bloggang.com mainmenu search

กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน ตอนที่ 1

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

(สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น)



ในขณะที่กลุ่มประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN: Association of South East Asian Nations)กำลังจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน(ASEANCommunity) ในปีพ.ศ.2558หรือค.ศ.2015นี้จะเห็นได้ว่ามีกลไกด้านเศรษฐกิจจำนวนมากที่ทำหน้าที่ในการผลักดันให้การรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนหรือที่เรารู้จักคุ้นเคยกันในชื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC(ASEAN Economic Community) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นกลไกด้านอัตราภาษีที่มีการลดลงเหลือร้อยละ0มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2553ในกลุ่มประเทศสมาชิกดั้งเดิมคือไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลปปินส์ สิงคโปร์และบรูไนดารุสซาลามอีกทั้งประเทศสมาชิกที่เหลืออีก4ประเทศก็จะลดอัตราภาษีในอัตราเดียวกันในปีพ.ศ.2558เช่นเดียวกัน

ในส่วนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนหรือAPSC(ASEAN Political and Security Community) ก็เช่นเดียวกันที่มีกลไกเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยความมั่นคงด้านต่างๆของอาเซียน เช่นความขัดแย้งด้านการทหาร ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์และภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นดูเหมือนว่ากำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามที่มีศักยภาพและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดจนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ดำเนินไปอย่างไร้ขีดจำกัด

ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีการกำหนดกลไกในรูปแบบต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นับวันจะสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภูมิภาคแห่งนี้มากขึ้นเรื่อยๆสำหรับกลไกหลักด้านการบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียนประกอบด้วย

1.การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน(ADMM= ASEAN Defense Minister Meeting)

2.คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ(ACDM= ASEAN Committee on Disaster Management)

3.การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค(ARF= ASEAN Regional Forum)

สำหรับรายละเอียดของกลไกต่างๆดังกล่าวข้างต้นนั้นมีดังนี้

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน นับเป็นกลไกด้านความมั่นคงระดับสูงสุด(highestdefense mechanism) ของกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ9พฤษภาคม2549(ค.ศ.2006)ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย

1.ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่น(Confidence)และความเชื่อใจ(Trust)ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศระหว่างระหว่างประเทศสมาชิก

2.เป็นการแสดงความโปร่งใส(Transparency)และเปิดเผย(Openness)ในนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศสมาชิก

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่6เมื่อ29พฤษภาคม2555ณกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาได้ลงความเห็นให้ลดความห่างของช่วงเวลาในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา(ADMM-Plus: ประเทศคู่เจรจาของอาเซียนมีทั้งหมด8ประเทศคือสหรัฐฯ รัสเซีย จีน อินเดียญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์)โดยนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2556เป็นต้นไปรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาจะประชุมพบปะกันทุกๆ2ปี  รวมถึงรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนได้ลงนามในคำประกาศร่วมกันเพื่อเพิ่มความเป็นเอกภาพสำหรับประชาคมแห่งความปรองดองและความมั่นคง(JointDeclaration on Enhancing ASEAN Unity for a Harmonized and SecureCommunity) โดยจะมุ่งเน้นในประเด็นการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้อย่างสันติภาพ 

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่7จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนพ.ศ.2556ณกรุงบันดาเสรีเบกาวันประเทศบรูไนดารุสซาลามมีสาระสำคัญคือการลงนามในปฏิญญาร่วมว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและประชาชนของอาเซียนและอนาคตร่วมกันเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันสร้างความสงบสุขในภูมิภาคและให้ประชาชนดำรงชีวิตอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ยังมีกลไกอื่นๆเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกลไกเหล่านั้นประกอบด้วย 

1. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ(ADMMRetreat= ASEAN Defense Minister Meeting Retreat) 

2.การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงกลาโหมอาเซียน(ADSOM=ASEAN Defense Senior Official Meeting)โดยปกติเป็นการประชุมระดับปลัดกลาโหมหรือเทียบเท่า

3.การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน(ACDFIM= ASEAN Chief of Defense Forces Informal Meeting) 

ในส่วนของการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัตินั้นในปัจจุบันการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน กำลังร่วมมือกันพัฒนาบทที่6หรือChapter6 ของ ASEANSASOP* ว่าด้วยการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารในภารกิจการปฏิบัติด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(TheFacilitation and Utilization of Military Asset and Capacities inHADR) โดยบทที่6ดังกล่าวระบุถึงการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำสาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากติดขัดปัญหาเกี่ยวกับกฏหมายระหว่างประเทศเรื่องการใช้กำลังทหารของประเทศผู้เสนอความช่วยเหลือในดินแดนและอธิปไตยของประเทศผู้ประสบภัยพิบัติ

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ยังได้กำหนดให้มีการฝึกการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพอาเซียนทั้ง10ประเทศภายใต้รหัสAHX(ASEAN Militaries HADR Exercise)ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกำลังพลของกองทัพประเทศสมาชิกให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการฝึกAHXครั้งที่1จัดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมพ.ศ.2554โดยกองทัพสิงคโปร์และกองทัพอินโดนีเซียร่วมกันเป็นเจ้าภาพโดยเชิญผู้แทนกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ(TTX: Table Top Exercise) ณฐานทัพอากาศชางกี ประเทศสิงคโปร์และฝึกภาคสนาม (FTX: Field Training Exercise)ซึ่งเป็นการฝึกเฉพาะกองทัพสิงคโปร์และกองทัพอินโดนีเซียเพียงสองชาติณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซียสำหรับการฝึกAHXครั้งที่2มีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนพ..2556 ที่ผ่านมาณ ประเทศบรูไน

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนยังมีการขยายกรอบความร่วมมือไปยังประเทศคู่เจรจา8 ประเทศประกอบด้วย สหรัฐฯรัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ เรียกว่าการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา(ADMMPlus = ASEAN Defense Minister Meeting Plus) จัดประชุมครั้งแรกเมื่อ12ตุลาคม2553ณกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามมีการกำหนดกรอบความร่วมมือไว้5ด้านเพื่อรองรับการเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน คือ

1.ด้านความมั่นคงทางทะเล(MaritimeSecurity)

2.การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ(PeacekeepingOperations)

3.การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ(HumanitarianAssistance and Disaster Relief)

4.การแพทย์ทหาร(MilitaryMedicine) และ

5.การต่อต้านการก่อการร้ายสากล(Counter-Terrorism)

สำหรับกลไกสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจาหรือ ADMMPlus คือคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (EWG = Experts' Working Group) ซึ่งกำเนิดขึ้นจากการประชุมADMM-Plusครั้งแรกเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนแผนงานของADMM-Plusและรายงานผลการดำเนินงานต่อADMM-Plusผ่านADSOM-Plus

(โปรดติดตามตอนที่ 2)

Create Date :22 สิงหาคม 2556 Last Update :22 สิงหาคม 2556 10:41:20 น. Counter : 1604 Pageviews. Comments :0