เมษายน 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
 
 
All Blog
เปิดหลักสูตรนำร่องสร้างสุขภาวะสามเณร
การมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งหมายถึงการบริโภคอาหาร การอยู่อาศัย การมีความสุขทางอารมณ์อย่างเหมาะสมคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่เว้นแม่แต่กลุ่มนักเรียนสามเณรที่แม้จะมีวิถีชีวิตที่ต่างออกไปบ้าง หากแต่เรื่องการดูแลสุขภาวะล้วนไม่ต่างกับกลุ่มวัยรุ่นชายทั่วไป โครงการ(นำร่อง) สร้างเสริมสุขภาพที่ดีสำหรับสามเณรนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งดำเนินงานโดยศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยสงฆ์ จ.เชียงรายจึงให้ความสำคัญกับแนวทางการสร้างสุขภาวะกับกลุ่มสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ โดยเริ่มจากพื้นที่ภาคเหนือ


ดร.ผ่องพรรณ เอกอาวุธ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ในฐานะผู้จัดการโครงการ (นำร่อง) กล่าวระหว่างนิทรรศการสรุปผลงานโครงการ(นำร่อง) สร้างเสริมสุขภาพที่ดีสำหรับสามเณร ซึ่งเป็นเวทีสรุปบทเรียนใน8โรงเรียนพระปริยัติธรรมนำร่องในพื้นที่ จ.เชียงรายและ จ.พะเยา เมื่อวันที่10เมษายนที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยสงฆ์ จ.เชียงราย ว่า จากการสำรวจพบว่าพฤติกรรมของกลุ่มสามเณรในกลุ่มนำร่องพื้นที่ภาคเหนือเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่นมีการตรวจพบสารพิษในเลือดเกินระดับมาตรฐานซึ่งสันนิษฐานว่ามีสาเหตุจากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน การมีร่างกายที่ไม่แข็งแรง ไม่สมส่วนจากการไม่ออกกำลังกาย การเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจจากการอาศัยในสถานที่ทรุดโทรม ซึ่งปัญหาทั้งหมดสะท้อนว่าพฤติกรรมของสามเณรไม่ต่างจากกลุ่มวัยรุ่นเพศชายทั่วไปที่ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง ทั้งยังไม่มีองค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองได้ 


"โครงการนี้จึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของกลุ่มสามเณรให้เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามแนวพระราชดำริรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ให้สามเณรในโรงเรียนปริยัติธรรมในพื้นที่ภาคเหนือมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม"


ดร.ผ่องพรรณ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการสร้างสุขภาวะนั้นจะใช้หลักการ "4 อ." อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ ด้านอาหารที่เน้นให้สามเณรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ด้านการออกกำลังกายที่สนับสนุนให้สามเณรได้ออกกำลังกายตามความเหมาะสมของสมณสารูป ด้านอากาศที่เน้นความสะอาดรอบกุฏิที่อาศัย และด้านอารมณ์ด้วยการฝึกสมาธิ นางสาวโปร่งนภา อัครชิโนเรศ นักเทคนิคการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวตอนหนึ่งในงานเดียวกันว่า จากการลงพื้นที่สำรวจพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สามเณรมีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหาร ที่อยู่อาศัย การออกกำลังกาย พบว่ายังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมาะสม อาทิ สามเณรบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน การไม่รักษาความสะอาดกุฏิ จีวร ที่อาจเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้


"ต้องเข้าใจว่ากลุ่มสามเณรมีพฤติกรรมที่ไม่ต่างจากวัยรุ่นผู้ชายทั่วไป แต่สามเณรเองก็ไม่ทราบว่าจะพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร โครงการนี้จึงบอกและกระตุ้นให้สามเณรมีแนวทางที่จะปรับพฤติกรรมให้เกิดสุขภาวะที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่ตัวเอง สิ่งแวดล้อมโดยรอบ ให้เกิดพฤติกรรมที่ดีถาวร"นักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานกล่าว


สำหรับโครงการ(นำร่อง) สร้างเสริมสุขภาพที่ดีสำหรับสามเณรนั้นเป็นโครงการที่เกิดจากแนวพระราชดำริพระราชดำริรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ให้สามเณรในโรงเรียนปริยัติธรรมในพื้นที่ภาคเหนือมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่พฤศจิกายน 56 ก่อนสิ้นสุดในช่วงเมษายนนี้ รวมระยะเวลาประมาณ 18เดือน ก่อให้เกิดโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญนำร่องในพื้นที่ จ.เชียงรายและ จ.พะเยา รวม 8โรงเรียนได้แก่ จ.เชียงราย6โรงเรียน คือโรงเรียนเวียงชัยพิทยา โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา โรงเรียนพุทธศาสตร์ศึกษา โรงเรียนวัดไชยสถานวิทยา โรงเรียนวัดป่าตาลใต้ โรงเรียนวัดเจดีย์หลวงวิทยา และ จ.พะเยา 2 โรงเรียน คือโรงเรียนห้วยข้าวก่ำวิทยา โรงเรียนปัวดอย ทั้งนี้โครงการจะขยายแนวคิดของออกไปในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในภาคเหนือทั้งหมดเพื่อให้สามเณรมีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องต่อไป


ติดตามผลงานได้ที่ https://www.facebook.com/krajaisukteam




Create Date : 24 เมษายน 2558
Last Update : 24 เมษายน 2558 11:56:33 น.
Counter : 821 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]