bloggang.com mainmenu search


Home Contact
HR ทำลายองค์กร : หาคนไม่เหมาะสมมาบริหาร
โดย วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj)
หลายครั้งที่ เข้าไปอ่านใบประกาศรับสมัครงาน แล้วทำให้มาวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารจะรู้หรือเปล่าว่า เขากำลังจะได้คนแบบไหน เข้ามาในองค์กร และ HR ก็บอกแต่ว่า หาคนไม่ได้ ไม่มีใครมาสมัคร...

อยากให้ดูตัวอย่างการลงสมัครรับเลือก CEO เข้ามาบริหารจัดการ ขององค์กรหนึ่ง...

รายละเอียดงาน
J1. ดูแลผลประกอบการขององค์กร สามารถกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนให้กับองค์กรได้
J2. บริหารความเสี่ยง บริหารต้นทุน และสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
J3. สร้างชื่อเสียง สร้างมูลค่า และทำให้องค์กรและตราสินค้าภายใต้องค์กรเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
J4. สร้างรูปแบบการทำงานเป็นทีมให้กับบุคลากรทุกคนในองค์กร
J5. สามารถอ่านและวิเคราะห์งบการเงินได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติผู้สมัคร
S1. เพศชาย/หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป
S2. วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาFood Science 
S3. มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรและโรงงาน วางแผนกำลังการผลิต การจัดซื้อ การบริหารจัดการต้นทุน ในธุรกิจอาหารสัตว์มาอย่างน้อย5 ปีขึ้นไป
S4. หากมีประสบการณ์ด้านผู้บริหารระดับ CEO จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
S5. หากมีประสบการณ์ทำงานด้านธุรกิจอาหารสัตว์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
S6. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และโปรแกรมเฉพาะทางธุรกิจได้ดี
S7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และมีความสนใจศึกษาข้อมูลรอบด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า รายละเอียดของงาน J1-J5 เป็นลักษณะงานของผู้บริหาร และเมื่อเทียบกับ คุณสมบัติผู้สมัคร แล้ว ผมจะชี้ประเด็นให้เห็นบางข้อ

S2. วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาFood Science
ข้อนี้เป็นการกำหนดขอบเขตของผู้สมัครให้ลดน้อยลง โดยผู้สมัครต้องเป็น คนเรียน Food Science มาก่อน...  ซึ่งเข้าใจได้ว่า องค์กรอาจจะต้องการผู้บริหารที่รู้เรื่องการทำงานขององค์กร หรือ CEO คนเดิมเรียนมาทาง Food Science จึงต้องการคนที่มีความรู้ในแบบเดียวกัน มาบริหารองค์กร


อยากให้สังเกตุ หลักการบริหารพื้นฐาน ว่า ทักษะของการบริหารจัดการ จะยิ่งสูงมากขึ้น เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตาม แต่ ทักษะการทำงาน จะต้องการมากเมื่อเป็นพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงาน

ความต้องการ CEO ขององค์กร และ เขียนข้อกำหนด S2 ให้เรียนสาขา Food Science มา จึงส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ หลากหลายรูปแบบ เช่น

1. หาคนที่เรียน Food Science ที่เป็นผู้บริหารจริงๆ ได้ยาก กว่าจะหาได้ องค์กรอาจจะขาดผู้บริหารเป็นเวลานาน

2. ปัญหาของผู้มีทักษะทางด้านการทำงาน มักจะลงลึกทางด้านการทำงานมาก ทำให้การบริหารจัดการลดลง แต่ถ้าเอาฝ่ายบริหารที่ไม่มีความรู้เลย ก็อาจจะนำพาองค์กรไปในทิศทางไม่เหมาะสม

ดังนั้น อาจจะได้คนที่ตรงกับคุณสมบัติ แต่อาจจะไม่ได้ผู้บริหารที่เก่งๆ มาบริหารจัดการองค์กร...


จากคุณสมบีติ ข้อ S3.-S5 มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรและโรงงาน วางแผนกำลังการผลิต การจัดซื้อ การบริหารจัดการต้นทุน ในธุรกิจอาหารสัตว์มาอย่างน้อย5 ปีขึ้นไป เป็น CEO มาก่อน หรือ ทำงานทางด้านอาหารสัตว์มาก่อน...

ข้อกำหนดทั้งหมดนี้หมายถึง ต้องการดึงผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงจากธุรกิจอาหารสัตว์ เข้ามา ซึ่งน่าจะนับจำนวนคนได้ว่า มีคนที่จะมีลักษณะของ S2 และ S3 ไม่เกิน 100 คนในประเทศ เป็นการ กำหนดขอบเขตเพื่อไม่ให้คนมาสมัครในงานนี้มากนัก และผลที่ได้อาจพบว่า HR คงต้องบอกให้ ผู้ประกอบการทราบว่า หาไม่ได้ หรือ ไม่มีคนมาสมัครอย่างแน่นอน

และยิ่งไปกว่านั้น กรณีหากองค์กรคู่แข่งที่เป็นเจ้าธุรกิจ ต้องการทำลายองค์กรนี้ หรือ ต้องการดึงลูกค้าขององค์กรนี้เขาอาจจะจ้างให้ผู้บริหารระดับกลางของเขา เข้ามาทำงานกับองค์กรนี้ ซึ่งได้เงิน 2 ทาง แต่ให้ดึงข้อมูลบางส่วนออกมา และ สร้างเหตุการณ์ให้ย่ำแย่เพิ่มมากขึ้น ก็อาจจะเป็นไปได้ (อันนี้แค่คิดแบบ ให้ตระหนักถึงการป้องกัน Risk Management ที่อาจจะเกิดขึ้น)

การกำหนด คุณสมบัติผู้สมัคร ส่วนใหญ่เกิดจากคุณสมบัติเดิมของผู้เคยดำรงตำแหน่ง เพราะเป็นเรื่องง่ายที่สุดที่ HR สามารถกระทำได้ หรือ วิเคราะห์จากความต้องการของใครบางคนก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อออกโฆษณาประชาสัมพันธ์มาแล้ว อาจจะทำให้องค์กรเสียหาย มากกว่าการจะได้ผู้บริหารจริงๆ...  และ การกำหนดรายละเอียดงาน เกิดจากความต้องการขององค์กร นั่นหมายถึง สามารถ แยกแยะปัญหาขององค์กรได้ เช่น

J! และ J2 บอกให้ทราบว่า ที่ผ่านมาองค์กรยังมีเป้าหมายและกลยุทธ์ไม่ชัดเจน หรือ ยังไม่ตอบโจทย์เจ้าของกิจการ...
J3. ฺBrand ของสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก เป็น Player ขนาดเล็ก
J4. ในองค์กรมีความขัดแย้ง และ ไม่ได้ทำงานแบบทีมงาน
๋J5. ผู้บริหารคนเดิม ไม่สามารถอ่านงบการเงินได้ จึงบริหารจัดการไม่ได้เกิดผลกำไรต่อองค์กร เพราะอาจจะเป็นคนในสายงานตรง ที่เรียนมาทาง Food Science โดยตรง ผู้ประกอบการอาจจะไม่ยอมลงทุนในการฝึกอบรมบุคคลากร ทำให้ CEO เดิมไม่ได้รับการพัฒนา หรือ CEO เดิม ขาดความรักในการเรียนรู้...

ทั้งหมดนี้ แค่เขียนวิเคราะหื ตามความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์กร การเขียนครั้งนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับ HR และ ผู้ประกอบการ ถึงการรักพนักงาน ในแต่ละสายงาน แต่ละตำแหน่ง ต้องมีกลยุทธ์ และ แนวทางที่ถูกต้อง อย่าเขียนกรอบจนทำให้ตนเอง เสียโอกาส หรืออาจจะ เสียท่า ใ้ห้กับองค์กรขนาดใหญ่...
โดย วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj)
DIP Consultant Award 2013 // ที่ปรึกษาดีเด่น ปี 2556 ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาธุรกิจ วิทยากรกระบวนการเชิงกิจกรรม โค้ชผู้บริหาร พี่เลี้ยงธุรกิจ และ นักวิจัยการตลาด
Business Consult and Mentoring, Facilitator Trainer, Executive Management Coach and Marketing Survey
Home Contact
Create Date :27 มิถุนายน 2561 Last Update :27 มิถุนายน 2561 14:31:59 น. Counter : 3283 Pageviews. Comments :0