ร ว ม มิ ต ร

Me and you are friends.

You fight, I fight... You hurt, I hurt... You cry, I cry.

You jump off a bridge..........

I'm gonna miss you!

Group Blog
 
All blogs
 

คนเห็นแก่ตัว

ผมคิดว่าการจะดูว่าใครเห็นแก่ตัวหรือเปล่า
ต้องดูว่าเขาเคยมองว่าคนอื่นเห็นแก่ตัวหรือไม่

"คนที่คิดว่าคนอื่นเห็นแก่ตัว นั่นแหละคนเห็นแก่ตัว"




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 2:09:47 น.
Counter : 561 Pageviews.  

ความรักกับความทุกข์

ผมคิดว่า
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
แต่ที่ใดไม่มีรัก ที่นั่นยิ่งทุกข์หนักกว่า

เพราะสิ่งใดก็ตามที่รู้จัก'รัก' ย่อมสามารถมี 'ทุกข์'
ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ หรือภูตผีปิศาจ
แต่การไม่รู้จักที่จะ 'รัก' ผู้อื่นอย่างแท้จริง เป็นเหตุแห่งทุกข์

ผมคิดว่า 'รัก' ผู้อื่นอย่างแท้จริง คือ รักที่ไม่ได้เกิดจากความรู้สึกว่าเป็น 'ของเรา' ไม่ใช่รักเพราะว่าเป็นพ่อของเรา แม่ของเรา ลูกของเรา หรือเพื่อนของเรา
เมื่อใดก็ตามที่เราเอาคำว่า 'ของเรา' ออกไปแล้วยัง 'รัก' ใคร คนใดคนหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะมี 'รัก' ที่แท้จริง




 

Create Date : 25 มกราคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 2:10:03 น.
Counter : 513 Pageviews.  

สังคมที่ดี เริ่มมาจากคนในสังคมที่มีความสุข หรือคนจะมีความสุขต่อเมื่อสังคมดี (ภาค2)

ผมคิดว่าแนวความคิดว่า
"คนดี ---> สังคมดี ---> คนมีความสุข"
เป็นแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อในเรื่องบาป-บุญ, นรก-สวรรค์, หรือความรอด-ความไม่รอด ตลอดจนแนวคิด 'เพื่อสังคม' และ 'เพื่อประชาชน' รวมถึงเรื่องขนบ ประเพณี จริยธรรม และกฎหมายต่างๆ
กล่าวคือ พยายาม 'ล่อหลอก' หรือ 'บังคับ' ให้คนเป็น 'คนดี'
โดยหวังว่าเมื่อ คนดี สังคมจะดีตาม เมื่อสังคมดีแล้วแต่ละคนจะมีความสุขมากขึ้นเอง

ผมเห็นด้วยว่า
"คนดี ---> สังคมดี"
แต่ผมไม่คิดว่าสังคมที่ดีจะทำให้คนมีความสุขได้เอง
คนในสังคมอาจจะมีความทุกข์ที่เกิดจากการเบียดเบียนของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆน้อยลง แต่ก็จะยังคงทุกข์จากสาเหตุอีกนับไม่ถ้วน

อย่างน้อยสังคมดีก็ทำให้คนมีความทุกข์น้อยลงไม่ใช่หรือ?
ถูกครับ สังคมที่ดีเป็นเรื่องที่ดีครับ
แต่ขึ้นกับวิธีการที่จะได้มาด้วยครับ
หลายครั้งกระบวนการ 'ล่อหลอก' และ 'บังคับ' ให้คนทุกคนเป็นคนดีนั้น กลับย้อนมาทิ่มแทงคนที่ 'ตั้งใจ' เป็น 'คนดี' ให้มีความทุกข์มากขึ้น เช่น คนที่ทำดีแล้วกลับไม่ได้ดี (อย่างที่หวัง) หรือคนที่เคร่งครัดขนบธรรมเนียมมากจนเหมือนถูก 'กรอบ' บีบไว้ทั้งชีวิต

นอกจากนี้ผมคิดว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวิธีการ 'ล่อหลอก' หรือ 'บังคับ' นี้ไม่ค่อยจะได้ผล หรือถึงจะได้ผลก็ไม่ยั่งยืนครับ
เพราะวันหนึ่งก็จะมีคน 'ตั้งคำถาม' กับสิ่งที่เอามา 'ล่อหลอก' และจะมีคนที่ 'ฝ่าฝืน' การ 'บังคับ'

คนที่ทำ'ดี' เพราะหวังจะได้บุญหรือหวังจะขึ้นสวรรค์หรือหวังความรอดจะทำความดีได้นานแค่ไหน ในขณะที่มีคนที่ทำ 'ไม่ดี' แล้วได้รับสิ่งตอบแทนมหาศาล?
คนที่ 'เสียสละ' เพื่อสังคม(จริงๆ) เพราะหวังให้ 'สังคมดีขึ้น' จะทำได้นานแค่ไหน ในขณะที่คนที่คอยแต่จะ 'กอบโกย' ได้รับลาภยศชื่อเสียง?
คนที่ทำตาม 'กฎหมาย' เพราะกลัวการลงโทษจะยังปฏิบัติตามกฎหมายได้นานแค่ไหน ในขณะที่มีคนที่ 'ฝ่าฝืน' แล้ว 'ลอยนวล'?

คนที่ทำได้ไปตลอดก็คงจะมี ผมขอชื่นชมในอุดมการณ์และความเด็ดเดี่ยวของเขาและเธอเหล่านั้น
แต่ผมคิดว่าคนทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว 'ไม่' ครับ

ผมคิดว่า
"คนมีความสุข ---> คนดี ---> สังคมดี"

ผมเชื่อว่า
คนที่ทำ 'ดี' เพราะ 'รัก' คนอื่น ต้องการจะทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดแม้กระทั่งคำขอบคุณหรือความสำนึกในบุญคุณ ย่อมสามารถทำ 'ดี' ได้ตลอด
คนที่รู้จัก 'แบ่งปัน' คนอื่นเพราะว่าตัวเองมี 'พอ' แล้วย่อมสามารถสามารถจะให้ได้ตลอด
และคนที่ทำตาม 'กฎหมาย' เพราะความไม่อยากเบียดเบียนคนอื่นย่อมสามารถทำได้ตลอดเช่นกัน

ผมเชื่อว่าคนที่จะรู้จัก 'รัก' 'แบ่งปัน' และ 'ไม่เบียดเบียน' คือคนที่มีความสุขครับ

ผมไม่ได้หมายความว่าความเชื่อในเรื่องบาป-บุญ, นรก-สวรรค์, หรือความรอด-ความไม่รอด ตลอดจนแนวคิด 'เพื่อสังคม' และ 'เพื่อประชาชน' รวมถึงเรื่องขนบ ประเพณี จริยธรรม และกฎหมายต่างๆ เป็นเรื่องไม่ดีหรือไม่จำเป็นนะครับ
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะ การทำให้ 'คนมีความสุข' เป็นเรื่องยากครับ
'ถ้ายังไม่มีความสุขก็ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน'

เพียงแต่เราไม่ควรหยุดความพยายามที่จะทำให้ 'คนมีความสุข' โดยคิดเพียงว่าแค่เป็น 'คนดี' ก็พอแล้ว


ผมเชื่อว่าสังคมที่ดี เริ่มจาก 'ตัวเรา' ครับ

ไม่ใช่เริ่มจากการ 'พยายาม' เป็น 'คนดี'
แต่เริ่มจากการ 'พยายาม' เป็น 'คนที่มีความสุข' ครับ
7 ธค 47

'คนมีความสุข'
ผมหมายถึงคนที่ 'พ้น' ทุกข์ นะครับ
ผมเชื่อว่าการพยายามตอบสนองความต้องการตัวเองไปเรื่อย หรือพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ต้องการ
ไม่สามารถ 'พ้น' ทุกข์ได้หรอกครับ

ผมเชื่อว่า
ถ้า 'เข้าใจ' และ 'ยอมรับ' ถึงคนอื่นมาเบียดเบียนก็จะไม่ 'ทุกข์'
ถูกตีก็ 'เจ็บ' ครับ แต่จะไม่ 'ทุกข์' ครับ
คนที่ 'พ้น' ทุกข์แล้ว ก็จะไม่มีทุกข์อีก

การเป็น 'คนดี' นั้นก็ดีอยู่ครับ
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า
ถ้าพยายามเป็นคนดีเพราะเชื่อในแนวคิด
"คนดี ---> สังคมดี ---> คนมีความสุข" แล้ว

คนที่ 'พยายาม' เป็น 'คนดี' มักจะยึดติดกับ 'ความดี' ถือว่าการ 'ทำดี' เป็น 'หน้าที่' เพื่อส่วนรวม
และ 'คาดหวัง' ให้คนอื่น พยายามทำดีเหมือนตนเอง

เวลาพบคนที่ 'ทำดี' ด้วย ก็จะรู้สึกเฉยๆคิดว่า เป็นหน้าที่ที่มนุษย์พึงมีต่อกัน
แต่เวลาพบคนที่ทำไม่ได้อย่างที่คาดหวังไว้ ก็จะรู้สึกว่าคนนั้นเป็นคน'ไม่ดี' ทันที

อย่างที่บอกว่าแนวคิดแบบนี้ มันมักจะย้อนมาทิ่มแทงคนที่ตั้งใจ 'ดี' นั่นแหละครับ


ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่คิดหรือทำอะไรเพื่อคนอื่นหรือเพื่อสังคม 'ด้วยใจจริง' จะไม่มีนะครับ
มีครับ แล้วเป็นคนดีจริงๆด้วย
แต่เขาหรือเธอเหล่านั้น มักจะเป็นคนที่มีความสุข 'อยู่แล้ว' ครับ
ไม่ใช่คนที่ต้องการ 'สังคมที่ดี' ขึ้น เพื่อให้ตัวเองมี ’ความสุข'

ผมเชื่อว่า
'คนสามารถมีความสุขได้ ทั้งที่สังคมยังไม่ดี
เมื่อคนมีความสุข ย่อมคิดดีและทำดี 'ด้วยใจจริง'
แล้วสังคมก็จะค่อยๆดีขึ้นจากคนที่มีความสุขเหล่านั้น'

9 ธค 47




 

Create Date : 21 มกราคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 2:10:27 น.
Counter : 767 Pageviews.  

น้ำใจ

ผมคิดว่าน้ำใจเป็นเรื่องดี
แต่คนที่ไม่ได้แสดงน้ำใจ ไม่ได้แปลว่าเป็นคนไม่ดี ในขณะที่คนที่แสดงน้ำใจ ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นคนดี

ผมไม่ชอบความคิดที่ว่า 'น้ำใจ' เป็นที่ที่คน 'ควร' หรือ 'ต้อง' ปฏิบัติต่อกัน
ใครไม่ทำเป็นคนไม่ดี (-)
ส่วนคนที่ทำก็ทำตามที่ควรแล้ว (0)

แทนที่จะคิดว่า น้ำใจเป็นความเอื้อเฟื้อ
คนที่แสดงน้ำใจเป็นคนดี (+)
ส่วนคนที่ไม่ ก็เป็นสิทธิของเขา (0)

ถ้าเรามีน้ำใจให้คนอื่นก็ให้เถอะครับ
แต่กรุณาอย่า 'คาดหวัง' ว่าคนอื่นจะต้องมีน้ำใจด้วยเลยครับ




 

Create Date : 21 มกราคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 2:10:45 น.
Counter : 441 Pageviews.  

ความสุข

ความสุขที่เป็นอารมณ์...
เกิดจากสมองส่วนหนึ่งถูกกระตุ้น

สิ่งที่สามารถกระตุ้นสมองส่วนนี้ ได้แก่ สัญญาณจากประสาทสัมผัสทั้งหลาย กับสัญญาณที่มาจากสมองส่วนที่ใช้ความคิดครับ

เวลาได้รับสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และการแตะเนื้อต้องตัวบางที่บางจุด ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ได้...อารมณ์สุขนะครับ อย่าคิดลึก อย่างเช่น ดูภาพทิวทรรศน์ ฟังเพลงเพราะ ได้กลิ่นหอมๆ หรือได้รับรสหวาน

นอกจากนี้เวลาที่สมองส่วนใช้ความคิด ประมวลผลสิ่งต่างๆที่เป็นนามธรรมแล้วพบว่าเป็นที่น่าพอใจ มันก็กระตุ้นอารมณ์นี้ได้เหมือนกัน อย่างเช่น มีคนชม หรือเจ้านายบอกจะให้โบนัสและขึ้นเงินเดื่อนให้ หรือเวลาที่คิดอะไรออก แถมมีบางคนบอกว่าเวลาทำสมาธิก็กระตุ้นสมองส่วนที่ทำให้เกิดความสุขได้เหมือนกัน
นอกจากนี้ยาเสพติดบางอย่างก็มีฤทธิ์กระตุ้นสมองส่วนนที่ทำให้รู้สึกมีความสุขได้

แต่มันอยู่ไม่นานหรอกครับ เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย บางอย่างพอเจอซ้ำๆก็หมดอารมณ์(ไม่สุขเหมือนเดิม)ได้เหมือนกัน

ถ้าอยากจะสัมผัสและซาบซึ้งกับความสุข ก็ลองสัมผัสที่มันผ่านเข้ามาตามจังหวะชีวิตก็น่าจะพอนะครับ ไม่ต้องดิ้นรนมาก เดี๋ยวจะหลงทางหาความสุขไม่เจอ
แล้วก็อย่าลืมทำใจยอมรับเวลาที่ความสุขมันจะต้องหายไป ด้วยใจที่สงบนะครับ




 

Create Date : 13 มกราคม 2548    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 2:11:03 น.
Counter : 439 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  

Amygdala
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับนะครับ

เชิญมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ ปรัชญา วิทยาศาสตร์ หนังสือ รวมถึงเรื่องจิปาถะอื่นๆกันนะครับ
: )


-------------------------------



มีอะไรใหม่?

ชีวิต กับ 'ความหมาย' 6/5/2565





New Comments
Friends' blogs
[Add Amygdala's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.