สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
หนุน“เพื่อน”ให้ช่วย“เพื่อน” สร้างเครือข่ายผู้สูงอายุพึ่งพาตนเอง

หนุน“เพื่อน”ให้ช่วย“เพื่อน”

สร้างเครือข่ายผู้สูงอายุพึ่งพาตนเอง

สังคมผู้สูงอายุและแนวโน้มที่ผู้ชราจะถูกทอดทิ้งมีมากขึ้น ดูจะเป็นทั้งข้อเท็จจริงและคำขู่ในเวลาเดียวกัน เพราะภาพผู้สูงอายุที่ปรากฏตามภาพข่าวล้วนทำให้หลายครอบครัวต่างภาวนาไม่อยากให้สถานการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นกับตัวเองให้“เพื่อนช่วยเพื่อน”

โครงสร้างประชากรซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการไหลบ่าจากแรงงานในชนบทเข้าสู่เขตเมือง ประเด็นเรื่องสุขภาวะของผู้สูงอายุถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ในฐานะอีกหนึ่งเครือข่ายสุขภาพก็ได้ขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง

ธิดา ศรีไพพรรณเลขาธิการสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ผู้อำนวยการแผนงานผู้สูงอายุ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)อธิบายว่า แผนสนับสนุนโครงสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุของ สสส.ถูกบรรจุอยู่ในแผนงานสนับสนุนโครงการเปิดรับทั่วไปและนวัตกรรม โดยให้สภาผู้สูงอายุฯ ที่รับผิดชอบงานในเรื่องเหล่านี้โดยตรงเป็นศูนย์กลางเพื่อทำงานร่วมกับเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ

“หลักการทำงานกับผู้สูงอายุที่ สสส.ทำ จะแตกต่างกับรูปแบบเดิมๆ เพราะเราใช้ชมรมผู้สูงอายุเป็นแกน ในลักษณะดูแลกันเองแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพราะที่สุดแล้วคงไม่มีใครเข้าใจผู้สูงอายุด้วยกันได้ดีเท่ากับตัวผู้สูงอายุเอง”ผู้อำนวยการแผนงานผู้สูงอายุ เน้นหลักการ

ตั้งแต่ปี2547เป็นต้นมา สมาคมสภาผู้สูงอายุฯได้เปิดรับโครงการที่กลุ่มผู้สูงอายุ สนใจขอรับการสนับสนุนมาโดยตลอด อาทิ ในปี2549ได้ริเริ่มสนับสนุนชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายจำนวน330โครงการ มีผู้สูงอายุร่วมกว่า 9,930คน ในปี2550สนับสนุนชุดโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ“เพื่อนช่วยเพื่อน”รุ่นที่1จำนวน367โครงการ เกิดอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน11,010คน มีผู้สูงอายุได้รับการดูแลจำนวน7,340คน

ขณะที่ในปี2552ได้ขยายผลโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ“เพื่อนช่วยเพื่อน”รุ่นที่2 จำนวน150โครงการ เกิดอาสมัครดูแลผู้สูงอายุเพิ่มจำนวน5250คน มีผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการเพิ่มจำนวน,3000คน จากนั้นได้ขยายผลในปีที่3ตามลำดับ เกิดโมเดลชมรมพี่-ชมรมน้อง พัฒนารูปแบบชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเรื่อยๆ

“เพื่อนช่วยเพื่อน คือการที่เพื่อนผู้สูงอายุในชมรมใส่ใจกันดูแลสุขภาพ เช่น การเตือนถึงเวลาที่จะพบแพทย์ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย กระทั่งการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่จะทำให้ผู้สูงอายุเพลิดเพลินและไม่เกิดความเบื่อหน่าย อ้างว้างที่ต้องอยู่เพียงลำพัง”

“กิจกรรมเช่นนี้ ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ที่ต่างก็มีพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุ เกิดกลุ่มคนทำงานทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เช่น เกิดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นักเรียนในชุมชน ซึ่งมีเชื่อว่าอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุ(อผส.น้อย)ที่จะมาร่วมช่วยดูแลผู้สูงอายุ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน“ผู้อำนวยการแผนงานผู้สูงอายุ อธิบายเพิ่มเติม

ขณะที่ สสส.จะให้องค์ความรู้และงบประมาณทำกิจกรรมพร้อมลงพื้นที่เปิดเวทีสรุปบทเรียน ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลลัพธ์จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทำให้ผู้สูงอายุที่เคยสิ้นหวังมีกำลังใจจะต่อสู้ชีวิต มีการรวมกลุ่มพึ่งพากันและกัน

มีเครือข่ายเพื่อนในวัยชราซึ่งมีส่วนสร้างความสุขทางร่างกายและจิตใจ

อผส.น้อย หน่วยอาสาวัยเยาว์

เกิด แก่ เจ็บ ตาย โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องธรรมดาก็จริง แต่ทุกคนล้วนดีว่าหากเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องอยู่อย่างมีคุณค่า

โครงการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศได้ร่วมมือดูแลกันเองในลักษณะ“เพื่อนช่วยเพื่อน”มีเคล็ดลับคือการให้แต่ละภาคส่วนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่คือพ่อแม่ พี่น้องของตัวเองนั่นเอง

โครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุ (อผส.น้อย)คือโครงการย่อยที่ต่อยอดมาจากโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนที่มุ่งทำกิจกรรมกับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยอผส.น้อยนี้ เกิดขึ้นในปี2554เริ่มต้นด้วยจำนวน50โครงการ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาสาสมัครผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกราว1,000คน ทั่วประเทศ เกิดอาสมัครวัยเยาว์จำนวนกว่า1,500คน

จากนั้นเป็นต้นมา อผส.น้อยก็เป็นหนึ่งในภาคีหลักที่ทำงานกับผู้สูงอายุเกิดการขยายโครงการอื่นๆ เช่น โครงการผักพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

2-3ปีที่ผ่านมา อผส.น้อยจะได้รับการปลูกจิตสำนึกในการกตัญญูรู้คุณผู้สูงอายุ หันมาดูแลเอาใจใส่ปู่ ยา ตา ยายในครอบครัว และเมื่อรวมโครงการทั้ง2ระยะ(ปี55-57)ได้ผลิตบุคลากรอาสาสมัครดูแลสุขภาพมากกว่า1,500คน

ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและผู้สูงอายุเกิดขึ้นโดยอาสาสมัครวัยเยาว์ได้เรียนรู้ชีวิตจากผู้มาก่อน ขณะที่ผู้สูงอายุได้ใกล้ชิดลูกหลาน ได้รับพลังใจที่ล้นเหลือจากอนาคตของชุมชน

ต่างฝ่ายต่างมอบคุณค่าซึ่งกันและกัน

ก้าวต่อไปของงานผู้สูงอายุ

กว่า5ปีที่เริ่มทำกิจกรรม งานสนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุที่สสส.ดำเนินงานร่วมกับสภาผู้สูงอายุฯ

ครอบคลุมในทุกมิติที่ผู้สูงอายุต้องการ

ตัวเลขจากผลสรุปการพิจารณาโครงการในปี2557 ที่มีผู้เสนอเข้ามาทั้งสิ้น319โครงการ ก่อนจะถูกคัดเลือก121โครงการ แบ่งออกเป็นประเด็นทั้งเรื่อง สุขภาพจิต การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สุขภาพองค์รวม เป็นต้น โดยจากนี้อยู่ระหว่างการทำกิจกรรม ในแต่ล่ะภูมิภาคซึ่งทีมงานจากส่วนกลางจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง

จัดเวทีสรุปบทเรียนเป็นระยะ

ต้องไม่ลืมว่า ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องปรับทัศนคติและร่วมมือเตรียมความพร้อมร่วมหนุนเสริมให้เครือข่ายให้ผู้สูงอายุ มีชีวิตอยู่อย่างไม่สิ้นหวัง เกิดการพึ่งพาตัวเองและไม่เป็นภาระของสังคม

/-/-/-/-/-/-/-/-/




Create Date : 30 สิงหาคม 2557
Last Update : 10 กันยายน 2557 15:27:42 น.
Counter : 959 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]