bloggang.com mainmenu search

“ผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม” ออกตัว ไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญใดให้ตุลาการ ร่วม เสนอชื่อนายกฯ มาตรา 7 เชื่อ เป็นเรื่องยากพร้อม รอดู “ว่าที่ ปธ.วุฒิฯ” จะรับแนวทางมาหารือกับศาลหรือไม่

536694-01

ผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรมท่านหนึ่ง แสดงความเห็นต่อกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.แถลงการณ์ให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ ประธาน ส.ว.ร่วมหารือประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธาน กกต. เพื่อหาบุคคลเป็นกลาง เสนอชื่อเป็น นายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 พร้อมทำหนังสือถึงประธานศาลต่าง ๆ ให้ร่วมการหารือ ว่า แนวทางดังกล่าว ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมือง

ขณะที่ถ้าพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แล้ว ก็ไม่มีมาตราใดที่จะให้ตุลาการ กระทำเช่นนั้น ทั้งนี้ต้องรอดู ว่าที่ประธานวุฒิฯ คนใหม่ จะพิจารณาข้อเสนอของ กปปส. มาปฏิบัติหรือไม่ และถ้าเป็นจริงฝ่ายตุลาการจะเห็นอย่างไร เพราะถ้าจะทำเช่นนี้ต้องมองอีกด้านหนึ่งด้วยว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. คงไม่ยอม และพร้อมจะออกมาคัดค้าน แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้ลดความขัดแย้งนั้นได้ คงไม่ง่ายที่จะให้ 3 ประธานศาล เสนอชื่อบุคคลใด เพราะเสมือนการนำศาลที่เป็นเสาหลักบ้านเมืองไปยุ่งเกี่ยวการเมือง

ดังนั้น กรณีที่ กปปส. เสนอ ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ก็ต้องคิดอย่างระมัดระวังด้วยหากนำมาปฏิบัติแล้วจะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ด้วยหรือไม่ และถ้าอีกฝ่ายจะใช้วิธีการเช่นเดียบกับ กปปส. ออกมาชุมนุมกดดันแล้วบ้านเมืองจะดำเนินไปแนวทางใด วิกฤติจะคลี่คลาย หรือจะเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ ทุกฝ่ายคงต้องคิดอย่างถี่ถ้วน

อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งก็ยังต้องเป็นส่วนหนึ่งการปกครอง แต่จะทำกันอย่างไรให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับ

innnews
Create Date :11 พฤษภาคม 2557 Last Update :11 พฤษภาคม 2557 20:53:29 น. Counter : 1282 Pageviews. Comments :0