<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
24 พฤษภาคม 2554

แม่ท้องดื่มอัลกอฮอล์ มีผลให้ลูกชายในครรภ์เป็นผู้มีบุตรยาก

ถ้าคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่อาจไม่ทราบว่าผลเสียอีกอย่างหนึ่งของการดื่มแอลกอฮอล์คือจะสร้างความเสียหายต่อกระบวนการสร้างอสุจิของทารกในครรภ์ซึ่งทำลายความสามารถทารกในการเจริญพันธุ์ต่อไปในอนาคต งานวิจัยใหม่นี้ถูกนำเสนอในการประชุมประจำปีเกี่ยวกับการอนามัยเจริญพันธุ์ของยุโรป ครั้งที่ 26 (The European Society of Human Reproduction and Embryology) ในกรุงโรมเมื่อวันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2553
คุณหมอชาวเดนมาร์กพบว่าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปริมาณ 4.5 แก้ว หรือมากกว่า ในแต่ละสัปดาห์ ความเข้มข้นของตัวอสุจิในลูกหลานชายของตน ในอีก 20 ปีต่อมา จะต่ำลงกว่าผู้ชายที่คุณแม่ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ประมาณ 32% โดยเปรียบเทียบปริมาณของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม 1 แก้วเท่ากับประมาณ 12 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเบียร์ 1 กระป๋อง (330 มล.) ไวน์ 1 แก้ว(120 มล.) หรือสุรา 1 แก้ว (40 มล.)
Dr Cecilia Ramlau - Hansen, นักวิจัยอาวุโสที่กรมอาชีวเวชศาสตร์, Aarhus University Hospital (Denmark) และศาสตราจารย์คลินิกที่ Epidemiology, Institute of Public Health, University of Aarhus, กล่าวในการบรรยายข่าว:
จากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณปานกลาง (ประมาณ 4-5 แก้วต่อสัปดาห์) ในระหว่างตั้งครรภ์และลดความเข้มข้นของตัวอสุจิในบุตร แต่เพราะเป็นการศึกษาสังเกตการณ์เราไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าแอลกอฮอล์ทำให้ความเข้มข้นอสุจิลดลง แต่เป็นไปได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลร้ายต่อเนื้อเยื่อในอัณฑะ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตัวอสุจิ และจึงส่งผลต่อคุณภาพน้ำอสุจิต่อมา แต่การศึกษานี้เป็นครั้งแรกของสมมติฐานนี้ และการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่การเชื่อมโยงสาเหตุสามารถกำหนดหรือนำเสนอการจำกัดการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในหญิงตั้งครรภ์
Dr. Ramlau - Hansen และทีมงาน ทำการศึกษาในบุตรชายจำนวน 347 รายที่เกิดจากสตรี 11,980 ราย ที่เป็นการตั้งครรภ์เดี่ยว ที่เคยได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ในเดนมาร์ก ระหว่างปี คศ. 1984-1987 โดยที่เมื่อมีอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ มารดาจะต้องตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและสุขภาพ หลังจากนั้นได้มีการติดตามบุตรระหว่างปี คศ. 2005-2006 เมื่อพวกเขามีอายุระหว่าง 18-21 ปี และเก็บตัวอย่างเลือดน้ำเชื้อและเพื่อมาทำการตรวจวิเคราะห์
บุตรชายเหล่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม ตั้งแต่ผู้ที่สำผัสกับแอลกอฮอล์น้อยที่สุดระหว่างที่อยู่ในครรภ์ (แม่ของพวกเขาดื่มน้อยกว่าหนึ่งแก้วต่อสัปดาห์) และนี่คือกลุ่มที่อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ จากการวัดปริมาณการที่มารดาดื่ม 1 -1.5 แก้วต่อสัปดาห์ ดื่ม 2-4 แก้วต่อสัปดาห์ หรือ 4.5 แก้วขึ้นไปต่อสัปดาห์
นักวิจัยพบว่าบุตรของมารดาที่ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 4.5 แก้วหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ในระหว่างตั้งครรภ์มีความเข้มข้นของอสุจิเฉลี่ย 25 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรเทียบกับบุตรผู้ที่ได้สัมผัสแอลกอฮอล์น้อยที่สุดซึ่งมีความเข้มข้นของอสุจิ 40 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร หลังจากปรับปัจจัยรบกวนต่างๆ พวกเขาก็พบว่าบุตรชายในกลุ่มสัมผัสกับแอลกอฮอล์มากที่สุด มีความเข้มข้นของอสุจิต่ำกว่าในกลุ่มที่สัมผัสกับแอลกอฮอล์น้อยที่สุด เฉลี่ยที่ประมาณ 32%
องค์การอนามัยโลกได้กำหนด"ระดับปกติ"ของความเข้มข้นของเชื้ออสุจิไว้ประมาณ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร หรือมากกว่า



Create Date : 24 พฤษภาคม 2554
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 10:26:56 น. 1 comments
Counter : 1625 Pageviews.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:03:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]