bloggang.com mainmenu search

หากจะเอ่ยถึงอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญต่อชาวกรุงเทพฯ มากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อของรถเมล์ประจำทาง รถตู้โดยสารทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด รวมถึงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นทั้งย่านการค้าธุรกิจและแหล่งที่คนพลุกพล่านมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเมืองหลวง

แต่ถ้าหากถามคนรุ่นใหม่รู้หรือไม่? ว่า อนุสาวรีย์ชัยฯ สร้างขึ้นเพื่ออะไร มีใครอยู่บนอนุสาวรีย์ชัยฯ บ้าง รับรองเลยว่ากว่า 99 % ตอบผิดกันหมด ซึ่งในปี 2558 นี้ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจะมีอายุครบ 74 ปี  MThai ข่าวภาคซ่าส์ จึงพาย้อนไปรู้จักกันว่า มีความเป็นมาของอนุสาวรีย์ชัยฯ และสร้างขึ้นมาเพื่อสิ่งใดกันแน่



จุดเริ่มต้นจากสงคราม

จุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีที่มาจากเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยนิสิตนักศึกษาและประชาชน ในช่วงปี  พ.ศ. 2483 ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสหลังจากสูญเสียดินแดนไปในเหตุการณ์  ร.ศ. 112

fdgdxg

ซึ่งดินแดนที่ว่านี้คือ เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์ ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และท่ามกลางกระแสชาตินิยมในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ส่งทหารเข้าไปยึดคืนดินแดน ในขณะนั้น เดิมทีฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามายึดครองในช่วงสงครามโลก รัฐบาลไทยเห็นทีว่าฝรั่งเศสกำลังเพลี่ยงพล้ำเลยถือโอกาสขอพื้นที่ดังกล่าวคืน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมจนเกิดเหตุสงครามขึ้น

dsgsf

รวมถึงเหตุการณ์ที่เรียกว่า ยุทธนาวีเกาะช้าง เหตุการณ์ดำเนินมาจนถึงปี  2484  ญี่ปุ่นเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ ส่งผลให้พื้นที่ทั้งหมดกลับคืนมาอยู่ในประเทศไทย ไทยจึงถือว่าชนะสงครามในครั้งนั้นและสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์

fgf

โดยหารู้ไม่ว่าในปี ในปี 2488 เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้และการไกล่เกลี่ยดังกล่าวถือว่าเป็นโมฆะ ทำให้ไทยต้องส่งมอบดินแดนคืนแก่กัมพูชาเหมือนเดิม

ความหมายและความสำคัญ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ออกแบบโดย  หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล สถาปนิก ประจำกรมโยธาธิการ ผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณด้วย ซึ่งลักษณะเป็นดาบปลายปืน 5 เล่มรวมกันคล้ายกลีบลูกมะเฟือง คมสันดาบหันออก มีความสูง 50 เมตร

fwgr

ภายในอนุสาวรีชัยย์บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิต แต่ละมุมมีนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ปั้นโดยลูกศิษย์และควบคุมงานปั้นโดย ศ.ศิลป์ พีระศรี ตั้งอยู่บนจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน ซึ่งสมัยก่อนจะเรียกจุดนี้ว่า สี่แยกสนามเป้า

กิโลเมตรที่ 5 ของ กรุงเทพฯ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถือเป็นกิโลเมตรที่ 5 ของกรุงเทพฯ เพราะห่างจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กม.ที่ 0 ระยะทาง 5 กิโลเมตร และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ระยะทางจากกรุงเทพ ไปจนถึงเขตแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระยะทางยาวประมาณ 1,005 กิโลเมตร

dsg

ศูนย์กลางคมนาคม ในปัจจุบัน

ปัจจุบันจุดขึ้นรถตู้ แบ่งจุดขึ้นรถตามเกาะได้แก่ เกาะราชวิถี เกาะพหลโยธิน เกาะพญาไท เกาะดินแดง นอกจากนี้ยังมีจุดจอดรถจุดอื่นได้แก่ โรงหนังเซนจูรี่ ใต้บีทีเอส  ใต้ทางด่วนขาเข้าและใต้ทางด่วนขาออก ซึ่งในปัจจุบันได้มีคนจัดทำแผนที่สำหรับจุดจอดต่าง ๆ นำมาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกด้วย

โดยการเดินทางในคืนวันศุกร์และเช้าวันจันทร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จะเต็มไปด้วยประชาชนมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อและเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ถือว่าเป็นสถานีขนส่งย่อยๆ เลยก็ว่าได้ ถึงกับขนาดที่ทุกวินรถตู้จะต้องเอาเก้าอี้มาตั้งแถวเพื่อให้ผู้โดยสารนั่งรอคิวกันเลยทีเดียว โดยจากข้อมูลของการจัดระเบียบรถตู้ คสช. ขณะนี้จำนวนรถตู้ที่วิ่งให้บริการประชาชนรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมีประมาณ 4,000-5,000 คัน มีทั้งหมด 167 วิน

MThai News

Create Date :10 กันยายน 2558 Last Update :10 กันยายน 2558 8:49:42 น. Counter : 1112 Pageviews. Comments :0