All Blog
พระพุทธเจ้าสอน สิ่ง ๓ อย่าง เปิดเผยดี ปกปิดไม่ดีคือ?...
//www.samyaek.com/fileload/samyaek/formular001.pdf?r=002

๑ ดวงจันทร์ ๒ ดวงอาทิตย์ ๓ พระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
อ้างพระไตรปิฎกฉบับ มหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม ๓๔ หน้า ๕๖๗
ผู้เขียน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เมื่อถูกปิดบังด้วยเมฆฝน โลกก็จะเดือดร้อน
พระธรรมวินัย อันตถาคตประกาศแล้ว เมื่อถูกปิดไว้ ความเดือดร้อน ความทุกข์ต่างๆ
และภัยพิษัติต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลาย ก็จะประสบทุกข์เป็นอันมาก และยาวนาน



Create Date : 10 มิถุนายน 2554
Last Update : 10 มิถุนายน 2554 17:16:03 น.
Counter : 859 Pageviews.

3 comment
บทสวดประกาศพระปริตรแปล 2
ส่วนที่ 2 ไม่ต้องสวด ใช้สำหรับอ่านเพื่อทาความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร
เอวมฺเม สุตนฺติ อาฏานาฏิยสุตฺต
ต่อไปนี้ เป็นการพรรณนาบทตามลาดับในสูตรนั้น. บทว่า ตั้งการรักษาในทิศทั้ง ๔ ความว่า ตั้งอารักขาแก่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดาทั้งหลายในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันทัพอสูร. บทว่า ตั้งกองทัพ คือ ตั้งกองกาลัง. บทว่า ตั้งผู้ตรวจตรา คือตั้งหน่วยรักษาการณ์ในทิศทั้ง ๔. อธิบายว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้จัดการอารักขาเป็นอย่างดี แก่ท้าวสักกะผู้เป็นเทวราช อย่างนี้ ประทับนั่งในอาฏานาฏานคร ปรารภถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์ แล้วผูกเครื่องป้องกันนี้ แล้วประกาศว่าผู้ใดไม่เชื่อฟังธรรมอาชญาของพระศาสดาและราชอาชญาของเรา เราจักทาสิ่งนี้ สิ่งนี้แก่ผู้นั้น ดังนี้ แล้วจัดอารักขาด้วยกองทัพ ๔ เหล่า มีกองทัพยักษ์กองใหญ่เป็นต้นในทิศทั้ง ๔ ของตน เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ฯลฯ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า ให้สว่างไสว ความว่า แผ่พระรัศมีพวยพุ่งจากสรีระประดับด้วยผ้าและดอกไม้. อธิบายว่ากระทาให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียว ให้รุ่งเรืองเป็นอันเดียวดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์. บทว่นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง (เอกมนฺต นิสีทึสุ) ความว่า ชื่อว่าที่นั่งในสำนักพระทศพลของเทวดาทั้งหลาย ไม่มาก. แต่ในพระสูตรนี้พวกเทวดานั่งด้วยความเคารพพระปริตร.
บทว่า ท้าวเวสวัณ ความว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เสด็จมาก็จริง แต่ท้าวเวสวัณเป็นผู้คุ้นเคยของพระทศพล ฉลาดในการกราบทูล มีการศึกษาเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชจึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ชั้นสูง คือเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า เพื่อเว้นจากปาณาติบาต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโทษอันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้าในปาณาติบาต แล้วทรงแสดงธรรมเพื่อเว้นจากปาณาติบาตนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. บทว่า ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้นก็มี ความว่า ในเสนาสนะเหล่านั้นมียักษ์ชั้นสูงมักอยู่เป็นประจา.บทว่า อาฏานาฏิยะ ความว่า ชื่ออย่างนี้ เพราะผูกขึ้นในอาฏานาฏานคร. ถามว่า ชื่อว่าธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งมีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ.
ตอบว่า ไม่มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร ท้าวเวสวัณจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดเรียนอาฏานาฏิยรักษ์เถิดพระเจ้าข้าดังนี้. ตอบว่า เพื่อหาโอกาส. ด้วยว่า ท้าวเวสวัณนั้นคอยโอกาสเพื่อจะให้ได้
ฟังพระปริตรนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลอย่างนี้. บัณฑิตในกาลก่อนกล่าวว่า เมื่อท้าวเวสวัณกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระปริตรนี้จักเป็นครูดังนี้บ้าง. บทว่า เพื่อความอยู่สำราญ ความว่า เพื่ออยู่เป็นสุข ในอิริยาบถทั้ง ๔ มีเดิน ยืน เป็นต้น.
บทว่า มีจักษุ ความว่า ไม่ใช่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเท่านั้นมีจักษุ แม้พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ก็มีจักษุ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ จึงมีชื่อเจ็ดอย่าง. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า ผู้ทรงชาระกิเลส เพราะมีกิเลสอันทรงชำระแล้ว ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงพ้นวิเศษแล้ว. มีพระนามว่าอังคีรส เพราะรัศมีออกจากพระวรกาย. อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิได้มีพระนามเพียงเจ็ดพระนามนี้เท่านั้น. ท่านกล่าวว่า ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยมีคุณ ย่อมมีพระนามนับไม่ถ้วน. ท้าวเวสวัณกล่าวอย่างนี้ ก็ด้วยสามารถแห่งพระนามอันปรากฏแก่ตน.
ในบทว่า ชนเหล่านั้น นี้ท่านประสงค์ถึง ชนผู้เป็นอรหันต์. บทว่า ไม่ส่อเสียด นี้เพียงเป็นยอดของเทศนา. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ พูดพอประมาณ. บทว่า มหตฺตา ความว่า ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บทว่า ปราศจากความครั่นคร้าม คือ ไม่มีความครั่นคร้าม ปราศจากขนพองสยองเกล้า. บทว่า ประโยชน์เกื้อกูล คือเป็นประโยชน์ด้วยการแผ่เมตตา.
บทว่า มหตฺต ได้แก่ ใหญ่. บทว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายดับแล้วด้วยการดับกิเลส ทรงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระโคดมผู้ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีความรู้แจ้งเป็นต้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เหล่านั้นไม่ตรัสส่อเสียด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น. แต่ในอรรถกถากล่าวว่า บทว่า ชนทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียดดังนี้. ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยคาถาบทแรกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวคาถาบทแรกด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์. บทว่า พระโคตม ในคาถาที่สองนี้เป็นเพียงแง่ของเทศนา. พึงทราบคาถาที่สองนี้ว่า ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์เหมือนกัน. ก็ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมนอบน้อมพระพุทธโคดมพระองค์ใด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธโคดมนั้น และพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มีมาก่อนหน้าพระพุทธโคดมนั้น. บทว่า ยโต อุคฺคจฺฉติ ความว่า ย่อมขึ้นแต่ที่ใด.
บทว่า พระอาทิตย์ ได้แก่บุตรของพระอาทิติ. หรือว่าบทนี้เป็นเพียงไวพจน์ของ สุริยศัพท์. พระอาทิตย์ชื่อว่ามัณฑลีมหา เพราะมีมณฑลใหญ่. บทว่า ยสฺส จุคฺคจฺฉมานสฺส ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ใดขึ้นอยู่. บทว่า ส วรีปิ นิรุชฺฌติ ความว่า กลางคืนย่อมหายไป. บทว่า ยสฺส จุคฺคเต ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว. บทว่า รหโท ความว่า ห้วงน้ำ. บทว่า ในที่นั้น ความว่า ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สมุทฺโท คือ สมุทรใด ท่านกล่าวว่า ห้วงน้ำ สมุทรนั้นไม่ใช่อื่น คือสมุทรนั้นเอง. บทว่า มีน้ำแผ่เต็มไป คือน้าไหลเอ่อ ความว่า แม่น้ำทั้งหลายมีประการต่างๆ แผ่เต็มไปหรือไหลเข้าไปในน้ำของสมุทรนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป. บทว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้ ความว่า ย่อมรู้ห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้. ถามว่า รู้จักว่าอย่างไร. ตอบว่า รู้จักอย่างนี้ว่าสมุทรมีน้ำแผ่เต็มไปดังนี้. บทว่า แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุหรือ แต่ที่ที่พวกเทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า ชโน คือ มหาชนนี้. บทว่า มีชื่อเดียว คือมีชื่อเดียวว่าอินทะ. ได้ยินว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ตั้งชื่อของท้าวสักกเทวราชให้เป็นชื่อของโอรสเหล่านั้นทุกพระองค์. บทว่า มีพระนามเดียวกันทั้ง ๙๑ องค์
(อสีติ ทส เอโก จ) คือบุตร ๙๑ พระองค์ บทว่า อินทนามะ คือมีชื่ออย่างนี้ว่า อินทะ อินทะ.
บทว่า พระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า ผู้ตื่นแล้วเพราะปราศจากความหลับคือกิเลส ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะความเป็นผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอาทิตย์. บทว่า พระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยความฉลาด ความว่า ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันไม่มีโทษหรือละเอียด. บทว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็พากันถวายบังคมพระองค์ ความว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูมหาชนด้วยสัพพัญญุตญาณ แล้วก็พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า สุต เนต อภิณฺหโส ความว่า ความข้อนั้นข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังเนืองๆ.
บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ. บทว่า ตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนาออกไปโดยทิศใด ความว่า ชนตายแล้วชื่อว่าเปรต ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่าจงนาชนผู้ตายแล้วเหล่านั้นออกไปโดยทิศใด. บทว่า พูดส่อเสียด กัดเนื้อข้างหลัง ความว่า ผู้กล่าวคาส่อเสียดนั่นแหละเป็นดุจกัดเนื้อข้างหลัง และติเตียนลับหลัง ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนาชนเหล่านี้ออกไปโดยทิศใด. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายนาคนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดออกทางทิศทักษิณ(ทิศใต้) จงเผา หรือจงทาลาย หรือจงฆ่า ในด้านทิศทักษิณของพระนครดังนี้.
บทว่า แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่าทิศทักษิณนั้น ความว่า ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำคนที่กล่าวส่อเสียดเป็นต้น ที่ตายไปแล้ว ออกไปโดยทิศใด แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศใต้นั้น.
บทว่า แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุ หรือแต่ที่ที่เทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า เป็นเจ้า เป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์ ความว่า ได้ทราบว่า เทวดาเหล่านั้นเป็นผู้มีท้องใหญ่. อนึ่ง ลูกอัณฑะของเทวดาเหล่านั้นใหญ่ดุจหม้อ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กุมภัณฑ์.
บทว่า พระอาทิตย์ตกในที่ใด ความว่า พระอาทิตย์ตกโดยทิศใด โดยทิศนั้น. บทว่า มหาเนรุ คือภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ. บทว่า ดูงดงาม คือ ดูงาม เพราะสาเร็จด้วยทอง. ด้วยว่าข้างทิศปราจีน(ทิศตะวันออก)ของภูเขาสิเนรุสาเร็จด้วยเงิน ข้างทิศทักษิณ(ทิศใต้)สาเร็จด้วยแก้วมณี ข้างทิศปัจฉิม(ทิศตะวันตก)สาเร็จด้วยแก้วผลึก ข้างทิศอุดร(ทิศเหนือ)สาเร็จด้วยทอง ข้างทิศอุดรนั้นเป็นข้างที่ดูเพลิน เพราะฉะนั้น ภูเขาสิเนรุเป็นภูเขาที่ดูงดงาม โดยทิศใด นี้เป็นใจความในภูเขาสิเนรุนี้. บทว่า มนุสฺสา ตตฺถ ชายนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น.
บทว่า ไม่ยึดถือว่าเป็นของตน ความว่า เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ในผ้าอาภรณ์ น้ำดื่ม และของบริโภคเป็นต้น. บทว่า ไม่หวงแหนกัน คือ ไม่หวงแหนด้วยความหวงแหนในหญิง. อธิบายว่า ได้ยินว่า มนุษย์เหล่านั้นไม่มีความหวงแหนว่านี้ภรรยาของเรา. แต่ความกำหนัดด้วยความพอใจย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะเห็นมารดาหรือน้องสาว.
บทว่า ไม่ต้องนำไถออกไถ ความว่า แม้ไถก็ไม่ต้องนำออกไปสู่นาด้วยความประสงค์ว่าเราจักทำการกสิกรรมในนานั้น. บทว่า ข้าวสาลีอันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ ความว่า ข้าวสาลีเกิดขึ้นเองในป่าอันเป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องไถ. บทว่า เป็นเมล็ดข้าวสาร คือ ข้าวสารนั้นแล เป็นผลของพื้นที่นั้น บทว่า หุงในเตาอันปราศจากควัน คือ เกลี่ยข้าวสารลงไปในหม้อ แล้วหุงด้วยไฟอันปราศจากควันและเถ้า. ได้ยินว่า ในที่นั้นมีหินชื่อ โชติกปาสาณะ ที่นั้นชนทั้งหลายวางหิน ๓ ก้อน แล้วยกหม้อขึ้นตั้ง ไฟเกิดจากหินทาให้ข้าวสุก. บทว่า บริโภคข้าวจากหม้อนั้นนั่นเอง ความว่า บริโภคโภชนะนั้นเองจากหม้อข้าวนั้น. ไม่มีแกงหรือผักอย่างอื่น. อนึ่ง รสของข้าวนั้นเป็นรสบารุงใจของผู้บริโภคอย่างดี. ชนเหล่านั้นย่อมให้(อาหาร)แก่ผู้มาถึงที่นั้นด้วย ทุกคนย่อมไม่มีจิตตระหนี่. แม้พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงฤทธิ์มาก เสด็จไป ณ ที่นั้น ย่อมได้รับบิณฑบาต. บทว่า ทำแม่โคให้มีกีบเดียว ความว่า ยักษ์ทั้งหลายผู้รับใช้ท้าวเวสวัณ จับแม่โคมีกีบเดียวมาทำเป็นพาหนะเหมือนม้า แล้วขี่แม่โคนั้นติดตามไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ คือ เที่ยวตามไปในทิศนั้นๆ. บทว่า กระทำปศุสัตว์ให้มีกีบเดียว ความว่า กระทำปศุสัตว์ ๔ เท้า ที่เหลือเว้นแม่โคให้มีกีบเดียวเป็นพาหนะ แล้วติดตามไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
บทว่า กระทำหญิงให้เป็นพาหนะ ความว่า กระทำหญิงมีครรภ์ให้เป็นพาหนะ แล้วนั่งบนหลังหญิงนั้นเที่ยวไป. นัยว่า หลังของหญิงมีครรภ์นั้นก้มลงยาก. หญิงนอกนี้ใช้เทียมยาน.
บทว่า กระทำชายให้เป็นพาหนะ ความว่า จับชายให้เทียมยาน. อนึ่ง เมื่อจับ ไม่สามารถจับชนผู้มีความเห็นถูกต้องได้. โดยมากจับพวกที่อยู่ชายแดน และคนป่าเถื่อน. ได้ยินว่า ชาวชนบทคนใดคนหนึ่งในจำพวกนี้นั่งหลับใกล้พระเถระรูปหนึ่ง. พระเถระถามว่าอุบาสกท่านหลับไปหรือ. เขาตอบว่า ท่านขอรับ วันนี้ผมเพลียเพราะรับใช้ท้าวเวสวัณตลอดคืนขอรับ.
บทว่า ทำเด็กหญิงให้เป็นพาหนะ ความว่า จับเด็กหญิงทำให้เป็นพาหนะเทียมรถ. แม้ในการจับเด็กชายทำให้เป็นพาหนะก็มีนัยนี้. บทว่า บรรดานางบำเรอของพระราชานั้น ความว่า หญิงผู้เป็นนางบำเรอของพระราชานั้น. บทว่า ยานช้าง ยานม้า ความว่า ไม่ใช่ยานโคอย่างเดียวเท่านั้น ขี่แม้ยานช้าง ยานม้าเป็นต้น เที่ยวไป
บทว่า ยานทิพย์ ความว่า ยานทิพย์มากอย่างแม้อื่น ก็ได้ปรากฏแก่มนุษย์เหล่านั้น. ยานเหล่านี้เป็นยานสารพัดนึก. ก็มนุษย์เหล่านั้นนอนบนที่นอนอันประเสริฐที่ปราสาทและนั่งบนตั่งและวอเป็นต้น เที่ยวไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปราสาทและวอดังนี้.
บทว่า ปรากฏแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ ความว่า ยานเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ ผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพอย่างนี้. บทว่า และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้บนอากาศ ความว่า พระราชานั้นได้ทรงนิรมิตนคร มีอาฏานาฏานครเป็นต้นเหล่านั้นไว้บนอากาศ คือ นครทั้งหลายได้มีแล้ว. ก็นครหนึ่งของท้าวมหาราชนั้นได้ชื่อ อาฏานาฏา,
นครหนึ่งชื่อกุสินาฏา, นครหนึ่งชื่อปรกุสินาฏา, นครหนึ่งชื่อนาฏปริยา, นครหนึ่งชื่อปรกุสิฏนาฏา. บทว่า ทางทิศอุดรมีกปีวันตนคร ความว่า ตรงทิศอุดรมีนครอื่นชื่อ กปีวันตนคร ตั้งอยู่ในทิศเหนือนั้น. บทว่า อีกนครหนึ่งชื่อชโนฆะ ความว่า ในภาคอื่นของทิศเหนือนั้น มีนครอื่นชื่อชโนฆะ. บทว่า นวนวติยนคร ความว่า อีกนครหนึ่งชื่อนวนวติยะ. อีกนครหนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ. บทว่า อาฬกมันทา ความว่า มีราชธานีอื่นอีกชื่ออาฬกมันทา.
บทว่า เพราะฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าวเวสวัณ ดังนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ท้าวมหาราชนี้เป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวร ได้สร้างโรงหีบอ้อยประกอบเครื่องยนต์ ๗ เครื่อง. กุเวรพราหมณ์ได้ให้ผลกาไรซึ่งเกิดขึ้นที่โรงหีบอ้อยแห่งหนึ่งแก่มหาชนที่มาแล้ว มาแล้ว ได้กระทำบุญ. ผลกาไรที่มากกว่าได้ตั้งขึ้นในที่นั้นจากโรงที่เหลือ กุเวรพราหมณ์เลื่อมใสด้วยบุญนั้น จึงถือเอาผลกาไรที่เกิดขึ้นแม้ในโรงที่เหลือ ให้ทานตลอดสองหมื่นปี. เขาได้ถึงแก่กรรม ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกุเวรในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา. ต่อมาได้ครองราชสมบัติในราชธานีชื่อวิสาณะ. ตั้งแต่นั้นจึงเรียกว่า ท้าวเวสวัณ. บทว่า ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก ความว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้น ๑๒ ตนเหล่าอื่นผู้เข้าไปตรวจตรา พร่าสอนประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก. ได้ยินว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้นถือข่าวไปประกาศแก่ยักษ์ผู้รักษาประตู ๑๒ ตน. ยักษ์ผู้รักษาประตูทั้งหลายประกาศข่าวนั้นแก่ท้าวมหาราช. บัดนี้ท้าวมหาราช เมื่อจะแสดงชื่อของยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงกล่าวคามีอาทิว่า ตโตละ ดังนี้. ได้ยินว่า บรรดายักษ์เหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อตโตลา, ตนหนึ่งชื่อตัตตลา, ตนหนึ่งชื่อตโตตลา, ตนหนึ่งชื่อโอชสี, ตนหนึ่งชื่อเตชสี, ตนหนึ่งชื่อตโตชสี. บทว่า สุโรราชา ความว่า ตนหนึ่งชื่อสุโร ตนหนึ่งชื่อราชา ตนหนึ่งชื่อ สุโรราชา. บทว่า อริฏฺโฐ เนมิ ความว่า ตนหนึ่งชื่ออริฏฐะ ตนหนึ่งชื่อเนมิ ตนหนึ่งชื่ออริฏฐเนมิ. บทว่า ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ความว่า ก็ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำห้วงหนึ่งชื่อธรณี โดยชื่อ. ท่านกล่าวว่ามีสระโบกขรณี(สระบัว) ใหญ่กว้าง ๕๐ โยชน์. บทว่า เป็นแดนที่เกิดเมฆ ความว่าเมฆทั้งหลายรับน้ำจากสระโบกขรณี แล้วตกลงมา. บทว่า เกิดฝนตก ความว่า ฝนตกท่วม. ได้ยินว่า เมื่อเมฆตั้งเค้า น้ำเก่าย่อมไหลออกจากสระโบกขรณีนั้น. เมฆตั้งเค้าเบื้องบน ยังสระโบกขรณีนั้นให้เต็มด้วยน้ำใหม่. น้ำเก่าที่อยู่ข้างล่างไหลออกไป. เมื่อสระโบกขรณี(สระบัว)มีน้ำเต็ม เมฆย่อมเคลื่อนไป.
บทว่า สภา คือ สถานที่ประชุม ณ ฝั่งโบกขรณี(ฝั่งสระบัว)นั้น มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ ล้อมด้วยเถาวัลย์ชื่อภคลวดี. คานี้ท่านกล่าวหมายถึงมณฑปนั้น. บทว่า ประชุม(ปยิรุปาสนฺติ) ความว่า นั่งอยู่ บทว่า ต้นไม้มีผลมาก ความว่า มณฑปแก้ว ย่อมแสดงถึงว่า ต้นไม้มีมะม่วงและหว้าเป็นต้น ล้อมมณฑปนั้นในที่นั้น แผ่ไปทุกเวลา และดอกไม้มีดอกจำปาเป็นต้นบานอยู่เป็นนิจ. บทว่า ประกอบด้วยหมู่นกนานาชนิด คือ ดารดาษไปด้วยหมู่นกต่างๆ.
บทว่า มีนกยูง นกกะเรียนเสียงหวาน ความว่า นกยูง นกกะเรียน มีเสียงหวาน ประสานเสียง.
บทว่า ณ ที่นี้มีเสียงนกร้องว่า ชีวะ ชีวะ ความว่า ณ ที่นี้ มีเสียงนกชื่อชีวชีวกะ ร้องอย่างนี้ว่า ชีวะ ชีวะ ดังนี้. บทว่า มีเสียงปลุกใจ ความว่า แม้นกมีเสียงปลุกใจ ก็ร้องอยู่อย่างนี้ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ดังนี้ ย่อมเที่ยวไป ณ ที่นั้น. บทว่า ไก่ คือ ไก่ป่า. บทว่า ปู คือ ปูทอง. บทว่า ในป่า คือ ในสระบัว. บทว่า โปกฺขรสาตกา ได้แก่ พวกนกชื่อโปกฺขรสาตกา.
บทว่า สุกสาลิกสทฺเทตฺถ ความว่า ในสระนั้น มีเสียงนกสุกะ(นกแก้ว) และนกสาลิกา.
บทว่า หมู่นกทัณฑมาณวก คือ นกมีหน้าเหมือนคน. ได้ยินว่า นกเหล่านั้น เอาเท้าทั้งสองจับไม้ทองคำแล้วเหยียบบนใบบัวใบหนึ่ง เอาไม้ทองคำทอดลงที่ใบบัวใบถัดไป แล้วเดินไป.
บทว่า สพฺพกาล สา ความว่า สระโบกขรณีนั้นงามตลอดกาล. บทว่า สระนฬินีของท้าวกุเวร ความว่า สระนฬินีของท้าวกุเวร เป็นสระบัว สระนั้นชื่อธรณี งามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ.
ท้าวเวสวัณยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สาเร็จลงแล้ว เมื่อจะแสดงการบริกรรม พระปริตรนั้น จึงกล่าวบทนี้ว่า คนใดคนหนึ่ง. ในบทเหล่านั้นบทว่า เรียนดีแล้ว ความว่า อาฏานาฏิยรักษ์อันผู้ใดผู้หนึ่งชาระอรรถและพยัญชนะ และเรียนด้วยดี. บทว่า เล่าเรียนครบถ้วน ความว่า ไม่ให้บทและพยัญชนะ เสื่อม แล้วเล่าเรียนครบถ้วน. ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่ พระปริตรย่อมไม่เป็นผลแก่ผู้กล่าวผิดอรรถบ้าง บาลีบ้าง หรือว่าไม่ทาให้คล่องแคล่ว. พระปริตรย่อมเป็นผลแก่ผู้ทาให้คล่องแคล่วด้วยประการทั้งปวง แล้วกล่าวแน่แท้. แม้เมื่อเรียนเพราะเห็นแก่ลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่ก็ไม่สาเร็จประโยชน์. พระปริตรย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งการออกไปจากทุกข์ แล้วกระทาเมตตาให้เป็นเบื้องหน้ากล่าวอยู่นั่นแล. บทว่า ยักขปจาระ คือผู้รับใช้ยักษ์. บทว่า วัตถุ ได้แก่ วัตถุคือเรือน. บทว่า ที่อยู่ ได้แก่การอยู่เป็นนิจในเรือนนั้น. บทว่า สมิตึ คือ การสมาคม. บทว่า อนาวยฺห ความว่า ไม่ควรทำการแต่งงาน. บทว่า อวิวยฺห ความว่า.ไม่ควรแต่งงานกับเขา. ความว่า ไม่พึงกระทำการแต่งงาน คือแต่งงานกับเขา. บทว่า ด้วยคำบริภาษ(ด่า)อันบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายพึงน้อมเข้าไปซึ่งอัตภาพของยักษ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีตาสีคล้า ผู้มีฟันเหลืองดังนี้ แล้วด่าด้วยคำด่าอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ดังที่กล่าวแล้ว. อธิบายว่า พึงด่าถ้อยคำของยักษ์. บทว่า บาตรแม้เปล่า ความว่า บาตรโลหะเช่นเดียวกับบาตรของภิกษุนั้นแหละ. ครอบบาตรนั้นบนศีรษะตลอดถึงก้านคอ. เอาเสาเหล็กทุบบาตรนั้นตรงท่ามกลาง. บทว่า จณฺฑา คือ โกรธ คำว่า รุทฺธา ได้แก่ ผิดพลาด. บทว่า รภสา คือ กระทำเกินเหตุ. บทว่า ไม่เชื่อท้าวมหาราช คือ ไม่ถือเอาคาพูด ไม่กระทำตามข้อบังคับ.
บทว่า เสนาบดี ของท้าวมหาราช คือ เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตนบทว่า ผู้ช่วยเสนาบดี(ปุริสกาน ปุริสกาน ) คือ การสั่งสอนของยักษ์เสนาบดี. บทว่า อวรุทฺธา นาม ความว่า ปัจจามิตร คือมีเวร. บทว่า พึงประกาศให้รู้ ความว่า ผู้ไม่สามารถจะกล่าวพระปริตรให้พวกอมนุษย์หลีกไปได้ ควรประกาศให้ยักษ์ทั้งหลายรู้ ความว่า ให้ยักษ์เหล่านั้นรู้. ว่าด้วยการสวดพระปริตร ขอแทรกการกล่าวบริกรรมพระปริตร. .
อันที่จริงไม่ควรสวดอาฏานาฏิยสูตรก่อนทีเดียว. ควรสวดพระสูตรเหล่านี้คือ เมตตสูตร ธชัคคสูตร รตนสูตร ตลอด ๗ วัน. หากว่าอมนุษย์ปล่อยก็เป็นการดี. หากไม่ปล่อย จึงสวดอาฏานาฏิยสูตร. ภิกษุผู้สวดอาฏานาฏิยสูตรนั้นไม่ควรเคี้ยวแป้งหรือเนื้อ ไม่ควรอยู่ในป่าช้า. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า พวกอมนุษย์จะได้โอกาส. ที่สวดพระปริตร ควรทำให้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม ปูอาสนะให้เรียบร้อย ณ ที่นั้น แล้วพึงนั่ง. ภิกษุผู้กระทาพระปริตร อันชนทั้งหลายนำออกจากวิหารไปสู่เรือน ควรล้อมด้วยเครื่องป้องกันคือกระดาน แล้วพึงนำไป. ไม่ควรนั่งสวดในที่แจ้ง. ควรปิดประตูและหน้าต่างแล้วจึงนั่ง แวดล้อมด้วยมือเป็นอาวุธ กระทำเมตตาจิตในเบื้องหน้า แล้วสวด. ควรให้รับศีลก่อน แล้วสวดพระปริตรแก่ผู้ตั้งอยู่ในศีล. แม้ทำอย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะพ้น(จากอมนุษย์)ได้ ควรนำไปสู่วิหาร ให้นอนบนลานเจดีย์ ให้ทำอาสนบูชา ตามประทีป ปัดกวาดลานเจดีย์ แล้วสวดมงคลกถา. ควรประกาศให้ภิกษุประชุมกันทั้งหมด. ใกล้วิหารมีต้นไม้ใหญ่ที่สุดอยู่ ควรส่งข่าวไป ณ ที่นั้นว่า หมู่ภิกษุย่อมรอการมาของพวกท่าน. ชื่อว่าการไม่มาในที่ประชุมทั้งหมดจะทำไม่ได้ แต่นั้น ควรถามผู้ที่ถูกอมนุษย์สิงว่า ท่านชื่อไร. เมื่อเขาบอกชื่อแล้ว ควรเรียกชื่อทีเดียว. ท่านควรปล่อยบุคคลชื่อนี้ เพราะเขาได้ให้ส่วนบุญในการบูชาด้วยวัตถุมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น ส่วนบุญในการบูชาอาสนะ ส่วนบุญในการถวายบิณฑบาต(ให้เป็น)ของท่านแล้ว หมู่ภิกษุสวดมหามงคลกถาเพื่อประโยชน์แก่บรรณาการของท่านแล้ว ด้วยความเคารพในหมู่ภิกษุ ขอท่านจงปล่อยเขาเถิดดังนี้ หากอมนุษย์ไม่ปล่อย ควรบอกแก่เทวดาทั้งหลายว่า พวกท่านจงรู้ไว้เถิด อมนุษย์นี้ไม่ฟังคำของพวกเรา เราจักกระทำพุทธอาชญาดังนี้. ควรสวดพระปริตร นี้เป็นบริกรรมของคฤหัสถ์ก่อน ก็ถ้าภิกษุถูกอมนุษย์สิง ควรล้างอาสนะ แล้วประกาศให้ประชุมกันทั้งหมด ให้ส่วนบุญในการบูชา มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพึงสวดพระปริตร นี้เป็นบริกรรมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า พึงร้องทุกข์ ความว่า พึงประกาศให้เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน ประชุมกันทั้งหมด. บทว่า พึงบอกกล่าว ความว่า พึงบอกกล่าวกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นว่า ยักษ์นี้สิง ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ติดตาม เป็นไวพจน์ของบทว่า สิง อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวว่า ติด คือ ไม่ออกไป. บทว่า เบียดเบียน ความว่า เบียดเบียนทาให้โรคกำเริบบ่อยๆ. บทว่า ทาให้เกิดทุกข์ คือ ทำให้มีเนื้อและเลือดน้อย ให้เกิดทุกข์. บทว่า ไม่ปล่อย คือ เป็นเหมือนผู้ถูกจระเข้คาบ ไม่ปรารถนาจะปล่อย พึงบอกกล่าวเทวดาเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อแสดงถึงยักษ์ที่ควรบอกกล่าว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า แห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่าไหนดังนี้ ในบทเหล่านั้น บทเป็นต้นว่า อินทะ โสมะ เป็นชื่อของยักษ์ทั้งหลาย เหล่านั้น ในยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขาชื่อว่าเวสสามิตตะ ชื่อยักษ์เวสสามิตตะ ยักษ์ที่อาศัยอยู่ที่ภูเขายุคนธระ ชื่อยักษ์ยุคนธระ ยักษ์ชื่อหิริ เนตติ มัณฑิยะ มณิ มณิวระ ฑีฆะ และเสรีสกะ กับยักษ์เหล่านั้น. บทว่า ควรประกาศให้ยักษ์น้อยยักษ์ใหญ่ เสนาบดี มหาเสนาบดีรู้ ความว่า พึงบอกแก่ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนั้นว่า ยักษ์นี้เบียดเบียนผู้นี้ ทำให้ผู้นี้เดือดร้อน ไม่ปล่อยผู้นี้ดังนี้ แต่นั้น ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านั้น จักกระทำความขวนขวายว่า หมู่ภิกษุย่อมกระทาธรรมอาชญาของตน แม้เราก็จะทำอาชญาของพระยายักษ์ของเราทั้งหลาย. ท้าวเวสวัณมหาราชเมื่อจะแสดงว่า โอกาสของพวกอมนุษย์จักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้ พุทธสาวกทั้งหลายก็จักอยู่สบาย จึงกราบทูลคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้ นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้ นั้นแลดังนี้. บททั้งหมดนั้นและบทอื่นจากนั้น มีความง่ายอยู่แล้วแล.
จบอรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร
เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต - สรณะที่เกษมและไม่เกษม พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม : เล่ม 42/345/20 , เล่ม 42/294/5
สรณะที่เกษมและไม่เกษม
พระศาสดาตรัสว่า “ อัคคิทัต บุคคลใดถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้นนั่นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ(การเวียนว่ายตายเกิด)ทั้งสิ้นได้ ” ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
พหุง เว สรณ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิจ อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา เนต โข สรณ เขม เนต สรณมุตฺตม เนต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ. โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณ คโต จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺข ทุกฺขสมุปฺปาท ทุกฺขสฺส จ อติกฺกม
อริยญฺจฏฺฐงฺคิก มคฺค ทุกฺขูปสมคามิน เอต โข สรณ เขม เอต สรณมุตฺตม เอต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
“ มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว, ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์๑ว่าเป็นที่พึ่ง, ที่พึ่งนั่นแลไม่เกษม, ที่พึ่งนั่นไม่อุดม,เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั่น, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง, ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง, ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์, และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ, ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ, ที่พึ่งนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม ที่พึ่งนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง. ”
-----------------------------------------------------------------------------
๑. รุกขเจดีย์ หมายถึง ต้นไม้อันเป็นที่เคารพ
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุง ได้แก่ พหู แปลว่า มาก. บทว่า ภูเขา (ปพฺพตานิ) เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลายมีการได้บุตรเป็นต้น ย่อมถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่ามหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวันเป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้น ในที่นั้น ๆ ว่าเป็นที่พึ่ง. บทว่า สรณะนั่นไม่ ... (เนต สรณ ) ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม ไม่อุดม. ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้นเป็นธรรมดา แม้ผู้หนึ่งอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติ(การเกิด)เป็นต้นได้.
....ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นต้นว่า “ แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม เเละพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญญเดียรถีย์ ๑ เป็นต้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความที่การถึงสรณะนั้นไม่หวั่นไหว เมื่อจะทรงประกาศสรณะอันมาแล้วโดยมรรคนั่นแลจึงตรัสว่า “ ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาชอบ.” ด้วยว่าบุคคลใดถึงรัตนะทั้งหลาย มีพระพุทธรัตนะเป็นต้นนั่นว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งการเห็นสัจจะเหล่านั้น สรณะนั้นของบุคคลนั้นเกษมและอุดม. และบุคคลนั้นอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม (อต โข สรณ เขม ) เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------
๑. อัญญเดียรถีย์ หมายถึง นักบวชนอกพระพุทธศาสนา
อรรถกถาภยเภรวสูตร – อธิบายเรื่องสรณคมน์

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม : เล่ม 17/326/19 , เล่ม 17/264/20
สรณคมน์
ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะหมายความว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ย่อมกำจัด คือทำความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล. คาว่า สรณะ นั่นเป็นชื่อของพระรัตนตรัย. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่า ขจัดซึ่งภัยของสัตว์ทั้งหลาย โดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูลและถอยกลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล. ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะช่วยสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นจากกันดาร คือภพ(โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์) และเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยความหมายนี้ด้วย. จิตตุปบาท (การเกิดความคิดขึ้น) ความคิดที่มีความเศร้าหมอง อันความเคารพเลื่อมใสในสรณะนั้นขจัดสิ้น อันเป็นไปโดยอาการที่มีความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นให้นาหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.(การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง) สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ. อธิบายว่า ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก,ที่พึ่ง) ว่าเป็นปรายนะ (เครื่องนาทาง) ด้วยการเกิดความคิดขึ้น มีประการดังกล่าวแล้ว.
อรรถกถาภยเภรวสูตร – อธิบายประเภทแห่งการถึงสรณะ ”. พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม : เล่ม 17/327/17 , เล่ม 17/ 265/14
ประเภทแห่งการถึงสรณะ
ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท) พึงทราบอธิบายต่อไป.
การถึงสรณะมี ๒ คือ การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ(ที่พ้นวิสัยโลก) ๑ การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ(ที่เป็นวิสัยโลก) ๑. ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะ(ความจริง)แล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีความดับเป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจ ย่อมต้องการพระรัตนตรัยทั้งหมด เพื่อตัดขาดกิเลส(ความชั่วที่ทาใจให้เศร้าหมอง) ที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะในขณะแห่งมรรค. (ส่วน)การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ เพื่อข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะ. การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมายได้แก่ การได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น และความเห็นถูกต้องที่มีศรัทธา(ในพระรัตนตรัยนั้น)เป็นพื้นฐาน ท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม (การทาความเห็นให้ตรง) (ซึ่งอยู่)ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐. การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ ๔ อย่างคือ (การถึง) ด้วยการมอบตน ๑ ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ๑ ด้วยการยอมเป็นศิษย์ ๑ ด้วยการถวายมือ (การประนมมือทำความเคารพ) ๑. ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การมอบตน ได้แก่ การยอมสละตนแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ด้วยการกล่าว) อย่างนี้ว่า “ นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม และแด่พระสงฆ์”. ที่ชื่อว่า การมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่ การที่มีพระรัตนตรัยนั้นนำหน้า (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า “นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจาข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้นำทางที่ชื่อว่า การยอมเป็นศิษย์ ได้แก่ การยอมเป็นศิษย์อย่างนี้ว่า “นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจาข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของพระพุทธองค์ เป็นศิษย์ของพระธรรม เป็นศิษย์ของพระสงฆ์”
ที่ชื่อว่า การประนมมือทำความเคารพ ได้แก่ การทาความนอบน้อมอย่างสูงในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า “นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทาความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น”. ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบตน (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า ”ข้าพเจ้าสละตนแล้วทีเดียว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม และแด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียว ตัวของข้าพเจ้าเป็นอันข้าพเจ้าสละแล้ว ชีวิตของข้าพเจ้าก็เป็นอันสละแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จงเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า" พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ (การยอมตัวเป็นศิษย์) เหมือนการเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะอย่างนี้ว่า พระมหากัสสปะเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า “ข้าพเจ้าได้พบพระศาสดา เท่ากับได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ได้พบพระสุคต เท่ากับได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่ากับได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า”.
พึงทราบการที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง (เป็นที่ไปในเบื้องหน้า) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เที่ยวไปจากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน จากเมืองสู่เมืองพึงเห็นการประนมมือทาความเคารพอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อพรหมายุ ลุกขึ้นจากที่นั่งทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือแล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ก็การประนมมือทำความเคารพนั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ เพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล(ผู้ควรรับของทำบุญ). บรรดาการประนมมือทำความเคารพ ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการประนมมือทำความเคารพ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ ๓ อย่างนอกจากนี้.
เพราะว่า สรณะที่ถึงโดยถือเป็นสิ่งประเสริฐสุด จะหมดสภาพความเป็นสรณะไปโดยสภาพที่เป็นของประเสริฐสุดนั้นเอง เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวายบังคม(พระพุทธเจ้า)ด้วยสาคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเราทั้งหลาย บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย. หรือว่าบุคคลใดถวายบังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชาบูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เราได้ การไหว้นั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน.
แม้บุคคลใคร่ระลึกถึงคำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสานักของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือเรียนเอาคำสอนในคราวที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเช่นว่า
พึงใช้สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วยหมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้. จึงถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็นพระอาจารย์ของเรา การไหว้ของบุคคลนั้น ก็ไม่เป็นสรณะเหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสาคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคลในโลก การถวายบังคมของบุคคลนั้น จัดว่าเป็นสรณะแล้ว. อุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้ว จะไหว้ญาติแม้ที่บวชในสำนักอัญญเดียรถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเราดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป(ไม่ขาด) ไม่ต้องพูดถึงการไหว้ญาติที่ยังไม่บวช.
สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทาความเสียหายให้แก่เราได้ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป เหมือนเมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยคิดว่าผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล. ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล ๔ ๑ เป็นวิบากผลมีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นผลอานิสงส์. สมด้วยพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ บุคคลนั้นย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์ เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะนั้น จึงจะเป็นสรณะอันเกษมเป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคลย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอานิสงส์ของการถึงสรณะนั่น เช่น การไม่ถือโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
-----------------------------------------------------------------------------
๑.ผลแห่งความเป็นสมณะ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
-----------------------------------------------------------------------------
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส(เป็นไปไม่ได้เลย)ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็น จะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไรๆ ว่าเป็นตัวตน จะพึงปลงชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทาลายสงฆ์ จะพึงอ้างศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้”.
ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผลเหมือนกัน. สมจริงดังพระดารัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์(เกิดในหมู่เทพ).
แม้เรื่องอื่นท่านก็กล่าวไว้. (คือ) คราวครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นเหตุให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น (เกิดเป็นเทวดาแล้ว) ย่อมเด่นล้าเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอันเป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์ โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์. ใน(การถึง)พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะก็นัยนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสาคัญของการถึงสรณะแม้ด้วยอานาจแห่งพระสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น. พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะอย่างนี้.



Create Date : 08 มิถุนายน 2554
Last Update : 8 มิถุนายน 2554 21:28:03 น.
Counter : 1050 Pageviews.

0 comment
บทสวดประกาศพระปริตรแปล
สำหรับผู้ได้ศึกษา 'พุทธ ธรรม สงฆ์' อย่างถูกต้องแล้ว
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม จัดพิมพ์โดยมหา มกุฎราชวิทยาลัยรวบรวมและเรียบเรียงโดย คณะวัดสามแยก
พระปริตร ฉบับภาษาไทยแปล (แปลตามชุดสีน้าเงินและสีแดง)
หนังสือนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามขาย
พิมพ์แจกเผยแพร่ เพื่อประโยชน์สุขสำราญแก่พุทธบริษัท
ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง หมู่ 9 ต.วังกวาง อ.น้าหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260 โทร. 08-6853-3355 //www.samyaek.com //www.samyaek.com/
-1-
ส่วนที่ 1 ใช้สวด สำหรับผู้ศึกษาพุทธ ธรรม สงฆ์ อย่างถูกต้องแล้ว
รัตนสูตร - ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพุทธ ธรรม สงฆ์พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม :สีน้ำเงิน เล่ม 47/1/7, สีแดง เล่ม 47/1/6
ขอนอบน้อมแด่พระผู้จำแนกธรรมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ภูต๑เหล่าใดประชุมกันแล้วในที่นี้ก็ดี, หรือเทวดาภาคพื้นเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี, หมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ, ดูก่อนภูตทั้งปวงเพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง, จงแผ่เมตตาไปในหมู่มนุษย์, มนุษย์เหล่าใดทำการพลี๒เพื่อท่าน, ทั้งกลางวันกลางคืน, เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท, จงรักษามนุษย์เหล่านั้น,
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น, หรือรัตนะ๓ใดอันประณีตในสวรรค์, ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี, พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระศากยะผู้สงบผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น, ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลสเป็นที่สำรอกกิเลส, เป็นอมตธรรมเป็นธรรมประณีต, ธรรมชาติอะไรๆอันเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี, พระธรรมแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี
---------------------------------------------------------------------
๑. ภูต หมายถึง มนุษย์ทิพย์และสัตว์เดรัจฉานทิพย์ทั้งหลาย,
๒. ทาการพลี หมายถึง บริจาคสิ่งของหรือจัดการฟังธรรมเป็นต้น แล้วให้ส่วนบุญแก่มนุษย์ทิพย์และสัตว์เดรัจฉานทิพย์
๓. รัตนะ หมายถึง แก้ว, ของวิเศษหรือมีค่ามาก, สิ่งประเสริฐ, สิ่งมีค่าสูงยิ่ง
๔. สวัสดี หมายถึง ความดีงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัย
---------------------------------------------------------------------
2
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด,ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด,ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวสมาธิใดว่าให้ผลโดยลำดับ, สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี, พระธรรมแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคาจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
บุคคล ๘ จาพวก ๔ คู่, อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว, บุคคลเหล่านั้นควรแก่ของทำบุญ, เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า๒, ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก, พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระพุทธโคดม, ประกอบด้วยดีแล้วมีใจมั่นคงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย, พระอริยบุคคลเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผลที่ควรบรรลุ, หยั่งลงสู่ความดับนิรันดร, ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่าๆเสวยผลอยู่, พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศฉันใด, ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม๓ฉันนั้น, พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระโสดาบันเหล่าใด, ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย, อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง, พระโสดาบันเหล่านั้น, ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าก็จริงอยู่, ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ , พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
-----------------------------------------------------------------------------
๑. บุคคล ๘ จาพวก ๔ คู่ หมายถึง พระอริยะบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค- โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล , ๒. พระสุคตเจ้า หมายถึง คาเรียกพระพุทธเจ้าอีกพระนามหนึ่ง,
๓. โลกธรรม หมายถึง ธรรมที่มีประจาโลก, ธรรมที่ครอบงาสัตว์โลกและสัตว์โลกก็เป็น ไปตาม มี ๘ อย่าง คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
๔. ไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ หมายถึง ตรัสถึงคุณของพระโสดาบันผู้เนิ่นช้าที่สุด จะต้องเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ ก็จะถึงความดับสนิท
------------------------------------------------------------------
ความเห็นว่าเป็นตัวตนและความลังเลสงสัย, หรือแม้ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นด้วยศีล, และวัตรอันใดอันหนึ่ง มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นอันพระโสดาบันนั้นละได้แล้ว, พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นความดับทีเดียว, อนึ่งพระโสดาบันเป็น
ผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง๔ , และไม่อาจเพื่อจะกระทำความผิดสถานหนักทั้ง๖ , พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระโสดาบันนั้น, ยังทำบาปกรรมด้วยกายด้วยวาจาหรือด้วยใจก็จริง, ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมนั้น, ความที่บุคคลเห็นทางแห่งความดับแล้ว, เป็นผู้ไม่ปกปิดบาปนั้นเลย, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้ว, ในเดือนต้นแห่งฤดูร้อนฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง, เป็นเครื่องให้ถึงความดับ, เพื่อประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น, พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ, ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ, ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ, ทรงนามาซึ่งธรรมอันประเสริฐ, ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ, ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า, พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
พระอริยบุคคลเหล่าใด, มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว, ไม่มีกรรมใหม่ที่จะเกิดต่อไป, เป็นผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในการเกิด, พระอริยบุคคลเหล่านั้น, มีความทะยานอยากอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว, เป็นผู้มีปัญญา, ย่อมดับไปเหมือนประทีปที่ดับฉันนั้น, พระสงฆ์แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต, ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ขอความสวัสดีจงมี,
-----------------------------------------------------------------------------
๑. อบายทั้ง ๔ คือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรตและอสุรกาย
๒. ความผิดสถานหนักทั้ง ๖ คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทาร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต ทาสงฆ์ให้แตกกันและการถือศาสดาอื่น
----------------------------------------------------
4
ท้าวสักกเทวราชตรัสเสริมว่าดังนี้
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในที่นี้ก็ดี, หรือเทวดาภาคพื้นเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี, เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่, ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว, ขอความสวัสดีจงมี,
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในที่นี้ก็ดี, หรือเทวดาภาคพื้นเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี, เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมของพระพุทธเจ้า, อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว, ขอความสวัสดีจงมี,
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในที่นี้ก็ดี, หรือเทวดาภาคพื้นเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี, เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า, ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว, ขอความสวัสดีจงมี, จบรตนสูตร

-5- เมตตสูตร-ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม :สีน้ำเงิน เล่ม 39/328/1, สีแดงเล่ม 39/318/8
เมตตสูตร
การงานใด, อันพระอริยะทำแล้วบรรลุผลอันสงบ, การงานนั้น, อันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ, กุลบุตรนั้น, พึงเป็นผู้อาจหาญซื่อตรงและตรงด้วยดี,
พึงเป็นผู้ว่าง่ายอ่อนโยนไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น, พึงเป็นผู้สันโดษเลี้ยงง่าย, เป็นผู้มีการงานน้อย ประพฤติเบากายเบาใจ, พึงเป็นผู้มีกายใจสงบมีปัญญารักษาตัว, เป็นผู้ไม่คะนองไม่ติดในสกุลทั้งหลาย, ท่านผู้รู้ทั้งหลาย, ติเตียนชนเหล่าอื่นได้ด้วยการทำความ ลามกอันใด, ก็ไม่พึงทาความลามกอันนั้น, พึงแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งปวง, จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม, มีตนถึงความสุขเถิด, สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่, ยังเป็นผู้สะดุ้ง มีความทะยานอยาก, หรือเป็นผู้มั่นคง ไม่มีความทะยานอยาก, สัตว์ทั้งหมดนั้น, เหล่าใดยาว หรือสั้น, ปานกลางหรือใหญ่, ผอมหรืออ้วน,
เหล่าใดที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น, เหล่าใดอยู่ใน ที่ไกลหรือที่ใกล้, ที่เกิดแล้วหรือที่แสวงหาภพเกิด, ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น, จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด, สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น, ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ไม่ว่าในที่ใดๆ เลย, ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน, เพราะความกริ้วโกรธและความแค้นเคือง,
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน, ยอมพลีชีวิต เพื่อลูกได้ฉันใด, พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวงแม้ฉันนั้น, พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในโลกทั้งปวง, ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง, เป็นธรรมอันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู, ผู้เจริญเมตตา,จะยืนเดินนั่งนอนก็ตาม, เมื่อนอนยังไม่หลับเพียงใด, ก็พึงตั้งสติแผ่เมตตาไว้เพียงนั้น, ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า, เป็นการอยู่อย่างประเสริฐ
ในพระศาสนานี้, ผู้มีเมตตาไม่เข้าถึงความเห็นผิดเป็นผู้มีศีล, เห็นพร้อมแล้วซึ่งทางแห่งความดับด้วยปัญญาอันชอบ, นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้แล้ว, ก็ย่อม ไม่เข้าถึงการเกิดในครรภ์อีกโดยแท้, จบเมตตสูตร

-7- อหิสูตร - ว่าด้วยการแผ่เมตตาไปถึงตระกูลพระยางู
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม : สีน้ำเงินเล่ม 35/215/11, สีแดงเล่ม 35/222/18
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูลวิรูปักขะทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูลเอราปถะทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูลฉัพยาปุตตะทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูลกัณหาโคตมกะทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย,
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์มีเท้ามากทั้งหลาย,
ขอสัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา, สัตว์ ๒ เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา,
สัตว์ ๔ เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา, สัตว์มีเท้ามากก็อย่าเบียดเบียนเรา,
ขอสัตว์ทั้งปวงผู้มีลมหายใจและผู้เกิดแล้วทั้งหมดทั้งสิ้น, จงประสบแต่ความเจริญเถิด, อย่าได้รับโทษลามกอะไรๆเลย,
พระพุทธเจ้าทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ, พระธรรมทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ, พระสงฆ์ทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ, สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งหลายมีประมาณ, คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแกและหนู, การรักษาเราได้ทาแล้ว, การป้องกันเราได้ทาแล้ว, ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไป,
ข้าพเจ้านอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, นอบน้อมแด่พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์, จบอหิสูตร

-8- อาฏานาฏิยสูตร – ว่าด้วยวิธีป้องกันอมนุษย์
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม : สีน้ำเงินเล่ม 16/123/3 , สีแดงเล่ม 16/111/4
อาฏานาฏิยสูตร
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ เมืองราชคฤห์. ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตั้งการคุ้มครองไว้ทั้ง ๔ ทิศ
ตั้งกองทัพไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งการป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยกองทัพยักษ์กองใหญ่ด้วยกองทัพคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยกองทัพกุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยกองทัพนาคกองใหญ่ เมื่อล่วงราตรีไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายยักษ์เหล่านั้นบางพวก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นกล่าวคาปราศรัยอันเป็นที่ระลึกถึงกันผ่านไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากแล้วยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการลักทรัพย์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการโกหก ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ มิได้งดเว้นจากการลักทรัพย์ มิได้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มิได้งดเว้นจากการโกหก มิได้งดเว้นจากการดื่มน้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อนั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวก ย่อมอยู่อาศัยเสนาสนะอันเป็นราวไพรในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงดังน้อย ปราศจากการไปมาของผู้คน ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวกก็มีอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สุขสำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยการนิ่ง. ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทรงกล่าวอาฏานาฏิยรักษ์นี้ในเวลานั้นว่า
อาฏานาฏิยสูตร เริ่มสวดจากตรงนี้
ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า, ผู้มีตาอันประเสริฐ มีพระสิริ,
ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า, ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า,
ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า, ผู้มีความเพียร ชำระกิเลส,
ขอนอบน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า, ผู้ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร,
ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า, ผู้ลอยบาปแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์,
ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธเจ้า, ผู้พ้นพิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง,
ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรส ๑ พุทธเจ้า, ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง,
อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดผู้ดับแล้วในโลก, ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง, พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด, เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความตื่นกลัว,
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด, ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์, ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงถึงพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้แจ้ง, เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความตื่นกลัว, (ถ้าสวดย่อให้ถึงแค่วรรคนี้)
พระอาทิตย์มีขอบเขตใหญ่ขึ้นแต่ทิศใด, เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางคืนก็หายไป,
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมเรียกว่ากลางวัน, แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้น, เป็นสมุทรลึกมีน้ำแผ่เต็มไป, ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำในที่นั้นอย่างนี้ว่า, สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป,
ทิศนี้มหาชนเรียกกันว่าทิศตะวันออก, ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกคนธรรพ์, ทรงพระนามว่าท้าวธตรัฏฐ์, อันพวกคนธรรพ์แวดล้อมแล้ว, ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำขับร้อง, ทรงคุ้มครองอย่างดีอยู่, ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมาว่า, โอรสของท้าวเธอมีมากองค์, มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์, มีพระนามว่าอินทะ, ทรงมีกำลังมาก, ทั้งท้าวธตรัฏฐ์และพระโอรสเหล่านั้น, ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว, ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์, พากันถวายบังคมแต่ที่ไกล, แด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่, ปราศจากความตื่นกลัว,
-----------------------------------------------------------------------------
๑. อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ออกจากพระวรกาย
----------------------------------------------------------------------

ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ข้าแต่พระอุดมบุรุษ, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชน, ด้วยการหยั่งรู้อันฉลาด, แม้พวกชาวทิพย์ก็ถวายบังคมพระองค์,
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ได้ยินมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า, พวกท่านถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะหรือ, พวกเขาพากันตอบว่า, ถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม, ผู้ถึงพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้แจ้ง,
ชนทั้งหลายผู้กล่าวส่อเสียด, ผู้กัดเนื้อข้างหลัง, ทาการฆ่าสัตว์, หยาบช้า เป็นโจร, เป็นคนตลบตะแลง, ตายแล้วชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า, จงนำออกไปโดยทิศใด,
ทิศนั้น มหาชนเรียกกันว่าทิศใต้, ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์, ทรงพระนามว่าท้าววิรุฬหะ, อันพวกกุมภัณฑ์แวดล้อมแล้ว, ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำขับร้อง, ทรงคุ้มครองอย่างดีอยู่, ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมาว่า, โอรสของท้าวเธอมีมากองค์, มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์, มีพระนามว่าอินทะ, ทรงมีกำลังมาก, ทั้งท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น, ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว, ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์, พากันถวายบังคมแต่ที่ไกล, แด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่, ปราศจากความตื่นกลัว. ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ข้าแต่พระอุดมบุรุษ, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยการหยั่งรู้อันฉลาด, แม้พวกชาวทิพย์ก็ถวายบังคมพระองค์, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ได้ยินมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า, พวกท่านถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะหรือ, พวกเขาพากันตอบว่า, ถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม, ผู้ถึงพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้แจ้ง,
พระอาทิตย์มีขอบเขตใหญ่ตกในทิศใด, และเมื่อพระอาทิตย์ตกกลางวันก็ดับไป, ครั้นพระอาทิตย์ตกแล้วย่อมเรียกกันว่ากลางคืน, แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ตกแล้ว, เป็นสมุทรลึกมีน้ำแผ่เต็มไป, ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำในที่นั้นอย่างนี้ว่า, สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป,
ทิศนี้มหาชนเรียกกันว่าทิศตะวันตก, ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกนาค, ทรงพระนามว่าท้าววิรูปักษ์, อันพวกนาคแวดล้อมแล้ว, ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำขับร้อง, ทรงคุ้มครองอย่างดีอยู่,
ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมาว่า, โอรสของท้าวเธอมีมากองค์, มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์, มีพระนามว่าอินทะ, ทรงมีกำลังมาก, ทั้งท้าววิรูปักษ์และพระโอรสเหล่านั้น, ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว, ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์, พากันถวายบังคมแต่ที่ไกล, แด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่, ปราศจากความตื่นกลัว, ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ข้าแต่พระอุดมบุรุษ, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยการหยั่งรู้อันฉลาด, แม้พวกชาวทิพย์ก็ถวายบังคมพระองค์, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ได้ยินมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า, พวกท่านถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะหรือ, พวกเขาพากันตอบว่า, ถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม, ผู้ถึงพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้แจ้ง,
อุตตรกุรุทวีป เป็นสถานที่อันน่ารื่นรมย์, มีภูเขาหลวงชื่อ สิเนรุ แลดูงดงามตั้งอยู่ทิศใด, พวกมนุษย์ซึ่งเกิดใน อุตตรกุรุทวีป นั้น, ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่หวงแหนกัน, มนุษย์เหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช, และไม่ต้องนำไถออกไถ, หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลีอันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ, ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ, บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม, เป็นเมล็ดข้าวสารหุงในเตาอันปราศจากควัน, แล้วบริโภคโภชนะแต่ที่นั้น, อธิษฐานแม่โคให้มีกีบเดียว, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่, อธิษฐานสัตว์เลี้ยงให้มีกีบเดียว, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่, อธิษฐานหญิงให้เป็นพาหนะ, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่, อธิษฐานชายให้เป็นพาหนะ, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่,
อธิษฐานเด็กหญิงให้เป็นพาหนะ, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่, อธิษฐานเด็กชายให้เป็นพาหนะ, แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่, บรรดานางบำเรอของพระราชานั้น, ก็ขึ้นยานเหล่านั้นตามห้อมล้อมไปทุกทิศด้วย, ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์, ปราสาทและวอ, ก็ปรากฏแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ, และท้าวมหาราชนั้น, ได้ทรงเนรมิตนครไว้บนอากาศคือ, อาฏานาฏานคร, กุสินาฏานคร, ปรกุสินาฏานคร, นาฏปริยานคร, ปรกุสิตนาฏานคร, ทางทิศเหนือมี กปีวันตนคร, และอีกนครหนึ่งชื่อ ชโนฆะ, อีกนครหนึ่งชื่อ
นวนวติยะ, อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ, มีราชธานีชื่อ อาฬกมันทา, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, ก็ราชธานีของท้าวกุเวรมหาราชชื่อ วิสาณา, ฉะนั้นมหาชน, จึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าวเวสวัณ,
ยักษ์ชื่อ ตโตลา, ชื่อ ตัตตลา, ชื่อ ตโตตลา, ชื่อ โอชสี, ชื่อ เตชสี, ชื่อ ตโตชสี, ชื่อสุระ, ชื่อราชา, ชื่อ สุโรราชา, ชื่อ อริฏฐะ, ชื่อเนมิ, ชื่อ อริฏฐเนมิ, ย่อมปรากฏ มีหน้าที่คนละแผนก, ใน วิสาณราชธานี นั้น, มีห้วงน้าชื่อธรณี, เป็นแดนที่เกิดเมฆ เกิดฝนตก, ในวิสาณราชธานี นั้น, มีสภาชื่อ ภคลวดี, เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์, ณ ที่นั้นมีต้นไม้เป็นอันมาก, ให้ผลเป็นนิจ, เต็มไปด้วยหมู่นกต่างๆ, มีนกยูง, นกกะเรียน, นกดุเหว่า, อันมีเสียงหวานประสานเสียง, มีนกร้องดังว่า ชีวา ชีวา, และบางเหล่ามีเสียงปลุกใจ, มีไก่ป่า, มีปู, และนก โปกขรสาตกะ อยู่ในสระบัว, ในที่นั้นมีเสียงนกแก้ว, นกสาลิกา, และหมู่นกที่มีหน้าเหมือนคน, สระนฬินี ของท้าวกุเวรนั้นงดงามอยู่ตลอดกาล, ทิศนี้มหาชนเรียกกันว่าทิศเหนือ, ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกยักษ์, ทรงพระนามว่าท้าวกุเวร, อันพวกยักษ์แวดล้อมแล้ว, ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำขับร้อง, ทรงคุ้มครองอย่างดีอยู่, ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมาว่า, โอรสของท้าวเธอมีมากองค์, มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์, มีพระนามว่าอินทะ, ทรงมีกำลังมาก, ทั้งท้าวกุเวรและพระโอรสเหล่านั้น, ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว, ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์, พากันถวายบังคมแต่ที่ไกล, แด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่, ปราศจากความตื่นกลัว, ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ขอนอบน้อมแด่พระองค์, ข้าแต่พระอุดมบุรุษ, ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์, ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยการหยั่งรู้อันฉลาด, แม้พวกชาวทิพย์ก็ถวายบังคมพระองค์, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ได้ยินมาอย่างนั้นเนืองๆฉะนั้นจึงกล่าวเช่นนี้, ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า, พวกท่านถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะหรือ,พวกเขาพากันตอบว่า,ถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ชนะ,ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, ขอถวายบังคมพระพุทธ โคดม, ผู้ถึงพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้แจ้ง, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อาฏานาฏิยรักษ์นี้นั้น, เพื่อคุ้มครอง, เพื่อรักษา, เพื่อไม่เบียดเบียน, เพื่อความอยู่สุขสำราญของภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาทั้งหลาย, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, ผู้ใดผู้หนึ่ง, เป็นภิกษุก็ตาม, ภิกษุณีก็ตาม, อุบาสกก็ตาม, อุบาสิกาก็ตาม, จักเป็นผู้ยึดถือด้วยดี, เรียนครบบริบูรณ์, ซึ่งอาฏานาฏิยรักษ์นี้, หากว่าอมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์, เป็นนางยักษ์, เป็นบุตรยักษ์, เป็นธิดายักษ์, เป็นมหาอามาตย์ของยักษ์, เป็นพลเมืองยักษ์, เป็นยักษ์ผู้รับใช้, เป็นคนธรรพ์, เป็นนางคนธรรพ์, เป็นบุตรคนธรรพ์, เป็นธิดาคนธรรพ์,เป็นมหาอามาตย์ของคนธรรพ์,เป็นพลเมืองคนธรรพ์, เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้, เป็นกุมภัณฑ์, เป็นนางกุมภัณฑ์, เป็นบุตรกุมภัณฑ์, เป็นธิดากุมภัณฑ์, เป็นมหาอามาตย์ของกุมภัณฑ์, เป็นพลเมืองกุมภัณฑ์, เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้, เป็นนาค, เป็นนางนาค, เป็นบุตรนาค, เป็นธิดานาค, เป็นมหาอามาตย์ของนาค, เป็นพลเมืองนาค, หรือเป็นนาคผู้รับใช้, เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย, เดินตามภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้เดินอยู่, หรือยืนใกล้ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้ยืนอยู่, หรือนั่งใกล้, ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้นั่งอยู่, หรือนอนใกล้ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้นอนอยู่, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ, หรือความเคารพ, ในบ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์นั้นไม่พึงได้วัตถุ, หรือการอยู่ในราชธานีชื่อว่า อาฬกมันทา ของข้าพระพุทธเจ้า, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์นั้น, ไม่พึงได้เพื่อเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า, อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทาการแต่งงานกับอมนุษย์นั้น, อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงด่าอมนุษย์นั้นด้วยความดูหมิ่นอย่างเต็มที่, อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงครอบบาตรเปล่าบนศีรษะอมนุษย์นั้น, อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออก ๗ เสี่ยง, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์ทั้งหลายดุร้าย, ร้ายกาจ, ทำเกินกว่าเหตุมีอยู่, อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช, ไม่เชื่อฟังยักษ์เสนาบดีของท้าวมหาราช, ไม่เชื่อฟังรองยักษ์เสนาบดีของท้าวมหาราช, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า, ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าวมหาราช, เหมือนโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชามคธ, โจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชามคธ, ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของพระราชามคธ, ไม่เชื่อฟังรองเสนาบดีของพระราชามคธ, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, มหาโจรเหล่านั้นท่านกล่าวว่า, ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของพระราชามคธฉันใด, ก็อมนุษย์ทั้งหลายดุร้าย, ร้ายกาจ, ทำเกินกว่าเหตุมีอยู่, อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช, ไม่เชื่อฟังยักษ์เสนาบดีของท้าวมหาราช, ไม่เชื่อฟังรองยักษ์เสนาบดีของท้าวมหาราช, ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อมนุษย์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า, เป็นข้าศึกศัตรูของท้าวมหาราชฉันนั้น, หากว่าอมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์, เป็นนางยักษ์, เป็นบุตรยักษ์, เป็นธิดายักษ์, เป็นมหาอามาตย์ของยักษ์, เป็นพลเมืองยักษ์, เป็นยักษ์ผู้รับใช้, เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์, เป็นบุตรคนธรรพ์, เป็นธิดาคนธรรพ์, เป็นมหาอามาตย์ของคนธรรพ์, เป็นพลเมืองคนธรรพ์, เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้, เป็นกุมภัณฑ์, เป็นนางกุมภัณฑ์, เป็นบุตรกุมภัณฑ์, เป็นธิดากุมภัณฑ์, เป็นมหาอามาตย์ของกุมภัณฑ์, เป็นพลเมืองกุมภัณฑ์, เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้, เป็นนาค, เป็นนางนาค, เป็นบุตรนาค, เป็นธิดานาค, เป็นมหาอามาตย์ของนาค, เป็นพลเมืองนาค, หรือเป็นนาคผู้รับใช้, เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย, เดินตามภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้เดินอยู่, หรือยืนใกล้ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้ยืนอยู่, หรือนั่งใกล้ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้นั่งอยู่, หรือนอนใกล้ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาผู้นอนอยู่, (อันภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกานั้น) พึงยกโทษ, พึงคร่ำครวญ, พึงร้องแก่ยักษ์, มหายักษ์, เสนาบดี, มหาเสนาบดีว่า, ยักษ์นี้สิง, ยักษ์นี้ติดตาม, ยักษ์นี้รุกราน, ยักษ์นี้เบียดเบียน, ยักษ์นี้ทาให้เดือดร้อน, ยักษ์นี้ทาให้เกิดทุกข์, ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้, บรรดายักษ์, มหายักษ์, เสนาบดี, มหาเสนาบดี, เหล่านี้คือ
อินทะ, โสมะ, วรุณะ, ภารทวาชะ, ปชาปติ, จันทนะ, กามเสฏฐะ, กินนุมัณฑุ, นิฆัณฑุ, ปนาทะ, โอปมัญญะ, เทวสูตะ, มาตลิ, จิตตเสนะ, คันธัพพะ, นโฬราชา, ชโนสภะ, สาตาคิระ, เหมวตะ, ปุณณกะ, กรติยะ, คุละ,สิวกะ, มุจจลินทะ, เวสสามิตตะ, ยุคันธระ โคปาละ, สุปปเคธะ, หิริ, เนตตะ, มันทิยะ, ปัญจาลจันทะ, อาลวกะ, ปชุณณะ, สุมุขะ, ทธิมุขะ, มณิ, มานิจระ, ทีฆะ, และเสรีสกะ,
พึงยกโทษ, พึงคร่ำครวญ, พึงร้องแก่ยักษ์, มหายักษ์, เสนาบดี, มหาเสนาบดีเหล่านี้ว่า, ยักษ์นี้สิง, ยักษ์นี้ติดตาม, ยักษ์นี้รุกราน, ยักษ์นี้เบียดเบียน, ยักษ์นี้ทาให้เดือดร้อน, ยักษ์นี้ทาให้เกิดทุกข์, ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้,
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์, อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล, เพื่อคุ้มครอง, เพื่อรักษา, เพื่อไม่เบียดเบียน, เพื่อความอยู่สุขสำราญของภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกาทั้งหลาย. สวดอาฏานาฏิยสูตร จบตรงนี้

ต่อ ตอนสอง //www.bloggang.com/mainblog.php?id=boutiquehome&month=08-06-2011&group=3&gblog=93





Create Date : 08 มิถุนายน 2554
Last Update : 8 มิถุนายน 2554 20:59:46 น.
Counter : 4200 Pageviews.

5 comment
ว่าด้วยปัญหาของนักรบอาชีพ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - พระ

ไตรปิฎกปกสีน้ำเงิน เล่มที่ 29 หน้าที่ 184-185

๓. โยธาชีวสูตร ว่าด้วยปัญหาของนักรบอาชีพ

[๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์

และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม

ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย

นายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ นายนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และ

ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม

ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสว่ากะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

นายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด

อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายบ้าน นักรบ

อาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี

ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ

หรือว่าอย่าได้มี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย

ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลัง

อุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น

สหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไชร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด

ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก

หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด

[๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบ

อาชีพร้องไห้สอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายบ้าน

เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่า

ถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้

ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่า

ข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้น

กาลนานว่านักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้น

ซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ

ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่

คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระ-

ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป. จบ โยธาชีวสูตรที่ ๓





Create Date : 02 มิถุนายน 2554
Last Update : 2 มิถุนายน 2554 0:27:14 น.
Counter : 569 Pageviews.

2 comment
อันตรายของวงการบันเทิง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ -

พระไตรปิฎกปกสีน้ำเงิน เล่มที่ 29 หน้าที่ 181-182

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น

ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

บังเกิดในนรกชื่อปหาสะ. อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำ

คนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลาง

สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ. ความเห็นของเขานั้นเป็นความ

เห็นผิด. ดูก่อนนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิด

สัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด

[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนัก-

เต้นรำนามว่าตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนนายคามณี เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี

ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย.

คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูก

นักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า

นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ใน

ท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น

สหายของเทวดาชื่อปหาสะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ

พระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระ-

องค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษสงฆ์ว่าเป็น

สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า นายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจาก

หมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่าน

พระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ตาลปุตตสูตรที่ ๒





Create Date : 01 มิถุนายน 2554
Last Update : 1 มิถุนายน 2554 23:54:05 น.
Counter : 607 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"