การล่ามเบื้องต้นสำหรับล่ามมือใหม่


การล่ามเบื้องต้นสำหรับล่ามมือใหม่

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม2561 จุฬาฯ จัดอบรมการล่ามเบื้องต้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมงให้กับผู้ที่สนใจ การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจล้นหลามมีผู้สมัครเต็มภายในครึ่งชั่วโมง ใครพลาดไม่เป็นไร เดี๋ยวเขาจัดให้อีก

วิทยากรคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัยแรงผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจบปริญญาโทด้านการล่ามจากประเทศสเปน และเป็นผู้ฝึกอบรมการล่ามให้ผู้ที่สนใจทำงานล่ามศาลและหน่วยงานราชการไทย

ประเภทของล่าม แบ่งเป็น (ก) ล่ามพูดตาม(consecutive interpreting) คือรอให้พูดจบแล้วแปล (ข) ล่ามพูดพร้อม (simultaneous interpreting)คือล่ามพูดพร้อมกับผู้พูด (จริงๆ ก็ไม่พร้อม อาจจะรอ 2-3 วินาทีให้ฟังจนได้ใจความก่อนจึงแปลแต่ไม่ต้องรอจบแล้วค่อยแปล) การล่ามแบบนี้มักใช้อุปกรณ์ประกอบ แต่หากไม่ใช้ จะเรียกว่า ล่ามกระซิบ (chuchotage) และ (ค) ล่ามจากเอกสาร (sight translation) คืออ่านเอกสารแล้วพูดแปลทันที

ล่ามที่พบกันบ่อยคือ ล่ามประสานงานทำหน้าที่สื่อสาร เช่น ซื้อข้าวให้นักเรียนแลกเปลี่ยน ช่วยสื่อสารระหว่างนักข่าวสัมภาษณ์

หากเคยได้ยินคำว่าล่ามตู้ นั่นหมายถึงล่ามพูดพร้อมปกติจะทำงานกับเพื่อนล่ามอีกคนหนึ่ง สลับกันล่าม ระหว่างล่ามคนแรกล่ามอยู่ อีกคนหนึ่งต้องนั่งฟังด้วยเผื่อคนแรกฟังไม่ทันจะได้ช่วยกัน

อนึ่งล่ามกับนักแปลต่างกันตรงที่วิธีการถ่ายทอด ล่ามแปลแล้วถ่ายทอดด้วยการพูด ต้องใช้ทักษะการจำการเรียบเรียง การพูด และการจัดการเวลา ส่วนนักแปลถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือ จะใช้ทักษะการวิเคราะห์ระดับลึกและการเขียน

ผู้ที่จะมาเป็นล่ามอาชีพควรผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 6 เดือน โดยเป็นการฝึกอบรมแบบเต็มเวลา ฝึกทุกวันอันนี้คือมาตรฐานยุโรป

วิทยากร เปิดคลิปสั้นเป็นการติดตามล่ามของผู้นำประเทศฝรั่งเศสและล่ามของผู้นำประเทศเยอรมณีว่าทำงานอย่างไร ในคลิปจะเห็นประธานาธิบดีของแต่ละประเทศมีล่ามของตัวเอง และล่ามจะแปลเข้าภาษาตัวเองเสมอ คือล่ามของผู้นำประเทศฝรั่งเศสจะแปลคำพูดภาษาเยอรมันของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสและล่ามของผู้นำประเทศเยอรมณีจะแปลคำพูดภาษาฝรั่งเศสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นภาษาเยอรมัน ในคลิปนี้จะเห็นว่าล่ามมีอำนาจหน้าที่ในระดับหนึ่งคือมีฉากหนึ่งที่นักข่าวเดินติดตัวประธานาธิบดีคั่นระหว่างประธานาธิบดีกับล่าม ล่ามแตะไหล่และดันนักข่าวออกเพราะล่ามต้องประกบประธานาธิบดีตลอดเวลา

พูดถึงล่ามของผู้นำประเทศ ล่ามของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ พล.ท. วีรชน สุคนธปฏิภาค มีคนได้ฟังท่านล่ามให้นายกฯ แล้วจะรู้ว่าล่ามเติมข้อความให้ท่านนายกฯ ตรงนี้เป็นข้อยกเว้น ไม่ถือว่าผิดจรรยาบรรณเพราะวัตถุประสงค์ของการล่ามคือเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ท่านนายกฯ บอกล่ามไว้แล้วว่าถ้าท่านพูดชื่อใครผิดให้ล่ามแก้ได้เลย (ลองค้นเว็บดู เจอคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=pARFcpu6pCI อ่านคอนเมนต์คนที่ฟังคลิปแล้ว มีคนนึงเหน็บอดีตนายกฯหญิงเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษของท่าน นี่เราลืมไปแล้วนะ จนคนนี้มาทัก)

อีกท่านหนึ่งที่รู้กันว่าใช้ภาษาได้ดีและเป็นล่ามได้ดีคือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งไม่เพียงใช้ภาษาอังกฤษได้ดีแต่ยังใช้ภาษาไทยได้ดีมากด้วยเช่นกัน

หลักสำคัญในการล่ามคือล่ามต้องเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าพูดก่อนจึงค่อยพูด หากเริ่มต้นประโยคแล้วล่ามเลย จะทำให้เสียสมาธิในการฟังท่อนหลังของประโยค

ล่ามจากเอกสาร ที่พบได้บ่อยคือ ล่ามอ่านบันทึกคำให้การในศาลให้คู่ความฟังก่อนคู่ความเซ็นเอกสารหรืออ่านทะเบียนสมรสก่อนผู้ขอจดทะเบียนเซ็น

ในส่วนของรายได้ ล่ามประสานงานระดับรัฐบาลได้วันละ 25,000 บาท ล่ามพูดพร้อมได้ค่าแรงตั้งแต่ 7,000 – 15,000บาท (เมื่อสิบกว่าปีก่อนพี่ที่รู้จักกันบอกว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงไปทำหน้าที่ล่ามในการประชุมเชิงวิทยศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะด้านตรงกับที่ท่านสอนท่านได้ค่าแรงวันละ 50,000 บาท)

ในประเทศไทย ขณะนี้มีเพียงล่ามภาษามือที่มีพ.ร.บ. รองรับ ทำให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างมากและขึ้นทะเบียนอย่างรัดกุมโดยต้องมีผู้รับรองที่เป็นหน่วยงานด้านการพิการทางการได้ยิน

มีคนถามว่า หากล่ามไม่รู้คำศัพท์ ทำอย่างไร อาจารย์แนะนำว่าถ้ามีเวลาก็เปิดพจนานุกรมตอนนั้นเลย (เพื่อนเราทำล่ามให้คนไข้ที่โรงพยาบาล บางคำก็ไม่รู้ศัพท์ก็เปิดพจานุกรมจากมือถือให้หมออ่านตอนนั้น) หรือหากไม่มีเวลาให้เปิดพจนานุกรม ก็ใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงแต่อาจจะกว้างกว่า

หากล่ามแปลผิด เป็นอะไรไหม อาจารย์ตอบว่า ถ้าไม่ได้เจตนา ก็ไม่เป็นไร งานล่ามยากที่จะทำได้ 100% แต่บางกรณีไม่มีเจตนาแต่ก็มีผลกระทบ เช่น ในรายการสัมภาษณ์วง DVICIO คุณสรยุทธ์ พูดว่า “โอ้โห วงนี้คัดหน้าตาหรือเปล่าเนี่ย” โดยมีเจตนาชมนักร้องแต่บทแปล แปลว่า “โซนี่เลือกคุณมาเพราะหน้าตาใช่ไหม” ซึ่งผิดเจตนา (ในชั้นบรรยายเสนอว่าอาจจะแปลเป็น “ต้องหล่อถึงจะเข้าวงได้ใช่ไหม”หรือ “หน้าตาดีทุกคนเลย” จะไม่ผิดเจตนาของผู้พูด)

กรณีผู้พูดพูดยาวมากมาก ให้แบ่งมาล่ามเป็นตอนๆ ให้จำไว้ว่า (1) ฟังให้รู้เรื่องก่อนค่อยพูด (2) ล่ามต้องพูดให้จบประโยค (3) ประโยคต้องได้ใจความในตัวมันเอง

จากนั้นวิทยากรให้ลองทำ ล่ามจากเอกสารโดยอ่านย่อหน้าภาษาไทยในเอกสารประกอบการบรรยาย แล้วพูดเป็นภาษาอังกฤษให้เพื่อนฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คนที่นั่งข้างๆเราคืออาจารย์จาก ม.มหาสารคาม เป็นหนึ่งในคณะจัดทำมาตรฐานการแปลที่เริ่มดำเนินงานเมื่อ3 ปีที่แล้ว ข้างหน้าอาจารย์คือคุณขนิษฐา(แคท) ซึ่งเป็นเพื่อนตอนเรียนภาษาไทยของ ส.ป.ล.ท. ตอนนี้แคททำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ที่ต้องใช้ทักษะล่ามด้วย

เล็กๆ น้อยๆ ที่แนะนำไว้ในชั้นเรียนคือ หากล่ามไม่เข้าใจผู้พูด สามารถถามเฉพาะจุดที่ไม่เข้าใจได้ดีกว่าบอกให้ผู้พูดพูดใหม่ทั้งหมด

ล่ามต้องรักษาระดับภาษา ตรงนี้อาจสงสัยว่ากรณีล่ามศาลหากใช้ศัพท์กฎหมาย ผู้ต้องหาอาจจะไม่เข้าใจ ควรจะใช้ศัพท์ที่ง่ายขึ้นหรือไม่ อาจารย์บอกว่ากรณีสหรัฐอเมริกา ต้องใช้ศัพท์ระดับเดียวกับเจ้าของคำพูดมิฉะนั้นจะถือว่าเป็น unfair advantage คือโจทก์เป็นคนอเมริกันใช้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว จำเลยเป็นคนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หากล่ามใช้ศัพท์ที่ง่ายให้จำเลยเข้าใจโจทก์ก็จะเสียเปรียบในด้านภาษา (อย่างที่รู้กันคือ ภาษากฎหมาย แม้จะเป็นภาษาเดียวกับที่ใช้แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจ)

หากผู้พูด พูดไม่สุภาพ ล่ามก็ต้องพูดไม่สุภาพด้วยเพื่อสะท้อนทัศนคติของผู้พูดหากเป็นคดีความในชั้นศาล ลักษณะคำพูดอาจมีผลต่อการตัดสินของศาล (ที่เคยผ่านหูมาคือ หากผู้พูดลังเล ล่ามก็ต้องทำเสียงลังเลขณะล่ามด้วย)

จรรยาบรรณของล่าม คือ (ก) ต้องซื่อตรงกับต้นฉบับไม่แปลผิด ตก เติม (accuracy) แม้ผู้พูดจะพูดนอกเรื่องก็ต้องล่ามส่วนนั้นด้วย (ข) ต้องรักษาความลับ (confidentiality) (ค) ต้องเป็นกลาง (impartiality) เช่น หากทำล่ามให้คนพม่าแต่ล่ามมีอคติกับคนชาตินี้ ล่ามอาจไม่สามารถวางตัวเป็นกลางได้ (ค) รับงานตามความสามารถ (competency) เช่น ล่ามได้ในระดับสื่อสาร ไม่ควรรับงานที่เป็นการล่ามสำคัญอย่างในคดีความ

ใครสนใจอาชีพนี้ ลองเริ่มด้วยการดูวิดีโอ interpreter training clip ค้นได้จากเน็ต

**************

ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดโครงการอบรมด้านการแปลและการล่าม หลายหลักสูตร ทั้งการแปลเบื้องต้น การแปลเอกสารทางธุรกิจเบื้องต้น การแปลเอกสารทางด้านกฎหมายเทคนิคการล่ามพูดตามเบื้องต้น รับสมัครวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ถึง วันที่ 17 มกราคม 2562 ค่าธรรมเนียมอบรมการแปล สำหรับบุคคลทั่วไปคนละ 6,000 บาท  โครงการอบรมด้านการล่ามสำหรับบุคคลทั่วไป คนละ 10,000 บาท  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.arts.chula.ac.th/~tran/th/news-relation.php?id=104




Create Date : 25 ธันวาคม 2561
Last Update : 25 ธันวาคม 2561 9:06:19 น.
Counter : 9771 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ธันวาคม 2561

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog