กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ตุลาคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
14 ตุลาคม 2565
space
space
space

พิจารณาเห็นกายในกาย



235 พูดๆกัน เห็นกายในกาย  ดูกายในกาย  พิจารณาเห็นกายในกาย (...กายานุปสฺสี = กาย+อนุปัสสี)


    กาเย  กายานุปสฺสี   แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย"  นี้  เป็นคำแปล  ตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว  แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก
 
    ความหมายของข้อความนี้   ก็คือ  มองเห็น โดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะ หรือตลอดเวลา เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกาย  ว่าเป็นกาย     หมายความว่า   มองเห็นกายตามสภาวะซึ่งเป็นที่ประชุม หรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ   คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ   เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่น  นางนี่  เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผม ในขน ในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้น  หญิงนี้ เป็นต้น
 
    เป็นอันว่า  เห็นตรงตามความจริง  ตรงตามสภาวะ  ให้สิ่งที่ดู   ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย   ไม่ใช่ดูกาย   ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง   ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง  ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น   เข้าคติคำของโบราณาจารย์  ว่า  “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู  เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้* ที.อ.2/472/ ม.อ.1/333 วิภงฺ. อ. 284)



 ข้อความว่า  "กายในกาย" นี้ อรรถกถาอธิบายไว้ถึง ๔-๕ นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย  ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม.  ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า   ตามดูกายส่วนย่อย  ในกายส่วนใหญ่   คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น   เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง   จนมองเห็นว่าทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร  นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป  ไม่มี  นาย ก. นาง ข. เป็นต้น  เป็นการวิเคราะห์หน่อยรวมออก หรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน  เหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วย  ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้ เป็นต้น   (เวทนาในเวทนา   จิตในจิต   ธรรมในธรรม   ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=85


 


Create Date : 14 ตุลาคม 2565
Last Update : 11 ธันวาคม 2566 17:33:00 น. 0 comments
Counter : 268 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space