bloggang.com mainmenu search
ต้องรอด ในภาวะวิกฤติ COVID-19
Wiboon Joong (wbj)


ในภาวะวิกฤติเช่นนี้ องค์กรต้องมีความร่วมมือร่วมใจของทีมงานทั้งหมด เพื่อให้องค์กรอยู่รอด

จากสูตรง่ายๆ
กำไร = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

วิธีการขององค์กร ณ ตอนนี้ ควรมอง 2 ขั้นตอนคือ
1. เพิ่มรายได้ในปัจจุบัน และ อนาคต จะเป็นแนวทางที่ยั่งยืน
2. ลดค่าใช้จ่าย อย่างที่ท่านกำลังได้รับผิดชอบ

การเพิ่มรายได้ในปัจจุบัน ช่วงวิกฤติ อาจจะเริ่มจากการวางแผนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้ รายได้เข้ามา องค์กรที่ไม่เคยทำ E-Marketing ก็อาจจะต้องเรียนรู้ และ ทดลองทำให้มากขึ้น เปิดช่องทางการขาย มากขึ้น ทำการตลาดมากขึ้น สร้างภาพลักษณ์ กระตุ้นการซื้ออย่างต่อเนื่อง ยิ่งถ้าเป็น ธุรกิจทางด้านการบริการ เช่น การท่องเที่ยว โรงแรม ยิ่งต้องสร้างภาพลักษณ์ของความปลอดภัย จาก โควิท ถึงแม้นว่า การประชาสัมพันธ์ไป อาจจะยังไม่ทำให้ว่าที่ลูกค้าจะมาใช้บริการ แต่เมื่อประชาสัมพันธ์บ่อยครั้ง เห็นบ้อยครั้ง เมื่อ่เรื่อง โควิด เบาลงและยังคงเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้บริการได้ (ความถี่ของการได้เห็นจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้บริการ)

การควบคุมต้นทุน เป็นการลดค่าใช้จ่าย ในกรณีของสถานประกอบการที่ให้บริการ ที่ขึ้นกับ แรงงานเป็นหลัก ค่าใช้จ่ายของพนักงาน และ OT จะเป็นประเด็นหลักของค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่คนที่เคยได้ OT ตลอด ถ้าลด OT ลงก็อาจจะไม่พอใจ หัวหน้างานก็เลยไม่อยากลด หรือ บางที หัวหน้างานเอง ที่ต้องการ OT ก็จะไม่ลด OT ของพนักงาน

การกระตุ้นให้เกิดการลดค่าใช้จ่า่ยทางด้านกำลังคน คงต้อง เปรียบเทียบ งานที่มี ณ ปัจจุบัน ว่าควรต้องใช้กำลังคนและค่าใช้จ่ายเท่าใดจริงๆ (เนื่อ่งจาก โควิท จะทำให้ปริมาณงานน้อยลง แต่การรักษากำลังคนเอาไว้ จะทำให้เกิดว่างงานมากขึ้นเสียค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่ได้งายน้อย) จะคำนวน หรือ ประมาณการณ์ หรือ เข้าไปปรึกษากับหัวหน้างานแต่ละแผนกว่า มีปริมาณงานเท่าใด และ ณ ปัจจุบัน แต่ละแผนกควรจะใช้พนักงานกี่คน รวมเบ็ดเสร็จ แต่ละแผนกจะต้องเสียค่าใช้จ่าย จำนวนเงินเท่าไหร่ ต่อเดือน เมื่อได้ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ก็จะนำเอามาเปรียบเทียบกับ ค่าใช้จ่าย ณ ปัจจุบัน ของแต่ละแผนก มาทำเป็นกราฟเปรียบเทียบ โดยไม่มีตัวเลขเงิน (เพราะพนักงานระดับล่างค่อนข้างอ่อนไหวกับตัวเงิน) ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้ว ส่งให้ผู้บริหารและหัวหน้างาน ทุกท่านรับทราบ เพื่อให้หัวหน้างานดำเนินการลดค่าใช้จ่าย และ ให้ผู้บริหารเป็นผู้กำชับอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าไปติดตามผล หรือ ติดประกาศเพื่อขอความร่วมมือต่อไป

นอกจาก ค่าแรงแล้ว ต้องดูจุดที่จะเป็นการรั่วไหลของเงิน เช่น ส่วนที่จ้าง Sub-Contract หรือ ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์และของใช้สิ้นเปลืองด้วย

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านนะครับ

 
วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj)
Create Date :15 มิถุนายน 2564 Last Update :15 มิถุนายน 2564 13:54:27 น. Counter : 723 Pageviews. Comments :0