<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
6 สิงหาคม 2553

การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 9 - 10

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ตอนนี้ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 1 ออนซ์ ซึ่งอาจมีน้ำหนักมากถึง 3.5 กิโลกรัม (7 ปอนด์ 11 ออนซ์) และยาวประมาณ 36 เซนติเมตร (14 นิ้ว) เมื่อครบกำหนด 40 สัปดาห์พอดีทารกอาจยาวถึง 20 นิ้ว หรือมากกว่านี้เล็กน้อย

เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ทารกจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซนต์แล้ว และจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการคลอดก่อนกำหนด โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลนานนัก เนื่องจากปอดสมบูรณ์เต็มที่แล้ว พร้อมที่จะทำงานเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก

ในช่วงสี่สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกจะมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังจะทำให้ทารกดูอ้วน แก้มยุ้ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการรองรับแรงกดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดนั่นเอง

ขนที่ปกคลุมร่างกายอยู่มากมายจะเริ่มหายไป และมีไขมันมาเคลือบผิวหนังอยู่แทน ไขมันเล่านี้จะช่วยปกป้องผิวที่บอบบางของทารกเอาไว้ ผิวหนังอาจจะลอกและแห้งแตกบ้างโดยฌพาะอย่างยิ่งบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า และผิวหนังมักมีสีค่อนข้างซีดเมื่อแรกคลอด

ใบหน้าเมื่อแรกคลอดจะค่อนข้างกลม และรอบขอบตาอาจดูคล้ำเล็กน้อยซึ่งจะหายไปเองถึงแม้บางคนจะใช้เวลานานถึงหกเดือนก็ตาม

แขนและขาจะอยู่ในท่างอ นิ้วมือและนิ้วเท้ามีความสมบูรณ์เต็มที่ และนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆนั้นจะมีเล็บที่บางและคมซึ่งอาจทำให้ข่วนตัวเองได้ซึ่งคุณอาจจะเห็นรอยข่วนนั้นได้เมื่อทารกคลอดออกมา

หากเป็นทารกเพศชาย ตอนนี้ลูกอัณฑะจะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้จากการตรวจอัลตร้าซาวน์ สำหรับทารกเพศหญิงจะมีเนื้อเยื้อของเต้านมและหัวนมได้เคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว

ขี้เทาที่อยู่ในลำใส้ของทารกจะทำให้ระบบขับถ่ายเริ่มมีการเคลื่อนไหวและขับถ่ายเป็นครั้งเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก

ทารกจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อคุณใกล้คลอด แต่ทารกที่อยู่ในสภาวะที่ไม่ดีนักก็จะเคลื่อนไหวน้อยลงเช่นกันเพื่อเก็บพลังงานเอาไว้ ดังนั้นเมื่อคุณตื่นนอนขึ้นในตอนเช้าและก่อนเข้านอน นั่งอยู่บนเตียงสักสามสิบนาทีและนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวของทารก หากคุณนับได้จำนวน 5 – 6 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้วและคุณก็สบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยภายในโลกส่วนตัวเล็กๆนั้น ทารกเคลื่อนไหว 10 ครั้งต่อวันถือว่าปกติดี

ปอดของทารกนั้นมีการพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ มีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดออกมาซึ่งช่วยในการพัฒนาความสมบูรณ์ของปอดภายหลังการคลอด

หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 110-150 ครั้งต่อนาที เมื่อทารกคลอดออกมาจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในระบบไหลเวียนเลือด เมื่อปอดมีการขยายตัวออก ทำให้เลือดมีการไหลผ่านไปยังปอด และเกิดระบบไหลเวียนเลือดที่สมบูรณ์
รกซึ่งให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกมาเป็นเวลานานจะมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพลง เมื่อมีการคลอดรกออกมา รกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 6 ของน้ำหนักของทารก

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่่

บริเวณท้องส่วนล่างจะรู้สึกหน่วงมากขึ้น เนื่องมาจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมพร้อมต่อการคลอด จะมีน้ำหนักไปถ่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากยิ่งขึ้น

ตอนนี้คุณแม่เลิกกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้แล้ว เพราะว่ามันกำลังจะหายไปในไม่ช้า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก ปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะขยายออก หรือเปิดออกให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมาได้ ช่องคลอดจะมีการขยายความยาวออกด้วยเช่นกัน เส้นเลือดดำจะมีเลือดมาคั่งอยู่ทำให้บริเวณช่องคลอดมีสีออกม่วงๆ และคุณแม่ก็จะมีตกขาวออกมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกมีการผลิตเยื่อเมือกออกมามากขึ้น คุณแม่ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้เสียสมดุลย์ของการทรงตัว เป็นสาเหตุให้ปวดหลัง


คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

คุณแม่อาจจะเหนื่อยกับการตั้งครรภ์ ในเดือนสุดท้ายนี้คุณจะอุ้ยอ้ายมากขึ้น จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกเหมือนอย่างแปดเดือนแรก แต่อาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น หายใจไม่พอ อาหารไม่ย่อย Heartburn จะลดลงเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวลงสู้ช่องเชิงกราน แต่ก็จะทำให้คุณเคลื่อนไหวหรือเดินได้ลำบากมากขึ้น

ทาครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องเต้านม สะโพกและต้นขา รอยแตกนี้อาจจางลงได้บ้าง

พักให้มากขึ้น ลดกิจกรรมต่างๆลง ผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะมีทฤษฎีที่พบว่าฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่มีความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัวทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

ในหญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดจะมีของเหลวสะสมอยู่ตามเข่า เท้า ขาส่วนล่าง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นบวมขึ้น การยกขาสูง หรือการแช่ขาในอ่างน้ำเย็น จะช่วยให้อาการบวมดีขึ้น

คุณแม่บางท่านอาจมักจะหงุดหงิดรำคาญ ในช่วงนี้สิ่งที่มากระทบเล็กๆน้อยๆมักทำให้คุณแม่หงุดหงิดอยู่เสมอ ความอดทนของคุณแม่จะลดลง คุณแม่อาจจะหงุดหงิดกับการที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำบ่อยมากนับครั้งไม่ถ้วนในตอนกลางคืน หรืออารมณ์เสียที่ไม่สามารถก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าของตัวเองได้

ความกลัวจะทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ อย่าเก็บความกลัวความกังวลเอาไว้กับตัว ลองพูดคุยกับคนอื่นจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และจะทำให้คุณแม่หายกลัวได้หากถามถูกคน

เมื่อมาถึงขั้นที่ทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว บางทีคุณแม่จะย้อนกับไปคิดถึงเรื่องราวในแปดเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้คุณกังวลใจในอดีตอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ขบขันได้ในตอนนี้

และเหมือนเป็นสัญชาติญาณของการทำรัง คุณแม่จะลุกขึ้นมาทำความสะอาดและตระเตรียมพื้นที่สำหรับต้อนรับสมาชิกใหม่ แต่ขอให้มีคนช่วยทำ และอย่าหักโหมเกินไปเพราะมันอาจทำให้คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลก่อนกำหนด

อาการแสดงว่าจะคลอด
การเริ่มการคลอดหมายถึงการที่มดลูกมีการบีบรัดตัวเพื่อที่จะขับเคลื่อนทารกในครรภ์ให้ออกสู่โลกภายนอก โดยปกติธรรมชาติของมดลูกขณะตั้งครรภ์จะมีการบีบตัวเป็นพัก ๆ เสมือนกับการเตรียมตัว ฝึกซ้อมการหดรัดตัวมาตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่เป็นการหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ก่อความเจ็บให้แก่คุณแม่ เมื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกก็จะเข้าสู่ระบบ คือการบีบรัดตัวจะรุนแรงขึ้น ๆ ระยะเวลาจะสั้นลงและสั้นลงจนเข้าสู่ความคงที่ 3 รอบการบีบตัวใน 10 นาที ในช่วงเวลานี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเริ่มกระบวนการคลอดแต่อาจจะแตกต่างกันไป อาการปวดท้องเป็นพัก ๆ จะเป็นอาการนำ แต่ในคุณแม่บางท่านจะรู้สึกถึงอาการปวดหลังนำมาก่อน และจะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ก่อนปวดก็อาจพบมูกเลือดได้ เนื่องจากปากมดลูกเปิดขยายและเมือกที่อุดอยู่จะหลุดออกมา นอกจากนี้ภาวะน้ำเดินเป็นอาการสำคัญที่จะบอกว่า ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าการคลอดต้องสิ้นสุดลง ถ้ามีน้ำเดินมาก่อนเริ่มมีการคลอด ถือเป็นสภาวะผิดปกติที่จะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็ว

การเตรียมตัวสำหรับการคลอด

การเริ่มต้นเตรียมตัวแต่เนิ่นๆจะทำให้คุณแม่มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวไปคลอด สิ่งของที่ต้องนำไปด้วย หรือการเตรียมพร้อมเมื่อจะนำทารกกลับบ้าน เป็นต้น

สิ่งที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลสำหรับการคลอด

1.ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู แป้งโรยตัว เครื่องสำอางต่างๆ ชุดชั้นในแบบที่คุณซื้อเตรียมไว้สำหรับการให้นมทารก เสื้อผ้าสำหรับใส่กลับบ้าน ถุงเท้า แผ่นซับน้ำนม สลิปสำหรับใส่พยุงหน้าท้องจะช่วยให้คุณเดินได้สะดวกขึ้นหลังคลอด ของใช้ส่วนใหญ่โรงพยาบาลมักจะมีเตรียมไว้ให้อยู่แล้วเช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ผ้าอนามัย เสื้อผ้าทารก ผ้าอ้อม นมกระป๋องและขวดนมของทารกทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมไว้ให้เสมอ แต่ถ้าคุณอยากจะนำไปเองก็สามารถทำได้
2.ขนมหรือผลไม้ที่คุณชอบ
3.กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ สำหรับถ่ายตอนคลอด
4.เทปหรือซีดีเพลงที่คุณชอบ อาจต้องนำเครื่องเล่นไปด้วยเพราะโรงพยาบาลมักจะมีแค่ทีวีเท่านั้น
5.หนังสืออ่านเล่นหลายๆเล่ม เพราะหลังคลอดคุณแม่อาจต้องนอนบนเตียงหลายวัน
6.สมุดโทรศัพท์ เอาไว้โทรบอกข่าวดี 7.โทรศัพท์มือถือและเครื่องชาร์ทแบตเตอรี่
8.คอมพิวเตอร์ LAP TOP เอาไว้หาข้อมูลทางอินเตอร์เนตหรือตอบ e-mail ขอบคุณสำหรับ e-card ที่เพื่อนๆ ส่งมาแสดงความยินดี
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ตะคริว

ตะคริวอาจเกิดขึ้นได้ มักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เมื่อคุณแม่เข้านอนแล้ว และพบว่ามีอาการเกร็งอย่าง ฉับพลันที่ข้อเท้าและลามขึ้นมาที่ขาพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ จะมีหดเกร็งอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อนั้นมีลักษณะเป็นก้อนแข็งร่วมด้วยอาการปวด มักพบตะคริวที่กล้ามเนื้อขาหรือแขน แต่บางครั้งก็เป็นที่เท้า มือ นิ้ว หน้าท้อง ตะคริวเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเพราะต้องแบ่งไปให้ทารกสร้างกระดูกและฟัน หรือเกิดจากการที่ระดับของแคลเซียมและโปแทสเซียมไม่สมดุลย์กัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม กุ้งฝอย ปลาตัวเล็กๆ งาดำ ถั่วแดงหลวง ใบยอ ตำลึง

การบรรเทาอาการทำได้โดยเมื่อเกิดตะคริวขึ้นให้คุณแม่เหยียดคลายกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หากเป็นที่ขาให้เหยียดขาออกให้ตรงหรือหย่อนขาลง การนวดขาจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ อาจให้คุณพ่อช่วยดึงเหยียดให้ด้วยความนุ่มนวล ให้ความอบอุ่นและนวดกล้ามเนื้อนั้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด

โลหิตจาง

ช่วงที่ตั้งครรภ์ เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างเพิ่มขึ้น เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายคุณแม่และทารก และยังต้องเผื่อการสูญเสียเลือดขณะคลอดอีกด้วย ถ้ารู้สึกเหนื่อย หน้าซีด มือเล็บซีด เป็นลมง่าย ก็น่าสงสัยว่าจะได้รับธาตุเหล็กน้อยไป โดยเฉพาะเมื่อใกล้คลอดคุณแม่บางท่านรับประทานอาหารได้น้อยลงเพราะรู้สึกแน่นท้อง จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ คุณแม่ต้องพยายามรับประทานให้ได้มากขึ้น และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ตับ เนื้อไม่ติดมัน อาหารทะเล นม ไข่ งา ถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักปวยเล้ง และมะเขือเทศ วิตามินซีช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น แต่ไม่ควรซื้อวิตามินสำเร็จรูปมากินเองควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีกว่า




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2553
1 comments
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 9:23:03 น.
Counter : 599 Pageviews.

 

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 30 มีนาคม 2558 17:00:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]