กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
24 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ความหมาย นิพพาน

ถาม 450

> ทำไมคนพุทธถึงต้องการเข้านิพพานละเพราะการเข้านิพพานคือการหลับไม่ตื่นอีก แปลกเนาะชาวพุทธต้องการให้ตัวเองสูญสลาย

https://www.facebook.com/groups/800582937198178/?hoisted_section_header_type=recently_seen&multi_permalinks=1393965724526560


    235 ลักษณะสำคัญของนิพพาน   ที่สืบเนื่องมาจากความหมายว่า "ดับ"  ซึ่งนับว่าเด่นน่าสนใจ มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

          ๑. ดับอวิชชา    หมายถึง   การเกิดญาณทัศนะอันสูงสุด หยั่งรู้สัจธรรม

          ๒. ดับกิเลส    หมายถึง   กำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่างๆ ภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อปัญหาความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิตและสังคม

          ๓. ดับทุกข์     หมายถึง   หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด

     เฉพาะลักษณะที่ ๓ คือ ความสุข หรือความดับทุกข์สิ้นทุกข์นี้ แม้จะได้ย้ำไว้บ้างแล้ว ในตอนว่าด้วยภาวะจิตของผู้บรรลุนิพพาน แต่ยังมีข้อที่ควรศึกษาเป็นพิเศษอีกบางอย่าง จึงนำมากล่าวเพิ่มเติมไว้ต่างหาก ณ ที่นี้

     ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกต่างหากจากความสุข

     เริ่มแต่ขั้นต้น ในการทำความดีหรือกรรมดีทั่วๆไป ที่เรียกว่า บุญ ก็มีพุทธพจน์ตรัสว่า “บุญเป็นชื่อของความสุข” 

     ในการเจริญภาวนา   บำเพ็ญเพียรทางจิต   ความสุขก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิ ดังพุทธพจน์ว่า   “ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น”  และถือเป็นหลักว่า สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน   ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ   บรรลุฌานแล้ว   ความสุขก็เป็นองค์ประกอบของฌาน   ดังที่เรียกว่าเป็นองค์ฌาน   ต่อไปจนถึงฌานที่ ๓ ฌานสมาบัติที่สูงกว่านั้นขึ้นไป   แม้จะไม่มีสุขเป็นองค์ฌาน   แต่ก็กลับเป็นความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก

     จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็นความสุข และเป็นบรมสุข คือสุขสูงสุดด้วย 

     นอกจากนั้น   จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา  ที่เป็นบรมสุข หรือโพธินั้น ก็พึงบรรลุได้ด้วยความสุข หรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข  มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์  หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์ 

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=21-11-2023&group=86&gblog=43

 


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 18 ธันวาคม 2566 8:26:01 น. 0 comments
Counter : 219 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space