bloggang.com mainmenu search

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์" กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 3)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)


นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของพม่ายังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อมูลจากวิกิลีคส์ (Wikileaks) ที่ระบุว่าในปีค..2010 พม่าและเกาหลีเหนือกำลังร่วมมือกันด้านการทหารอย่างใกล้ชิด โดยกล่าวยืนยันว่าพม่าได้ประกาศลดความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือลงแล้ว อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพม่ากำลังเลือกเส้นทางเดินของตนเองที่มีความชัดเจนมากขึ้น นั่นคือการลบภาพของความเป็นสามอักษะแห่งความชั่วร้ายออกจากสายตาประชาคมโลก


การปกครองของพม่าแบ่งออ
กเป็น รัฐและ เขตหรือภาค โดยพม่าจะเรียกพื้นที่ของชาติพันธุ์อื่นที่มิใช่พม่าว่า "รัฐ" (States) ประกอบด้วย รัฐคือ

1.รัฐคาเรนนี (Karenni) ภายหลังรัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐคะยาห์ (Kayah) มีเมืองหลวงอยู่ที่ "ลอยก่อหรือ "หลอยก่อ" (Loikaw) มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคะยาห์ (บางครั้งเรียกว่า "กะเหรี่ยงแดง") พม่าไทใหญ่และกะเหรี่ยง ในช่วงปีค..1976 รัฐบาลทหาร "สล็อคของพม่าได้สั่งการให้กองทัพเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยคาเรนนีอย่างรุนแรง มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ดั้งเดิม เพื่อนำไปตั้งในถิ่นฐานในพื้นที่ที่ทหารพม่าควบคุมได้พร้อมทั้งตัดเส้นทางลำเลียงต่างๆ ที่เข้าสู่พื้นที่อิทธิพลของชนกลุ่มน้อย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงจนชาวคาเรนนีกว่า 50,000 คนต้องกลายเป็นผู้ไร้ถิ่นฐานบางส่วนลี้ภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย ปัจจุบันยังคงมีความเคลื่อนไหวในการต่อสู้กับกองทัพพม่าอยู่ประปราย

2.รัฐฉาน (Shan) หรือไทใหญ่ มีเมือง "ตองยี"หรือ “ตองจี” (Taunggy) เป็นเมืองหลวงคำว่า "ฉานนั้น ภาษาพม่าเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "สยามส่วนชื่อ "ตองยีนั้นในสมัยโบราณคนไทยเรียกว่า "ตองคังหรือเมือง "คังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยเสด็จยกทัพไปตีพร้อมกับพระมหาอุปราชและเจ้าเมืองแปรนั่นเอง ในอดีตรัฐฉานมีชื่อเรียกว่า "เมิงไตหรือ "เมืองไทในภาษาไทยเป็นรัฐเอกราชไม่ได้ขึ้นอยู่กับพม่ามาเป็นเวลานานก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองพม่าเป็นอาณานิคมและยึดครอง "เมิงไตในปีค..1890 (..2433) 

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยรุกเข้ายึดรัฐฉานจากทหารจีนก๊กมินตั๋งของจอมพลเจียงไคเช็ค และผนวกดินแดนนี้เป็นของไทยในชื่อ "จังหวัดไทใหญ่จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามอังกฤษจึงกลับมาครอบครองรัฐฉานดังเดิม รัฐฉานเป็นรัฐที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างทิศเหนือติดกับมณฑลยูนนานของจีนทิศใต้และตะวันออกติดกับจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและเชียงราย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฉานหรือไทใหญ่พม่า จีน คะฉิ่น ปะโอ ปะหล่องและอินเดีย ในอดีตกองทัพพม่าพยายามทำลายเอกลักษณ์ของชาวไตในรัฐฉาน ทั้งการเผาทำลายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และทำลายภาษาตลอดจนวัฒนธรรม ทำให้ชาวไทใหญ่ลุกขึ้นมาจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพพม่าจนถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่รัฐฉานมีอาณาเขตกว้างใหญ่นี้เอง กองทัพบกพม่าจำต้องแบ่งกองบัญชาการกองทัพภาคออกเป็นสองส่วนคือ กองบัญชาการรัฐฉานภาคเหนือ (NorthernShan Command) มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง "ลาเชียว" (Lashio) ซึ่งอยู่ห่างจากด่าน "มูเซ" (Muse) ที่เชื่อมต่อกับมณฑลยูนนานของจีนเพียง 190 กิโลเมตรกองบัญชาการนี้ประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบจำนวน 30 กองพัน

นอกจากนี้กองบัญชาการภาคส่วนที่สอง คือกองบัญชาการรัฐฉานภาคใต้ (SouthernShan Command) มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง"ตองยี" (Taunggy) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบจำนวนถึง 42 กองพันและรวมกองพันทหารราบเบา (LightInfantry Battalion) อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสังกัดกองบัญชาการยุทธการภาค (ROC: Regional Operation Command มีฐานะเทียบเท่ากองพลน้อย(Brigade)) ที่แบ่งกำลังมาจากเมือง "ลอยก่อหรือ "หลอยก่อ" (Loikaw) เมืองหลวงของรัฐคะยาห์ เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจในรัฐฉานภาคใต้ สาเหตุที่กองบัญชาการภาคนี้มีกำลังทหารมากเป็นพิเศษ ก็เนื่องจากเป็นฐานในการระดมสรรพกำลังเพื่อรบกับชนกลุ่มน้อยในที่ราบสูงฉานซึ่งมีอยู่หลายชาติพันธุ์

3.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงคือเมือง "ฮะคา" (Hakha) อยู่ทางตะวันตกของประเทศมีอาณาเขตติดกับประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชินพม่าและอินเดีย

4.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองสำคัญคือ เมือง "มะละแหม่ง" (Maulmein) เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงใต้ (SouthEastern Command) ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยงกองบัญชาการ ภาคนี้ประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบทั้งหมด 36 กองพัน

5.รัฐคะฉิ่น (Kachin) อยู่บริเวณพรมแดนจีนพม่า มีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง "มิตจีนา" (Myitkyina) ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศ "น้ำพอง" (Nampong Air Force Base) ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีประจำการอยู่ เพื่อใช้ในการควบคุมพื้นที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ทางตอนเหนือของประเทศ ที่พยายามแยกตัวเป็นเอกราช รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการภาคเหนือ (NorthernCommand) ของกองทัพบกพม่าที่รับผิดชอบในการควบคุมพื้นที่รัฐคะฉิ่น ประกอบด้วย กองพันทหารราบจำนวน 33 กองพันเมื่อปี ค..2011 กองบัญชาการภาคเหนือได้เปิดฉากโจมตีที่มั่นของทหารคะฉิ่นอย่างรุนแรงการสู้รบดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐคะฉิ่นเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าเช่น ป่าไม้ หยก เป็นต้นสำหรับประชาชนในรัฐนี้ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์เช่น คะฉิ่น ฉาน จีน อินเดียและพม่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาชาวคะฉิ่นในรัฐนี้ ตกอยู่ในสภาพถูกกดขี่จากรัฐบาลพม่า จนมีการจัดตั้งองค์กรและกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองจากรัฐบาลพม่าในห้วงปี ค..2012 ในขณะที่โลกจับตาอยู่ที่นางอองซาน ซูจี ชาวคะฉิ่นก็ออกมาเรียกร้องให้สังคมนานาชาติหันมาให้สนใจชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกตนบ้าง

6.รัฐกะเหรี่ยง (Karen) ภาษาพม่าออกเสียงว่ากะหยิ่น (Kayin) เมืองหลวงคือเมือง "ปาอาน" (Hpa-an) มีเขตแดนทางทิศใต้ติดกับจังหวัดกาญจนบุรีทิศตะวันออกติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตากประชากร ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงพม่า ปะโอ ไทใหญ่ มอญและยะไข่ อยู่ในความดูแลของกองทัพพม่า คือกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกองบัญชาการตั้งอยู่ในรัฐมอญ

7.รัฐยะไข่หรืออาระกัน (Rakhine) มีเมืองหลวงคือเมือง "สิตตะเว" (Sittwe) มีเมืองที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งคือเมือง "อาม" (Am) ซึ่งเป็นเมืองทางทหารและเป็นแนวป้องกันของกองทัพพม่าหากข้าศึกรุกเข้ามาสู่กรุงเนปีดอว์ทางทะเล อีกทั้งเมืองอามยังเป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศพม่าอีกด้วย 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

Create Date :03 เมษายน 2556 Last Update :3 เมษายน 2556 19:09:21 น. Counter : 2131 Pageviews. Comments :0