" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
20 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
205.นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก .

วันจันทร์ ที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)





01-11 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)







01-00 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับผู้นำประเทศ ที่เดินทางเข้าร่วมการประชุม สุดยอดผู้นำด้านไอซีทีเอเชียและแปซิฟิก หรือ Connect Asia-Pacific Summit ที่ไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีผู้นำจากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุม อาทิ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน ซึ่งหลังจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวสุนทรพจน์ จากนั้น ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุม กล่าวสุนทรพจน์เป็นลำดับต่อไป

โดยเวทีนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้ผู้นำด้านไอซีทีในภูมิเอเชีย-แปซิฟิก มาหารือถึงทิศทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิตอล ร่วมกันในภูมิภาค อาทิ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ โครงข่าย 3G 4G และเทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกันในภูมิภาค ให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ

ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียครั้งนี้ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จะได้รับรองแถลงการร่วม เพื่อร่วมกันเร่ง
ดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผล ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

นายกฯเปิดประชุมสุดยอดผู้นำไอซีทีเอเชียและแปซิฟิก

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเปิดการประชุม พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ ระบุว่า ไทยพร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมไอซีที เพื่อให้เข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ทั้งการศึกษา การแพทย์ และที่สำคัญคือ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่จะลดต้นทุนในการเชื่อมโยงข้อมูล ลดช่องว่างระหว่างประเทศ ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน พร้อมให้เข้าถึงข้อมูลและแหล่งเงินทุน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา ที่โลกจะต้องให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่ท้าทาย ในปี 2015 หวังจะมีการปฏิวัติข้อมูลด้านไอซีที และให้เป็นวาระของโลก ผนึกกำลังในเอเชียแปซิฟิก เป็นตัวแทนของประชาคมโลก ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่าย








01-01 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)






01-02




01-03







01-04







01-05







01-06






01-07






01-08






01-09







01-10






01-11 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)








01-12 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)








01-13 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)









01-14 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)







01-15 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)







01-16 นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)



----------------------------------------------------------------




นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาในการประชุมสดุยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิก (Connect Asia-Pacific Summit 2013)

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ.

วันนี้ (18 พ.ย. 56) เวลา 09.00 น.

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย และแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (Connect Asia-Pacific Summit 2013) ณ ห้องรอยัลจูบิลลี่ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทุกท่านในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU การร่วมกันประชุมครั้งนี้เพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาความเชื่อมโยงสารสนเทศ ซึ่งจะทำให้เราใกล้ชิดขึ้น ในการสร้างสัมพันธภาพและความก้าวหน้า

ประเทศไทยสนับสนุนอย่างแข็งขันในการสร้างความเชื่อมโยง และรอคอยที่จะเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปี ของ ITU ในปี 2015 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

จากการสำรวจของ ITU พบว่าปีที่ผ่านมามีประชากรเข้าสู่โลกออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 250 ล้านคน และภายในสิ้นปีนี้ร้อยละ 40 ของประชากรโลก จะใช้งานอินเตอร์เน็ต The Broadband Commission for Digital Development กล่าวว่าปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกว่า 9 พันล้านเครื่อง และในปี 2025 จะมีถึง 1 ล้านล้านเครื่อง และคาดว่าการใช้งาน 4 จีจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากปี 2012-2017

การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันได้ ก่อนหน้านี้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องใช้ครัวเรือน และฐานข้อมูลทั่วโลก การเชื่อมโยงนี้ จะทำให้เราสามารถดำเนินธุรกิจ โดยยังเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนฝูง ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องให้ประชาชนในทุกชาติสามารถเข้าถึงได้

ด้านการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเชื่อมเชื่อมโยงธุรกิจกับลูกค้า และแหล่งเงินทุนจากทั่วโลก โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจแก่ SMEs ทำให้ SMEs มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และมีการประเมินว่า ผู้หญิงเข้าสู่โลกออนโลน์เพิ่มขึ้นกว่า 600 ล้านคน ทำให้มูลค่า GDP ทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 13-18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นายกรัฐมนตรีได้หารือกับเลขาธิการ ITU เกี่ยวกับโครงการของ ITU ซึ่งจะช่วยให้สตรีมีครรภ์และสตรีที่เพิ่งคลอดบุตรสามารถทำงานจากที่บ้านโดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะทำให้มีความมั่นคงทางการงานเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การเข้าถึงข้อมูล ยังช่วยให้พลเมืองในชาติได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง

นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีบทบาทที่ชัดเจนในการทำให้บรรลุแผน MDGs แก่หลายๆ ประเทศ สำหรับสุขภาพ ทำให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมและเข้าถึงทุกพื้นที่อย่างเพียงพอ

สำหรับการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์แทบเลต จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล รัฐบาลมีโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child) โดยได้แจกจ่ายแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน และเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้ทางไกล การเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นวาระระดับโลก จึงเป็นเหตุผลให้คณะทำงานระดับสูงของสหประชาชาติวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 ให้ความสำคัญกับการใช้ "New data revolution" ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ยังคงมีความท้าทายในหลายๆด้าน โดย 1 ในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด คือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศต่างๆที่เกิดจากความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการเชื่อมโยงน้อยที่สุด (the least connected countries) ในปัจจุบันร้อยละ 80 ของครัวเรือนในประเทศที่พัฒนาแล้วเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีเพียงแค่ร้อยละ 28 ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีความท้าทายเกี่ยวกับการใช้การเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผิดวัตถุประสงค์ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งทำให้เกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การก่อการร้ายในโลกไซเบอร์ การละเมิดความเป็นส่วนตัว โดยความท้าทายทั้งสองประการนี้ควรได้รับการจัดการ หากชุมชนทั่วโลกจะมีการเชื่อมต่ออย่างแท้จริง

การที่เราจะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน

การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างทั่วถึง ซึ่งควรจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับสาธารณูปโภคอื่น ทั้งนี้ประเทศไทยทำงานอย่างหนัก เพื่อพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายนี้โดยการแนะนำระบบ WIFI ในพื้นที่ทั่วประเทศ และเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูง ทั้งนี้การเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคจะต้องมีการลงทุนที่สำคัญ รัฐบาลจึงหวังว่าสถาบันการเงินระหว่างประเทศจะสามารถให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ไทยได้

2. ส่งเสริมด้านซอฟแวร์ ในด้านข้อมูลสารสนเทศ โดยรวมถึงกฎระเบียบ และการส่งเสริมขีดความสามารถของบุคคล และต้องให้ความสำคัญกับประเทศที่ที่มีการเชื่อมโยงน้อยที่สุดและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด โดยนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวแนะนำให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มุ่งเน้นการศึกษาไปที่แนวโน้มการเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตความต้องการของประเทศต่างๆเหล่านี้ และดูว่าการฝึกอบรมและโครงการอื่น ๆ อาจช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้

การเพิ่มความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ขยายความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและผู้มีส่วนได้เสียระหว่างภาคเอกชนต่างๆ ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิตอลใหม่นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งทุกส่วนควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การเกษตร การผลิต ธุรกิจ SMEs ภาควิชาการ และประชาสังคมด้วย เช่นนี้ประเทศไทยจึงมีความยินดีที่ทุกภาคส่วนเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ และเราจะต้องใช้สิ่งที่เราเรียนรู้จากการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ ทำผลให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยรวมถึงการดำเนินการตามปฏิญญาของเราด้วย

การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา การเชื่อมเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นกุญแจไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา ประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมและได้รับรับประโยชน์จากการเติบโต โดยรัฐบาลสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ผ่านการบริการสาธารณะต่างๆ ทั้งจากด้านสาธารณสุข การศึกษา ไปจนถึงความปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกล ในระดับโลก เราจำเป็นต้องพัฒนาการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 โดย ITU สามารถบูรณาการคำแนะนำของประชุมสุดยอดครั้งนี้และก่อนหน้านี้ เพื่อการหารืออภิปรายเกี่ยวกับการพัฒนาระดับโลก

ทั่วโลกมองว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และเป็นความหวังสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การพัฒนาและปรับปรุงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของกลไกดังกล่าว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับเราที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ โดยนายกรัฐมนตรีหวังว่าประชุมสุดยอดครั้งนี้จะพบกับวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วม และพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


ที่มา : //www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=207231:2013-11-18-06-03-49&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

-----------------------------------------------------------------


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2556 13:19:19 น. 0 comments
Counter : 1189 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.