bloggang.com mainmenu search



เรื่องย่อ (มากๆ)

หลิว ผู้หลงใหลในโลกของหนังสือ กับ ความพยายามที่ก้าวเข้าสู่บรรณโลก
หลิวต้องตะเกียกตะกายต่อสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อ่าน
จนทำให้หลงลืมบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญในชีวิตไป


*********************************



จากเจ้าของบล็อก

นิยายของอาจารย์เล่มนี้เป็นเรื่องที่เขียนมานานสัก...เอ่อ...นับจากที่พิมพ์ครั้งแรกรวมเล่มปี 2526 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็คงลงนิตยสาร เพราะฉะนั้นนิยายเรื่องนี้ก็น่าจะมีอายุ 25 ปีแล้ว

เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของหนุ่มสาวที่ก้าวพ้นจากมหาวิทยาลัยด้วยความฝันความหวังที่จะได้เดินอยู่บนบรรณโลก โลกของนักประพันธ์ (ไส้แห้ง?)

นักเขียนสมัยก่อนต้องอาศัยความพยายาม ความอุตสาหะอย่างมากมายกว่าที่งานเขียนจะได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสักเรื่อง โดยมีตัวละครที่เป็นผู้เล่าเรื่องคือ หลิว
หลิวก็เหมือนกับนักศึกษาทั่วไปที่ตอนเรียนอยู่ได้ใช้ความสามารถในด้านการขีดเขียนของตนเขียนเรื่องลงวารสารของนักศึกษาที่ออกมามากมายตามความนิยมในสมัยนั้น ทำให้หลิวเกิดความฝันความหวังที่จะได้ทำงานในนิตยสารสักเล่มและได้ทำควบคู่ไปกับการเขียนนิยายด้วยใจรัก แต่เมื่อก้าวเข้ามาสู่โลกของผู้ใหญ่จริงๆ แล้ว หลิวก็ได้รับรู้ถึงความยากลำบากที่จะเขียนเรื่องสักเรื่องที่จะให้บรรณาธิการยอมรับเพื่อที่จะได้ลงตีพิมพ์ กว่าโอกาสจะมาถึง หลิวได้พยายามเขียนโดยไม่ย่อท้อ เพราะหลิวเขียนด้วยพรแสวง มิใช่ พรสวรรค์

เทียบกับ หลิว แล้ว นักเขียนยุคปัจจุบันช่างโชคดีกว่ามาก ๆ ที่มีเวทีอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเขียนในสิ่งที่อยากเขียน แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งนี้นั้นคือ ความโชคดีหรือความโชคร้าย เพราะด้วยวัฒนธรรมแบบแดกด่วนทำให้เกิดสำนักพิมพ์ที่พิมพ์งานออกมาโดยไม่ได้ผ่านการลงนิตยสารออกมามากมาย และระบบการกลั่นกรองงานของสำนักพิมพ์พวกนี้นั้นด้อยประสิทธิภาพกว่า บก. ของนิตยสารชั้นดีอย่างเห็นได้ชัด จะหาบรรณาธิการที่ใส่ใจงานเหมือนอย่าง บก.ของหลิวในเรื่อง (หรือแม้กระทั่ง บก.นิตยสารจริงๆ อย่างสตรีสารหรือสกุลไทย) หาได้ยากมาก ๆ เพราะเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ บก. ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ให้สมกับเป็น บก. ที่แท้จริงเลย ทำตัวเหมือนแค่เป็นผู้จัดการต้นฉบับหรือผู้ประสานงานนักเขียนเท่านั้นเอง
ทำให้อายุการใช้งานของนักเขียนในปัจจุบันนี้ ดูแล้วจะไม่นานนักหรอก เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เมื่อพ้นสมัยไปแล้วก็ต้องเลิกรา ยกเว้นจะมีดาวดวงเด่นที่สามารถแหวกขึ้นมาประดับฟ้าได้ แต่เท่าที่เห็นทุกวันนี้ยังไม่มี....


แต่ บก. ในหนังสือเรื่องนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนดีๆ เสมอไป
ในเมื่อมีคนดี ก็ย่อมมีคนที่ร้ายเช่นกัน ดั่งที่หลิวได้เจอ คือ เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เมื่อมีเงินเข้ามาเกี่ยวกับคนที่ไร้คุณธรรมแล้วไซร้ การโกงก็ย่อมเกิดขึ้น
หลิวได้พบกับ บก. ที่มีนิสัยขี้โกง ทำเรื่องเบิกเงินเอาเข้ากระเป๋าตัวเองไป โกงเงินนักเขียนหลายคน ทำได้ถึงการโกงเงินบริษัทโดยกุนักเขียนที่ไม่มีตัวตนเพื่อเบิกเงิน แล้วก็หอบเงินหนีไปเสวยสุข แม้กระทั่งตอนหลังก็ยังไม่ได้พบผลกรรมแต่อย่างใด ยังพยายามกลับมาเพื่อทำงานอีกครั้ง เพราะคนไทยมักคิดว่า แค่นี้เองไม่เป็นไรหรอกhtmlentities(' >')>> คนนิสัยแบบนี้ แม้ปัจจุบันก็ยังได้พบเห็นอยู่ จริงไหม



ในนิยายเรื่องนี้นั้น แสดงให้เห็นถึงชีวิตการทำงานของนักเขียนที่มีหลายรูปแบบ

นักเขียนที่มีชื่อเสียงแล้วต้องเขียนนิยายให้นิตยสารหลายเล่ม จนเกิดศึกชิงต้นฉบับ หรือเมื่อเขียนเข้าหลายเรื่องในเวลาพร้อมกันก็มักจะทำให้งานออกมาไม่มีคุณภาพ

นักเขียนรุ่นเก่าที่อาศัยชื่อเสียงเดิม เขียนอะไรซ้ำซากในแนวเดิม ไม่สามารถเปลี่ยนได้เหมือนไม้แก่ที่ดัดยาก

นักเขียนดาวรุ่ง ผู้มีลีลาการเขียนที่งดงาม แต่เนื้อเรื่องวนเวียนซ้ำซากอยู่กับเรื่องบนเตียง แล้วก็บอกว่าเป็นความรักที่งดงาม(ตรงไหน?)htmlentities(' >')>> นี่ก็คุ้น ๆ เหมือนนักเขียนสมัยนี้หลายคนเหมือนกัน ฮา

นักเขียนที่มักจะก็อปงานชาวบ้าน รวมถึงก็อปเรื่องต่างประเทศ (คุ้นๆ แหม เรื่องแบบนี้มันมีมานานแล้วเนอะ) แต่ บก. ก็ยังเอาลง เพราะเป็นนักเขียนดังที่มีคนติดมากมาย ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้อ่านนั้นไม่ได้อ่านงานต่างประเทศ เขาไม่สนใจด้วยซ้ำ

นักเขียนที่มากด้วยอุดมการณ์ (พวกเขียนงานเพื่อชีวิตทั้งหลาย) แต่สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนแนวเพราะคนอ่านไม่ชอบ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนแนว ก็ต้องเปลี่ยนอาชีพในที่สุด

และนักเขียนระดับตะเกียกตะกาย อย่างหลิว

เมื่อนักเขียนผลิตงานมากๆ เข้าจนกลายเป็นเครื่องจักรทำให้เหนื่อยหน่าย หรือเมื่อถึงเวลาหนึ่งเมื่อมาถึงทางตัน นักเขียนก็ต้องเลือกว่าจะทำอะไรต่อไป การหายไปและการเกิดใหม่ของนักเขียนจึงมีอยู่ตลอดเวลา

และนางเอกของเรา หลิว ก็ได้เลือกแล้วเช่นกัน

คัดตอนที่เจ้าของบล็อกชอบมานำเสนอสักตอน

ข้อต่อมาคือพล็อตเรื่อง บางคนก็เขียนมาจับต้นชนปลายไม่ถูกหรือจบลงโดยไม่มีความกลมกลืนอะไรกันเลยระหว่างตอนต้นกับตอนจบ ส่วนมากมักจะอ่อนเหตุผล ทำให้ขาดน้ำหนักไปอย่างน่าเสียดาย

หลิวจำได้บางเรื่อง เช่น ตอนต้นพระเอกกับนางเอกรักกันมากแต่มีอุปสรรคคือพ่อแม่ไม่เห็นด้วย วันหนึ่งนางเอกไปเจอพระเอกนั่งรถไปกับผู้หญิงสาวคนหนึ่งก็เกิดเสียใจสุดขีดว่าพระเอกทรยศ เลยยอมกลับมาหมั้นกับผู้ชายที่พ่อแม่สนับสนุน แต่ด้วยความโศกเศร้าตรอมตรมก็เลยอ่อนระโหยโรยแรงลงทุกวัน เอาแต่กินน้ำตาไปจนวันแต่งงานแล้วก็เลยเกิดอาการช็อคหน้ามืดไปตอนรดน้ำ พระเอกถลาเข้าประคองอธิบายให้รู้ว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นคู่รักของเพื่อนเขาเอง บังเอิญไปธุระด้วยกันโดยเขาไม่ทันบอกนางเอก

นางเอกก็เผยอยิ้ม แล้วหลับตาหัวใจวายไปอย่างมีความสุขในวงแขนคนรัก

คุณพรทิพาวิจารณ์ว่า

“ยายนางเอกนี่พิลึกจริง จะถามคู่รักสักคำก็ไม่ได้ว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร แล้วการนั่งรถไปด้วยกันมันก็ไม่ใช่ข้อคอขาดบาดตายจะต้องเลิกร้าง แฟนก็ไม่เห็นมาอธิบายให้รู้ แล้วโรคหัวใจน่ะ ต้อนต้นก็ไม่เห็นบอกว่าเป็น อยู่ๆ มาก็ตายท่าทางสวยงามเหมือนจูเลียต โรคหัวใจจริง ๆ น่ะ ถ้าไม่ปุบปับไปเลยก็ทุลักทุเลกว่านี้แยะ”



อ่านตรงนี้แล้วฮามั่ก ๆ นึกถึงเด็กนักเขียนสมัยนี้จริง ๆ เรื่องเหตุผลไม่ต้อง เรื่องมั่วข้อมูลก็เพียบ แถมมักนึกว่าชีวิตจริงเป็นเหมือนในละครช่อง 7



*********************************



แนะนำงานของอาจารย์เล่มนี้ เพราะอยากให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้อ่านเรื่องนี้จังเลย ถ้าไปงานหนังสือก็ไปขุดหาเอานะคะ เพราะเรื่องนี้ไม่มีพิมพ์ใหม่เลย แต่ตอนงานหนังสือปีก่อน ๆ เคยเห็นที่ร้านโชคชัยเทเวศน์
Create Date :19 มีนาคม 2550 Last Update :20 มีนาคม 2550 11:10:47 น. Counter : Pageviews. Comments :30