เคยอ่านงานเขียนของตะพาบมานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมเลย แต่ช่วงนี้สามารถเข้าร่วมด้วย (ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ)
เข้าร่วมได้ แสดงว่าว่างซิเธอ....
ก็ไม่นะ แต่ก็มีเวลาพอที่จะทำอะไรที่นอกเหนือจากสิ่งที่ทำอยู่ประจำค่ะ
(ขออภัยที่เพิ่งเห็นโจทย์ใหม่ของตะพาบ แต่เผอิญว่าเขียนโจทย์นี้ไว้แล้ว แต่เพิ่งรีวิว คงไม่ว่ากันนะคะ)
นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมโครงการตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 153 เขามีโจทย์ว่า พักร้อน ค่ะ ว้าวความหมายดีและทุกคนชอบ จริงไม๊คะ
พักร้อน ทุกคนตีความหมายไปคนละทิศละทางที่แตกต่างกัน ไม่เชื่อลองไปตามอ่านของเพื่อนๆ ทุกคนที่เขียนลงบลีอกดูซิ แหม๋ ต่อให้เป็นพี่น้องคลานตามกันมา หรือพ่อแม่ลูก ซึ่งมีดีเอ็นเอเหมือนกันเส้นหนึง ก็ยังตีความพักร้อนไม่เหมือนกัน แล้วคนละชนชาติกันอย่างไทยกับฝรั่ง จะต่างกันอย่างยับเยินได้แค่ไหน
พักร้อนคนไทย ในการตีความของดิฉัน ก็แยกคำออกได้ 2 คำ คือ พัก กับ ร้อน (เอ่อ ป้าคะ จะวิชาการมากไปไม๊คะ....)
พักก็พักจากสิ่งที่ทำประจำ หรือ หยุด
ส่วนร้อนก็คือ เมื่อมาถึงหน้าร้อน หรืออากาศร้อน
รวมกันก็หยุดพักหยุดพักเมื่อถึงหน้าร้อนน่ะเอง
นั่นในความหมายของคนไทยที่คิดค่อนข้างเป็นแบบนั้นเป็นส่วนใหญ่ และพักร้อนของเรา ก็มักจะหยุดและหลีกจากที่ร้อนๆ ไปหาที่เย็นๆ เช่น เที่ยวทะเล เที่ยวเกาะ เที่ยวน้ำตกไงคะ
แต่ ค่ะ แต่ ฝรั่ง (ขอเน้นชนชาติยุโรปนะคะ) เขาก็มีคำว่า พักร้อนเหมือนกัน แต่พักร้อนของเขา คือหยุดพัก แล้วมาหาที่ร้อนค่ะ
เมือง Kelheim ประเทศเยอรมันนี February, 2013
กลุ่มประเทศพวกนี้ มีช่วงเวลาอากาศเย็น หรือหนาวยาวหลายเดือนใน 1 ปี และมีเวลาที่อากาศร้อนของเขาเพียงแค่ 1- 2 เดือน เพราะฉะนั้นเขาต้องการมากที่จะพักร้อน หรือพักแล้วมาหาที่ร้อนๆ อย่างประเทศเขตร้อน (และต้นทุนในการท่องเที่ยวต่ำ) อย่างประเทศไทย หรืออเมริกาใต้บางประเทศ
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ บริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ ในบ้านเรา อนุญาติให้พนักงานลูกจ้าง ลาพักร้อนได้ไม่เกิน 10 วัน (และไม่ติดต่อกัน) และสามารถสะสมได้ไม่เกิน 2 ปี (กลัวคนไทยจะมีความสุขกันมากไป) ถ้าไม่ใช้พักร้อนได้ แถมไม่มีวันลากิจ ลาป่วยได้ด้วยนี่ ถือเป็นพนักงานดีเด่นเลยล่ะ (กะจะให้ทำงานให้ตายกันไปข้างนึงเลย)
แต่...เมืองฝรั่งเขา สามารถสะสมวันพักร้อนได้ตลอดไป และพักร้อนเขามีมากมายเป็นเดือนค่ะ เพราะฉะนั้น ฝรั่งบางคนสะสมวันพักร้อนได้ถึง 3 เดือน และก็หายศรีษะไปเที่ยวต่างประเทศกันนาน ก็ไม่มีใครว่าอะไรได้เพราะเป็นสิทธิ์ของเขา ตราบเที่าที่ยังไม่ทำความเสียหายให้กับหน่วยงาน ลองถ้าเป็นคนไทยเราซิ ขนาดลาพักรัอนไปแล้ว 2-3 ยังโทรไป ให้ทำงาน ส่งงานให้ทางอีเมล์ก็มีค่ะ เฮ้อ
มาถึงตอนนี้ เราเห็นความแตกต่างในการตีความหมายของคนที่ต่างชาติและเผ่าพันธ์กันแล้วนะคะ แล้วมาดูกันนะคะว่าเพื่อนๆ เราตีความกับคำๆนี้ ไปในทางใด
ขอบคุณที่มีโครงการดีๆ แบบนีให้ได้เขียน ใครมีข้อคิดเห็นอย่างไร หรืออยากจะเสริมเพิ่มเดิมในส่วนไหน ยินดีน้อมรับคำติชม ค่ะ
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน สวัสดีค่ะ
เรื่องวันหยุดพักร้อนของไทยกับของฝรั่งนี่ความหมายมันต่างกันจริงอย่างที่คุณว่าเลยค่ะ
เราเคยทำงานในเยอรมันมาสิบกว่าปี
บริษัทจะมีวันหยุดพักร้อนให้ปีละ 6 อาทิตย์ (30 วันทำงาน)
แต่จะสะสมวันหยุดพักร้อนที่เหลือของแต่ละปีไว้ได้ไม่เกินเดือนเมษายนของปีต่อไป
และอนุญาตให้ลาหยุดพักร้อนได้นานติดต่อกันไม่เกิน 4 อาทิตย์
แต่เนื่องจากว่าเราเป็นเอเชียคนเดียวที่ทำงานที่นั่น
ลาหยุดพักร้อนเมื่อไรเราก็เดินทางกลับไทยทุกที
ทางบริษัทจึงเห็นใจว่าเราต้องเดินทางไกลกว่าคนอื่นๆเค้า
จึงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ลาหยุดพักร้อนติดต่อกันรวดเดียวยาว 6 อาทิตย์ได้
ผู้ร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติแต่อยู่ในเขตยุโรปมักจะแซวเราเสมอว่าเป็นเด็กเส้น .. อิ อิ