Translating the Law: การแปลกฎหมาย




Translating the Law: การแปลกฎหมาย

บล็อกนี้พาดหัวตามหัวข้อสัมนาที่ฟังมาเมื่อพุธที่ 22 สิงหาคม ที่ RMIT ผู้พูดคือ อาจารย์ Rocco Loiacono ซึ่งสอน Masters of Translation Studies ที่ the University of Western Australia และสอนวิชาวิจัยกฎหมายบางสาขาเพราะอาจารย์จบนิติศาสตรบัณฑิตด้วย ปัจจุบันอาจารย์เป็นประธานของ The Australian Institute of Interpreters and Translators (AUSIT)

เนื้อหาโดยรวมที่พูดในวันนี้มีทั้งประวัติศาสตร์ของการแปลกฎหมายและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและมีการยกตัวอย่างประกอบ

(นี่เปิดดูโน๊ตตัวเองกลุ้มใจอ่านลายมือไม่ออกอีกแล้ว)

ภาษากฎหมายต่างจากภาษาทั่วไปมากไม่เหมือนภาษาที่เราใช้กัน ภาษากฎหมายมีขอบเขตเพื่อการนำไปใช้และมีขนบทางภาษาศาสตร์ของตัวเอง ถึงแม้จะเขียนแบบ plain English ก็ยังเจอปัญหาด้าน semantic ในทุกระดับ

ภาษากฎหมายโดยตัวมันเองมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านวัฒนธรรมและสังคมของประเทศที่เขียนเอกสารชิ้นนั้น เอกสารภาษากฎหมายไม่ว่าจะที่นำไปใช้โดยการพูดหรือการเขียนจัดทำการกำกับดูแลพฤติกรรมของคนในสังคม

ภาษากฎหมายเรียกอีกอย่างว่า Language for Special Purposes (LSP) เรียกว่า ภาษาที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ

ภาษาที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะนี้พบได้ในเอกสารหลายประเภทเช่น การออกแบบเว็บไซต์ การควบรวมกิจการ งานด้านอุตุนิยมวิทยา และอื่นๆ

คำทั่วไปที่ใช้กันเมื่อนำมาใช้ในฐานะภาษาที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในทางกฎหมายจะมีความหมายคนละอย่าง เช่น consideration (price paid for something), execute (sign), instrument (piece of legislation)

ภาษากฎหมายมีความกำกวมเช่น in good faith, reasonable person ต้องตีความว่าเป็นอย่างไร

ภาษากฎหมายหลายครั้งอยู่ในรูป Binomialsหรือ Trinomials คือคำที่มักจะเขียนซ้อนกันเช่น breaking and entering หรือ will and testament หรือ give, devise and bequeath หรือ ready,willing and able (อ่านเพิ่มได้ที่ https://comet.fflch.usp.br/sites/comet.fflch.usp.br/files/u30/Apresenta%C3%A7ao_carvalho.pdf)

ภาษากฎหมายจะเชื่อมโยงกับระบบกฎหมายระบบใดระบบหนึ่งด้วยทำให้แปลได้ยากเช่น ระบบทรัสต์ของอังกฤษ หรือคำว่า Crown lands

ภาษากฎหมายมีลักษณะที่ต้องการให้เกิดผล(performative) โดยจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

ภาษากฎหมายแบ่งตาม function (หน้าที่) ออกเป็น normative เช่น ตัวบทกฎหมายสนธิสัญญา informative เช่น คำพิพากษา หน้าที่ของต้นฉบับกฎหมายคือตัวกำหนดคำแปล

สนธิสัญญาเวียนนา 1969 ข้อ 33(3) บัญญัติไว้ว่า “When a treaty has been authenticated in two or more languages, the text is equally authoritative in each language, unless the treaties provide or the parties agree that, in case of divergence, a particular text shall prevail.” (https://www.uncitral.org/pdf/english/clout/digest2008/p4_authentic_text.pdf)

กฎหมายแบ่งออกเป็น Common Law (England) ยึด case law เป็นหลัก และ Civil Law (Europe) ที่ยึดตามตัวบทกฎหมาย 

“To translate into English technical words used by lawyers in France, in Spain, or in Germany is in many cases an impossible task, and conversely there are no words in the languages of the continent to express the most elementary notions of English law. (Gotti 2009: 56)

ในทางทฤษฎีแล้ว Reissและ Vermeer บอกว่าทฤษฎี Skopos ใช้ได้กับเนื้อหาทุกประเภท ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะมีหน้าที่อะไร Newmark เห็นว่า การแปลเอกสารกฎหมายนั้นมีข้อจำกัดมากกว่าการแปลในรูปแบบอื่นๆ ส่วน Hatim และ Masonบอกว่า เนื้อหาเฉพาะอย่างตัวบทกฎหมายและสนธิสัญญานั้นมีลักษณะเป็น “instructional”นั่นคือ กำกับโดยการสั่ง

Fédération Internationaledes Traducteurs / International Federation of Translators มี Charter ซึ่งกำหนดไว้ว่า “4. Every translation shall be faithful and render exactly the idea and form of the original this fidelity constituting both a moral and legal obligation for the translator. 5. A faithful translation, however, should not be confused with a literal translation, the fidelity of a translation not excluding an adaptation to make the form, the atmosphere and deeper meaning of the work felt in another language and country.”

ถ้าจะใช้หลักทางสายกลางก็อ้างอิง Functionality + Loyalty ตามหลักของ Nordนั่นคือ แปลออกมาให้เอกสารใช้งานได้ตามหน้าที่ที่ประสงค์โดยในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เขียนเอกสารและผู้อ่านตัวบทแปล 

“Legal translators are mediators between legal cultures” คำว่า mediate นี้ก็ใช้แทนคำว่า translate อย่าง University of Bologna ใช้คำว่า Linguistic mediation jurisprudence (ไม่ใช้ legal translation)

ศัพท์กฎหมายคำเดียวกันเมื่อใช้ในระบบกฎหมายคนละระบบ จะมีขอบเขตต่างกัน เช่น bankruptcyในออสเตรเลีย บริษัทจะไม่ bankrupt แต่ใช้คำว่าinsolvent

ยกตัวอย่าง ข้อ 2.2(a)ของ Statue for International Criminal Tribunal for Rwanda (2010) คำว่า killing ในภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า meutre (murder) ปัญหาคือ ทำว่า meutre มันแฝงเจตนาในการฆ่าในขณะที่คำว่า killing ไม่เจาะจงว่ามีเจตนาในการฆ่าหรือไม่ (unintentional killing = manslaughter)

คำว่า actof god (an extraordinary natural event) กับ forcemajeure (unforeseeable circumstances that prevent someone from fulfilling acontract) ใกล้เคียงกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้ กรณีเคสเคลมประกัน บริษัทประกันย่อมจะเลือกคำแรกมากกว่าเพราะขอบเขตความรับผิดแคบกว่า

อาจารย์ยกตัวอย่างกฎหมายเรื่องการขับขี่ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ลักษณะการขับขี่ที่จะทำให้โดนจับคือ careless (i.e. ไม่คุ้นกับถนน ดูจีพีเอสระหว่างขับ คือไม่ได้ตั้งใจ), reckless (i.e. burnout คือรู้ว่าทำแล้วเดือดร้อนชาวบ้านก็ยังทำ), dangerous (driving under influence (ไม่ได้หมายความว่าเมาเหล้าอย่างเดียวกินยาแล้วง่วงก็นับด้วย) ขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป) แค่ระดับของการขาดความระมัดระวังนี้ เวลาแปลเป็นภาษาอื่นก็ต้องค้นเยอะอยู่นะ

เคสสายการบิน Qantas โดนผู้โดยสารฟ้องเรื่องได้รับบาดเจ็บระหว่างการเดินทางเนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis หรือ DVT) สายการบินต่อสู้ว่าเป็น ‘accident’ คดีนี้จบยังไง โปรดอ่านเองที่ https://classic.austlii.edu.au/au/journals/PrecedentAULA/2013/93.pdf

ระบบศาลก็น่าสนใจในออสเตรเลียมี Supreme Court, County Court, Magistrate Court (คุณเดฟ หนึ่งในกรรมการของ NAATI บอกว่า ในอินโดนีเซียมีแค่ 2 ศาล เวลาแปลจากศาลออสเตรเลียมาเข้าระบบศาลอินโดนีเซียคุณเดฟใช้คำว่า higher court)

แหล่งข้อมูลกฎหมาย เช่นhttps://www.lexisnexis.com.au/en/homepage,www.austlii.edu.au, หรือ อ่านจากเคสเก่าๆ ก็จะได้รู้ศัพท์ที่ใช้ในระบบกฎหมายของประเทศนั้นๆ (เราอ่านประจำเวลาเจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจ) 

พจนานุกรมที่แนะนำ เช่น Black’sLaw Dictionary (คลาสสิกเนอะ ตั้งแต่เริ่มทำงานกับสำนักกฎหมายเมื่อ 20ปีก่อน ก็ได้เห็นเล่มนี้เล่มแรก) Westlaw Dictionary




Create Date : 26 สิงหาคม 2561
Last Update : 26 สิงหาคม 2561 15:41:42 น.
Counter : 2437 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
สิงหาคม 2561

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
29
30
31
 
 
All Blog