นักแปลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบความแท้จริงของเอกสาร
นักแปลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบความแท้จริงของเอกสาร

สื่บเนื่องจากมีลูกค้าโทรมาชวนคุยคุยไปคุยมา ก็บอกว่ามีข่าวใหญ่ในซิดนีย์ คนโดนหลอกโอนเงิน “ทำไมน้องตกข่าว” พี่เขาทักมา ทำให้อยากรู้ ค้นเน็ตเจอข่าวผู้เสียหายรวมกลุ่มกันแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศสกุลเงินออสเตรเลีย มีผู้เสียหายกว่า 300 รายมูลค่าความเสียหาย 3 ร้อยล้านบาท (อ่านข่าวเต็มได้ที่https://www.innnews.co.th/crime/news_230021/ ) อ่านเนื้อหาข่าวแล้ว คุ้นๆ ไล่ดูข้อความเก่าเอ้า มีคนเคยส่งคำฟ้องคดีนี้ซี่งฟ้องในประเทศไทย มาให้แปลเพราะจะนำไปยื่นดำเนินคดีในออสเตรเลียเสนอราคาไปแล้วแต่ลูกค้าไม่ยืนยันสั่งจ้าง

ไล่อ่านต่ออีกหลายเว็บเจออีกข่าว อันนี้ตกใจยิ่งกว่า คือช่วงเดือนกันยายน มีข่าวว่าคนไทยแจ้งความจับอดีตพนักงานการตลาด ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศแห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ โกงเงินค่าเรียนของนักเรียนคือนักเรียนจ่ายเงินให้แต่ไม่นำส่งเพื่อชำระค่าเทอมที่โรงเรียนและมีการปลอมแปลงเอกสารหลายอย่าง เช่น สลิปเงินของธนาคาร ใบอนุปริญญา ใบรับรองต่างๆให้เด็กนักเรียน จนโรงเรียนจับได้ว่าเป็นของปลอมเพราะเอาไปยื่นขอวีซ่ากับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (อ่านข่าวเต็มได้ที่ https://www.thairath.co.th/content/1379744 )

ตกใจต่อที่หนึ่งคือ ผู้ต้องหารายนี้ใช้บริการแปลเอกสารของเรามาตั้งแต่ปี 2014 ทีแรกไม่แน่ใจว่าคนเดียวกันหรือเปล่า ลองค้นอีเมลดูนามสกุล ก็ปรากฏว่าเป็นคนเดียวกัน เปิดแฟ้มในคอมพิวเตอร์ดูว่าแปลเอกสารไปให้เยอะมั้ย ไม่เยอะแต่ก็ไม่ถือว่าน้อย เป็นเอกสารนักเรียน บางคนแปลใบเดียว บางคนแปลหลายใบ มีแปลตั้งแต่ใบเกรด ใบวุฒิ ใบอบรมนวด สปา ช่าง โฉนดที่ดิน ทะเบียนการค้า หนังสือรับรองบริษัท รายการเดินบัญชีธนาคาร ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อ และอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่านักเรียน ก็เลยทำให้ตกใจต่อที่สองคือผู้ต้องหาโดนคดีปลอมแปลงเอกสาร แล้วคนแปลจะโดนเอี่ยวด้วยมั้ย

ขอบอกว่าลูกค้าส่งอะไรมาให้แปลก็แปลเพราะตามหลักการแล้ว นักแปลมีหน้าที่แปล ไม่ได้มีหน้าที่เช็คว่าเอกสารที่ส่งมาแปลเป็นเอกสารของจริงหรือไม่ คนที่มีหน้าที่เช็คความแท้จริงของเอกสารคือหน่วยงานที่รับเอกสาร เช่น มหาวิทยาลัยที่นักเรียนสมัครเรียนจะเป็นคนเช็คว่านักเรียนจบวุฒินี้มาจริงหรือไม่ก่อนจะมาสมัครเรียน) สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นคนเช็คว่า รายการเดินบัญชีธนาคาร มีเงินอยู่ในนั้นจริงหรือไม่

บางคนคิดว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวหน่วยงานรับเอกสารไม่น่าจะเช็คได้ อย่าอย่าคิดอย่างนั้น เพราะมีคนเล่าให้ฟังว่า นักเรียนคนหนึ่งยื่นสมุดบัญชีธนาคารตัวจริงเพื่อเป็นหลักฐานทางการเงินประกอบการขอวีซ่านักเรียน เมื่อเอเจนท์นำส่งเอกสารไปยังกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ออสเตรเลีย ก็ถูกตีกลับและแจ้งเอเจนท์ว่าให้เช็คกับนักเรียนอีกครั้งว่าสมุดบัญชีธนาคารนี้เป็นเล่มจริงหรือไม่ เอเจนท์กลับมาคาดคั้นนักเรียน ก็ได้รับคำสารภาพว่ามีคนรับจ้างทำเล่มสมุดบัญชีธนาคาร เสียเงินไปหลายหมื่นบาท ได้เป็นเล่มออกมาเหมือนเล่มจริงๆ ที่คนทั่วไปใช้กัน ส่วนของไทยเราก็อย่างที่เป็นข่าวประจำคือนักเรียนถูกไล่ออกหรือถูกถอนวุฒิเพราะนำวุฒิปลอมมาสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย แสดงว่ามหาวิทยาลัยตรวจสอบหลักฐานการสมัครจริงแต่อาจจะไม่ตรวจพบทันทีที่สมัคร อาจจะทยอยตรวจหรือสุ่มตรวจแล้วเจอภายหลัง

กรณีอย่างนี้ นักแปลป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งโดยการระบุในเอกสารแปลเพิ่มเติมว่า“The translator, in providing this certification, gives no warrant as to the authenticity of the source document.” (นักแปลไม่รับรองความแท้จริงของเอกสารที่ส่งมาแปล) ตามแนวทาง Best Practice ของ AUSIT ถึงอย่างไร หากนักแปลรู้แน่ชัดว่าเอกสารที่ส่งมาแปลเป็นเอกสารปลอม (อาจจะเห็นกับตาว่าลูกค้าปลอมเอกสาร) แล้วยังแปลเอกสารปลอมโดยรู้อยู่ใจ ก็ถือว่ามีส่วนในการกระทำความผิดคือปลอมเอกสาร

ไหนๆ แล้ว ขอเล่าไปถึงการรับรองเอกสารโดย Justice of the Peace (JP) ในออสเตรเลีย ถ้าจะรับรองสำเนาเพื่อนำไปยื่นกับหน่วยงานราชการคนที่เซ็นหลักๆ จะเป็น JP ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากทางราชการ สมัยก่อน JP จะระบุข้อความรับรองสำเนาว่า“Certified true copy of original signed by me.” แต่เมื่อไม่นานมานี้ ข้อความเปลี่ยนเป็น “I certify this to be a true and accurate copy of the document reported to me to be the original document.” ซึ่งก็เป็นการป้องกันตนเองอย่างหนึ่งเพราะ JP ก็ไม่รู้ว่าคนที่เอาเอกสารมาให้ดูเพื่อรับรองสำเนานั้นเป็นเอกสารตัวจริงอย่างที่อ้างหรือไม่ เดี๋ยวนี้ปลอมเอกสารกันเหมือนมากสีไม่เพี้ยนเลย เอาแค่ปริ้นท์สีออกมาดูเทียบกับของจริง ถ้าใช้ปริ้นท์เตอร์ดีๆ กระดาษพรีเมียม แทบจะแยกไม่ออก ยกเว้นส่องลายน้ำ 

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 03 มิถุนายน 2563

 




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 3 มิถุนายน 2563 10:37:31 น.
Counter : 939 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2561

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog