|
หมอ รังสิตรับตรง ปี 54
หมอรังสิต รับตรง 54
 มาเตรียมตัว เรียนหมอ ม.รังสิต กันก่อน 1 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ คัดเลือกโดยวิธีการสอบข้อเขียน (กำหนดการสอบดังตารางที่ 7.1)
2 คณะทัศนศาสตร์ จะรับเข้าศึกษา สำหรับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา) พิจารณาจากการสัมภาษณ์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
3 คณะเทคนิคการแพทย์ จะรับเข้าศึกษาสำหรับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา) พิจารณาจากการสัมภาษณ์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน ส่วนผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 3.00 จะต้องผ่านการพิจารณาจากการสัมภาษณ์ และพิจารณาจากรายวิชาวิทยาศาสตร์ ประวัติการศึกษา ความสามารถพิเศษ ความตั้งใจและความสนใจในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
4 คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (สองภาษา) จะรับเข้าศึกษาสำหรับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป และมีผลการเรียนหมวดวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา)หรือมีผลการสอบ O-Net ไม่ต่ำกว่า 5,000 คะแนน พิจารณาจากการสัมภาษณ์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน ส่วนผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 2.75 จะต้องผ่านการพิจารณาจากการสัมภาษณ์ และพิจารณาจากรายวิชาวิทยาศาสตร์ ประวัติการศึกษา ความสามารถพิเศษ ความตั้งใจและความสนใจในวิชาชีพพยาบาลศาสตร์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
5 คณะกายภาพบำบัด จะรับเข้าศึกษา สำหรับผู้สมัครที่มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตรและคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา) พิจารณาจากการสัมภาษณ์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน ส่วนผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 2.50 จะต้องผ่านการพิจารณาจากการสัมภาษณ์ และพิจารณาจากรายวิชาวิทยาศาสตร์ ประวัติการศึกษา ความสามารถพิเศษ ความตั้งใจและความสนใจในสาขาวิชากายภาพบำบัด โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
6 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน จะรับเข้าศึกษา สำหรับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา) และมีการสอบคัดเลือกซึ่งจัดสอบโดยคณะ
7 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ จะรับเข้าศึกษา สำหรับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป (ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา) พิจารณาจากการสัมภาษณ์ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
คุณสมบัติเฉพาะ
คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และ ปราศจาคโรค อาการของโรคดังต่อไปนี้ มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและปฏิบัติงาน มีปัญหาทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคประสาทรวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและประกอบอาชีพ โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และประกอบวิชาชีพ เช่น โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคหัวใจระดับรุนแรง โรคความดันเลือดสูงรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/24 ทั้งสองข้าง สายตาข้างดีต่ำกว่า 6/12เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ หูหนวกหรือหูตึง (Threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40 dB) จากความผิดปกติทางประสาทและการได้ยิน ถ้าได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ทั้งนี้คณบดีอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคตรวจบางรายเพิ่มเติมได้
คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ 1) สำเร็จการศึกษา Grade 12 หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีผลการเรียนวิชาชีววิทยา และวิชาเคมี ไม่ต่ำกว่า B ผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า C+ หรือ 2) มีผลการสอบ IGCSE/GCSE 5 วิชา ซึ่งต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย 3 วิชาหลักคือ วิชาชีววิทยา และวิชาเคมี มีผลการสอบอยู่ในสองเกรดแรก วิชาฟิสิกส์ หรือวิชาคณิตศาสตร์ มีผลการเรียนอยู่ในสามเกรดแรก นอกจากนั้นต้องมีผลการสอบของวิชาชีววิทยา หรือวิชาเคมี ในระดับ AS Level โดยมีผลการสอบอยู่ในสองเกรดแรก หรือ 3) มีผลการสอบ International Baccalaureate (IB) Standard Level ประกอบด้วยวิชาใน Group 4 Experimental Science คือ วิชาชีววิทยา และวิชาเคมี มีผลการสอบอยู่ในสองเกรดแรก วิชาฟิสิกส์ หรือวิชาใน Group 5 วิชาคณิตศาสตร์ มีผลการสอบอยู่ในสามเกรดแรก หรือ 4) มีผลสอบ SAT ไม่ต่ำกว่า 1,000 จาก 1,600 หรือ 1,500 จาก 2,400 และมีผลการสอบ SAT Subjects ดังต่อไปนี้คือ ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ หรือ คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 525 หรือ 5) กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา โดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีผลการเรียนวิชาชีววิทยา วิชาเคมี ไม่ต่ำกว่า B และวิชาฟิสิกส์ หรือวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า C+ หรือ 6) ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตในหลักสูตรนานาชาติสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีผลการเรียนวิชาชีววิทยา วิชาเคมี ไม่ต่ำกว่า B และวิชาฟิสิกส์ หรือวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า C+ 7) ผู้สมัครทุกคนต้องมีความสามารถในการสื่อสารและใช้ภาษาไทยในการพูด อ่านและเขียนอยู่ในระดับดีเพียงพอที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษา
กำหนดการและขั้นตอนในการสมัคร 6.1 กำหนดการรับสมัคร มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ดังนี้
ช่วงการรับสมัคร รอบที่ 1 1 กันยายน 2553 5 พฤศจิกายน 2553 (เว้นวันที่ 16-25 ตุลาคม 2553) รอบที่ 2 6 พฤศจิกายน 2553 7 พฤษภาคม 2554
6.2 วิธีการสมัครผู้สมัครสามารถซื้อใบสมัครได้ที่มหาวิทยาลัยรังสิต หรือที่ร้าน 7-ELEVEN ในราคา 300 บาท และยื่นใบสมัครโดยตรงที่ห้อง 1-103 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ ผู้สมัครสามารถสมัครทางเว็บไซต์ //www.rsu.ac.th เอกสารประกอบการสมัครเข้าศึกษา ใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วนบริบูรณ์ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือนจำนวน 3 รูป สำเนาหนังสือรับรองผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ใช้หนังสือรับรองที่ผู้บริหารสถานศึกษาออกให้ เพื่อรับรองข้อมูลคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา และรับรองว่ากำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ผู้ที่สมัครทางเว็บไซต์ เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้วให้พิมพ์ใบสมัครพร้อมแนบหลักฐานการสมัคร ส่งด้วยตนเองที่สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต) 6.3 ขั้นตอนการเข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 6.3.1 รอบมหาวิทยาลัยรังสิตจัดสอบ รอบที่ 1 และ 2 ขั้นตอนที่ 1 ผ่านการสอบข้อเขียนของมหาวิทยาลัยรังสิต ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 2 ยื่นคะแนนการวัดผลGPA / GPAX , O-NET และ GAT / PAT ขั้นตอนที่ 3 ผ่านเกณฑ์การสอบวิชาเฉพาะทางการแพทย์ และแบบทดสอบทางจิตวิทยา ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 4 ผ่านการตรวจสอบสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 5 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 6.3.2 รอบมหาวิทยาลัยรังสิต รอบที่ 1 นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติ ขั้นตอนที่ 1 ยื่นผลการศึกษาตลอดหลักสูตร ใบ Recommendation ใบ Certificate จากสถาบันทดสอบความรู้ความสามารถ (ถ้ามี) ขั้นตอนที่ 2 ผ่านเกณฑ์การสอบวิชาเฉพาะทางการแพทย์ และแบทดสอบทางจิตวิทยา ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 3 ผ่านการตรวจสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 4 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 6.3.3 รอบระบบกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ระบบ Central Admissions) ขั้นตอนที่ 1 ผ่านการคัดเลือกตามระบบกลาง (Central Admissions) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ขั้นตอนที่ 2 ผ่านเกณฑ์การสอบวิชาเฉพาะทางการแพทย์ และแบบทดสอบทางจิตวิทยา ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 3 ผ่านการตรวจสอบสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 4 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
6.3.4 รอบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (ระบบ Direct Admissions) ขั้นตอนที่ 1 ผ่านการคัดเลือกตามระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ขั้นตอนที่ 2 ผ่านเกณฑ์การสอบตามแบบทดสอบทางจิตวิทยา ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 3 ผ่านการตรวจสอบสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กำหนด ขั้นตอนที่ 4 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
7. การสอบคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครที่ต้องการเข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ สถาบันการบิน และวิทยาลัยดนตรี จะต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามกำหนดดังนี้ 8. การรายงานตัวและลงทะเบียนเป็นนักศึกษา ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการตอบรับเพื่อเข้าศึกษาจะต้องรายงานตัวเพื่อลงทะเบียนเป็นนักศึกษา ณ สำนักงานทะเบียน มหาวิทยาลัยรังสิต โดยผู้สมัครต้องนำหลักฐานประกอบการรายงานตัวดังต่อไปนี้ บัตรประจำตัวผู้สมัคร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ชุด สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ชุด สำเนาใบสุทธิ ใบระเบียน ใบเทียบความรู้ หรือประกาศนียบัตร จำนวน 2 ชุด ในกรณีที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย ให้ใช้ใบรับรองว่ากำลังศึกษา และเมื่อจบการศึกษาให้ส่งเอกสารดังกล่าวข้างต้นทันที สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะพร้อมลายเซ็นเจ้าของบัตร จำนวน 2 ชุด รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้วจำนวน 4 รูป
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2554 |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2554 10:04:34 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1475 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Somyachi วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:10:39:11 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
ยินดีตอนรับทุกคนที่เข้ามานะครับ
ชื่อนัทครับ ไม่ใช่หมอฟัน
แต่มีแฟนเป็นหมอ(ฟัน)
จึงอยากให้ blog นี้เป็น
แหล่งรวบรวมเรื่องราว
เกี่ยวกับฟัน ฟัน ฟัน
|
|
|
|
|
|
|
|