ร ว ม มิ ต ร

Me and you are friends.

You fight, I fight... You hurt, I hurt... You cry, I cry.

You jump off a bridge..........

I'm gonna miss you!

Group Blog
 
All blogs
 

ศาสนา จำเป็นต้องอ้างอิงวิทยาศาสตร์ไหม?

ผมว่าไม่จำเป็นที่จะนำศาสนามาอ้างอิงกับวิทยาศาสตร์นะครับ

เพียงแต่ช่วงนี้ เป็นที่นิยมมากขึ้น
เพราะประชาชนมีฐานคิดทางวิทยาศาสตร์ และมีความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ผู้ที่ตั้งใจจะเผยแพร่ศาสนา จึงมักจะต้องตอบคำถามที่มีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการมองโลก จนดูเหมือนกับว่าเอาศาสนามาอ้างอิงอยู่กับวิทยาศาสตร์

แต่ผมว่ามันก็ไม่ต่างอะไรกับที่พระพุทธเจ้าต้องทรงอธิบายสิ่งที่พระองค์ค้นพบบนพื้นฐานของความเชื่อของพราหมณ์
หรือที่พระเยซูต้องประกาศสิ่งที่ท่านเข้าถึง ผ่านโลกทรรศน์แบบศาสนายิว
หรือที่พระศาสดามูฮัมหมัดจะต้องแสดงธรรมที่ท่านซาบซึ้ง ในมุมมองของชาวอาหรับ

กล่าวคือมันไม่ได้ขึ้นกับว่าอะไรดีกว่า หรืออะไรด้อยกว่า
แต่ขึ้นกับว่าอะไรที่มีมาก่อน
อะไรที่เป็นพื้นฐานความเชื่อและกรอบการมองโลกของคนในขณะนั้น


ผมเชื่อว่าการเข้าถึงศาสนา ไม่จำเป็นต้องไปอ้างอิงกับกรอบของวิทยาศาสตร์แม้แต่น้อย
แต่ในทางกลับกัน ผมก็คิดว่ากรอบความคิดทางวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ใช่อุปสรรคในการเข้าถึงศาสนา

เพราะผมคิดว่ามีความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ อยู่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับศาสนา
ความจริงที่ทำให้ศาสนาอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้
คือความจริงที่ว่า ศาสนาสามารถนำความสุขและความสงบมาสู่ศาสนิกผู้ที่นับถือศาสนานั้นๆได้จริง

ไม่ว่าจะเป็น
คุณอัญชลี ที่มีความสุขอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหันมานับถือคริสต์
หรือคุณลุงอาซิดเหยื่อระเบิด และปู่เย็น ที่รับมือกับชีวิตด้วยความสงบนิ่งได้อย่างน่านับถือ เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
หรือพุทธศาสนิกชนอีกหลายๆท่านที่แสดงออกถึงความสงบ สันติสุขภายในใจอย่างชัดเจน


ผมเชื่อเหลือเกินว่า 'แก่น' ที่ทรงพลังของแต่ละศาสนาไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก
เพียงแต่ว่าผู้บอกเล่าและนำ 'แก่น' เหล่านั้นมาสู่เรา อาจใช้ 'คำอธิบาย' ไม่เหมือนกัน

คล้ายๆกับที่ยาตัวเดียวกัน อาจจะมีทั้งแบบยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด
ใครพอใจจะใช้แบบไหน หรือมีแบบไหนให้ใช้ ก็ได้ผลพอๆกัน
ที่สำคัญคือขอให้ 'ใช้' มันให้ 'ถูกวิธี' ก็แล้วกัน




 

Create Date : 19 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 1:37:37 น.
Counter : 503 Pageviews.  

ความงาม อยู่ที่ไหน?

ผมเชื่อว่า ความงามไม่ได้เป็นคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา
และไม่ได้เป็นธรรมชาติของจิตเดิมแท้ของเรา

ความงาม เป็นเครื่องมือล่อลวงมนุษย์
และเป็นอาวุธของ 'ความหลง'

หากถามว่าความงาม อยู่ที่ไหน?
ผมก็คิดว่ามันอยู่ในอุ้งมือของมารตัวที่ชื่อว่า 'ความหลง' นั่นแหละครับ




 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 1:39:25 น.
Counter : 424 Pageviews.  

โลกใบนี้มี 'รัก' น้อยไปหรือเปล่า

โลกอาจจะมี 'รัก' น้อยไปจริงๆ

บางทีคนอื่นอาจจะไม่ได้ผิด
แต่อาจจะเป็นตัวเราเองที่ผิด
ผิดที่เกิดมาแล้ว และตัดสินใจดิ้นรนมีชีวิตอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
แต่กลับไปเรียกร้องต้องการ และไม่ยอมรับโลกอย่างที่มันเป็น

ใครอยากก่อสงคราม ใครอยากก่อการร้าย
เราอาจไม่เห็นด้วย
แต่ผมก็ไม่คิดว่าเราจะห้ามใครต่อใครเหล่านั้นได้

ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะรักโลกใบนี้ทั้งที่มันไม่สวยงามอย่างที่เราหวัง
รักคนอื่นทั้งที่เขาและเธอป่าเถื่อน โหดร้ายและเห็นแก่ตัว มากกว่าที่เราอยากให้เป็นได้หรือไม่

ถ้าเราทำได้โลกก็อาจจะมี 'รัก' มากขึ้น




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 1:56:39 น.
Counter : 469 Pageviews.  

ว่าด้วยวัฒนธรรม

ผมคิดว่าวัฒนธรรมประพฤติตัวคล้ายวัตถุสิ่งของ
คือมันต้องการพื้นที่เพื่อที่จะดำรงอยู่
พื้นที่บนสายธารแห่งความคิดความเชื่อของคนในสังคม

แต่ที่ผมไม่ค่อยจะแน่ใจก็คือหากมันประพฤติตัวคล้ายๆวัตถุจริง มันเป็นวัตถุในสถานะไหน
เป็นของแข็งที่หากปะทะกันต้องแตกหักสูญสลายกันไปข้างหนึ่ง
หรือเป็นสารละลายที่สามารถผสมรวมกัน แต่ทว่าลักษณะหรือคุณสมบัติจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามแต่สัดส่วนของส่วนผสมในแต่ละช่วงเวลา

หากเป็นแบบแรกความกลมกลืนทางวัฒนธรรมย่อมไม่อาจจะมีได้
แต่หากเป็นแบบหลัง ความกลมกลืนทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่ต้องใช้เวลา ความไม่กลมกลืนจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงแรกเท่านั้น คล้ายตอนที่เราเอาสารละลายมาผสมกัน

ซึ่งลึกๆแล้วผมเชื่อว่าเป็นแบบหลังมากกว่า

ดังนั้นการจะเปิดรับหรือปิดกั้นวัฒนธรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากภายในสังคมเองหรือจากวัฒนธรรมต่างถิ่นจากภายนอก จึงไม่ใช่ปัญหาว่ามันจะกลมกลืนกับวัฒนธรรมเดิมหรือไม่
มันสำคัญที่ว่ามันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า?
เหมือนเวลาที่เราจะเลือกส่วนผสมต่างๆของสารละลายที่ต้องคิดว่าหากผสมกันแล้วมันจะได้สารละลายที่มีคุณสมบัติที่เราต้องการหรือไม่?




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 1:41:49 น.
Counter : 413 Pageviews.  

ความเชื่อกับความเข้าใจ

ใครบางคนบอกว่า
"บางทีเราต้องมีความเชื่อหรือศรัทธาเพื่อที่จะเข้าใจ
แต่บางทีเราก็ต้องมีความเข้าใจเพื่อที่จะเชื่อ"

ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะ

ผมคิดว่า...

ความเชื่อ 'ไม่จำเป็น' สำหรับความเข้าใจ
แต่ความเชื่อหรือศรัทธานั้น อาจจะทำให้เรา 'คิดไปเอง' ว่าเข้าใจ มากกว่าที่จะเข้าใจอะไรจริงๆ

ในทางกลับกันความเข้าใจก็ 'ไม่จำเป็น' สำหรับการจะเชื่อหรือศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

บางคนอาจไม่เชื่อว่าแสงเดินทางด้วยความเร็วคงที่ ไม่ขึ้นกับผู้สังเกต
แต่ก็อาจเข้าใจได้ว่าทฤษฎีสัมพันธภาพน่าจะเป็นจริง 'หาก' แสงเดินทางด้วยความเร็วคงที่ ไม่ขึ้นอยู่กับผู้สังเกตจริงๆ

บางคนอาจจะเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ถูกต้องจริงแท้ ทั้งๆที่ไม่เคยเข้าใจเลยว่าจริงๆแล้วกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร

และบางคนอาจศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ไม่เคยเข้าใจใน 'แก่น' หรือหลักธรรมของศาสนานั้นๆเลย




 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 1:42:17 น.
Counter : 441 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  

Amygdala
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับนะครับ

เชิญมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ ปรัชญา วิทยาศาสตร์ หนังสือ รวมถึงเรื่องจิปาถะอื่นๆกันนะครับ
: )


-------------------------------



มีอะไรใหม่?

ชีวิต กับ 'ความหมาย' 6/5/2565





New Comments
Friends' blogs
[Add Amygdala's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.