"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
ศึกษา "พระเจ้าตากสิน" บนเส้นทางประวัติศาสตร์

ปรวรรณ วงษ์รวยดี



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติศาสตร์ที่ได้รับความสนใจเสมอมาทั้งในแวดวงวิชาการและงานเขียนต่างๆ คือเรื่องราวในยุคพระเจ้า ตากสินแห่งราชวงศ์กรุงธนบุรี

งานเสวนา "อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และพระบารมีของพระเจ้าตาก" จัดโดยมติชนอคาเดมี ร่วมกับนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เปิดประเด็นถึงตำนานหรือเรื่องราวตามบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์ และปาฏิหาริย์ของพระเจ้าตากสินที่เกิดขึ้นหลายครั้ง

โดยเฉพาะในช่วงที่ทรงรวบรวมไพร่พลกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าในปี 2309 เรื่อยมาจนถึงปี 2314 เช่น เกิดฝนตกห่าใหญ่ก่อนการรบกับพม่า พระเจ้าตากทำพิธีเรียกฝน ถูกยิงไม่ตาย เรียกน้ำ สั่งลม ทำให้คลื่นลมสงบ กระทั่งได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี

อาจารย์ปรามินทร์ เครือทอง นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" "พระเจ้าตากเบื้องต้น" และ "อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และพระบารมีของพระเจ้าตาก" ตั้งข้อสังเกตว่า

ปาฏิหาริย์เหล่านั้น ล้วนถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความชอบธรรมทางการเมืองของพระเจ้าตาก ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีพื้นเพมาจากสามัญชน เป็นพ่อค้าเกวียน ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สมัยอยุธยา

อีกทั้งเมื่อเทียบช่วงเวลาการเกิดปาฏิหาริย์ พบว่าเกิดขึ้นอย่างผิดปกติ คือมีความเกี่ยวข้องกับการเลื่อนตำแหน่งของเจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี) ทุกครั้ง

ปี 2318 เป็นช่วงรุ่งเรืองของเจ้าพระยาจักรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ส่วนพระเจ้าตากเริ่มไม่มีบทบาท ไม่ออกรบ และเข้าวัดทรงกรรมฐาน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเพื่อแสวงหาอำนาจในแวดวงศาสนาแทนอำนาจทางการเมืองที่เริ่มเสื่อมถอยลง จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดกรุงธนบุรีในปี 2325

เพื่อให้เห็นภาพการจลาจลในช่วงปลายสมัยพระเจ้าตากชัดเจนขึ้น ทัวร์ศิลปวัฒนธรรม นำโดย อ.ปรามินทร์ พาคณะกว่า 30 ชีวิต ออกเดินทางย้อนรอยประวัติศาสตร์ เริ่มจุดหมายแรกที่พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี) ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ปัจจุบันตั้งอยู่ในกองบัญชาการกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่

ภายในมีอาคารโบราณสถานสำคัญ เช่น อาคารท้องพระโรงกรุงธนบุรี อาคารตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี อาคารเก๋งคู่หลังเล็ก และอาคารเก๋งคู่หลังใหญ่ ซึ่งปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของโบราณ

อาคารเรือนเขียว ศาลศีรษะปลาวาฬ และป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตามพงศาวดารระบุว่าเป็นที่ประหารพระเจ้าตาก

อ.ปรามินทร์ชี้ว่า การสร้างพระราชวังสมัยธนบุรีเป็นแบบเรียบง่าย ไม่ใหญ่โตโอ่โถงเหมือนวังสมัยอยุธยา หรือพระบรมมหาราชวังในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังการยึดอำนาจพระเจ้าตากในช่วงต้นรัตน โกสินทร์ พระราชวังเดิมยังเป็นที่อยู่ของเจ้าฟ้า และนายชั้นสูงหลายพระองค์

ข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยามาที่วัดอรุณราชวราราม (วัดมะกอก) ติดกับกองบัญชาการกองทัพเรือฝั่งเหนือ ชมพระแท่นที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้นั่งบำเพ็ญกรรมฐาน

อ.ปรามินทร์เล่าว่า หลังศึกอะแซหวุ่นกี้ พระเจ้าตากสิน ซึ่งฝักใฝ่ทรงกรรมฐานอยู่ระยะหนึ่ง ได้ประกาศให้ผู้คนทราบว่าทรงบรรลุโสดาบันแล้ว ทรงเรียกพระราชาคณะและพระชั้นผู้ใหญ่เข้ามาถามว่า พระภิกษุจะกราบไว้คนธรรมดา หรือคฤหัสถ์ที่บรรลุโสดาบันได้หรือไม่

ความเห็นของเหล่าภิกษุแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งว่าได้ อีกฝ่ายว่าไม่ได้ พระเจ้าตากสินทรงพิโรธ รับสั่งให้ถอดสมณศักดิ์ภิกษุฝ่ายที่บอกว่าไม่ได้

คือสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) พระพุฒาจารย์วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทรารามวรวิหาร) และพระพิมธรรม วัดโพธาราม สั่งให้เฆี่ยนทั้ง 3 พระองค์ พร้อมกับภิกษุทั้ง 3 วัด รวม 500 รูป แล้วให้ไปขนถังอาจม และชำระเวจกุฎี (ล้างห้องน้ำ) ที่วัดหงส์

เหตุการณ์นั้นสร้างความสะเทือนใจในหมู่ประชาชน เพราะไม่เคยมีภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมจิตใจ ถูกกระทำอย่างน่าสังเวชเช่นนี้มาก่อน

ช่วงปลายสมัย พระเจ้าตากให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ และเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นำทัพไปปราบจลาจลที่กัมพูชา เมืองประเทศราช โดยตั้งใจว่าเมื่อเสร็จศึกจะให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ครองเมืองกัมพูชาเสีย

ระหว่างนั้นที่เมืองเก่าอยุธยา นายบุนนาค บ้านแม่ลา หลวงสุระ และหลวงชนะ ลุกขึ้นก่อการกบฏเพราะคับแค้นที่ทางการบังคับรีดไถเงินราษฎรจนเป็นที่วุ่นวาย พระเจ้าตากสั่งให้พระยาสรรค์ไปปราบกบฏ

แต่พระยาสรรค์ไปพบว่า หนึ่งในหัวหน้ากบฏคือน้องชายของตัวเอง จึงได้ร่วมกันยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี และคุมตัวพระเจ้าตากสินไปขังไว้ โดยให้พระเจ้าตากสินบวชอยู่ที่วัดอรุณฯ

ฝ่ายเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อยกทัพออกไปแล้ว ก็แอบทำสัญญาให้กองทัพญวนและเขมร ล้อมทัพของขุนอินทรพิทักษ์ไว้ไม่ให้รู้ว่าเกิดจลาจลที่กรุงธนบุรี

พระยาสรรค์นั้นเดิมตั้งใจจะขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แต่ข่าวแพร่งพรายออกไป เจ้าพระยาสุริยอภัย หลานของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกใช้เวลาเพียง 10 วัน ยกทัพจากนครราชสีมามากรุงธนบุรี เข้าปราบกบฏพระยาสรรค์ และจับขังไว้

รอเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับมาสำเร็จโทษ โดยการประหารชีวิต ที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในเขตพระราชวังเดิม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325

อ.ปรามินทร์ วิเคราะห์ว่า การที่พระเจ้าตากสินเจ้าทรงกรรมฐาน และพยายามสร้างปาฏิหาริย์เพื่อเรียกคืนศรัทธากลับมาอีกครั้งในช่วงที่อำนาจถดถอย เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

นอกจากไม่สามารถเรียกคืนศรัทธาได้อย่างที่หวังแล้ว กลับถูกกล่าวหาว่า "บ้า" กลายเป็นประโยชน์ต่อการเมืองฝ่ายตรงข้ามไป

ประกอบกับพระจริยวัตร หรือธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพระเจ้าตากสิน แหกธรรมเนียมในรั้วในวัง โดยถือความเรียบง่าย ไม่มีพิธีรีตอง กระทำนอกกรอบโบราณราชประเพณีหลายอย่าง

ทั้งยังทรงแต่งตั้งโยกย้ายขุนนางตำแหน่งสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับ "เพื่อนร่วมรบ" มากกว่าการสืบสายอำนาจตามสายเลือด สร้างความไม่พอใจให้กับอำมาตย์เก่า ทรงถูกวิจารณ์ว่าฟั่นเฟือน หลุดจากกิริยาแห่งพระราชา และนำไปสู่จุดจบกรุงธนบุรี

ดังที่รัชกาลที่ 1 มีดำริว่า "...พระมหากษัตรแต่ก่อนมีแต่ประมาทโมหะเปนมูล มิได้มีวิจารณ์ปัญญาพิจารณาปฏิบัติตามพระราชสาตรโบราณประเพณี ก็เสียศิริสวัสดิมงคล เทพยดาอันมีฤทธิศักดิ์สิทธิ์เกลียดชัง จึ่งมิได้อภิบาลรักษาก็เกิดอุปัทววันตรายพิบัติภัยต่างๆ จนแผ่นดิน จุลาจล..."

อ.ปรามินทร์ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุทั้งหมดไม่ใช่ความบังเอิญ ไม่ว่าพระยาสรรค์จะก่อกบฏหรือไม่ แต่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพรรคพวก ก็ตั้งใจจะยึดกรุงธนบุรีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่โดนสั่งให้ไปปราบกบฏที่เขมร

แต่พอเกิดศึกในวัง ก็กลับมาภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ประกอบกับคนของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจำนวนมากอยู่ในกรุงธนบุรี ในช่วงก่อนเกิดเหตุจลาจลอย่างเป็นที่น่าสงสัย และกลุ่มหัวหน้ากบฏที่ร่วมกับพระยาสรรค์หลายคนได้รับตำแหน่งใหญ่โตในสมัยรัชกาลที่ 1

ยังมีตำนานหนึ่งที่เชื่อว่าพระเจ้าตากสิน ไม่ได้ถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ แต่หนีภัยการเมืองไปอยู่ที่นครศรีธรรมราช เป็นที่ถกเถียงกันพอสมควร

อ.ปรามินทร์นำคณะทัวร์เดินมาที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ ภายในมีศาลพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งสร้างขึ้นตามตำนานที่ว่า หลังจากสวรรคตแล้ว ทหารนำร่างพระเจ้าตากสินลงเรือมาขึ้นฝั่ง แล้วเลือดจำนวนหนึ่งหยดลงบริเวณนี้ ชาวบ้านจึงสร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้

จึงเป็นคำถามว่า หากพระเจ้าตากสินไปนครศรีธรรมราชจริง เหตุใดจึงมีตำนานหยดเลือดที่วัดหงส์แห่งนี้?

"ตำนานที่ว่าพระเจ้าตากสินไม่ได้ถูกประหาร แต่เสด็จลงเรือไปนครศรีธรรมราชนั้น ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ หากดูตามประวัติศาสตร์ไทย ตำนานนี้มาเกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หลายอย่าง พร้อมๆ การเกิดนวนิยาย "สี่แผ่นดิน"

ซึ่งอาจเป็นการเรียกคืนศรัทธาในช่วงที่สถาบันกษัตริย์ตกต่ำ และล้างข้อคิดเห็นว่าพระยาจักรีสั่งฆ่าเพื่อนตัวเอง ทั้งที่ว่ากันตามหลักฐานความสัมพันธ์ สองคนนี้ไม่ได้เป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว"

จบทัวร์ที่วัดอินทารามวรวิหาร ถนนเทอดไท เขตบางยี่เรือ สันนิษฐานว่าเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าตากสิน ซึ่งหลังจากรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี เมื่อการเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง ทรงสั่งให้ ขุดพระบรมศพพระเจ้าตากสินขึ้นมา "ฌาปนกิจ"

ต่อมา รุ่งขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ.2328 พระราชวังใหม่เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงโปรดให้มีพระราชพิธีปราบดาภิเษกตามโบราณราชประเพณี จัดงานฉลองสมโภชพระนครแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร"

เป็นการปิดฉากอดีต และเริ่มต้นแผ่นดินใหม่อย่างแท้จริง

หน้า 21


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

คุณปรวรรณ วงษ์รวยดี

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




Create Date : 05 มกราคม 2558
Last Update : 5 มกราคม 2558 7:17:49 น. 0 comments
Counter : 978 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.