All Blog
สึนามิในอดีต และสาเหตุที่ธรรมชาตผิดปกติ
ที่เราได้ยินมาในปีนี้ 2011
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวความรุนแรง 6.3 ริกเตอร์ ตามด้วยอาฟเตอร์ช็อคอีก 2 ครั้ง ความรุนแรง 5.6 ริกเตอร์ และ 5.5 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนพังเสียหายอย่างหนัก และประชาชนสูญหายเป็นจำนวนมาก

เมื่อ 11 มี.ค. 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงถึง 8.9 ริกเตอร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ห่างจากชายฝั่งเมืองเซนได เกาะฮอนชู 130 กิโลเมตร คนตายนับหมื่น

เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2554 เกิดแผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่ฟม่า ส่งแรงสั่นสะเทือนถึง กรุงเทพมหานคร

สุราษฏร์ธานี เจอพายุฝนถล่มเกาะสมุย พะงัน อ่วมน้ำท่วมรอบเกาะ ระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้บางจุด นักท่องเที่ยวตกค้างกว่า 700 คน ททท.ระบุสถานรุนแรงกว่าปลายปีที่ผ่านมา


สุราษฎร์ธานี (29 มี.ค.54) สถานการณ์น้ำท่วมที่เกาะสมุยยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากภายในเกาะถูกน้ำท่วมขัง ถนนเกือบทุกสายเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ขณะเดียวกันกระแสไฟฟ้าในบางจุดถูกตัด เพราะน้ำท่วมสูง ส่วนการติดต่อสื่อสารยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก ยิ่งไปกว่านั้นมีนักท่องเที่ยวตกค้างที่เกาะสมุยประมาณ 600-700 คน ที่ประสงค์จะเดินทางออกจากเกาะ แต่ยังเดินทางไม่ได้เพราะสายการบินบางกอกแอร์เวย์ยังหยุดบริการไม่มีกำหนด

ส่วนที่เกาะพะงันมีสภาพไม่แตกต่างกันมากนัก คลื่นลมแรงโดยมีนักท่องเที่ยวตกค้างประมาณ 200 - 300 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ทั้งนี้ได้ย้ำผู้ประกอบการไปแล้วให้ดูแลนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ห้ามลงเล่นน้ำในช่วงนี้เด็ดขาด อีกทั้งทางผู้ประกอบการเรือเฟอร์รี่ทุกเส้นทางยังงดบริการ ไม่มีกำหนด

ภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว และก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไปอีก พวกเราเตรียมตัวเตรียมใจ กันไว้หรือยัง

สึนามิในอดีต (สมุทรทวาณิชชาดก) เล่ม 60 หน้า 135-142

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 135

ในอดีตกาล ครั้นพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพา-
ราณสี ณ ที่อันไม่ไกลจากพระนครพาราณสีได้มีบ้านช่างไม้หมู่ใหญ่ มีครอบครัวอาศัยอยู่พันครอบครัว ในที่นั้นพวกช่างไม้พากันกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจักกระทำเตียงให้แก่พวกท่าน จักกระทำตั่ง จักกระทำเรือนให้พวกท่าน ต่างกู้หนี้ เป็นอันมากจากมือของฝูงคน แล้วไม่อาจจะทำอะไร ๆ ได้เลย ฝูงคนพากันทวงพากันเร่งเร้า กะพวกช่างไม้ที่พบเข้า ๆ พวกนั้นถูกพวกคนที่เป็นเจ้าหนี้เร่งรัดหนักเข้า พูดกันว่า พวกเราพากันไปต่างประเทศ ไปอยู่เสีย ณ ที่ใดที่หนึ่งเถอะ ชวนกันเข้าป่าตัดไม้ต่อเรือขนาดใหญ่ เข็นลงน้ำนำมาจอดไว้ในที่กึ่งโยชน์กับ ๑ คาวุตจากบ้าน ถึงเวลากลางคืนพากันมาบ้านรับลูกเมียไปสู่ที่เรือจอด พากันขึ้นสู่เรือนั้น แล่นเข้ามหาสมุทรไปโดยลำดับ เมื่อเที่ยวไปด้วยอำนาจลม พากันบรรลุเกาะแห่งหนึ่งท่ากลางมหาสมุทร ก็แลในเกาะนั้น ผลาผลต่างๆ หลายอย่าง มีข้าวสาลี อ้อย กล้วย มะม่วง ข้าว ขนุน ตาล มะพร้าว เกิดเอง ทั้งนั้น มีอยู่ อนึ่งเล่ายังมีบุรุษเรืออับปางคนหนึ่ง ไปถึงเกาะนั้นก่อนบริโภคข้าวสาลี เคี้ยวกินอ้อยเป็นต้น มีร่างกายอ้วนท้วนเปลือยกาย มีผมและหนวดงอกงาม พำนักอยู่ที่เกาะนั้น ครั้งนั้น พวกช่างไม้แม้นั้น คิดกันว่า ถ้าเกาะนี้
จักมีรากษสคุ้มครอง พวกเราแม้ทั้งหมดจะพากันถึงความพินาศ พวกเราต้องสำรวจดูมันก่อน ทีนั้นบุรุษ ๗-๘ คนที่กล้า มีกำลัง ผูกสอดอาวุธครบ ๕ ประการ จึงไปสำรวจเกาะ ขณะนั้นบุรุษนั้นบริโภคอาหารเช้าแล้ว ดื่มน้ำอ้อยแสนสุขสบาย นอนหงายในร่มอันเย็นเหนือพื้นทรายเช่นกับแผ่นเงิน ในประเทศอันน่ารื่นรมย์ เมื่อจะขับเพลงว่า ชาวชมพูทวีปพากันไถ พากันหว่านยังไม่ได้สุขเช่นนี้เลย เกาะน้อยของเรานี้เท่านั้นประเสริฐกว่าชมพูทวีป เปล่งอุทานนี้. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเมื่อจะทรงแสดงว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่งอุทานนี้ แล้วตรัสพระปฐมคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 136

ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน เป็นมนุษย์ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการงาน ไม่ถึงส่วนหนึ่งแห่งเกาะอันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีว่าชมพูทวีป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ชนา คือชนชาวชมพูทวีป. บทว่ากมฺมผลูปชีวิโน ความว่า เป็นสัตว์ที่ต้องเลี้ยงชีพอาศัยผลแห่งกรรมต่าง ๆ.
ลำดับนั้น พวกคนที่สำรวจเกาะเหล่านั้น ฟังเสียงเพลงขับของเขาพูดกันว่า ที่พวกเราได้ยินดูเหมือนเสียงคน ต้องรู้เสียงนั้นให้ได้นะ พากันเดินตามกระแสเสียง เห็นบุรุษนั้นพากันกลัวว่าต้องเป็นยักษ์ ต่างสอดลูกศรฝ่ายบุรุษนั้นเล่า เห็นคนเหล่านั้นด้วยความกลัวจะฆ่าคนเสีย วิงวอนว่า นายเอ๋ยฉันไม่ใช่ยักษ์ดอกจ้า ฉันเป็นบุรุษโปรดให้ชีวิตทานแก่ฉันเถิด ครั้นพวกนั้นกล่าวว่า ธรรมดาคนจะเป็นคนเปลือยอย่างเจ้าไม่มีเลย อ้อนวอนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้พวกนั้นรู้ความที่ตนเป็นมนุษย์จนได้ พวกนั้นพากันเข้าไปหาบุรุษนั้น ทำสัมโมทนียกถาแล้ว ถามถึงเรื่องที่บุรุษนั้นมาในเกาะนั้น แม้เขาก็
เล่าเรื่องทั้งปวงแก่พวกนั้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านพากันมาณ ที่นี้ด้วย
บุญสมบัติของตน เกาะนี้เป็นเกาะอุดม ในเกาะนี้คนไม่ต้องทำการงานด้วยมือตนเลยก็พากันเป็นอยู่ได้ ข้าวสาลีเกิดเอง และอ้อยเป็นต้นในเกาะนี้ ไม่มีที่สิ้นสุดเลย เพราะเหตุนั้น เชิญพวกท่านอยู่กันอย่างไม่ต้องกระวนกระวายใจเถิด พวกเหล่านั้นต่างถามว่า ก็แม้อันตรายอย่างอื่นจะไม่มีแก่พวกเราผู้อยู่ ในเกาะนี้บ้างหรือ ตอบว่า ภัยอย่างอื่นน่ะไม่มีดอกในเกาะนี้ แต่ว่าเกาะนี้อมนุษย์ครอบครอง พวกอมนุษย์เห็นอุจจาระ และปัสสาวะของพวกท่านแล้วพึงโกรธได้ เหตุนั้นเมื่อจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ พึงขุดทรายแล้วก็กลบเสียด้วยทราย ภัยในเกาะนี้มีเพียงเท่านี้อย่างอื่นไม่มี พวกท่านพึงพากันไม่ประมาท
เป็นนิตย์เทอญ พวกนั้นเข้าอาศัยอยู่ในเกาะนั้น ก็ในพันครอบครัวนั้น ด้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 137

ช่างไม้ ๒ คนเป็นหัวหน้าคนละ ๕๐๐ ครอบครัว ในหัวหน้าทั้งสองนั้น คนหนึ่งเป็นพาลหมกมุ่นในรส คนหนึ่งเป็นบัณฑิตไม่หมกมุ่นในรสทั้งหลาย ในกาลต่อมา ครอบครัวเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ต่างอยู่กันอย่างสบายในเกาะนั้น พากันมีร่างกายอ้วนพี คิดกันว่า สุราของพวกเราห่างเหินนักล่ะ พวกเราพากันกระทำเมรัยด้วยน้ำอ้อยดื่มกันเถอะ พวกนั้นช่วยกันทำเมรัยดื่ม พากันร้องรำเล่นประมาทไปด้วยอำนาจที่เมามัน ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไว้ในที่นั้นแล้วไม่กลบ
กระทำเกาะให้สกปรกปฏิกูล ฝูงเทวดาโกรธว่า คนพวกนี้พากันทำสนามเล่นของเราให้สกปรก คิดกันว่า ต้องให้น้ำทะเลท่วมท้นขึ้นทำการล้างเกาะเสียเถอะพากันกำหนดวันไว้ว่า วันนี้เป็นกาฬปักษ์ และสมาคมของพวกเราก็ถูกทำลายเสียแล้วในวันนี้ ในวันเพ็ญอุโบสถ วันที่ ๑๕ จากวันนี้ เวลาดวงจันทร์ขึ้นแล้วพวกเราต้องให้น้ำทะเลท่วมฆ่าพวกนี้เสียให้หมดเลยคราวนี้ ครั้งนั้นในกลุ่มแห่งเทวดาเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่งเป็นผู้ทรงธรรม สงสารว่า พวกเหล่านี้
จงอย่าพินาศไปทั้ง ๆ ที่เราเห็นอยู่เลย เมื่อคนเหล่านั้นบริโภคอาหารเย็น นั่งสนทนากันสบายที่ประตูเรือน ประดับกายด้วยอาภรณ์ทั้งปวง กระทำเกาะทั้งหมดให้สว่างเป็นอันเดียวกัน ยืนอยู่บนอากาศทางทิศเหนือ กล่าวว่า ช่างไม้พ่อเอ่ย ฝูงเทวดาพากันโกรธพวกท่าน อย่าพากันอยู่ ณ ที่นี้เลย ก็ล่วงไปกึ่งเดือนแต่วันนี้ พวกเทวดาจักให้น้ำทะเลท่วมฆ่าพวกท่านเสียทั้งหมดทีเดียว
พวกท่านจงพากันออกจากเกาะนี้หนีไปเสียเถิด กล่าวคาถาที่ ๒ ว่าในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่นจัดจะท่วมเกาะใหญ่นี้ให้จมลง คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่านทั้งหลายเสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่งอาศัยที่อื่นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 138

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาวสํ คือนองเข้าไป ได้แก่ ท่วมท้น
เกาะนี้. บทว่า มา โว วธิ ความว่า คลื่นแห่งสาครนั้นอย่าได้กำจัดพวกท่านเสียเลยนะ.เทพบุตรนั้นให้โอวาทแก่พวกนั้นอย่างนี้แล้ว ก็ไปสู่สถานของตนทันที เมื่อเทพบุตรองค์นั้นไปแล้ว เทพบุตรอีกองค์หนึ่งเหี้ยมโหด กักขฬะ คิดว่าพวกนี้พึงเธอถือถ้อยคำของเทพบุตรองค์นี้พากันหนีไปเสีย เราต้องการห้ามการไปของพวกนั้นไว้ ต้องให้ถึงความพินาศทั้งหมดเลย ประดับด้วยอลงการอันเป็นทิพย์ กระทำบ้านทั้งหมดให้สว่างเป็นอันเดียวกัน มายืนอยู่ในอากาศ
ทางทิศทักษิณ ถามว่า เทพบุตรองค์หนึ่งมาที่นี่หรือ ครั้นพวกนั้นตอบว่ามาเจ้าข้า กล่าวว่า เขาพูดอะไรกะเธอเล่า เมื่อพวกนั้นพากันตอบว่า เรื่องนี้ เจ้าข้า กล่าวว่า เขาไม่อยากให้พวกเธออยู่ที่นี่หรือ พูดด้วยความเคียดแค้น พวกเธอไม่ต้องไปที่อื่นดอก พากันอยู่ที่นี่เช่นเดิมเถิด ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่าคลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้ เหตุอันนั้น เราเห็นแล้ว ด้วยนิมิตเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้ อันมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมายเป็นที่อยู่อาศัยเถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วยบุตรหลานเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ชาตยํ ตัดเป็น น ชาตุ อยํ. บทว่า
มาเภถ แปลว่า อย่ากลัวเลย. บทว่า ปโมทถโวฺห ความว่า ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 139

จงพากันบันเทิง เกิดปีติโสมนัส. บทว่า อาปุตฺตปุตฺเตหิ ความว่า จงเบิกบานใจ ชั่วลูกชั่วหลานเถิด ในที่นี้ย่อมไม่มีภัยแก่พวกท่าน. เทพบุตรนั้นปลอบโยนพวกเหล่านั้นด้วยคาถาสองคาถาเหล่านี้แล้วหลีกไป. ในเวลาที่ เทพบุตรนั้นกลับไปแล้ว ช่างไม้ที่เป็นพาลฟังถ้อยคำของเทพบุตร ผู้ดำรงในความไม่เชื่อถือ ก็ตักเตือนช่างพวกที่เหลือว่า ชาวเราเอ๋ย เชิญฟังคำของข้าพเจ้า แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า
เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้านความเกษมสำราญ ถ้อยคำของเทพบุตรนั้นเป็นคำจริง เทพบุตรในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณสฺสํ แปลว่า ในทิศทักษิณ.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
พวกช่างไม้ ๕๐๐ ผู้หมกมุ่นในรส ฟังคำนั้นแล้วเชื่อถือถ้อยคำของ
ช่างไม้พาลชนนั้น. ฝ่ายช่างไม้บัณฑิตอีกคนหนึ่ง ไม่ยอมเชื่อถือถ้อยคำของช่างไม้นั้น เรียกช่างไม้เหล่านั้นมา ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
เทพยดาเหล่านี้ ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร เทวดาตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอดภัย ดัง เราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของเราเถิด เราทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย. เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้มั่นคงติดเครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ ถ้าเทพบุตรในทิศทักษิณพูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่า ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 140

เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรานั้นก็จักไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่ละทิ้งเกาะนี้ ถ้าหากว่าเทพบุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศทักษิณก็พูด ค้านเปล่า ๆ.เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนทันที ข้ามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดีอย่างนี้ พวกเราไม่พึงเชื่อถือง่าย ๆ ว่าคำจริงโดยคำแรกไม่พึงเชื่อถือโดยง่าย ๆ ซึ่งถ้อยคำที่เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใดในโลกนี้ เลือกถือเอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปวทนฺติ ความว่า กล่าวแย้งกัน
และกัน. บทว่า ลหุ เป็นบทแสดงถึงความก่อน. บทว่า โทณึ คือเป็นเรือขนาดใหญ่ลึก. บทว่า สพฺพยนฺตูปปนฺนํ คือประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ มีสายลการและถ่อเป็นต้นทุกๆ อย่าง. บทว่า สา เจว โน โหหีติ อาปทตฺถความว่า เรือนนั้นของพวกเรา เมื่ออันตรายเกิดขึ้นแต่ในภายหลัง ก็มิใช่จักไม่เป็นประโยชน์ และพวกเราก็ไม่ต้องทิ้งเกาะนี้. บทว่า ตเรมุ แปลว่า พากันข้ามไป. บทว่า น เว สุคณฺหํ คือ เป็นอันว่าพวกเรามิได้เชื่อถือโดยง่ายโดยส่วนเดียว. บทว่า เสฏฺฐํ คือสูงสุด แน่นอน แท้จริง. บทว่า กนิฏฺฐํ ความว่า เทียบ
กับคำก่อนแล้วก็เป็นคำหลัง จึงชื่อว่าคำภายหลัง. แม้ในคำนี้ก็ประกอบในข้อที่จะคล้อยตามคำว่า เป็นอันพวกเราไม่เชื่อถือง่าย ๆ ดุจกัน. ท่านอธิบายคำนี้ ไว้ว่า ดูก่อนพวกช่างไม้ผู้เจริญ คำที่เทพบุตรองค์ก่อนองค์ใดองค์หนึ่งกล่าวแล้ว พวกเรามิได้เชื่อถือง่าย ๆ ว่าคำนี้เท่านั้นประเสริฐแน่นอนจริงจังเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 141

ทีเดียว. ก็และคำนั้นฉันใด แม้คำอันเป็นภายหลัง คือคำที่เทพบุตรกล่าวทีหลังก็ฉันนั้น พวกเรามิได้เชื่อถือว่า คำนี้เท่านั้นประเสริฐเที่ยงแท้จริงจัง. ก็แต่ว่าคำใดถึงคลองแห่งโสตวิสัย บุรุษผู้เป็นบัณฑิตแห่งโลกนี้ถือเอาคำอันมาปรากฏนั้น แล้วเลือกเป็นคำก่อนและคำหลัง คือเลือกสรรพิจารณาเพ่งใกล้ชิด ย่อมถือเอาส่วนกลางได้คือ ข้อใดเที่ยงแท้จริงจังเป็นตัวยั่งยืน ย่อมยึดเอาข้อนั้น
นั่นแลทำให้ประจักษ์ได้. บทว่า สเว น เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ ความว่า นรชนนั้นย่อมเข้าถึง บรรลุ ประสบ กลับได้ฐานะอันสูงสุด.
ก็แลครั้นกล่าวเช่นนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า พ่อเอย พวกเราต้องทำ
ตามคำของเทพบุตรทั้งสอง พวกเราพึงเตรียมเรือไว้ แต่นั้นถ้าคำของเทพบุตรองค์ก่อนจักเป็นจริง พวกเราก็พากันขึ้นเรือหนีไป ครั้นคำของเทพบุตรอีกองค์หนึ่งจักเป็นจริง พวกเราก็จอดเรือไว้ข้างหนึ่ง คงอยู่ในเกาะนี้สืบไป ครั้นช่างไม้ผู้บัณฑิตกล่าวอย่างนี้ ช่างไม้ผู้พาลกล่าวว่า พ่อเอย ท่านเห็นจระเข้ในโอ่งน้ำ ช่างหลับตาเสียนานเหลือเกิน เทพบุตรองค์แรกพูดด้วยความเคียดแค้นในพวกเรา องค์หลังพูดด้วยความรัก พวกเราจักพากันทอดทิ้งเกาะอันประเสริฐ
ปานฉะนี้นี่ไปไหนกันเล่า ก็ถ้าท่านอยากจะไป ก็จงควบคุมคนของท่านทำเรือเถิด พวกข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่จะใช้เรือ ช่างไม้บัณฑิตชวนบริษัทของตนเตรียมเรือ บรรทุกเครื่องอุปกรณ์พร้อมสรรพ พร้อมทั้งบริษัทพักอยู่ในเรือ ต่อจากวันนั้นถึงวันเพ็ญ พอเวลาดวงจันทร์ขึ้น คลื่นก็ซัดขึ้นจากท้องทะเล มีประมาณเพียงเข่า ซัดไปล้างเกาะ ผู้บัณฑิตทราบความคะนองแห่งท้องทะเล ก็ปล่อยเรือแต่ครอบครัวทั้ง ๕๐๐ ซึ่งเป็นพวกช่างไม้พาล ต่างนั่งพูดกันเรื่อยไปว่า คลื่นจาก
ท้องทะเลซัดสาดมาเพื่อจะล้างเกาะ เพียงนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นคลื่นในท้องทะเลก็ซัดสาดมาสู่เกาะน้อยเพียงเอว เพียงชั่วคน เพียงชั่วลำตาล บัณฑิตผู้ไม่ติด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 142

ในรสเพราะเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ไปได้โดยสวัสดี ช่างไม้ผู้พาลไม่มองดูภัยในภายหน้า เพราะหมกมุ่นในรสถึงความพินาศพร้อมกับครอบครัวทั้ง ๕๐๐ เเล.

สาเหตุที่ธรรมชาตผิดปกติ (ธัมมิกสูตร) เล่ม 36 หน้า 694-699

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 694

๑๒. ธรรมิกสูตรว่าด้วยธรรมของสมณะและศาสดาทั้ง ๖
[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส ๗ แห่งที่มีอยู่ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ทราบข่าวว่า ท่านพระธรรมิกะย่อมด่าบริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีซึ่งภิกษุทั้งหลายที่จรมาอาศัยด้วยวาจาและภิกษุผู้จรมาอาศัยเหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียนทิ่มเเทง เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า พวกเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็แต่ว่า พวกภิกษุที่จร
มาอาศัยย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกภิกษุผู้จรมาอาศัยหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า ท่านพระธรรมิกะนี้แลย่อมด่าบริภาษ เบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 695

ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุผู้จรมาอาศัยด้วยวาจา และพวกภิกษุที่จรมาอาศัยเหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป สาเหตุที่ธรรมชาตผิดปกติผฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่ท่านพระธรรมิกะให้หนีไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่านไม่ควรอยู่ในนี้ต่อไป.ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบข่าวว่า แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ. . . ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่าน
พระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสแม้นี้ ท่านไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้.
ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบ
ข่าวว่า แม้ในอาวาสนั้น ท่าพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ. . . ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่ท่านพระธรรมิกะให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่ และได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด. ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า เราถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด บัดนี้
เราจะไปที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า ผิฉะนั้น เราพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ลำดับนั้น ท่านพระธรรมิกะถือบาตรและจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์ ไปถึงกรุงราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงทีประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 696

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออ เธอมาจากที่ไหนหนอ ท่านพระธรรมิกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ ควรแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอ
ด้วยการอยู่ในชาติภูมิชนบทนี้ เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาในสำนักของเรา.
ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าทางสมุทร
จับนกที่ค้นหาฝั่ง แล้วนำเรือออกเดินทางไปในสมุทร เมื่อเดินเรือไปยังไม่เห็นฝั่ง พ่อค้าเหล่านั้นจึงปล่อยนกที่ค้นหาฝั่ง มันบินไปทางทิศตะวันออก บินไปทางทิศตะวันตก บินไปทางทิศเหนือ บินไปทางทิศใต้ บินขึ้นสูงบินไปตามทิศน้อย ถ้ามันเห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าหาฝั่งไปเลยทีเดียว แต่ถ้ามันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็กลับมาที่เรือนั้น ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะเธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาในสำนักของเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้วต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ
ของพระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง ร่มเย็น น่ารื่นเริงใจ ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อ
สุปติฏฐะมีปริมณฑลใหญ่สิบสองโยชน์มีรากแผ่ไป ๕ โยชน์ มีผลใหญ่
เหมือนกะทะหุงข้าวสารได้หนึ่งอาฬหกะ ฉะนั้น มีผลอร่อย เหมือนร่วงผึ้งเล็ก ซึ่งไม่มีโทษ ฉะนั้นพระราชากับพวกสนมย่อมทรงเสวยและบริโภคผลไทร ชื่อสุปติฏฐะเฉพาะกิ่งหนึ่ง เหล่าทหารย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง ชาวนิคมชนบทย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง สณพราหมณ์ ทั้งหลายย่อมบริโภคเฉพาะกิ่งหนึ่งเนื้อและนกย่อมกินกิ่งหนึ่งก็ใคร ๆ ย่อมไม่รักษาผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 697

สุปติฏฐะ และไม่มีใคร ๆ ทำอันตรายผลของกันและกัน ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งบริโภคผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้คิดว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ มนุษย์ใจบาปคนนี้ บริโภคผลของต้นไทรใหญ่ ชื่อสุปติฏฐะ พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ไฉนหนอ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่พึงออกผลต่อไป ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะทีนั้นแลต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะก็ไม่ให้ผลต่อไป ดูก่อน พราหมณ์ธรรมิกะครั้งนั้นพระเจ้าโกรัพยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์พึงทรงทราบเถิดว่า ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ออกผล ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดโค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ มีทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้เสด็จเข้าไปหาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนเทวดา เหตุไรหนอ ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ลมฝนที่แรงกล้าได้พัดมาโค่นที่อยู่ (ภพ) ของข้าพระองค์ล้มลงทำให้มีรากอยู่ข้างบน ดังที่เห็นอยู่นี้ พระเจ้าข้า.
ส. ดูก่อนเทวดา ก็เมื่อท่านดำรงอยู่ในรุกขธรรมแล้ว (ธรรมที่-
เทวดาผู้สิ่งสถิตอยู่ที่ต้นไม้จะต้องประพฤติ) ลมฝนที่แรงกล้า ได้พัดมาโค่นที่ อยู่ของท่านล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบนได้อย่างไร.
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ให้รุกขธรรมอย่างไรฯ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 698

ส.ดูก่อนเทวดา พวกชนที่ต้องการราก ย่อมนำรากต้นไม้ไป พวกชน
ผู้ต้องการเปลือก ย่อมนำเปลือกไป พวกชนผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป พวกชนผู้ต้องการดอกย่อมนำดอกไป พวกชนผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป ก็แต่เทวดาไม่พึงกระทำความเสียใจหรือความดีใจเพราะการกระทำนั้น ๆ ดูก่อนเทวดาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างนี้แล.
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็น
แน่เทียว ลมฝนที่แรงกล้าจึงได้พัดมาโค่นที่อยู่ให้ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน.
ส. ดูก่อนเทวดา ถ้าว่าท่านพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมไซร้ ที่อยู่ของ
ท่านก็พึงมีเหมือนกาลก่อน.
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม
ขอให้ที่อยู่ของข้าพระองค์พึงมีเหมือนกาลก่อนเถิด.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ให้กลับตั้งขึ้นดังเดิม ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีรากตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออก็ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้ขับไล่เธอผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระธรรมิกะทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างไร.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบ
บุคคลผู้ด่าไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสี ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 699

ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด พระเจ้าข้า.

สาเหตุที่ธรรมชาตผิดปกติ //www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=151.0

สึนามิในอดีต //www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=152.0





Create Date : 29 มีนาคม 2554
Last Update : 29 มีนาคม 2554 19:10:04 น.
Counter : 734 Pageviews.

2 comment
ว่าด้วยความเป็นธรรมดาของสัตว์โลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 556

[พระไตรปิฎก เล่ม 47 หน้า 556-557] สัลลสูตรที่ ๘

ว่าด้วยความเป็นธรรมดาของสัตว์โลก


[๓๘๐] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย ใคร ๆ รู้ไม่ได้

ทั้งลำบาก ทั้งน้อย และประกอบด้วยทุกข์.สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว จะไม่

ตายด้วยความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นไม่มีเลย แม้อยู่ได้

ถึงชราก็ต้องตายเพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

ผลไม้สุกงอมแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัยเพราะจะต้องร่วงหล่นลงไปในเวลา

เช้า ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัยเพราะจะต้องตาย

เป็นนิตย์ ฉันนั้น. ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิดมีความแตกเป็นที่

สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้ง

คนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า ด้วยกันทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 557

เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำ


แล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้ หรือพวกญาติจะ

ป้องกันพวกญาติ ไว้ก็ไม่ได้. ท่านจงเห็น เหมือนเมื่อหมู่ญาติของ

สัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตาย กำลังแลดูรำพัน อยู่โดยประการต่าง ๆ

สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดี๋ยวเท่านั้นถูกมฤตยูนำไปเหมือนโคที่บุคคล

จะพึงฆ่าถูกนำไปตัวเดียวฉะนั้น ความตายและความแก่กำจัดสัตว์โลก

อยู่อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดสภาพ

ของโลกแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป

ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง ถึงจะคร่ำครวญไป ก็ไร้ประโยชน์ ถ้าผู้คร่ำ

ครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ จะยังประโยชน์อะไร ๆ ให้เกิดขึ้นได้ไซร้

บัณฑิตผู้เห็นแจ้งก็พึงกระทำความคร่ำครวญนั้น. บุคคลจะถึงความสงบ

ใจได้ เพราะการร้องไห้ เพราะความเศร้าโศก ก็หาไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 558

ทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้นยิ่งขึ้น และสรีระของ ผู้นั้นก็จะซูบซีด.บุคคลผู้เบียด

เบียนตนเอง ย่อมเป็นผู้ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมอง สัตว์ทั้ง-

หลายผู้ละไปแล้ว ย่อมรักษาตนไม่ได้ด้วยความรำพันนั้น การรำพันไร้

ประโยชน์.คนผู้ทอดถอนใจของบุคคลผู้ทำกาละแล้ว ยังละความเศร้า

โศกไม่ได้ ตกอยู่ในอำนาจแห่งความเศร้าโศก ย่อมถึงทุกข์ยิ่งขึ้น.

ท่านจงเห็นคนแม้เหล่าอื่นผู้เตรียมจะดำเนินไปตามยถากรรม (และ)

สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ผู้มาถึงอำนาจแห่งมัจจุแล้ว กำลังพากันดิ้นรน

อยู่ทีเดียว.ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมสำคัญด้วยอาการๆ อาการนั้น ๆ ย่อมแปร

เป็นอย่างอื่นไปในภายหลัง ความพลัดพรากกันเช่นนี้ย่อมมีได้ ท่านจง

ดูสภาพแห่งโลกเถิด.มาณพแม้จะพึงเป็นอยู่ร้อยปีหรือยิ่งกว่านั้น ก็ต้อง

พลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้องละทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 559

เพราะเหตุนั้น บุคคลฟังพระธรรม.เทศนาของพระอรหันต์แล้ว เห็นคน

ผู้ล่วงลับทำกาละแล้ว กำหนดรู้อยู่ว่า บุคคลผู้ล่วงลับทำกาละแล้ว

นั้น เราไม่พึงได้ว่า จงเป็นอยู่อีกเถิด ดังนี้.พึงกำจัดความรำพันเสีย

บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำฉันใดนรชนผู้เป็นนักปราชญ์

มีปัญญา เฉลียวฉลาดพึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสีย โดยฉับ

พลัน เหมือนลนพัดนุ่นปลิวไป ฉะนั้น.คนผู้แสวงความสุขเพื่อตน พึง

กำจัดความรำพัน ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน พึงถอน

ลูกศรคือกิเลสของตนเสีย.เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว

อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้วถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้า

โศกได้ทั้งหมดเป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็น ฉะนี้แล.

จบสัลลสูตรที่ ๘


พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

จากวัดสามแยก



//www.samyaek.com/tripidok/book47/551_600.htm

ด้วยบุญนี้ข้าขอดับ



Create Date : 06 มีนาคม 2554
Last Update : 6 มีนาคม 2554 17:30:53 น.
Counter : 619 Pageviews.

2 comment
เผาซากแม่ ตามที่พระพุทธเจ้าพาทำ
ดูแล้วก็ปลง สังขาร ปลง อสุภะไป บุญนี้ให้ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของซากศพนี้ตลอดไป (แม่อุ้ม ธรรมปัญญา-นามสกุลเก่า ใจบุญ)



พระไตรปิฏกเล่ม 36 หน้า 138
๗. ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการ
[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี
บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งจักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑.




Create Date : 06 มีนาคม 2554
Last Update : 6 มีนาคม 2554 2:01:06 น.
Counter : 1037 Pageviews.

2 comment
ฐานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ คือ แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก กรรมเป็นกำเนิด
พระไตรปิฎกเล่ม 36 หน้า 138-143
๗. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการ
[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี
บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
เจ็บไข้ไปได้ ๑ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็น
ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความ เป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราไม่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาใน
ความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริต
ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมา
ในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควร
พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อ
เขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง
หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจาก
ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ใน
ของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรัก
ใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น
ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา
พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น
ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา
แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้
สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้ง
ปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี
ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วง
พ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อม
เกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรบ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ
อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบ
ใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี
กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่า-
พันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับ
ผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมา การไป การจุติ
การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่

ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็น
ธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียดถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีใคร ในความเป็นหนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้
ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์.



Create Date : 04 มีนาคม 2554
Last Update : 4 มีนาคม 2554 16:06:08 น.
Counter : 1369 Pageviews.

2 comment
พุทธพจน์ ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำจิตใจบุรุษและสตรี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำจิตใจบุรุษและสตรี

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูปสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนเสียงสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนกลิ่นสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรสสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฎฐัพพะอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนโผฎฐัพพะสตรีเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โผฎฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูปบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนเสียงบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนกลิ่นบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรสบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฎฐัพพะอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนโผฎฐัพพะบุรุษเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โผฎฐัพพะของบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

จบ รูปาทิวรรคที่ ๑



Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2554 1:18:38 น.
Counter : 834 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"