้ามาโดนสอยหล่นแน่


ส่วนตัวผู้เขียนว่า เขมรคงจะทราบดีถึงกำลังรบทางอากาศของประเทศไทยดี บางท่านก็คงได้ทราบแล้วว่าสงครามยุคใหม่นั้น ใครครองอากาศได้คือผู้คุมเกม โดยเฉพาะเขมรที่หากถึงขั้นใช้กำลัง อากาศยานที่จะมาช่วยสนับสนุนไม่มีเลยและระบบป้องกันภัยทางอากาศก็อ่อนแอถึงขั้นใช้งานไม่ได้ ฉะนั้นได้อะไรมาใหม่จึงเอามาโชว์นั้นเอง  โดยผู้เขียนได้ค้นหาข้อมูล เอฟเอ็น-6ของเขมรที่เขาว่าใหม่ ปรากฎว่าใหม่จริงแต่สเป็คโดยรวมต่ำกว่า แมนแพตที่ไทยใช้ค่อนข้างมากต่ำกว่ารุ่นเก่าที่กำลังจะปลดอย่าง คิวดับบิว-2 ด้วยซ้ำไป โดยไทยเองก็เสริมกำลังแมนแพตรุ่นใหม่ล่าสุดที่จีนและรัสเซียมีเข้ามาใช้งานจำนวนนึงเช่นกัน........ถึงเรียกได้เต็มปากว่ามีของดีไม่ต้องเอามาโชว์


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงจะยังไงแมนแพตก็อันตรายอยู่ดีถ้าประมาทเข้าไปอยู่ในระยะยิงมัน แต่วิธีรบหลักในปัจจุบันเป้าหมายของแมนแพตคงจะเหลือแต่ฮ.โจมตีเท่านั้น เพราะอากาศยานส่วนใหญ่สำหรับชาติที่ไม่มี บ.จ.เฉพาะเช่น เอ-10 ซู-25/39 นั้น อาวุธส่วนใหญ่(ของท.อ.ไทยนิยมใช้)ที่ติดตั้งในภารกิจโมตีสามารถยิงได้ในระยะไกลเกินกว่าแมนแพตจะยิงได้ประมาณว่า โดนทำลายตั้งแต่ยังไม่รู้ตัวนั้นเอง



 




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552   
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 22:42:45 น.   
Counter : 2050 Pageviews.  



ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com