<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
24 สิงหาคม 2553

มะเร็งปากมดลูกในหญิงตั้งครรภ์

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งของระบบสืบพันธุ์สตรี และเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ด้วย ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมานั้นไม่ต้องให้ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายเกิดความกังวลนะครับ แต่อยากให้รู้จักระวังตนเองจากมะเร็งปากมดลูกได้อย่างเหมาะสมครับ อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกพบได้ 1.6 -10.6 รายต่อผู้ป่วยตั้งครรภ์ 10,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นครับ ผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกก็มักไม่มีอาการใดๆ แต่จะมาพบแพทย์ด้วยการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจ Pap Smear แล้วอาจพบว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อที่บริเวณปากมดลูกไปทำการตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง หากพบว่าเป็นมะเร็งจริงก็ต้องทำการรักษาตามภาวะของโรค อายุครรภ์ขณะที่พบโรค และความต้องการบุตรครับ หากตรวจพบในระยะแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นมะเร็งที่ยังไม่ลุกลาม อาจให้ตั้งครรภ์ต่อไปได้แต่ต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งคลอด และหลังคลอด แต่ถ้าเป็นระยะที่เริ่มจะลุกลามแล้วและพบในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ควรจะต้องทำการรักษาเลยโดยไม่คำนึงถึงการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเป็นระยะหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์ต้องประเมินว่าสามารถรอให้ปอดทารกมีความสมบูรณ์ก่อนพอที่จะมีชีวิตรอดเมื่อคลอดออกมาได้หรือไม่ ซึ่งการคลอดทารกต้องทำการผ่าตัดทารกออกทางหน้าท้องเสมอ เพื่อป้องกันการตกเลือด และการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ส่วนการรักษามะเร็งปากมดลูกในแม่นั้นก็ใช้วิธีเดียวกันกับในหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ได้แก่
1. การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
2. การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี
 โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่อง แพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
 โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์
3. การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
4. การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ Interferon

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกทำได้โดย 4 วิธี
1. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap test สำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรืออายุ 30 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง และผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อจะได้พบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งจะสามารถรักษามะเร็งก่อนลุกลามได้
2. ตรวจ HPV DNA ร่วมกับการตรวจ Pap test เพื่อคัดกรองการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
3. ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้แก่ การสูบบุหรี่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากเชื่อว่าเชื้อ Human Papilloma Viruses ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูกติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Viruses) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูก



Create Date : 24 สิงหาคม 2553
Last Update : 24 สิงหาคม 2553 17:36:28 น. 2 comments
Counter : 574 Pageviews.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:22:51:22 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:00:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]