bloggang.com mainmenu search


ห่วงโซ่อุปทาน - Supply Chain
วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Mentor Jung
ต่างประเทศ ชอบใช้คำว่า Chain ในการตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ที่ต่อเนื่องกัน ส่งทอดกันเป็นทอดๆ แต่ไม่ได้ย้อนกลับ ดังนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า Chain หรือ ห่วงโซ่ แต่สำหรับผม ผมว่า ควรใช้คำว่า สายโซ่ มากกว่า เพราะ คำว่า ห่วง มันสามารถย้อนกลับได้ แต่สายโซ่ คือไปทางเดียวไม่มีการย้อนกลับ คราวนี้ มาดูลักษณะของ Chain ว่าเป็นอย่างไร


ยกเอาลักษณะของ โซ่จักรยาน มาให้เห็น ซึ่งจะเห็นว่า ห่วงโซ่จะเชื่อมกันเป็นวงรอบ มีจุดเชื่อมโยง ประสานงานกันอย่างเป็นระบบ ถ้าในเชิงทฤษฎี ในลักษณะของการวนรอบ ส่วนใหญ่เขาจะตั้งชื่อเป็น Circle หรือ Cycle มากกว่าการใช้คำว่า Chain ดังนั้น ลักษณะของ Chain ในความหมายนี้ จะมีลักษณะ ดังนี้

หรืออาจจะเรียกว่า ห่วงโซ่ปลายเปิด หรือ สายโซ่ แต่นักวิชาการหลายท่าน ก็แย้งว่า Supply Chain เป็นวงรอบ เพราะ ผู้บริโภค สามารถให้ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เพื่อให้ ผู้ผลิต ผลิตได้ตรงกับความต้องการ อันนั้นก็ไม่ผิด เพียงแต่ผมอยากอธิบายให้เห็นถึง ความแตกต่างของการใช้คำของ ฝรั่ง เท่านั้น

ห่วงโซ่อุปทาน หรือ สายโซ่อุปทาน อธิบายง่ายๆ สั้นๆ คือ การเชื่อมโยงระบบงานตั้งแต่ ต้นทาง ไปจนถึงปลายทาง ... ทำไมผมถึงสรุปง่ายๆ สั้นๆ แค่นี้ ? แล้ว ต้นทางคืออะไร ปลายทางคืออะไร ? 

ต้องเข้าใจก่อนว่า มุมมองของแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความต้องการ ในเรื่องที่สำคัญ ส่วนเรื่องที่ไม่สำคัญ คนส่วนใหญ่เกือบ 99% มักมองข้าม ดังนั้น เวลาพูดถึง Supply Chain ในแต่ละองค์กร จะมองในเรื่องที่สำคัญเสมอ เช่น บริษัทให้บริการขนส่งสินค้า จะดูในเรื่่องของ สถานที่รับสินค้า การขึ้นสินค้า การส่งสินค้า การไปถึงสถานที่ส่งสินค้า การลงสินค้า เท่านั้น เขาจะไม่มองว่า ใครผลิต ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร หรือ วัตถุดิบเป็นอยา่งไร อยู่ที่ไหน ดังนั้น

เพื่อให้ครอบคลุมการนำไปใช้งานในทุกองค์กร ผมจึงสรุปแค่ การเชื่อมโยงระบบงาน ซึ่งมีหลากหลายเรืองที่ต้องดำเนินการ โดยระบบเริ่มจากจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ ไปยัง จุดสุดท้ายของการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น บริษัทให้บริการขนส่งสินค้า มองเรื่อง ตำแหน่งของสินค้าที่จัดส่ง ว่าต้องไปรับสินค้า ณ จุดใด มีระบบ การขึ้นสินค้าเข้าไปยังยานพาหนะในการขนส่ง อย่างไร เช่น ขึ้นไปในรถบรรทุกอย่างไร ถึงจะคุ้มค่า อะไรที่ต้องส่งผ่านเครื่องบิน สิ่งใดควรขนส่งทางเรือ เป็นต้น เมื่อขึ้นไปแล้ว ระบบการขนส่งเป็นอย่างไร ระบบรักษาความปลอดภัยของสินค้าเป็นอย่างไร ระบบการประกันเป็นอย่างไร ไปจนถึงปลายทาง เมื่อถึงปลายทาง ก็จะมีระบบการลงสินค้าว่า ลงสินค้าอย่างไร ขนส่งไปยังจุดเป้าหมายอย่างไร และ จุดเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ใด ในโกดังสินค้า หรือ หน้าโกดังของลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้น

Supply Chain หรือ สายโซ่อุปทาน นั้น มีความสำคัญมาก เช่น ถ้ามีความต้องการสินค้ามีมาก แต่เกิด จุดใดจุดหนึ่งของ Supply Chain มีปัญหา เช่น เกิดปัญหาว่าเรือไม่สามารถเข้าเทียบจอดที่ท่าได้ หรือ บางครั้ง ผู้ผลิต ผลิตให้น้อยลง อย่างเช่น การตกลงกันของโอเปค ที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมัน ทั้ง 2 เหตุการณ์จะทำให้เกิดปัญหา สินค้าขาดแคลน ทำให้เกิดการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภค ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น หรือบางครั้ง ทำให้ ผู้บริโภคปลายทาง สามารถนำมาเป็นเรื่อง ให้เกิดการปรับ การผิดสัญญาด้วย...

นอกจาก นี้ องค์กรที่มี Supply Chain ทื่ดี มีระบบต่างๆที่ดี จะสร้างภาพลักษณ์ให้กับ องค์กร ทางด้านความน่าเชื่่อถือของสินค้าและบริการ ความไว้วางใจในการให้จัดส่งสินค้า หรือ แม้นแต่ ชื่อเสียง หรือ ชื่อเสีย ขององค์กรด้วย

Supply Chain กับ Logistics ต่างกันอย่างไร

มาถึงจุดนี้ จึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Supply Chain จะกล่าวถึง การเชื่อมโยงของระบบต่างๆ ให้สอดคล้่องประสานกัน ส่วน Logistics จะกล่าวถึง ภาพรวมของทั้งหมด และใน Supply Chain จะมี ระบบเพื่อดำเนินการ จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ภายในระบบ มีความสมบูรณ์ และ ดำเนินการอย่างราบรื่น 

เมื่่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจะดูใน 3 ประเด็น คือ ระบบ หรือ System,  Supply Chain และ Logistics คือ ดูในเรื่องของ การดำเนินงานในระบบต่างๆ ที่แยกกันอย่างชัดเจน และ การดำเนินการระหว่างระบบ เพื่อให้ระบบประสานงานกันอย่างลงตัว
วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj) // Mentor Jung
Business Consutant - ที่ปรึกษาธุรกิจ
Executive Management Coach - โค้ชผู้บริหาร
Business Research - การวิจัยตลาด และ ธุรกิจ
Facilitator Trainer - นักฝึกอบรมเชิงกระบวนการ

Create Date :13 ตุลาคม 2559 Last Update :14 ตุลาคม 2559 12:08:09 น. Counter : 4450 Pageviews. Comments :1