วิเคราะห์ หารถถังรุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย
วิเคราะห์ หารถถังรุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย 
T-90S ของประเทศรัสเซีย ในรอบนี้ผมจะมาวิเคราะห์ รถถังรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาประจำการแทนรถถังเก่าที่บางส่วนเป็นรถถังสมัยยุคสงครามเวียดนามทำให้รถถังของกองทัพในรุ่นที่ทันสมัยจริงๆ มีไม่มากครับเช่น M-60A3,Commando Stingray ,TYPE-69 II รุ่นอัพเกรดใช้ปืนใหญ่ 105 ม.ม. ถึงแม้รถถังหลักตอนนี้จะไม่ใช่ตัวเลือกเร่งด่วนก็ตามที แต่ตัวเลือกรถถังที่จะนำมาประจำการนั้นล่ะที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่รถถังมาตราฐานนาโต้แต่เดิมและรถถังตระกูล T จากกลุ่มอดีตประเทศสหภาพโซเวียตกลับมาแรง และกองทัพเปิดใจมากขึ้น รถถังหลักจากนาโต้จึงไม่ใช่ตัวเลือกเดียวอีกต่อไป รถถังหลักนาโต้ชั้นนำ ราคาแพง(มาก) ถึงจะทันสมัยก็ตาม น้ำหนักก็มากจนมองกันว่าไม่สามารถจะวิ่งในภูมิประเทศไทยได้ดีเท่าที่ควร(จากภาพวิเคราะห์ รถถังหลักมาตราฐาน M-60 A3 ยังติดหล่มเอาง่ายๆ) เอาเป็นว่ารถถังหลักที่มีน้ำหนักทะลุ 55ตันขึ้นไปดูแล้วจะประสบปัญหาเท่าที่ควร ทำให้รถถังตระกูล T มีภาษีดีกว่ามาก แต่ก็ยังไม่ใช่ซะทีเดียว หลายคนมองกันว่ารถถังตระกูล T ดีก็จริงแต่ระบบการเชื่อมโยงเช่นอาวุธและสื่อสาร การซ่อมบำรุงยังจะเป็นปัญหาในการใช้งาน เพราะบ้านเราเป็นมาตราฐานนาโต้ เช่น วิทยุ ปืนใหญ่ 125 ม.ม. กระสุนปืนกลร่วมแกน/ปืนกลหนักต่อสู้อากาศยาน ซึ่งมีใช้กันมากในกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งจะมาวิเคราะห์กันว่ารุ่นไหนมีสิทธิแจ้งเกิดมากกว่ากัน โดยใช้ภาพประกอบ หลักการทั่วไป และ ความเห็นส่วนตัวและของพลขับตอนที่เรียนมานะครับ โดยจะมองไปที่รถถังมือหนึ่งจากกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต 
T-84 ของประเทศยูเครน
บทที่ 1 ทำความรู้จักกับรถถังตระกูล T กันก่อน หลายคนอาจจะสงสัยว่ารถถังตระกูล T มีดีจริงหรือไม่ โดยผมจะไม่เลือกรถถังนาโต้ทุกรุ่นมาเนื่องจากบางคนอาจจะทราบกันดี รถถังตระกูล T นี้จะเลือกรถถังในรุ่นที่เป็นไปได้มากที่สุดอย่าง T-80/84-120 ประเทศยูเครน ,T-90S ประเทศรัสเซีย โดย2รุ่นนี้มีชื่อและมีผู้ใช้เยอะที่สุดในตระกูลนี้(T-90Sเข้าประจำการในประเทศอินเดียและซาอุดิอาราเบีย ชาติล่ะเกือบ300 คัน ส่วน T-80/84 เข้าประจำการในตรุกรีและเกาหลีใต้ ถึงจะไม่มากก็ตาม แต่นับว่ามียอดส่งออกมากกว่ารุ่นอื่นๆในตระกูลเดียวกัน) ถ้าถามว่าประสิทธิภาพในการรบกับรถถังนาโต้รุ่นใหม่หรือข้าศึกทั่วไปมันจะดีพองั้นหรือ? ต้องบอกว่ารถถังเดี๋ยวนี้ถ้ารุ่นใหม่ซะอย่าง ระบบอำนวยการรบมันพอๆกันแล้วครับ อยู่ที่ยุทธวิธีซะมาก และ มีสิทธิน้อยมากที่รถถังด้วยกันจะฉะกันตรงๆ มีสิทธิโดนยิงด้วยจรวดต่อสู้รถถังที่มีความอ่อนตัวและมีอำนาจการทำลายสูงกกว่าถึงแม้จะเสริมเกราะก็ตาม รวมถึงจากทางอากาศยานไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินหรือฮ.โจมตี แต่ที่ว่ายังต้องมีรถถังหลักเพื่อดำเนินการรบทางยุทธวิธี ใช้ข่มขวัญข้าศึก ยิงสนับสนุนและเป็นแนวหน้าในการเข้าตี ผลักดัน ด้วยอำนาจการยิงที่สูงกว่าครับ ว่ากันถึงรถถังตระกูล T ต่อ ข้อดีของรถถังตระกูลนี้คือ มีขนาดน้ำหนักเบา รูปทรงแบนต่ำ อัพเกรดดัดแปลงได้ง่าย ทนทรหดและมีอำนาจการยิงที่รุนแรง(ปืนต่อสู้รถถังขนาด 125 ม.ม.) เหมาะกับชาติที่งบประมาณไม่ค่อยจะมี ถ้าสังเกตุให้ดีมีหลายชาติที่ใช้รถถังตระกูล T-55/62/64/72 ใช้กันอยู่นั้นล่ะเก่ากึก ไม่ค่อยบำรุงรักษาแต่ยังวิ่งได้ บางชาติไม่ซื้อรถถังใหม่แม้จะเก่าแค่ไหนใช้อัพเกรด ดัดแปลงเพื่อให้ทันสมัยเทียบเท่ารถถังรุ่นใหม่ๆใช้งานได้อีกนานและขายให้กับชาติอื่นซะอีก แสดงถึงความง่ายและอ่อนตัวของรถถังรุ่นนี้
บทที่ 2 ว่ากันถึงน้ำหนักของรถ ที่มีกันพูดถึงกันมาก มีความสำคัญขนาดไหน 
Leopard 2 A4 อันดับหนึ่งตลอดการจากนาโต้ น้ำหนักของรถนี่น่ะครับ ส่วนหนึ่งมีความสำคัญในการรบทางยุทธวิธีภูมิประเทศป่าเขา ท้องนา (ไม่รวมถนนนะ) ซึ่งหากรถติดหล่มได้ง่ายและหลุดจากการติดหล่มได้เร็วย่อมหมายถึงความปลอดภัยของรถและชัยชนะในการทำเกมรบกับฝ่ายตรงข้าม หากลงหล่มปุ๊ปก็มีสิทธิโดนรุมกินโต๊ะไม่ว่าจะจาก รถถัง จรวดต่อต้านรถถัง เครื่องบิน เป็นต้น ฉะนั้นยิงมีความคล่องตัวไม่หยุดกับที่เท่าไรยิ่งดี อีกเรื่องหากต้องติดหล่มมีสิทธิโดนยิงพังจนถึงเพื่อนที่เอารถมาลากขึ้นไปด้วย ว่ากันว่า รถถังนาโต้นั้นน้ำหนักไม่ใช่ปัญหาหรอก วิ่งในไทยได้แน่ อีกอย่าแรงกดต่อสายพาน คืออีกเรื่องด้วย รถจะใหญ่เท่าไร หนักเท่าไร อยู่ที่ความกว้างสายพานหรอก ส่วนตัวผมจากเท่าที่ดูประมวลภาพ รถถังนาโต้พิกัดน้ำหนักทะลุ 55 ตันขึ้นไปจมดินกันมากถึงจะหน้าสายพานกว้างก็ตาม ดูตามภาพในGoogle แม้แต่ภาพของรถถังในไทยก็ตาม ส่วนตัววิเคราะห์จากประสบการณ์ที่เคยซ่อมและขับรถ แม็คโครและแท็คเตอร์ จะบอกตามนี้ว่า ถึงแม้หน้าสายพานจะกว้างแต่ว่า น้ำหนักของรถมันจะกดให้รถจมดิน ดินหน้าสายพานกระจายตัวออกจนกว่าจะถึงบริเวณที่ดินแข็งซึ่งส่งผลให้ใต้ท้องรถติดพื้นดินไปไหนไม่ได้ หรือไปได้ช้ามาก นึกภาพตอนเราใส่ร้องเท้าที่พื้นรองเท้าใหญ่แต่หากน้ำหนักบนตัวเรามากเราจะค่อยๆจม หากมองถึงรถยิ่งจมดิน ยิ่งเร่งเครื่องให้สายพานตะกุยดินมากในขณะที่ท้องรถติดพื้นดิน รถจะจมเร็วขึ้นหรือไปไหนไม่ได้เพราะดินใต้สายพานถูกสายพานฉุดไปหมด และสายพานที่ดินเข้าไปอัดจนไม่มีร่องสายพานเหลือแต่พื้นสายพานเรียบๆติดแหง่ก (ใช้การวิเคราะห์จาก รถแท็คเตอร์ แม็คโคร ซึ่งมีสายพานคล้ายกัน มีน้ำหนักต่างกัน เช่นเดียวกับรถถัง) ตรงนี้ เทียบกับรถแท็คเตอร์รุ่น D-31PกับD-8L หน้าแทร็คสายพาน 80-100 ม.ม. เท่ากัน แต่น้ำหนัก ที่12และ18 ตัน วิ่งบนพื้นดินที่ถมใหม่ๆแล้วฝนตกดินจะเป็นเหมือนฟองน้ำ 14 ตันยังพอเอาชีวิตรอดวิ่งถูๆไถๆไปได้แต่ 18 ตันจมต้องเร่งเครื่องตะกายสุดท้ายก็ต้องใช้ แม็คโครมาฉุด หากนำมาเทียบในรถถังบ้าง รถถังตระกูล T หนักสุดที่ 46.5ตัน(รุ่น T-90 รัสเซีย) นอกนั้นไม่มีเกินนี้ รถถังนาโต้หนักที่55ตันจนถึง62ตันเลยทีเดียว เช่น Leopard 2 A6 เป็นต้น พอจะนึกภาพออกรึไม่ล่ะครับหากต้องวิ่งตะลุยในพื้นที่เดียวกัน อ่อ ในเรื่องความเร็ว 2 ค่ายก็ไม่ต่างกันน่ะครับ พอๆกัน แล้วสภาพพื้นที่ในไทยจะเป็นแนวดินร่วนๆ ดินเหนียว ไม่ใช้พื้นทีทะเลทรายและมีฝนตก ตามฤดู สภาพพื้นที่ทั่วไปยิ่งภาคกลางแล้ว มีสิทธิจมได้น่ะครับ ถึงแม้จะไม่เคยเห็นสภาพจริง(ของรถทุกรุ่น แต่จากข้อมูลของพลขับที่ ม.พัน4 ร.อ.)และมีสิทธิเกิดสภาพนี้ได้แค่ไหน แต่น้ำหนักน้อยและภาพรวมย่อมดูดีกว่านะครับ ถึงจะเอารถไปประจำการแถวภูมิภาคชายแดนที่ออกแนวดินแข็ง ลูกรัง แต่ก็ยังมีความอ่อนตัวเมื่อเจอฝนครับฉะนั้นรถที่น้ำหนักเบาก็ยังพอได้คะแนนตรงนี้นะ อีกอย่างรถถังที่ผลิตจากประเทสยูเครนไม่ว่าจะ T80/84 มีอัตราขับต่อน้ำหนักที่สูงมาก ราวๆ26แรงม้าต่อตัน ซึ่งมากพอจะทำให้รถเคลื่อนที่ ลุยได้ดีกว่า 


บทที่ 3 ความเข้ากันได้ของระบบโดยรวม หมวด 1 .ระบบสื่อสาร ระบบสื่อสาร ตรงนี้ก็เข้าใจว่ามันย่อมเป็นธรรมดาที่มันไม่เหมือนกัน แต่ว่าระบบการสื่อสารหากเป็นรถถังที่ผลิตจากประเทศยูเครนเองตอนนี้สามารถดัดแปลงได้ อีกทั้งมีบรัษัทที่ดัดแปลงระบบสื่อสารให้เป็นนาโต้ได้อีกเช่นกันจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แล้วในตอนนี้สถาปัตยกรรมในการดัดแปลงของรถถังที่ผลิตจากปนะเทศกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตค่อนข้างเปิดทำให้เลือกติดอาวุธอื่นๆได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธมาตราฐานนาโต้อีกเช่นกัน ซึ่งจะเป็นกรณี ปืนกลร่วมแกน ปืนกลต่อสู้อากาศยาน(เหนือป้อม) ระบบสื่อสาร รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น โดยชาติที่ทำมาแล้วได้แก่ มาเลเซียที่จัดหารถถัง PT-91 มาจากประเทศโปแลนด์ ซึ่งได้มาดัดแปลงระบบปืนกลและระบบสื่อสาร เท่านั้นครับ ส่วนในกรณีรถถังนาโต้คงไม่ต้องพูดถึง หมวด 2. ระบบอาวุธ ในอาวุธหลักอย่างปืนใหญ่หลักต่อสู้รถถังขนาด 125 ม.ม. ลำกล้องเรียบ มีใช้ใน T-84และ90 แต่ทว่ารถถังจากประเทศ ยูเครนสามารถใช้ปืนใหญ่ขนาด 120 ม.ม. รวมถึงกระสุน มาตราฐานนาโต้ได้เช่นกัน ซึ่งตรุกรีเองได้เลือกในรุ่นนี้ไปใช้ในชื่อ T-84-120 (โมเดล T-72AG-120) ส่วนรถถังจากนาโต้ทุกรุ่นใช้ปืนใหญ่ 120 ม.ม.เช่นกัน ในกรณีนี้ไม่ว่าจะจัดหารถถังที่ใช้ปืน 125 หรือ 120 ม.ม. ล้วนเป็นของใหม่ที่บ้านเรายังไม่มีใช้ ต้องจัดหาใหม่หมดเช่นกัน (บ้านเรารถถังทุกรุ่นใช้ปืน 105 ม.ม. มาตราฐานนาโต้ครับ) ส่วนระบบปืนกลนั้นก็ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าต้องดัดแปลงแน่นอน ในรถถังจากประเทศรัสเซียมีระบบโหลดกระสุนอัตโนมัติ ทำให้ใช้พลประจำรถน้อยกว่า หมวด 3 เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ที่กล่าวมาเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เหมือนกันครับ หมวด4 ระบบอำนวยการรบภายใน ตรงนี้ค่อนข้างจะคล้ายกันในเรื่องระบบพื้นฐานเช่น เล็งด้วยเลเซอร์ ระบบคำนวณการยิง อำนวยการรบกลางวัน/กลางคืน(กล้องมองกลางคืน) เกราะเสริมชนิดต่างๆ รวมถึงระบบ สเตบิไลน์เซอร์ประมาณวิ่งไปยิงไปได้อย่างแม่นยำ หากเป็นของจากนาโต้อาจจะดีเรื่องมีแผนที่ดาวเทียมเข้าช่วย และความทันสมัยที่ค่อนข้างจะสูงเช่นกัน
บทที่ 4 ความเป็นไปได้ของแต่ล่ะค่ายในภาพรวม รถถังนาโต้(ทุกรุ่น) มือหนึ่งมีราคาแพงมาก ประเทศไทย(ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางจัดหามาประจำการได้แทนของเก่านับ 100-200คัน) ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้แถมกองทัพมีภาระในการจัดหาอาวุธประเภทอื่นเช่นกัน ถึงจะจัดหารถถังมือ 2 รุ่นที่กองทัพไทยมีความสนใจและได้รับการสนใจมากกว่ารถถังรุ่นอื่นๆในสายนาโต้คือ Leopard 2A4-6 มีการจัดหาเข้าประจำการในหลายประเทศ แต่ราคามันก็แพงพอตัวเลยล่ะครับ เนื่องจากต้องจัดหารถมาเป็นอะไหล่อีกจำนวนนึงด้วย ข้อเสีย Leopard 2A4-6 ติดเรื่องน้ำหนักรถที่มาก และราคาที่พอตัวอยู่(มือ2) แต่ข้อดี คือสามารถเข้ากันได้เหือบหมดกับของเดิมที่บ้านเราเช่น ปืนกล ระบบวิทยุ เป็นต้น รถถังจากจากประเทศ ยูเครนและรัสเซีย 2ประเทศนี้ออกจะมีภาษีหน่อยตรงที่ว่า กองทัพบ้านเรามีการจัดหาอาวุธเข้าประจำการ โดยเฉพาะ ยานเกราะจากประเทศยูเครน คือ BTR-3E และยานเกราะรัสเซียเองก็เคยเข้ามาทดลอง มีข่าวพัวพันมาแล้วเช่นกัน อื่นๆได้แก่เครื่องบินรบ SU-30 ที่เคยได้ถูกนำมาพิจารณา และมีการสั่งฮ.ลำเลียง ธุรการแบบ Mi-17 มาทดลองใช้งานรวมถึง จรวดต่อสู้อากาศยาน Igla-S ด้วย จึงทำให้รถถังจาก2ชาตินี้มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการนำการแลกเปลี่ยนด้วยสินค้า (บาร์เตอร์เทรด ) เข้ามาจึงทำให้น่าสนเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขตรงนี้ค่อนข้างจะมีปัญหากับรถถังหรืออาวุธจากกลุ่มนาโต้ ข้อเสีย เรื่องระบบอาวุธรองการสื่อสารภายใน ที่ต้องดัดแปลงกันบ้าง การซ่อม ด้วยเช่นกัน ข้อดี น้ำหนักเบา ดัดแปลงง่าย อาวุธและเกราะเลือกติดได้ตามใจ ได้ทุกอย่างไม่มีกั๊ก แต่หักกันภายในตรงที่ รัสเซียคือต้นตำหรับรถถังตระกูล T แต่ ยูเครนใช้การดัดแปลง T-80 U (ซึ่งยูเครนเคยมีการผลิตใช้ในช่วงก่อนแยกตัวและมีการผลิตใช้เองเรื่อยมา)ครับ ตรงนี้ต้องมาเทียบกันว่า รถถัง Leopard 2 (มือ2) กับรถถัง T (มือหนึ่ง)เปลี่ยนอุปกรณ์เช่นระบบสื่อสาร ปืนกล อย่างใดจะมีราคาถูกกว่า คุ้มค่ากว่ากันครับ บทที่ 5 ความเป็นไปได้ วัดตามคุณลักษณะที่กองทัพต้องการ โดยคุณลักษณะทั่วไป ของรถถังที่จะจัดหาทดแทน รถถัง เอ็ม.๔๑ มีดังนี้ ๑. เป็นรถถังหลัก ( Main Battle Tank ) มีน้ำหนัก ๒๗ ตันขึ้นไป -ผ่านทั้ง T-84/90และ Leopard 2 ๒. พลประจำรถ ๓-๔ นาย -ผ่านทั้งคู่อีกเช่นกัน ๓. แผ่นเกราะเป็นเหล็กกล้า หรือเกราะหลายชั้น -ทั้ง3รุ่นใช้เกราะผสมเช่นกัน และเสริมเกราะได้ อีกในรุ่น T-90และ84 ๔. เครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์ดีเซล ที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ( Multi – Fuel ) ระบายความร้อนด้วยน้ำ หรืออากาศ -ใช้เครื่องยนต์ดีเซลหมดทั้ง3รุ่น ๕. อาวุธหลัก ปืนใหญ่รถถังกว้างปากกลำกล้องตั้งแต่ ๑๐๕ มม. ขึ้นไป และมีระบบจุดอ้าง ปากลำกล้อง ( MRS – Muzzle Reference System ) เป็นแบบลำกล้องมีเกลียว หรือแบบลำกล้องเรียบ พร้อมอาวุธรอง ปืนกลร่วมแกนและปืนกลต่อสู้อากาศ มีเครื่องยิงลูกระเบิดควัน -ปืนใหญ่ขนาด 120 ม.ม. และ 125 ม.ม. ตามข้อกำหนด ลำกล้องเรียบ ๖. สามารถทำการยิงปืนใหญ่รถถังขณะเคลื่อนที่ได้ ( Stabilizer ) -มีระบบนี้ทั้ง3รุ่น ๗. มีระบบควบคุมการยิงคอมพิวเตอร์แบบทันสมัย ได้แก่ มีเครื่องหาระยะด้วยด้วยแสงเลเซอร์ มีระบบตรวจการณ์ และกล้องเล็ง เป็นแบบจับภาพด้วยความร้อน ( Thermal imaging System ) -มีทั้ง3รุ่นอีกเช่นกัน ๘. มีกล้องตรวจการณ์เวลากลางคืนของพลขับ -มีทั้ง3รุ่น ๙. เครื่องมือสื่อสารเป็นระบบ FM ที่สามารถใช้งานกับทุก Mode ที่มีประจำการอยู่แล้ว ในกองทัพบก ซึ่งสามารถรองรับระบบสื่อสารที่ทันสมัยได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบสั่งการภายในรถ ( Intercom ) -ตรงนี้ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงในรถค่ายรัสเซียและยูเครน แต่สำหรับ รถของเยอรมันสามารถรองรับได้ ๑๐. มีระบบอุปกรณ์ผจญเพลิง -มีทั้ง3รุ่น ๑๑. เป็นตระxxxลรถถัง ซึ่งยังคงมีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อม ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี -ทั้ง3รุ่นยังคงเข้าประจำการและเป็นรถถังหลักในปัจจุบัน เพียงแต่รถถัเยอรมันถุกประจำการแทนด้วยรุ่น A-5/6 แต่ก็ยังมีรุ่น A-4 ใช้งานนอกจากนั้นยังมีใช้ในอีกหลายชาติ ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ tow จากเว็บ Thaifighterclub.org บทสรุปรถถัง เทคโนโลยีไม่ได้เหนือกว่า ในสงครามที่ผ่านมาพระเอกยานเกราะรถถังที่เราเห็นๆคือรถถัง M-1A2 ของอเมริกาที่ทะลวงแนวรถถังอิรักกระจายแต่ในอีกมุมนึงรถถังพวกนี้กลับโดนทำลายด้วยอาวุธต่อสู้รถถัง ระเบิด ได้เช่นกันจนป้อมหลุด ไม่ได้หมายถึงแต่เพียง รถถังนาโต้เท่านั้นแต่คือทุกรุ่น แต่อย่างน้อยรถถังต้องมีความอยู่รอดในการดำเนินกลยุทธมากพอตัว ไม่ใช่ยิงแม่นแต่เชื่องช้า อุ้ยอ้าย ติดหล่มจมโคลนแล้วโดนกินโต๊ะเป็นต้นครับ
Create Date : 05 ตุลาคม 2552 |
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 18:03:26 น. |
|
20 comments
|
Counter : 5890 Pageviews. |
|
 |
|