Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
 
9 กุมภาพันธ์ 2563
 
All Blogs
 
Konnichiwa Nihon no densha (11)



เพียงข้ามถนนก็ถึงตัวตลาดแล้ว เรียกว่าตลาดสดฮาโกะดะเตะอาสะอิชิ (ซึ่งแปลว่า ตลาดเช้าฮาโกะดะเตะ)

สินค้าที่นี่ มีทั้งของกิน และของทะเลสดที่วางขายอยู่ภายในตลาด ไม่ปะปนกัน เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 05:00 น. หรือ 06:00 น. ในฤดูหนาวจนถึง 12:00 น.

ตลาดสดฮาโกดาเตะ เป็นโอกาสที่ดีในการลองเลือกหาปลาสดที่จับได้ในฮอกไกโด รวมทั้งกุ้งลอปสเตอร์ และปูอลาสก้าตัวเบ้อเริ่มอีกด้วย

เสียดายที่อยู่ไกลบ้านไปหน่อย เลยหาซื้อมาไม่ได้สักตัว



ระหว่างที่คุณณพและผมกำลังตระเวนหาร้านอาหารอยู่นั้น อ.วิรัตน์ในฐานะผู้เจนถิ่น ได้เดินเข้าไปถึงภายในตลาด แล้วกลับมาเล่าให้ฟัง

ร้านอาหารภายในตลาดอัธยาศัยดีมากครับ นัยว่ามีนักท่องเที่ยวเข้ามาอุดหนุนเยอะ เลยเห็นเป็นเรื่องปกติ แถมทักทายเชิญชวนไม่ขาดระยะด้วยสิ



คุณณพถึงกับยกนิ้วให้เครดิตกับตลาดแห่งนี้ ท่ามกลางละอองฝนที่โปรยลงมาปรอยๆ เลยล่ะ แต่จะเห็นพ้องตามที่ผมทึกทักเอาเองนั้น ผมไม่ทราบเน้อ



หน้าสถานีฮาโกะดะเตะ ก่อนขึ้นรถไฟไปยังสถานีชิน ฮาโกะดะเตะ โฮกุโตะ (ชิน แปลว่า ใหม่)



แวะที่ร้านสะดวกซื้อหน้าสถานี เพื่อหาซื้อดื่มน้ำติดมือไปกลั้วคอระหว่างเดินทาง

สมกับคำกล่าวที่ว่า ชาวญี่ปุ่นยังชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งๆ ที่เจริญก้าวหน้าด้านระบบสารสนเทศจนถึงขั้นระดับนำของโลกก็ตาม



สำหรับผม ขอซื้อเป็นที่ระลึกติดมือมาจากฮอกไกโด ถึงแม้จะเป็นแค่นมเปรี้ยวก็ตาม



เพียงสถานีเดียวกับรถด่วน Limited Express ซุเปอร์ โฮกุโตะ ชาวคณะได้เดินทางมาถึงสถานี ชิน ฮากุดะเตะ โฮกุโตะ เพื่อขึ้นรถด่วน ชิน กังเซ็น ฮายาบูสะไปยังสถานีเซ็นได



ภายในอาคารสถานีชิน ฮาโกะดะเตะ โฮกุโตะ



ก่อนขึ้นบันไดเลื่อนไปยังชานชาลารถด่วน ชิน กังเซ็น ซึ่งอยู่ชั้นบน



ทางออกไปสู่ชานชาลาครับ ชาวคณะจำเป็นต้องรอ เพราะรถยังไม่เข้าเทียบชานชาลาสถานี แถมอากาศค่อนข้างเย็นอีกด้วย



เส้นทางรถไฟด่วนชิน กังเซ็น ฮายาบูสะ มายังสถานีเซ็นได และต่อรถไฟด่วนชิน กังเซ็น ยามาบิโกะ มายังสถานีโอมิยะ



ระหว่างลอดอุโมงค์เซกังกลับไปยังเกาะฮอนชู

ผมไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าจะมีโอกาสมาเยือนถึงซัปโปะโระ คงอีกนาน กว่าจะมีโอกาสมาอีก



พอโผล่มาที่เกาะฮอนชู บรรยากาศที่อึมครึมด้วยเมฆ ฝน และสายลม หายไปสิ้น แจ่มใสด้วยแสงแดดเหมือนเนรมิต แต่ยังมีลมที่พัดแรงข้ามไปช่องแคบสึการุจน พรร.ต้องประกาศให้ผู้โดยสารว่า รถไฟอาจลดความเร็วลง และถึงปลายทางช้ากว่ากำหนด

คุณณพ เป็นผู้แปลประกาศภาษาอังกฤษนี้ให้ผมฟังด้วย



เมืองอะโอะโมะริ ที่อยู่เหนือสุดของเกาะฮอนช



ผมมองดูรอบๆ ตัว พบป้ายกำกับให้ทราบว่า ผู้โดยสารทำอะไรได้บ้าง เช่น ปรับพนักพิง ดึงถาดอาหารที่อยู่หลังเบาะ และปลั๊กไฟฟ้าสำหรับชาร์ตอุปกรณ์ ที่มีอยู่ติดผนังด้านล่าง และมุมล่างของเบาะติดทางเดิน

แต่เป็นไฟฟ้าขนาด 100 โวลต์ 2 แอมป์ เท่านั้น หากชาร์ตไฟกับอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่หน่อย อาจใช้เวลานาน



ขอขโมยซีนน้องที่อยู่ฝั่งตรงข้าม มาประกอบโฆษณาถ้าหากมีว่า "นิ่มสบาย จนคุณหลับได้จนถึงปลายทาง"

ถาดเล็กๆ ริมหน้าต่างนั้น สามารถวางแก้วน้ำได้โดยไม่กลิ้งหกลงมาครับ



ระหว่างเดินไปห้องน้ำ ซึ่งใช้ระบบเดียวกับเครื่องบิน

ฝั่งตรงข้ามจะเป็นสถานที่เตรียมอาหารใส่รถเข็นที่พนักงานเดินจำหน่ายตามช่องทางเดิน โดยไม่เกะกะผู้โดยสารแต่อย่างใด

มีบะหมีสำเร็จรูป กาแฟ เครื่องดื่ม พอประทังหิวเท่านั้น ราคาอาจสูงกว่าร้านสะดวกซื้อตามสถานีต่างๆ นิดหน่อย แต่สามารถพึ่งพาอาศัยได้เหมือนกัน

ส่วนผู้โดยสารที่ขึ้นรถเป็นระยะทางสั้นๆ เพียงสถานีเดียว หรือสองสถานี มักจะยืนใกล้ประตูขึ้นลงมากกว่า นัยว่าสะดวกต่อการขึ้นลงกระมัง ?



ต่อชิน กังเซ็น ยามาบิโกะ จากสถานีเซ็นได ไปยังสถานีโอมิยะล่ะครับ



คุณณพ เริ่มโน้ตเส้นทางและสถานีต่างๆ ในแต่ละวัน กันลืม จากข้อมูลที่ อ.วิรัตน์ ค้นมาให้



จากวุ้นแปลงภาษาของอากู๋ บอกว่าเป็นโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูป



บ้านเรือนยังหนาแน่น จนผมคิดว่าน่าจะเปลี่ยนมุมมองสองข้างทางแล้วล่ะ



เส้นทางรถไฟช่วงนี้จะขนานไปกับเส้นทางสายโตโฮกุ เส้นทางหลักสายเหนือ ก่อนที่จะแยกห่างกันไป



สี่แยกย่านมินามิ เซ็นได เท่าที่มองจาก google earth ครับ



หลังจากลอดอุโมงค์หลายแห่ง ล้วนแต่ยาวๆ ทั้งนั้น ก็บรรจบกับเส้นทางสายโตโฮกุอีกครั้งหนึ่ง



เขาจอดเฉยๆ อยู่ในย่านแท้ๆ มองลงไปเก็บภาพจนได้



จำไม่ได้ว่าสถานีใด แต่สวนกับขบวนรถด่วนขิน กังเซ็น ฮาบูสะ



คงไม่ต้องบอกว่าเป็นโรงงานผลิตอะไรนะครับ



ถ้าเป็นบ้านเรา คงเป็นหมวดศิลาแน่ๆ



ผู้โดยสารเริ่มหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เพราะใกล้มหานครโตเกียวแล้ว



ข้ามทางหลวงหมายเลข 400 เลขสวยด้วยสิ



เห็นน้ำใสสะอาดแบบนี้แล้ว ชื่นใจครับ



เข้าสู่สถานีโอมิยะ คงจำได้คราวไปชมพิพิธภัณฑ์รถไฟโอมิยะ จะลงรถไฟที่นี่ สะดวกทั้งขิน กังเซ็น และรถไฟ Local Train จากสถานีโตเกียว



ผู้โดยสารหลายราย ลงจากรถไฟที่นี่แหละ รวมทั้งชาวคณะด้วย



รอต่อรถด่วนชิน กังเซ็น คากะยากิ ไปยังเมืองนากาโนะ ครับ



ระหว่างรอ หันไปมองทิวทัศน์รอบๆ ตัวสักหน่อย



ชิน กังเซ็นขบวนนี้ จะเดินเส้นทางสายแยกไปยังเมืองนิอิกาตะ แต่แยกระหว่างทางที่สถานีทะกะซากิไปยังเมืองนากาโนะ เราจะเดินทางไปตามเส้นทางสายนี้ล่ะ



จากข้อมูลที่มีผู้อธิบายเพิ่มเติม กล่าวว่า รถด่วนชิน กังเซ็น คากะยากิ เป็นขบวนที่ต่อขยายจากรถด่วน นากาโนะ (เดิม) ไปสู่สถานีคานาซาวะ ที่เพิ่งแล้วเสร็จ โดยบริษัท JR East และ JR West ร่วมกันบริหาร โดยรับผิดชอบเส้นทางระหว่างสถานีโจเอ็ตสึฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก



รถด่วนชิน กังเซ็น รุ่นนี้ จะเป็นรุ่นล่าสุด คือ E7/W7 ที่สองบริษัทนี้ร่วมกันพัฒนา

ซึ่งรุ่น E7 สร้างโดย JR East และรุ่น W7 สร้างโดย JR West มีจุดเด่นตรงช่วงล่างที่นุ่ม สบายกว่ารุ่นก่อนหน้านั้น ระยะห่างระหว่างที่นั่งกว้างขวางกว่า มีป้ายอักษรเบรลสำหรับผู้เสียจักษุได้ทราบ และมีปลั๊กไฟให้ทุกที่นั่งอีกด้วย

แค่นี้ ก็เหลือเฟือเกินพอแล้วสำหรับผม



ตัวอย่างป้ายอักษรเบรลที่ติดอยู่ข้างประตูห้องน้ำ



เวลาใกล้พลบแล้ว คงเก็บภาพสองข้างทางได้ไม่มาก



ภาพริมทางท้ายสุดที่ได้มา เพราะเส้นทางรถไฟสายนี้ มักจะลอดอุโมงค์ยาวๆ เกือบตลอดทาง จนแทบกล่าวได้ว่าเป็น "ชิน กังเซ็นใต้ดิน" ก็ได้



เมื่อละความสนใจกับทิวทัศน์สองข้างทาง ผมเลยหันมาสนใจของฝากจากซัปโปะโระดีกว่า



ใกล้เวลาหนึ่งทุ่ม ชาวคณะได้มาถึงสถานีนากาโนะโดยสวัสดิภาพ



มีป้ายที่ระลึกบอกถึงเมืองนี้ เคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว เมื่อปี พ.ศ.2541 มาแล้ว



ออกมายลด้านหน้าสถานี ผมต้องทึ่งกับศิลปะการใช้ไม้ประกอบการตกแต่งอาคารอย่างงดงาม



มองตรงไปยังฝั่งตัวเมืองนากาโนะ



สุดอดใจไหว ขอเซลฟี่ไว้เป็นที่ระลึกกันหน่อย



ขอย้อนกลับมาภายในอาคารสถานีอีกรอบ เพื่อหาซื้อเสบียงมื้อเย็นก่อนเข้าที่พัก



ดูๆ แล้ว เหมือนอยู่กลางแจ้ง แต่เป็นภายในอาคาร



มีห้างสรรพสินค้าอาศัยเช่าที่รถไฟทำมาค้าขายอยู่ ชื่อไม่เหมือนกับสถานีอื่น คือห้างมิโดริ



บริเวณจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ เวลาขนาดนั้น ยังเรียกผู้คนเข้ามาใช้บริการได้ไม่น้อย



ลงบันไดชั้นใต้ดินไปอีก เข้าใจว่าสถานีแห่งนี้สร้างมานาน จึงไม่มีบันไดเลื่อน เจอรถไฟรูปทรงแปลกตาจอดอยู่ตรงหน้า

ท่าทางจะเป็นรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว ของบริษัทเอกชน นากาโนะ อเล็กทริก เรลเวย์ ไปยังเมืองชินชู อันเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งบริการรถไฟใต้ดินด้วย



รถไฟใต้ดินกำลังมาถึงปลายทาง



รูปร่างหน้าตาก็ประมาณนี้แหละครับ



คุณณพสนใจขบวนนี้มาก ถึงกับเข้าไปดูใกล้ๆ ก่อนกลับมาบอกว่า ทางขึ้นไปยังห้อง พขร. ซ่อนอยู่หลังเบาะนั่ง ต้องดึงออกมาก่อน ถึงจะไต่ขึ้นไปข้างบนได้



ส่วนผมกับ อ.วิรัตน์ ให้ความสนใจกับแป้นกันชนตรงปลายรางครับ



พอได้เวลา รถใต้ดินทำขบวนกลับ พาชาวคณะไปยังที่พักประจำคืนนี้ต่อไป


Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2563 23:40:11 น. 0 comments
Counter : 689 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add owl2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.