bloggang.com mainmenu search

การปฏิวัติ หรือ อภิวัฒน์ (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้น เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงครั้งเดียว จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  ส่วนการ รัฐประหาร หมายถึงการล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครอง

สถิติรัฐประหารโลก

องค์กร The Center for Systemic Peace (CSP) จัดอันดับประเทศที่รัฐประหารบ่อยที่สุด ซึ่งประเทศไทยมีสถิติทั้งสิ้น 18 ครั้ง(อันดับที่4 ของโลก) เท่ากับ โตโก ซีเรีย และ กินี-บิสเซา แต่ยังน้อยกว่าอันดับที่ 1 คือ ซูดานที่มีสูงถึง 31 ครั้ง รองลงมาคือ อิรัก  24 ครั้ง และอันดับที่ 3 โบลิเวีย 19 ครั้ง ข้อสังเกตคือประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และ แอฟริกาเป็นหลัก ประเทศไทยถือว่าเป็นชาติเดียวที่มาจากเอเชียฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี พม่าและลาวตามมาห่างๆอยู่ที่ 6 ครั้ง

สถิติดังกล่าวนั้นไม่นับรวมถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง การลุกฮือของประชาชน สงครามกลางเมือง การลงจากอำนาจโดยสมัครใจ การส่งต่ออำนาจให้ทายาททางการเมือง การเสียชีวิตของผู้นำ การลอบสังหารผู้นำ และการถูกรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ

108123-41

ผลเสียรัฐประหาร

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ เผยถึงผลเสียของรัฐประหารปี2549  อย่างน้อยที่สุด ทำให้สังคมไทยเชื่อว่า รัฐประหารเกิดขึ้นได้ตลอด ภูมิคุ้มกันรัฐประหารแบบไทยๆ อ่อนแอมาก น่าเสียใจที่ประเทศนี้ไม่ได้ปกครองโดยกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญถูกฉีกได้ตลอด ใครมีอำนาจก็กำหนดชะตากรรมบ้านเมือง ใครมีอำนาจสูงสุด ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ ไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม โดยหากยึดที่ตัวบุคคลไม่ยึดระบบ ปัญหาต่างๆ จะซับซ้อนและแก้ไขยากขึ้น

 “คำถามที่ตามมา น่าจะคือต้องเกิดรัฐประหารอีกกี่ครั้ง คนไทยจึงจะถึงบางอ้อว่า รัฐประหารแก้ปัญหาไม่ได้และไม่ใช่คำตอบสำหรับประชาธิปไตยและสังคมไทย”

MThai News

Create Date :22 พฤษภาคม 2557 Last Update :22 พฤษภาคม 2557 20:49:48 น. Counter : 2266 Pageviews. Comments :0