|
การเจาะภายในช่องปาก
การเจาะภายในช่องปาก การเจาะภายในช่องปากคืออะไร? การเจาะภายในช่องปากหมายถึงการเจาะอวัยวะภายในช่องปากรวมถึงลิ้น ริมฝีปากและแก้ม ในปัจจุบันนี้การเจาะภายในช่องปากเป็นเหมือนการแสดงตัวตนของแต่ละบุคคล เครื่องประดับที่ทำจากเหล็กที่ใช้ในการเจาะช่องปากมีหลายรูปแบบ เหมือนอย่างต่างหู เช่น เป็นตุ้มกลมๆ เป็นบาร์เบล และเป็นห่วง อย่างไรก็ตามการเจาะลิ้น ริมฝีปากหรือแก้มนั้นมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าการเจาะหู ก่อนที่จะทำการเจาะส่วนใดก็ตามภายในช่องปาก คุณควรขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์ก่อน
การเจาะภายในช่องปากมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง? อาจมีผลข้างเคียงหลายประการที่คุณยังไม่รู้จากการเจาะภายในช่องปาก การติดเชื้อ ในปากของคนเรามีเชื้อแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสมารถนำไปสู่การติดเชื้อหลังการเจาะได้ การใส่จิวเวอรี่ไว้ในปากยิ่งนับเป็นการเพิ่มอัตราเสียงในการติดเชื้อให้มากขึ้น ภาวะเลือดไหลไม่หยุด หากเส้นเลือดถูกเจาะทะลุด้วยเข็ม อาจทำให้เลือดหยุดได้ยาก และอาจเสียเลือดมาก อาการเจ็บปวด และ อาการบวม อาการปวดและบวมเป็นอาการปกติของการเจาะภายในช่องปาก แต่ในกรณีที่รุนแรงมาก อาการบวมของลิ้นอาจจะปิดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้หายใจไม่ออกได้ อาการฟันร้าวบิ่น การกระทบกระทั่งของจิวเวอรี่สามารถทำให้ฟันบิ่นหรือร้าวได้ ฟันที่เคยทำการรักษาเอาไว้ เช่น ฟันที่ครอบไว้อาจถูกทำลายได้ หากกระแทกกับจิวเวอรี่ การบาดเจ็บของเหงือก จิวเวอรี่ไม่เพียงแต่จะไปทำลายเนื้อเยื่ออ่อนของเหงือก แต่มันยังทำให้เกิดอาการเหงือกร่นได้อีกด้วย นอกจากจะทำให้ดูไม่สวยงามแล้ว อาการเหงือกร่นยังสามารถทำให้มีโอกาสที่จะเกิดฟันผุที่รากฟัน และโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบได้อีกด้วย การเข้ารบกวนกระบวนการทำงานปกติภายในช่องปาก การมีเครื่องประดับอยู่ในปากจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำลายออกมามากกว่าปกติ ซึ่งจะเข้าไปขัดขวางการออกเสียงคำได้อย่างถูกต้อง และยังทำให้เกิดปัญหาในการเคี้ยวและกลืนอาหารอีกด้วย โรคที่เกี่ยวกับเลือด การเจาะภายในช่องปากได้รับการยืนยันจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติว่าสามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการส่งผ่านโรคตับอักเสบชนิด บี ซี ดี และ จี ได้ โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ การเจาะภายในช่องปากทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ บาดแผลที่เกิดจากการเจาะภายในช่องปากจะสร้างโอกาสให้แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากแทรกตัวเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเชื่อมต่อไปถึงหัวใจได้ การเจาะภายในช่องปากจะสามารถมีได้นานแค่ไหน? ตราบเท่าที่คุณไม่ติดเชื้อจากการเจาะ และการเจาะนี้ไม่รบกวนกระบวนการทำงานปกติภายในช่องปาก คุณก็สามารถใส่เครื่องประดับได้นานอย่างไม่มีกำหนด นอกเหนือจากการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากเป็นประจำแล้ว คุณเพียงแค่ต้องไปหาทันตแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการเจ็บปวด เพราะความเสี่ยงต่างๆสามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้แผลจากการเจาะจะหายดีแล้วก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเกิดตามมา เช่น การที่เครื่องประดับเริ่มหลวม และคุณกลืนเครื่องประดับนั้นเข้าไป ทางที่ดีที่สุดก็คือไม่ควรทำการเจาะอวัยวะภายในช่องปากเลย
Create Date : 20 พฤษภาคม 2554 |
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 9:04:57 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1138 Pageviews. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
ยินดีตอนรับทุกคนที่เข้ามานะครับ
ชื่อนัทครับ ไม่ใช่หมอฟัน
แต่มีแฟนเป็นหมอ(ฟัน)
จึงอยากให้ blog นี้เป็น
แหล่งรวบรวมเรื่องราว
เกี่ยวกับฟัน ฟัน ฟัน
|
|
|
|
|
|
|
|