กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
23 กรกฏาคม 2553

การฝากครรภ์

1 วัตถุประสงค์การฝากครรภ์

1.1 ตรวจความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อน
1.2 ให้ภูมิคุ้มกันโรค โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด
1.3 เตรียมการคลอด และการแสดงบทบาทมารดาหลังการคลอด
1.4 ให้การดูแลสุขภาพมารดา และทารกตั้งแต่เริ่มการตั้งครรภ์ คลอดและหลังการคลอด

2 การตรวจการตั้งครรภ์

2.1 อาการแสดงที่บอกอาจจะตั้งครรภ์ (Presumptive Signs)
- ระดูขาด ถ้าระดูขาดเกินกว่า 10 วัน ให้สงสัยมีการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเป็นการตรวจภายใน จะตรวจได้ก้อนที่มดลูก เมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 8 เป็นต้นไป
- แพ้ท้อง เริ่มคลื่นไส้และอาเจียนเมื่ออายุครรภ์ 4-6 สัปดาห์ และมักสิ้นสุดก่อนอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 14 ซึ่งพบร้อยละ 50-70 แต่อาจเกิดได้ตั้งแต่รกเริ่มฝังตัวจนกระทั่งตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 (ไม่เกิน 4 เดือน)
- การพยาบาล ถ้าพบหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ หรือมีอาการอาเจียนจนรับประทานอาหารไม่ได้เลย ต้องรีบรายงานแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และบำบัดอันตรายที่อาจจะเกิด
- ปัสสาวะบ่อย มักเกิดไตรมาสที่ 1 และ 1 เดือนก่อนสิ้นสุดการตั้งครรภ์ เพราะมดลูกจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะลดลง ประกอบกับเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น จึงปัสสาวะบ่อย
- อ่อนเพลีย อย่างมาก ผลเนื่องมาจากการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้นในระหว่าง 3 เดือนแรก
- รับรู้ทารกในครรภ์ดิ้น ครรภ์แรกรับรู้เมื่อทารกในครรภ์ดิ้นเมื่ออายุ 18-20 สัปดาห์ สำหรับครรภ์หลังมักรับรู้เมื่อทารกมีอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
- เต้านม เต้านมเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคัดตึง ลานนมมีสีคล้ำ และมีขนาดใหญ่ขึ้น ตรวจพบต่อม Montagomery มีขนาดใหญ่ขึ้น เต้านมขยายใหญ่ และก่อความคัดตึง เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 6-8 สัปดาห์ และน้ำนมเหลืองเริ่มไหล เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์
- ท้องผูก ผลจากฮอร์โมน HCG เพิ่มขึ้น และความอ่อนแอของกล้ามเนื้อท้อง
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดอายุครรภ์เฉลี่ย 10-12 กิโลกรัม
o ไตรมาสที่ 1 น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 1-2 กิโลกรัม
o ไตรมาสที่ 2 น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 4-5 กิโลกรัมหรือ 0.3-0.5 กิโลกรัม
o ไตรมาสที่ 3 น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 5-6 กิโลกรัม หรือ>0.5 กิโลกรัมในไตรมาสที่ 3 นี้ ถ้าน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ต้องกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้ยาบำรุงโลหิต และวิตามินเพิ่มขึ้น ถ้า 2 สัปดาห์ ผ่านไป น้ำหนักยังไม่เพิ่มต้องรายงานแพทย์

2.2 อาการแสดงที่บอกการตั้งครรภ์ (positive signs)
- ตรวจได้เสียงหัวใจของทารก (FHS+ve) คือ ประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที หรือเฉลี่ย 140 ครั้งต่อนาที การตรวจสามารถตรวจด้วยหูฟัง (stethoscope) เมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์
- ตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์พบ FHB เมื่ออายุครรภ์ 6 - 12 สัปดาห์
-
3 อักษรย่อทางสูติศาสตร์ G6P1232

G หมายถึง การตั้งครรภ์ จากตัวอย่างแสดงว่า มีการตั้งครรภ์ 6 ครั้ง
P ตัวที่ 1 หมายถึง จำนวนครั้งที่มีการคลอดครบกำหนด จากตัวอย่างแสดงว่า มีการคลอดครบกำหนดจำนวน 1 ครั้ง
P ตัวที่ 2 หมายถึง จำนวนครั้งที่มีการคลอดก่อนกำหนด คือ คลอดหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์และก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จากตัวอย่างแสดงว่า มีการคลอดก่อนกำหนดจำนวน 2 ครั้ง
A ตัวที่ 3 หมายถึง จำนวนครั้งที่มีการแท้งบุตร จากตัวอย่างแสดงว่า มีการแท้งบุตร หรือคลอดก่อนอายุครรภ์ 25 สัปดาห์จำนวน 3 ครั้ง
L ตัวที่ 4 หมายถึง จำนวนบุตรที่รอดชีวิต จากตัวอย่างแสดงว่า มีจำนวนบุตรที่มีชีวิตรอดจำนวน 2 คน

4 การซักประวัติเสี่ยง

4.1 ประวัติประชากรเสี่ยง อายุมารดาน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
4.2 ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว การเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่
- การเจ็บป่วยทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือดจาง โรคปัญญาอ่อน โรคจิต โรคประสาท ฯลฯ
- การติดเชื้อ เช่น วัณโรคปอด โรคตับอักเสบ เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4.3 ประวัติการเจ็บป่วยของหญิงตั้งครรภ์ การเจ็บป่วยของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีผลกระทบการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ได้แก่
- การเจ็บป่วยทางพันธุกรรม เช่น โรคเลือด โรคกล้ามเนื้อลีบ โรคจิต เป็นต้น
- การเจ็บป่วยที่อวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด โรคทางสมอง และประสาท
- โรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และพยาธิที่กระทบทารกในครรภ์
- การเจ็บป่วยเกี่ยวกับเชิงกราน และช่องท้อง ตลอดจนการผ่าตัดเกี่ยวกับเชิงกราน และการผ่าตัดช่องท้อง การคลอดบุตรมากกว่า 4 ครั้ง มีประวัติคลอดบุตรตาย คลอดบุตรพิการ หรือคลอดบุตรปัญญาอ่อน เป็นต้น
-
5 การตรวจร่างกาย + การซักประวัติ (LMP การคำนวณ EDC)
ส่วนของร่างกายที่ควรตรวจ

5.1 ตรวจอวัยวะสำคัญของร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ปอด ไต ตับ ต่อมไทรอยด์ และระบบประสาท
5.2 ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ การดูสิ่งคัดหลั่ง และเนื้องอก สำหรับอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ การตรวจสภาพของช่องคลอดปากมดลูก การคลำมดลูก และปีกมดลูก เพื่อดูสิ่งคัดหลั่ง การอักเสบ แผน และก้อนเนื้องอก
5.3 การตรวจสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตล่าง (ถ้าเพิ่มมากกว่า 15 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์) และอุณหภูมิของร่างกาย
5.4 การตรวจทารกในครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์
5.5 หากไม่สามารถตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ใมห้ตรวจการตรวจทารกในครรภ์ทางหน้าท้อง Leopold’s handgrip ตรวจครรภ์ 4 ท่า ดังนี้
- ท่าที่ 1 Fundal grip การตรวจที่ยอดมดลูก สามารถระบุลักษณะของส่วนนำ และประเมินอายุทารกในครรภ์จากสัดส่วนโดยประมาณจากการใช้สะดือเป็นจุดหลัก สัดส่วนใต้สะดือ แบ่งเป็น 3 ส่วน สัดส่วนเหนือสะดือแบ่งเป็น 4 ส่วน และระดับสะดือพอดี คือ อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ หรือตั้งครรภ์ 5 เดือน
- ท่าที่ 2 Umbilical grip ท่านี้ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างลูบไปทางด้านข้างของท้องของสตรีตั้งครรภ์ เป็นการตรวจด้านข้างของท้อง ท่านี้จะสามารถบอกการหันซ้าย หรือหันขวาของลำตัวทารกในครรภ์ โดยมีหลักว่าด้านหลังของทารกมักเรียบส่วนด้านหน้าจะเป็นปุ่มของแขน และหัวเข่า
- ท่าที่ 3 Pawlik’s grip ท่านี้ใช้อุ้งมือรวบส่วนนำ แล้วทำการโยก และดันส่วนนำ การตรวจสามารถบอกการลงเชิงกรานของส่วนนำ และลักษณะของส่วนนำ ถ้าส่วนนำเป็นศรีษะ จะตรวจได้ก้อนแข็ง และมีการลอยตัว (ballottement) เมื่อใช้อุ้งมือดันส่วนนำที่หัวหน่าว แต่ถ้าส่วนนำเป็นท่าก้น จะตรวจได้ส่วนนำมา เมื่อดันส่วนนำจะมีการลอยตัวน้อยกว่าศรีษะเล็กน้อย
- ท่าที่ 4 Bilateral grip การใช้นิ้วมือสอบเข้าหากันที่หัวหน่าว แล้วดันส่วนนำขึ้น การตรวจท่านี้สามารถบอกการลงเชิงกรานของส่วนนำ

6 การตรวจห้องปฏิบัติการ

6.1 การตรวจเลือดในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกหรือเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ โดยควรได้รับการตรวจ CBC, VDRL, HIV, HBsAg, Anti-HBs, RUBELLA titer, ABO group และ RH group, Hb-Typing
6.2 การตรวจปัสสาวะ
- การตรวจ Urinalysis ในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกหรือเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือเมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก หรือในรายสงสัยเป็นเบาหวาน
- การตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ ตรวจเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และหรือในรายสงสัยมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือโรคกรวยไตอักเสบ
- การตรวจ Urine strip ทุกครั้งที่มารับการตรวจครรภ์เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
6.3 การตรวจ SGOT ในรายสงสัยตับอักเสบ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
6.4 การตรวจ OGTT ตรวจในรายสงสัยเป็นเบาหวาน ซึ่งการตรวจจะให้ผลแม่นตรงเมื่ออายุครรภ์ 24 - 28 สัปดาห์
6.5 การตรวจสิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด ได้แก่
- ตรวจการติดเชื้อในรายสงสัยมีการติดเชื้อเริม พยาธิ เชื้อรา และแบคทีเรีย
- ตรวจเซลล์มะเร็ง ในรายสงสัยเพื่อค้นหาการเป็นมะเร็งที่ปากมดลูก
6.6 การตรวจน้ำคร่ำหรือ CVS ในมารดาที่อายุมากกว่า 35 ปี ทุกราย
6.7 ตรวจ Tay-schs ในสตรียิว
6.8 Sickle cell ในสตรีผิวดำ
6.9 Alpha-fetoprotien (AFP) ในรายสงสัยทารกในครรภ์มีความผิดปกติของสมอง และระบบประสาท (Neural tube defects) เช่น Hydrocephalus หรือ Spinal Bifida
6.10 ตรวจ Billirubin level ในรายมารดา Rh ลบ

7 การนัดตรวจครรภ์

ตั้งครรภ์ต่ำกว่า 28 Wks นัดตรวจครรภ์ทุก 4 Wks
ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 28-36 Wks นัดตรวจครรภ์ทุก 2 Wks
ตั้งครรภ์มากว่า 36 Wks นัดตรวจครรภ์ทุก 1 Wks
หมายเหตุ การตรวจครรภ์จะถี่ขึ้น เมื่อพบภาวะแทรกซ้อน High Risk หรือเจ็บป่วย

8 จิต–สังคมของหญิงตั้งครรภ์ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่

8.1 Anticipatory stage ระยะเรียนรู้บทบาทของมารดา และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตร
8.2 Honeymoon stage ระยะเริ่มแสดงบทบาทมารดาตามคาดหวัง ระยะนี้อาจจะมีความต้องการความช่วยเหลือ
8.3 Plateau stage ระยะแสดงบทบาทมารดาตามคาดหวัง ในระยะนี้มารดา จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของการแสดงบทบาท
8.4 Disengagement stage ระยะสิ้นสุดของการแสดงบทบาทมารดาในระยะตั้งครรภ์ ตามความคาดหวัง
การพยาบาล เน้นการสนับสนุนให้มารดามีพัฒนาการด้านจิตสังคมตามลำดับขั้น ถ้าพบพัฒนาการล่าช้า จะต้องรายงานแพทย์ หรือประสานการช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มตรวจพบ

9 ปฏิกิริยาทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์

ระยะที่ 1 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่ ลังเลใจ อารมณ์ไม่คงที่ กลัว ฝัน และวิตกกังวล
ระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่ รับรู้สุขภาพดี ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในครรภ์ รักตัวเอง พึ่งพาตนเองสูงขึ้น ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
ระยะที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่ รู้สึกรูปร่างงุ่มง่าม ไม่ดึงดูดความสนใจ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และมีพฤติกรรมสะท้อนในวัยเด็ก แต่ในสตรีที่ยอมรับการตั้งครรภ์ จะมีความสุข ความยินดี และมักมีประสบการณ์ไม่สุขสบายในระหว่างตั้งครรภ์น้อยกว่า

10 สัญญาณอันตรายในระหว่างการตั้งครรภ์

10.1 น้ำใสไหลออกจากช่องคลอด แสดงว่าถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
10.2 เลือดออกทางช่องคลอด แสดงว่ารกลอกตัวก่อนกำหนด หรือเกาะต่ำ หรือมีแผลที่ปากช่องคลอด และมีเลือดออกทางช่องคลอด (Bloody show)
10.3 อาเจียนอย่างต่อเนื่อง แสดงอาการอาเจียนหรือแพ้ท้องอย่างรุนแรง
10.4 ปวดศรีษะอย่างรุนแรง สายตาพร่ามัว หรือมีจุดที่ตา แสดงว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงระหว่างการตั้งครรภ์
10.5 ปวดท้อง แสดงว่าอาจคลอดก่อนกำหนด หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
10.6 อุณหภูมิของร่างกายมากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีการติดเชื้อ
10.7 ปลายเท้า มือบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
10.8 สัญญาณชีพบอกอันตราย หายใจ > 26 หรือ < 14 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้น > 150 หรือ < 60 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต > 140/90 หรือ < 80/40 มิลลิเมตรปรอท
10.9 ทารกดิ้นน้อยลง (นับได้ไม่ถึง 10 ครั้งต่อวัน) อาจแสดงว่ามีภาวะ Fetal Distress

หมายเหตุ หากพบอาการ และอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งของอาการทั้ง 9 ที่กล่าวมาแล้วผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน



Create Date : 23 กรกฎาคม 2553
Last Update : 10 พฤษภาคม 2554 11:05:15 น. 4 comments
Counter : 128027 Pageviews.  

 
เนื้อหาดี มีสาระ


โดย: aumaim IP: 10.0.0.161, 58.147.63.162 วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:18:54:40 น.  

 
ดีจายจางเยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย


โดย: 4เดือนแล้ว IP: 192.168.2.114, 61.7.212.34 วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:22:29:44 น.  

 
ขอแก้ไข ตรง GPPP อ่าค่ะ ที่จิงแล้ว เปน GPAL นะคะ
ขอบคุนค่ะ :)


โดย: นนนน IP: 61.19.65.228 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:10:25:58 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:01:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]