<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
30 สิงหาคม 2553

เบาหวานขณะตั้งครรภ์


เบาหวานอาจเกิดขึ้นเองในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่พบว่าเป็นเบาหวาน แต่พอคลอดบุตรแล้วภาวะเบาหวานนี้ก็จะหายไปเอง ซึ่งแตกต่างจากคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานอยู่ก่อนแล้วมาตั้งครรภ์ เพราะในกรณีหลังนั้นเมื่อการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโรคเบาหวานก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม
ภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์นี้เกิดจากการที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน คือมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์บางชนิด ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆของร่างกายมีการตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง จึงส่งผลให้เซลล์นำน้ำตาลไปใช้ได้น้อย ก็เลยมีน้ำตาลเหลืออยู่ในเลือดมาก เมื่อเจาะเลือดไปตรวจก็จะพบว่ามีระดับน้ำตาลสูง เหมือนกับผู้ป่วยเบาหวาน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์เหล่านี้ก็เพื่อให้ทารกได้รับน้ำตาลอย่างพอเพียงนั่นเอง ภาวะนี้จึงพบได้บ่อยๆในหญิงตั้งครรภ์ อุบัติการณ์ที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 1-14 %
แต่ในบางครั้งการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไปต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ก็จะส่งผลเสียต่อทั้งคุณแม่และทารกได้ ผลที่เกิดขึ้นในคุณแม่ก็จะมีอาการเช่นเดียวกับคนเป็นเบาหวาน นั่นคืจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่ตั้งครรภ์เท่านั้น หลังจากการคลอดทารกออกมาแล้วร่างกายคุณแม่ก็จะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้เอง ส่วนผลที่เกิดกับทารกก็คือทารกมีการเจริญเติบโตมากทำให้มีขนาดตัวใหญ่กว่าเกณฑ์ตามอายุครรภ์ และอาจเกิดภาวะขาดน้ำตาลได้หลังคลอด ส่วนในรายที่เป็นมากโดยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ และเป็นในระยะที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะ ก็อาจส่งผลให้ทารกเกิดความพิการได้
ความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถประเมินได้จากหลายปัจจัย เช่น
 อายุมากกว่า 35 ปี
 อ้วน (น้ำหนักมากกว่า Ideal weight ร้อยละ 20)
 เบาหวานในญาติใกล้ชิด
 ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ที่ผ่านมา
 ประวัติการคลอดที่ผ่านมาผิดปกติ เช่น เคยคลอดทารกตัวโต (น้ำหนักทารกมากกว่า 4,000 กรัม) ทารกตายคลอด พิการแต่กำเนิด มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ครรภ์แฝดน้ำ เป็นต้น
 ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

การดูแลรักษาคุณแม่ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่การดูแลเรื่องอาหาร การควบคุมระดับน้ำตาล และตรวจหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การตรวจอัลตร้าซาวด์ และการทำ Non Stress Test อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ นอกจากนี้คุณแม่ยังต้องได้รับการฉีดยาอินซูลินซึ่งความต้องการอินซูลินนั้นมักจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์







Create Date : 30 สิงหาคม 2553
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 10:25:23 น. 2 comments
Counter : 731 Pageviews.  

 
แฟนตังครรภ์8เดือนตรวจพบเบาหวานอันตรายแค่ไหน


โดย: เจ IP: 223.205.31.119 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:1:47:48 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:02:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]