bloggang.com mainmenu search

มอหลากมุม AEC

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เส้นทางนักขาย เดือนมกราคม พ.ศ.2556

(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ให้ใช้เพื่อการศึกษา ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์)


สิ่งที่ผู้คนสนใจสอบถามกันมากก็คือเมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนหรือASEANCommunity โดยเฉพาะในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC: ASEAN Economic Community เราจะมีผลได้หรือผลเสียอย่างไรเพราะเท่าที่ติดตามข่าวสารมากส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงข้อดีกันเป็นส่วนใหญ่ทำให้หลายๆคนอยากเห็นข้อเสียที่อาจจะมีอยู่บ้างว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

ก่อนที่จะกล่าวถึงข้อเสียขออนุญาตกล่าวถึงข้อดีก่อนเพราะข้อเสียบางส่วนแทรกตัวอยู่ในข้อดีที่มีการหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยๆข้อดีที่มีการกล่างถึงกันมากที่สุดข้อหนึ่งคืออาเซียนจะกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกทั้งนี้ด้วยจำนวนประชากรที่มีสูงถึงกว่า600ล้านคน(ซึ่งจริงๆแล้วจำนวนประชากรของอาเซียนคาดว่าน่าจะสูงกว่านี้ เนื่องจากในบางประเทศเช่น พม่ายังมีศักยภาพด้านการสำรวจสำมะโนประชากรที่ไม่สูงมากนักประกอบกับชนกลุ่มน้อยจำนวนมากมีถิ่นฐานที่ไม่แน่นอนยากแก่การสำรวจตัวเลขที่ชัดเจน)ศักยภาพด้านการตลาดจะมีสูงถึง1.8ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวอย่างมาก

กล่าวง่ายๆก็คือการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นเพราะการเปิดเสรีการลงทุนในกรอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังที่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์นักวิชาการอาวุโสกล่าวว่าจะมีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ70เช่นการขนส่งทางอากาศบริการด้านการท่องเที่ยวบริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนอินเดีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรปฯลฯ มายังประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือมีการคาดหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มมากขึ้นส่งผลไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนลดลงรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระหว่างประเทศมีการพัฒนามากขึ้นการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

จากที่กล่าววมาข้างต้นคือข้อดีในข้อดีนี้ก็แฝงไปด้วยความน่ากังวลดังที่ผศ.ดร.บัญชรแก้วส่อง กล่าวว่าการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAECจะทำให้เกิดการไหลเวียนของสินค้าการบริการ การลงทุนและแรงงานดังที่กล่าวข้างต้นจริงซึ่งปัญหาจึงมีอยู่ว่าเมื่อเกิดมีการไหลเวียนของสินค้าดังกล่าวผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ใครเพราะสินค้าที่จะไหลเข้ามาก็คือสินค้าด้านการเกษตรที่มีราคาถูกกว่าสินค้าเกษตรภายในประเทศไทยเช่น ผลไม้เมืองหนาวจากพม่าที่ไหลผ่านมาจากจีน ผลไม้ประเภทมะละกอและมะม่วงจากฟิลิปปินส์ข้าวจากกัมพูชาและเวียดนามทุเรียนและน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียเป็นต้น

การไหลบ่าเข้ามาของสินค้าเกษตรในลักษณะนี้ย่อมจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทยอย่างแน่นอนหากเราไม่พัฒนาคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันกับสินค้าที่ไหลบ่าเข้ามา นอกจากนี้สินค้าที่จะไหลออกจากประเทศไทยก็คือสินค้าด้านอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รวมไปถึงการไหลออกของการลงทุนเมื่อภาคธุรกิจหรือนักลงทุนชาวไทยสามารถย้ายฐานการลงทุนได้อย่างอิสระในกลุ่มประเทศอาเซียนพวกเขาก็ย่อมเลือกประเทศที่ค่าแรงถูกที่สุดเพื่อให้สินค้ามีต้นทุนราคาถูกที่สุดเรียกว่า "เป็นการย้ายทุนเพื่อหาแรงงาน" 

ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบต่อแรงงานไทยแน่นอนซึ่งนอกจากจะกระทบแรงงานไร้ฝีมือแล้วยังกระทบถึงแรงงานฝีมืออย่างแพทย์พยาบาล หรือผู้ปฏิบัติงานสายสุขภาพอื่นๆซึ่งในขณะนี้กลุ่มแรงงานสายการแพทย์ดังกล่าวจากประเทศฟิลิปปินส์ก็เริ่มทยอยเข้ามาในไทยบ้างแล้วเพราะได้เปรียบด้านภาษาอังกฤษสามารถให้บริการผู้ป่วยชาวต่างชาติได้ทำให้เป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลเอกชนของไทยทั่วไป

นอกจากนี้ธุรกิจภาค SMEsนั้นจะอยู่ในสถานะที่น่าเป็นห่วงมากเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นเป็นกลุ่มทุนย่อยศักยภาพการแข่งขันน้อยเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่รวมทั้งยังมีความซ้ำซ้อนของสินค้าและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันซึ่งที่ผ่านมาเรามองแต่การแข่งขันระหว่างประเทศในอาเซียนคิดว่าจะเอาชนะกันอย่างไรซึ่งแค่คิดก็ผิดแล้วแทนที่จะช่วยกันคิดว่าร่วมกันสู้กับภูมิภาคอื่นอย่างไร

หากเราหันกลับมามองโอกาสที่ชุมชนจะได้รับจะพบว่าเรามีโอกาสทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อยสินค้าเกษตรราคาถูกที่เข้ามาอาจทำให้เรามีวัตถุดิบราคาถูกแต่เราจะสามารถพัฒนาและยกระดับได้หรือไม่และเรายังมีโอกาสได้แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศอาเซียนอื่นๆในราคาถูกลงเพราะแรงงานจากประเทศอื่นเข้ามาในไทยอย่างเสรีมากขึ้นแล้วแรงงานไทยจะประสบชะตากรรมอย่างไรต่อไป 

หลายคนอาจโต้แย้งว่าคนไทยต้องเร่งพัฒนาตัวเองพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจการแข่งขันในตลาดระดับล่างให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งข้อโต้แย้งนี้หากมองบนพื้นฐานของความเป็นจริงแล้วคงต้องยอมรับว่าเวลาที่เหลือก่อนการรวมตัวในเดือนธันวาคมพ..2558อาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเท่าที่โดยเฉพาะภาคการเกษตรและภาคแรงงานส่วนใหญ่ที่ไร้ฝีมือ

นอกจากนี้ถ้าจะถามถึงการเตรียมการรับมือกับแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศอาเซียนอื่นๆที่จะไหลบ่าเข้ามาแสวงหาโอกาสในทำงานในประเทศไทยแล้วคงต้องบอกกันตรงๆว่าเราเตรียมการเรื่องนี้น้อยมากไม่ว่าจะเป็นภาษาที่จะใช้สื่อสารกับแรงงานเหล่านี้เช่น หากแรงงานพม่าหรือกัมพูชาสร้างปัญหาขึ้นเจ้าหน้าที่ตำรวจของเรากี่คนที่สามารถสื่อสารกับแรงงานเหล่านั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 

ข้อกังวลนี้ไม่ใช่สิ่งที่เลื่อนลอยอีกต่อไปเพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้เราก็ได้เห็นข่าวมาเฟียเวียดนามฆ่าคนเวียดนามบนแผ่นดินไทยบนหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้วแต่ในทางตรงกันเราจะสังเกตได้ว่าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในปัจจุบันสามารถพูดอ่าน เขียนภาษาไทยได้เป็นจำนวนมากเมื่อเทียบจำนวนกับคนไทยที่สามารถพูดอ่าน เขียนภาษาของประเทศเพื่อนบ้านได้แล้วคงต้องยอมรับว่าจำนวนนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้นเราควรใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมภาษาและประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นในอาเซียนให้กับคนไทยเช่น เสริมสร้างความมั่นคงชุมชนตามแนวชายแดนซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะพี่น้องประชาชนคนไทยตามพื้นที่เหล่านั้นต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เดียวกันเมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีความเข้มแข็งก็จะตามมาที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของคนที่ต้องยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้นรวมทั้งต้องใส่ใจต่อสุขภาวะสวัสดิการต่างๆ นอก 

จากนั้นก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมั่นคงปราศจากสิ่งเสพติดเพราะการหลั่งไหลเข้ามาของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านสาธารณสุขไม่ได้มาตรฐานเช่น ไม่มีการฉีดวัคซีนหรือปลูกฝีป้องกันโรคติดต่อชนิดต่างๆผลเหล่านี้ทำให้เกิดการระบาดของโรคคอตีบในจังหวัดระนองและการระบาดของโรคมือเท้าปากในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีเป็นต้น

ห้วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจึงเป็นช่วงที่คนไทยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับทั้งผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งนี้เพื่อให้ประชาคมอาเซียนเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อคนไทยและประชากรอาเซียนโดยส่วนรวม


Create Date :09 มิถุนายน 2556 Last Update :9 มิถุนายน 2556 15:28:02 น. Counter : 1034 Pageviews. Comments :0