พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog
เปิดค่ายสร้างสุขปีที่ 9 หนุนปั้นเยาวชนจิตอาสาระดับภาค
ค่ายอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือ กลับมาอีกครั้งในปีที่9 พร้อมจะเป็นแบบเรียนนอกห้องสำหรับเยาวชนผู้แสวงหาความรู้คู่กับประสบการณ์จริง ย้อนไปเมื่อ 2549 โครงการค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือที่รู้จักกันดีในนาม "ค่ายสร้างสุข" ได้สร้างเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจิตอาสาให้แก่สังคมผ่านการทำค่ายมากกว่า100 โครงการ ทั้งในระยะสั้นและยาว มีประเด็นปัญหาที่ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในระดับย่อยด้านสุขภาวะในชุมชน สิ่งแวดล้อม การรณรงค์ ด้านการศึกษาอย่างเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ปัญหาคนไร้ถิ่นอาศัยในเมืองหลวง

"ค่ายสร้างสุข" ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิโกมลคีมทอง และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีความแตกต่างจากค่ายอื่นๆคือ การทำค่ายแบบมูลนิธิครูโกมลคีมทองนั้นอยู่ที่การทำค่ายต้องไม่มีจุดมุ่งหมายที่การสร้างวัตถุ หรือมุ่งให้ชุมชนในลักษณะการอุปการะเพียงอย่างเดียว แต่ตัวเยาวชนเองต้องไปฝังตัวร่วมกับชุมชนก่อน เก็บข้อมูลสังเกตความเป็นไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียนรู้ข้อเท็จจริง


ก่อนที่จะต้องมองโจทย์ให้ออกว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการนั้นคืออะไร มีกระบวนการใดที่จะคลี่คลายเรื่องเหล่านั้นได้บ้าง และการออกค่ายจะไปหนุนเสริมในส่วนนั้น ขณะที่แบบฝึกหัดของเยาวชนค่ายอาสาฯ ได้ฝึกให้กลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่จริงก่อนเพื่อหาข้อมูลเบื้องต้น รู้เป้าหมาย วัตถุประสงค์ก่อนจะริเริ่มโครงการ พร้อมกับมีโจทย์ของตัวเองแล้วว่าจะทำอะไร ไปเพื่อใคร


สร้างเยาวชนจิตอาสาระดับภาค ในปีที่ 9 ซึ่งมีช่วงระยะเวลาทำงานตั้งแต่กลางปี58ถึง59นี้ "พนิดา บุญเทพ" ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า จะเน้นสนับสนุนให้นักศึกษาทั่วประเทศทำค่ายสร้างประสบการณ์ ที่เน้นการพัฒนาทักษะเยาวชนให้เป็นนักปฏิบัติการทางสังคม ปลูกฝังความคิดเรื่องจิตอาสา พัฒนาสุขภาวะกับตนเองและชุมชนโดยใช้การทำค่ายฯ เป็นเครื่องมือเรียนรู้ พร้อมไปกับการยึดหลักของการทำค่ายอาสาฯ คือการไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างวัตถุหรือการให้แบบครั้งเดียวจบโดยปราศจากการสร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักศึกษากับสังคมภายนอกเช่นเดิม ทั้งนี้คาดหวังให้การทำค่ายได้สร้างนักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ๆ เกิดการรวมตัวของคนทำงานจนเป็นสังคมของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถพัฒนาการทำงานได้หลากหลายตามสถานการณ์ มีสำนึกความเป็นพลเมือง สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงปัญหาได้และเท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


พนิดา กล่าวว่า นอกจากนี้จะเพิ่มการกระจายทีมงานค่ายไปสู่ระดับภูมิภาคโดยมีพี่เลี้ยงระดับภาคคอยสนับสนุน เพื่อเอื้อโอกาสให้นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมทั้ง 75กลุ่ม แบ่งเป็น ภาคเหนือ14กลุ่ม ภาคกลาง13กลุ่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ24กลุ่ม ภาคใต้ 24กลุ่มมีอิสระที่จะออกแบบการทำค่ายตามศักยภาพและความสนใจของท้องถิ่นตนเองซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มนักศึกษาภาคใต้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน กลุ่มนักศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสนใจเรื่องสิทธิและทรัพยากรในชุมชน โดยในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนนี้ โครงการจะเริ่มพัฒนาทักษะแกนนำในระดับภาคกับกลุ่มเยาวชน ก่อนจะเปิดโอกาสให้ลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาปัญหาในช่วงกรกฎาคม


"การสร้างเยาวชนที่สอดคล้องกับปัจจุบัน คือการสนับสนุนให้คิดเป็น วิเคราะห์ปัญหาที่มีความเชื่อมโยงหลายมิติได้ และไม่ลืมที่จะรวมกลุ่มคนทำงานที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งนอกจากนักศึกษาที่มาออกค่ายแล้ว เรายังได้พัฒนาศักยภาพกลุ่มพี่เลี้ยงซึ่งเคยร่วมกิจกรรมพร้อมกับประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มนักศึกษาได้มีทักษะเพื่อปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง" ผู้จัดการโครงการกล่าว มากกว่านั้นค่ายสร้างสุขยังมีหัวใจที่ความไม่มีสูตรตายตัว แต่จะเริ่มจากข้อมูลจริงสำรวจความต้องการของชุมชน ร่วมค้นหาองค์ความรู้อยู่ในชุมชนมานาน เกิดการถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน


ทั้งหมดคือตำราเล่มใหญ่ ที่ท้าทายเยาวชนผู้แสวงหาการเรียนรู้ พร้อมๆกับลงมือทำจริง












ติดตามผลงานได้ที่ https://www.facebook.com/krajaisukteam




Create Date : 27 พฤษภาคม 2558
Last Update : 27 พฤษภาคม 2558 17:09:03 น.
Counter : 874 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]