bloggang.com mainmenu search
[Main : กลับ หน้ารวมศาสนา]


ทาน ศีล ภาวนา

ทาน ทำให้รวย, ศีล ทำให้สวย, ภาวนา ทำให้ปัญญาดี เลือกได้ว่าอนาคตต้องการเป็นอย่างไร
ทำทาน ได้บุญน้อยกว่า ถือศีล, ถือศีลได้บุญน้อยกว่าการภาวนา


ทาน

องค์ประกอบของการทำทาน (ผู้ให้,วัตถุที่ให้,ผู้รับ)

1. ผู้ให้บริสุทธิ์ = คือมีศีลมีธรรม จะได้บุญมากกว่าคนไม่มีศีลธรรมทำบุญ
ตัวอย่าง ผู้ให้ถือศีล5 ทำบุญ จะได้บุญมากกว่าคนไม่มีศีลทำบุญ ในองค์ประกอบอื่นๆ เหมือนกัน

2. วัตถุที่ให้ บริสุทธิ์ = หามาโดยชอบ ได้บุญมากกว่าโกงผู้อื่นมาทำทาน, ปริมาณที่ให้ไม่สำคัญ

3. ผู้รับบริสุทธิ์ = ผู้รับมีศีลธรรมมากเท่าไหร่ ผู้ให้ได้บุญมากเท่านั้น
เนื้อนาบุญดีได้บุญมากกว่า ปลูกข้าวในนาที่ดินคุณภาพดี ได้รับผลผลิตมากกว่า

เช่น ให้อาหารกับสัตว์ 100 ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าให้อาหารกับคนไม่มีศีล 1 ครั้ง
ให้อาหารกับคนไม่มีศีล 100 ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าให้อาหารกับคนมีศีล5 1 ครั้ง

การให้ทานมี 3 ระยะ (ก่อนให้, ขณะให้, หลังให้)

1. ก่อนให้มี = จิตกุศล ยินดีไม่ฝืนใจ ไม่ลังเล ใจอิ่มเอิบในการสงเคราะห์ ไม่ทำเอาหน้า ไม่ทำเอาบุญ

2. ขณะให้ = จิตกุศล ปิติสุข ใจอิ่มเอิบ

3. หลังให้ = จิตกุศล ไม่เสียดายทานที่ทำไปแล้ว ผ่านไปกี่กีนึกถึงก็อิ่มเอิบใจ

ทำบุญทำทานแล้วนึกเสียดาย : ส่งผลให้เกิดมาฐานะดี แต่ตัวเองทำตัวลำบาก ทำตัวอัตคัด ยากแค้น (ด้วยส่วนหนึ่ง) เศรษฐีใส่เสื้อขาดๆ ทำตัวลำบากเกินเหตุ เกินวิสัยคนปกติ เป็นต้น

ถ้าเปรียบกับความร่ำรวย (อานิสงค์ = ผลที่ได้รับ)

1. ก่อนให้ทาน จิตดี = ร่ำรวยตั้งแต่แรกเกิด, จิตไม่ดี = จนตั้งแต่เกิด

2. ขณะให้ทาน จิตดี = ร่ำรวยในวัยกลางคน, จิตไม่ดี = ยากจนในวัยกลางคน

3. หลังให้ทาน จิตดี = ร่ำรวยในบั้นปลายชีวิต, จิตไม่ดี = ยากจนในบั้นปลายชีวิต
ถ้าจิตใจดีตลอด ก็จะมีฐานะร่ำรวยตลอดทั้ง 3 วัย

ชักชวนผู้อื่นทำทานทำบุญ
1. ทำคนเดียวไม่ชักชวนใคร : ฐานะการเงินดี เพื่อนน้อย เพื่อนที่คบหาด้วยก็ฐานะไม่ดี
2. ตัวเองไม่ทำ แต่ชวนให้ผู้อื่นทำ : ตัวเองฐานะไม่ดี แต่เพื่อนๆ ฐานะดี ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
3. ตัวเองทำด้วย และชวนผู้อื่นทำบุญทำทานด้วย : ทั้งเราและเพื่อนๆ ฐานะดี


ศีล

ศีล คือปกติ พื้นฐานความเป็นมนุษย์ ของทุกศาสนา ได้บุญมากกว่าการทำทาน
ศีล คือความตั้งใจงดเว้น ถ้าไม่ตั้งใจ จะไม่เป็นศีล, เด็ก 3 ขวบนอนหลับไม่มีศีล, ผู้ป่วยพิการพูดไม่ได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ก็ไม่มีศีล ถ้าไม่ได้ตั้งใจงดเว้น

วิธีการ
- ตื่นนอน ก่อนจะลุกจากที่นอน อธิษฐานในใจว่าจะตั้งใจถือศีล5 งดเว้น5 ข้อ ดังนี้... ให้ได้ 1 วัน 1 คืน (อธิษฐานเพิ่มว่า) ถ้าเสียชีวิตไประหว่างนี้ ไม่ขอเกิดอีก (เป็นการไม่ประมาทต่อชีวิต)
- ก่อนนอน ก่อนหลับ อธิษฐานเหมือนเดิม

ศีล5
1. ไม่ฆ่าสัตว์
2. ไม่ลักขโมย
3. ไม่ผิดลูกผิดเมีย
4. ไม่โกหก ไม่พูดเพ้อเจ้อ
5. ไม่เสพของมึนเมา

ผลของการผิดศีลแต่ละข้อ
1. ขี้โรค อายุสั้น ฯ
2. ถูกโกง ไฟไหม้บ้าน ฯ
3. ครอบครัวแตกแยก เป็นกะเทย ฯ
4. โดนคดีความ โดนไส่ร้าย ฯ
5. สติไม่ดี ปัญญาทึบ ฯ


ภาวนา

ภาวนา (สมถะ, วิปัสสนา) ได้บุญสูงสุด
1. สมถะกรรมฐาน
เพื่อให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิ ตั้งมั่น ตามหลักกรรมฐาน40 โดยภาวนาพุท-โธ, ยุบหนอ-พองหนอ ฯ

2. วิปัสสนากรรมฐาน (ได้บุญมากกว่าสมถะกรรมฐาน)
การเจริญปัญญาให้เห็นความจริงของ รูป (กาย) และ นาม (จิต, ใจ)
ว่าทั้งร่างกายและจิตใจไม่ได้เป็นของเรา เราอาศัยอยู่ชั่วคราว
กายและใจไม่เที่ยง(อนิจจัง), ไม่คงทนถาวร(ทุกขัง), ต้องเสื่อมสลายไป ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา)
แนวทางปฏิบัติคือ สติปัฎฐาน4 (มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ๆ ในฐานทั้ง4 ที่กำลังเกิดขึ้น)


แก้กรรมไม่ดีที่ทำไปแล้วได้อย่างไร

แก้ไม่ได้ แต่อาจจะทำให้ดีขึ้นได้ เปรียบเหมือนกลือ(กรรมชั่ว)ละลายอยู่ในน้ำ
ทำให้ดีขึ้นโดยเติมน้ำสะอาด (กรรมดี) ลงไปให้มากกว่าหลายๆ เท่า น้ำก็มีรสเค็มน้อยลง โดยที่เกลือก็ยังอยู่เท่าเดิม
หรือเหมือน แดดร้อน(กรรมชั่ว) แต่มีลม(บุญ,กรรมดี)พัดช่วยให้รู้สึกเย็นขึ้น ทั้งๆ ที่แดดก็มีความร้อนอยู่เท่าเดิม

ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. สำนึกผิด ไม่ทำอีก
2. เลิกคิด เลิกซ้ำเติมตัวเอง
3. ปฏิบัติตามหลัก ทาน ศีล ภาวนา
4. อุทิศผลบุญกุศลที่ได้จากข้อ3 ให้บุคคลเหล่านั้น


สรุปว่า ทำให้ครบนะครับ ทาน ศีล ภาวนา(มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ๆ)

เป็นภาพรวมย่อๆ อ่านซ้ำๆ หลายๆ รอบ ท่องให้ขึ้นใจ แล้วหารายละเอียดเรื่องนั้นๆ อ่านให้เข้าใจลึกซึ้ง อีกครั้งหนึ่งนะ

ปล. ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเฉพาะกรณีนั้นๆ ไม่นับรวมผลกรรมอื่นที่ตามมาส่งผล

[Main : กลับ หน้ารวมศาสนา]
Create Date :03 มิถุนายน 2551 Last Update :27 กันยายน 2552 18:48:04 น. Counter : Pageviews. Comments :13