Basic Sketch 333 STUDIO KENNY KENG Blog
Kenny Keng
ART ARTICLE : "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 6(สุดท้าย): โบนัสพิเศษกับงานศิลปะ "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 5 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 2) "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 4 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 1) "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 3 : ตามหามุมบันทึก(วาดเส้น) "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 2 : ทำไมต้องเป็นถ่าน? "เที่ยวไปกับถ่าน" ตอนที่ 1: เด็กน้อยกับฝาบ้าน**ภาพสเก็ตซ์สีชอล์กน้ำมัน **เทคนิคประสม...ใคร ?? ศิลป์(ป่ะ) ต้องเป็นตัวของตัวเองดิ๊ ...ภาพวาดที่ฉีก: ผมยืนมองภาพพร้อมกับฟังเสียงหล่น..ANATTA: วันที่ความหดหู่ หดเหี่ยว หรือเหี่ยวจนหด...Sketch crawl ร่วม Sketch กับเพื่อนๆทั่วโลก
ALPHA FOCUS หนังสือพิชัย เมืองเล็กฯ เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองหน้าด่านของสยามประเทศในอดีต..... โอกาสที่ท่านมุ้ยมอบให้ สิ่งที่ผมเฝ้าศึกษาและสังเกตุ จะมีเรื่องราวและข้อมูลไปพ้องกับใครบางท่านเข้าอย่างจัง...
อยากหาอะไรเพิ่มเติม ก็ช่องนี้เลยครับ
สีชอล์ก Aurora Pastels ทีละขั้นตอน
ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะ
วาดภาพสีชอล์ก Aurora Pastels ทีละขั้นตอน
"ทุกคนมีแสงในตัวอยู่ที่ว่าเราจะรอแสงจากผู้อื่นมากระทบหรือเปล่งแสงนั้นด้วยตัวเอง"
คราวนี้มาแนะนำเรื่องราวการเขียนสีชอล์ก แบบกึ่งๆอิมเพลสชั่่น กับเรียลลิสติกครับ
เมือมีแบบ เลือกแบบ ได้แบบเรียบร้อยแล้วก็ลงมือร่างเลยครับหลังจากร่างดินสอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำโทนสีกลางๆของภาพมาเน้นลายเส้น ล๊อคบริเวณแสงเงาให้ชัดเจนขึ้น
ในภาพมีทั้งหมด 5 ท่านด้วยกัน จะเลือกเน้นทีละคนหรือจะทำทีเดียวหมดทั้งภาพเลยก็ได้สำหรับผม ค่อยๆขึ้นโครงสร้างทั้งภาพก่อนครับ
เมื่อขึ้นหมดทั้งภาพแล้ว ลองคุมสีของภาพใ้ได้ก่อนครับต้องมีแผนว่าภาพกับ BG จะไปด้วยกันหรือเปล่าบางคนก็ค่อยๆทำที่ละภาพไปเรื่อยๆ สาเหตุคงเพราะมีสีไว้ในใจแล้วครับหรือไม่ก็ปล่อยไปตามฟิลล์ไปเรื่อยๆ
ภาพชุดนี้ผมก็ทำไปเรื่อยๆเหมือนกัน กว่าจะร่าง กว่าจะหาสไตล์ของภาพได้เหนื่อยเหมือนกัน เพราะต้องจินตนาการถึงแสงจากด้านหลังและรอบๆตัวแต่ละคนด้วยว่าทรงผมดำๆ ที่เราเห็นในภาพต้นแบบนั้น เราจะทำให้ภาพนี้ดูแล้วมีความรู้สึกกว่าภาพถ่ายอย่างไร
มีบ่อยครั้งที่ความขี้เกียจเข้าสิง แต่เมื่อตัดสินใจลงนั่งทำแล้วจะเหมือนโดนสะกดให้สงบอยู่กับผลงานที่อยู่ด้านหน้าทำไปเรื่อยๆจนเสร็จในแต่ละขั้นตอน
ลองดูแต่ละท่านในแต่ละภาพดูซิครับแต่ละคนต่างมีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง
สำคัญคือการอยู่ร่วมกัน อย่างเข้าใจแต่ละสีที่รวมกันขับดันให้อีกสีโดดเด่นออกมา
และกลายเป็นภาพเดียวกันที่สมบูรณ์
วาดภาพสีน้ำมันทีละขั้นตอน
ถ้าเราสามารถโหลดโปรแกรมลงตัวเราได้คงดีมีแอพฯดีๆเกี่ยวกับการเขียนสีน้ำมันลงในกายโหลดปุ๊ป วาดได้ปั๊ป ตวัดพู่กันปรึ๊ดๆๆเราคงไม่ต้องมานั่งฝึกฝน อดทน แก้ไข ปรับปรุงตามหาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อการฝึกที่ต้องใช้ระยะเวลา
บางคนฝึก ยาวนานนนนนนนนนนนบางคนสั้นๆบางคนสั้นสาเหตุที่นานหรือสั้น คงเพราะการทุ่มเทที่ต่างกันการให้เวลามากน้อย การสังเกตุ การค้นหา การฝึกฝน
แต่ถ้าท่านมาอ่านบทความของ ALPHA FO จนมาถึงวันนี้แสดงว่า ท่านเอาจริง พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมทางเดินกับศิลปะถึงแม้หลายๆคนจะเอาจริงเป็นช่วงๆก็ตาม ...โย่ว ^^"เอาล่ะ ก่อนที่ท่านจะลงมือวาดสิ่งใดก็ตาม
ก่อนอื่น ต้องมีแบบไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีคนทำอยู่แล้ว คิดขึ้นมาเองหรือ เอามารวมๆกันแล้วเสก็ตซ์ออกมาเป็นแบบของเรา
มีรูปแบบของภาพรูปแบบของโทนสีขนาดของเฟรมตลอดจนเทคนิคที่ใช้
สำหรับภาพนี้ผมถูกบีบด้วยกรอบรูปโบราณที่มีอยู่แล้วครับขนาดจึงสูงกว่าที่ควรจะเป็น
พร้อมโจทย์ "ผู้หญิงชุดไทย นุ่งสไบ ลอยกระทงคนเดียว(ห้ามมีใครเป็นเพื่อน)กลางป่าที่เห็นไกลๆ คืนจันทร์เต็มดวง อยู่ด้านขวามือของภาพ นอกนั้นแล้วแต่ " แนวตั้ง
เมื่อพร้อมทั้งแบบและคนวาดก็ทำการเสก็ตซ์ใครอยากร่างเบาๆ หรือร่างแรงๆก็ตามสะดวกครับเพราะเรากำลังเขียนสีน้ำมันที่พร้อมจะทับกลืนความผิดพลาดได้ทุกเมื่อ
เมื่อได้แบบมาเรียบร้อย จากนั้นก็ลงมือ ลงสี ได้เลยอย่าสงสัยว่าจะให้ลงมือหรือลงสีก่อนกัน ใช้มือจับพู่กันลงสีเลย.... เย่รอบแรกนี้ลงไปเลยครับยังไม่ต้องเก็บรายละเอียดใดๆทั้งสิ้นใช้ลินซีดเยอะๆ คุมสี คุมโทนสีให้ได้ครับ
พยายามกลบสีให้เต็มผืนผ้าใบ อย่าในเห็นร่องลายผ้าพื้นเป็นสีขาวๆเรากำลังรองสีพื้นคุมน้ำหนักครับไม่ต้องกลัวคุมให้อยู่ ผมว่าท่านเอาอยู่ครับ ... โย่ว
ลงไปก็ถอยมาตรวจเช็คบ้างนะครับ ว่าสีมันหลุดโทนหรือเปล่าแต่ก็แล้วแต่ลักษณะหรือประเภทของภาพที่เราจะเขียนอีกละว่าต้องการทำแบบไหน สไตล์อะไร
เมื่อลงเต็มแล้วก็ใช้พู่กัน เกลี่ยสีกลบพื้นขาวให้เต็มครับบางคนวาดสีน้ำมันเขียนไป เก็บรายละเอียดไป แบบนั้นก็ได้ครับ แต่เหนื่อยตอนที่ต้องผสมสีเดิมหลายรอบและสีบางสีเมื่อเจอกันก็กลายเป็นเน่าไปได้ ต้องระวังด้วยครับว่าเราแม่นไม่แม่น ถ้าแม่นๆ จะลงไปเก็บไปก็ได้ครับแต่ส่วนใหญ่แล้วเขาไม่ค่อยทำกัน
การลงสีขั้นเรกนี้สนุกตื่นเต้นดีครับคงเพราะเราอยากเห็นภาพรวมของภาพก็ได้ครับว่าออกมาแล้วหน้าตามันจะเป็นแบบไหนอย่างไร
รอจนสีหมาดๆ สัก 1 วัน เราก็มาเก็บสีระยะที่สองได้เลยครับข้อสำคัญอย่ารอจนสีแห้งสนิทนะครับไม่งั้นเราต่อต่อสีไม่ได้ การต่อสีมันจะกลืนน้ำหนักและจังหวะกันยากน่ะครับค่อยๆเก็บช่วงนี้ไปเรื่อยๆครับ จำพวกน้ำและพื้นหลังต้นไม้ ต้นหญ้าระยะใกล้ไกลเพิ่มสีและเนื้อสีเข้าไปให้ภาพนั้น มีมิติมากขึ้นเก็บไปเรื่อยๆ ช่วงสีหมาดๆนี่แหละครับผมว่าผมสนุกดีกับการเก็บรายละเอียดช่วงนี้มันหนึบๆ สั่งได้ดั่งใจอย่างบอกไม่ถูกที่สำคัญเก็บจากระยะหลังมาก่อนนะครับแบคกราวระยะหลังของภาพ เก็บไปเรื่อยๆครับ
กระทั่งเราเหนื่อยจากการเก็บระยะที่สองมาแล้วอีกวันก็แห้งเกือบสนิทพอดี แล้วแต่ว่าประสบการณ์เราอยากให้แห้งเร็วหรือช้าน่ะครับถ้าอยากให้แห้งเร็วก็ใช้ลิซีดแบบแห้งเร็ว หรือไม่ก็ผสมเอาแบบกลางๆ ไม่ให้เร็วหรือช้าจนเกินไป ตามระยะเวลาที่เรามีครับบางส่วนที่สีเริ่มแห้งแล้ว ก็เริ่มลงสีในรายละเอียดพื้นที่เล็กๆ ตามซอกคอ จึ๋ย! ..ซอกมุมของภาพได้เลยครับ อย่างต้นหญ้า ดอกไม้ตรงไหนอยากให้กลืนกันก็เขียนตอนสียังหมาดๆตรงไหนอยากให้เด่นๆก็สะกิดตอนแห้งเพลินดีครับ เก็บไปเรื่อยๆ หลายวันหน่อย แต่ก็สนุกกับแต่ละขั้นตอนดีครับ
เริ่มเก็บรายละเอียด ที่เล็กลงเรื่อยๆได้เลย ขั้นตอนนี้สามารถเน้นสี สะกิดแสงได้แล้วเห็นดอกไม้สีขาวเล็กๆตรงขาระยะหน้าหรือเปล่าครับนั่นแหละ เราสามารถทับตรงพื้นที่ที่เราอยากลงได้เลยครับบริเวณระยะหน้าสุด ตรงกองหินที่ขวามมือผมก็เก็บใส่ตะไคร่ ใบเฟริน ดอกหญ้าเล็กๆไว้เก็บไปเก็บมาเพลินดีครับขั้นตอนนี้สนุกไปอีกแบบตรงที่เราสามารถใส่สิ่งเล็กๆได้สะดวกนี่แหละครับไม่ว่าจะเป็นแสงเทียน ไฮไลท์สะท้อนแสง โน้น นั่นใครอยากจะใส่กิ่งก่า มด งู หรือแมงมุมก็ได้(ถ้าไม่ทำให้ภาพอารมณ์เปลี่ยนนะ)
ใกล้ๆเข้ามาอีกนิดครับ ตรวจระยะ เช็ครายละเอียดของภาพสะกิดแสง สะกิดเงา สะกิดใบ สะกิดดอกเน้นซอก เน้นแสง อยากสะกิดอะไรให้ระยิบระยับได้เลยครับแต่อย่าสะกิดจนเพลิน เพราะถ้ามากเกินไปจะแข่งกันงามภาพจะไม่มีจุดเด่นครับ
นี่ไงหน้าเธอใกล้ๆ ปากนิด จมูกหน่อยแสงเงาที่ตกทอดมาเป็นระยะๆ รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อย่าผ่านเลยครับ
ใส่ลายสะไบกับผ้าถุง เพิ่มอีกนิดเพื่อเพิ่มสีสันและใบหน้าให้นวลมากขึ้นนั่งทำไปมองหน้าผู้หญิงในภาพไป เริ่มอยากรู้จักเธอจริงๆว่าแต่ว่า เธอเป็นใครกันหนอ อยากรู้จักจังหรือว่าจะตัดสินใจหลบมุดเข้าไปในรูปดีแต่โจทย์ครั้งแรกบอกว่าต้องนั่งอยู่คนเดียวผมเลยไม่กล้าเข้าไป
ขั้นสุดท้ายเก็บรายละเอียดของภาพ พร้อมๆกับการแทรกสีบางช่วงที่อาจโดดเด่นเกินเธอตอนนี้ผมเริ่มหวงที่จะไม่ให้สีอื่นโดเด่นมาเกินเธอไปได้สายตาจึงต้องจ้องๆ มองๆ เล็งแล้งเล็งอีก
เดินถอยหลัง ก้าวไปข้างหน้าผลุบๆโผล่ๆ จิ้มสีทีถอยหลังมายืนมองทีตอนนี้ละครับ ดูไปยิ้มๆไปขั้นตอนนี้ก็สนุกและมีความสุขไปอีกแบบเนอะ
ในที่สุด ก็เสร็จจนได้ คราวนี้ก็ต้องรออีกจนกว่าสีจะแห้งสนิทจากนั้นก็ทำการเคลือบสีเพื่อขุดสีที่ด้านๆให้ลอยออกมาและไม่ให้ภาพนั้นกระดำกระด่าง
จากนั้นก็นั่งเก็บอารมณ์ทุกครั้งที่มองภาพ
สำหรับรายละเอียดการใช้สีอะไร? มีสัดส่วนแบบไหน?มีอะไรผสมบ้าง? อุปกรณ์? เทคนิคการทำเฟรม?หรือใครไม่อยากซื้อผ้าใบเขียนภาพ?ติดตามได้ตามลิงค์ที่ให้ไว้เลยครับ
เทคนิคการวาดตัวการ์ตูน 2
ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะเทคนิค การวาดภาพการ์ตูน 2
คงไม่ได้อธิบายกันมากแหละครับนอกจากขั้นตอนที่เคยๆทำกันมา ตามนั้นเลย
หาต้นแบบ ร่างเส้นแกน ร่างโครงร่างเป็น เส้น , เรขาคณิต
ค่อยๆเกลี่ย ค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆเส้นทับกันมั่ง ตัดกันไปมามั่งไม่เป็นไร
อาศัยความไม่แม่น(เส้น)เกลี่ยไปเรื่อยๆ(เส้น)
แต่ถ้าใครแม่นเรื่องสัดส่วนก็ลุยเลยครับ
ดูสัดส่วนเรื่องเส้นแต่ละเส้นให้มีที่มาของเส้นเช่น เส้นระหว่างเอวถึงขาถึงแม้จะมีกระโปรงบังอยู่แต่ก็ต้องใช้สายตาสแกนทะลุเข้าไปข้างในให้เห็นทุกซอก ....ที่เป็นที่มาของเส้นบางคนเคยเกิดปัญหาครับพอวาดๆไปแล้ว ไม่รู้ว่าเส้นนี้มันคือเส้นอะไรจู่ๆ แขน ขาก็โผล่ทะลุมาจากไหนก็ไม่รู้เรียกว่าความต่อเนื่องของเส้นไม่มี
เพราะฉะนั้นถ้าเดาไม่ออกไม่แม่นเส้นร่างเบาๆก่อนรับรองไม่เพี้ยนครับ(นอกจากผมที่เพี้ยนๆ กร๊ากก)
พอได้เส้นที่มั่นใจว่าใช่แล้วก็ลงมือตัดเส้นเลยใช้ปากกาห้ามใช้คัดเตอร์หรือกรรไกรตัด
ไม่งั้นภาพจะขาดได้
กร๊ากกกก (แป๊ก - -")
ตัดเส้นที่เราดูแล้วว่าใช่ตามสัดส่วนสายตาเรานะครับไม่ใช่ นั่งงง กับเส้นร่างของตัวเองงง งงสำหรับเส้นร่างนี้ถ้าเราฝึกบ่อยๆจนแม่นแล้วเส้นจะน้อยตามไปอัตโนมัติครับ
ฝึกจนเหลือไม่กี่เส้นเหมือนกับศิลปินเก่งๆที่เขาวาดกันได้แบบ ฉับๆๆ(ไม่ใช่ฉิ่ง)
นั่นเป็นเพราะเขาร่างเรียบร้อยแล้วในสมอง หรือในจินตนาการก่อนที่จะลงมือเขียนเส้นตามภาพที่เกิดในหัวได้อย่างแม่นยำ
คราวนี้มาใช้เก๋าโจ๋(เส้นใหญ่)เน้นเส้นรอบนอกกันครับ
ใครตะไม่เน้นก็ได้นะครับซึ่งก็แล้วแต่อารมณ์ของภาพที่ต้องการน่ะครับสำหรับภาพนี้เน้นเพราะ อยากเน้นให้ภาพดูเด่นขึ้นอีกนิดครับ
จากนั้นก็ลบลบรอยดินสอให้เกลี้ยงคราวนี้ใครก็ตามที่ร่างเส้นดินสอไว้เข้มบอกไว้ก่อนเลยครับ ว่าอาจถึคราวซวยได้อาจมีหลายสาเหตุเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น กระดาษขาดร่องเส้นติดกระดาษเป็นร่องลึก
ภาพหมองหม่ีนจนคนวาดอาจหน้าหมองได้ถ้าลบแล้ว งานขาดไปครึ่งแผ่น โย่ว!
ลืม! บอกอีกอย่าง
คือ
ก่อนลบ ต้องมั่นใจแล้ว ว่า....เมจิกที่ใช้ตัดเส้นในภาพที่เราวาดไปนั้นแห้งสนิทแล้ว ไม่งั้น....(นับย้อนขึ้นไปดูบรรทัดที่ 5-6 )
สำเร็จ เสร็จแล้วถ้าจะลงสี(สีไม้) ก็ลงได้เลยแต่ถ้าจะลงสีน้ำ คงต้องตัดเส้นภายหลังหรือถ้าลงสีหมึก(บางที) ก็สามารถใช้เมจิกที่กันน้ำลงก่อนได้ครับ
เทคนิคการวาดการ์ตูน ตอนที่ผ่านมา เทคนิคการวาดการ์ตูน (ทิกเกอร์)
การวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน
พื้นฐานการวาดภาพการ์ตูน
เทคนิค ขั้นตอน การวาดภาพการ์ตูน
ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะเทคนิค ขั้นตอน การวาดภาพการ์ตูน
เคยได้ยินมาประจำว่าสิ่งที่เราจะสร้างสรรค์ทุกอย่างต้องมีกระบวนการและขั้นตอน
หลายๆคนบอกว่า ก็ไม่มีขั้นตอนนั่นแหละ คือ ขั้นตอนนั่นแหละ สรุปว่ายังไงก็มี
คราวนี้มาบอกวิธีการแบบรวมๆครับสำหรับขั้นตอนการวาดการ์ตูนจะใช้กับอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับโจทย์ที่เราตั้งไว้
คงเหมือนๆกับหลายๆตอนที่เคยบอกไปแล้วละครับว่าก่อนอื่นเราคงต้องหาแบบให้ได้ก่อน
พอได้แล้วก็มองให้ออกตีโจทย์ให้แตกว่า
ภาพที่เราจะวาดนี้เส้นแกนมันอยู่แนวไหน
แน่ะ!......
แนวอิโรติกเอาไว้ก่อน...
ที่หมายถึง คือ แนวตั้ง แนวเฉียง เอียง หรือ แนวนอนเราต้องจินตนาการเหมือนกับว่าเราได้ฉายภาพเป็นเรขาคณิตลงบนแผ่นกระดาษให้ได้ก่อนวาดจริง
เทคนิคการวาดภาพคาร์บอน พระเจ้าตาก,พระยาพิชัยฯ
ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะการวาดผงคาร์บอน พระเจ้าตากสินมหาราช และ พระยาพิชัยดาบหัก