กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
space
space
5 กุมภาพันธ์ 2566
space
space
space

ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้



ถาม   450   121

> รู้ว่าต้องใช้อิทธิบาท 4  (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) แต่จะบังคับใจตัวเองให้ขยันได้อย่างไรคะ ด้วยวิธีทางศาสนา


ยังนิสัยที่ถาวรเหมือนเดิม ออกแนว "ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้" ค่ะ มีวิธีการบังคับตัวเองอย่างไร แก้ปัญหานิสัยขี้เกียจอย่างไรคะ

วิริยะ ปารมี สัมปันโน วิริยะ อุปปปารมี สัมปันโนววว วิริยะ ปรมัตถปารมี สัมปันเยส (แอบแปลงเพลงสวด ไม่รู้จะบาปไหม)  หรือว่าจะต้องใช้อุบาย หรือกุศโลบาย

https://pantip.com/topic/41855867


235 เรื่องอิทธิบาท. ศึกษาหลักการใช้อิทธิบาท  450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=31-10-2023&group=82&gblog=99


235 เอามาตรงนี้หน่อย


> สาระของการสร้างสมาธิตามหลักอิทธิบาท   ก็คือ   เอางาน   สิ่งที่ทำหรือจุดหมายที่ต้องการ เป็นอารมณ์ของจิต   แล้วปลุกเร้าระดมฉันทะ  วิริยะ   จิตตะ   หรือวิมังสา  เข้านำหนุน สมาธิก็เกิดขึ้น และมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

   โดยนัยนี้ ในการปฏิบัติธรรมก็ดี ในการเล่าเรียนศึกษา หรือประกอบกิจการงานอื่นใด ก็ดี เมื่อต้องการสมาธิ เพื่อให้กิจที่ทำนั้นดำเนินไปอย่างได้ผลดี ก็พึงปลุกเร้าและชักจูงอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ให้เกิดผลเป็นองค์ธรรมเด่นขึ้นมาสักข้อหนึ่ง แล้วสมาธิ ความสุขสบายใจ และการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่าจะเกิดมีตามมาเอง พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่ง ก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และในสถานที่ทุกๆแห่ง


    ตัวอย่างเช่น  เมื่อจะสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ครูก็ทำตนเป็นกัลยาณมิตร โดยอาจชี้แจงให้นักเรียนเห็นคุณค่าความดีของวิชานั้น หรือเรื่องราวนั้น ให้มองเห็นว่า วิชานั้นมีประโยชน์อย่างไร  อาจเป็นประโยชน์ของตัวผู้เรียนเองเกี่ยวกับการหางานทำ  การได้รับผลตอบแทน หรือ ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต เป็นต้น (ใช้โลภะเป็นปัจจัยแก่ฉันทะ) ก็ได้ หรือถ้าจะให้ดี   ควรเป็นประโยชน์ของส่วนรวม เช่น ความเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ (ฉันทะบริสุทธิ์) ก็ได้ จนทำให้นักเรียนเกิดความรักความพอใจ อยากเรียนเพราะอยากรู้วิชานั้น  นี่เรียกว่าปลุกฉันทะ ให้เกิดขึ้น

    อีกอย่างหนึ่ง   อาจพูดปลุกเร้าในแง่ที่เป็นสิ่งท้าทายสติปัญญาความสามารถ  กระตุ้นความเข้มแข็งคึกคักที่จะเรียน หรือกล่าวถึงตัวอย่างการกระทำสำเร็จของผู้อื่น  ให้เกิดกำลังใจสู้ เป็นต้น เรียกว่า ปลุกเร้าวิริยะขึ้น

    อีกอย่างหนึ่ง อาจพูดปลุกเร้าในแง่ความรู้สึกเกี่ยวกับหน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ให้เห็นความเกี่ยวข้องและความสำคัญของเรื่องนั้น ต่อชีวิต หรือต่อสังคม เช่น เรื่องเกี่ยวกับภัยอันตราย และความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งแม้นักเรียนจะมิได้ชอบ  มิได้รักเรื่องนั้น แต่ก็จะเอาใจใส่ตั้งจิตจดจ่อเรียนอย่างแน่วแน่ เรียกว่า ทำให้เกิดจิตตะ

    อีกอย่างหนึ่ง    ครูอาจสอนตามแนวของการสำรวจตรวจสอบสืบสวนทดลอง หรือค้นคว้าหาเหตุผล เช่น ตั้งเป็นปัญหา หรือคำถาม เป็นต้น  ซึ่งทำให้นักเรียนต้องใช้วิมังสา  นักเรียนก็จะเรียนอย่างมีสมาธิได้เหมือนกัน  เรียกว่าใช้วิธีวิมังสา

    ยิ่งถ้าครูจับหลักลักษณะนิสัยของนักเรียนได้ แล้วปลุกเร้าอิทธิบาทข้อที่ตรงกับลักษณะนิสัยอย่างนั้น ก็ยิ่งดี หรืออาจปลุกอิทธิบาทหลายๆข้อไปพร้อมกันก็ได้

    ในขณะเดียวกัน ผู้เรียน หรือผู้ทำงานที่ฉลาด  ก็อาจใช้โยนิโสมนสิการปลุกเร้าอิทธิบาทขึ้นมาใช้สร้างผลสำเร็จได้ด้วยตนเอง.
 

 


Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 13 ธันวาคม 2566 8:54:22 น. 0 comments
Counter : 204 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space