มีนาคม 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog
​เครือข่ายโรงเรียนวันสุข ขบวนการสร้างสุขทางปัญญาเยาวชน
ทักษะที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของสุขภาวะทางปัญญานั้นมีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการมีจิตสาธารณะ ที่คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง การไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุ การไม่หวังลาภลอยคอยโชค และการคิดอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นรากฐานที่นำไปสู่การสร้างความสุขทางปัญญา แต่ถ้าลองคัดเพื่อให้แนวคิดเกิดเป็นรูปธรรมได้ง่ายขึ้น เครือข่ายโครงการ "โรงเรียนวันสุข" ซึ่งประกอบด้วยมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สำนักสื่อสารและนวัตกรรม ตลอดจนเยาวชนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มุ่งไปที่หลักการคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเองและความเพียรพยายาม เพื่อใช้ขับเคลื่อนกิจกรรม โดยได้รับทุนดำเนินการจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สิทธิชัย แก้วเกิด ผู้จัดการมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม หัวหน้าโครงการโรงเรียนวันสุข อธิบายว่า ทักษะใน2ด้านนี้สามารถเชื่อมโยงกับการทำกิจกรรมของเยาวชนได้ง่าย นั่นเพราะการคิดถึงผู้อื่นล้วนเป็นผลที่เกิดจากการทำงานเป็นทีม การเคารพและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ทักษะการเป็นผู้นำผู้ตามและการอยู่ร่วมอย่างสร้างสรรค์ในสังคม ความเสียสละ ฝึกนิสัยรักการแบ่งปันและเกิดทัศนคติที่ดี เชื่อมั่นต่อความสุขที่เกิดจากการเป็นผู้ให้ ขณะที่ความขยันหมั่นเพียรคือการมุ่งให้นักเรียนและบุคคลากรที่ปฏิบัตินี้ เห็นความสุขที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ เห็นความสุขที่เกิดจากความรู้ และสามารถนำสิ่งที่ได้ลงมือทำไปสร้างสรรค์ให้เกื้อกูลกับตนเองและผู้อื่น อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ "จึงเป็นที่มาของโครงการโรงเรียนวันสุขที่สนับสนุนให้เยาวชน และบุคลากรทางการศึกษา กระทั่งคนในชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำกิจกรรมที่เป็นการพัฒนาศักยภาพตัวเอง รวม 16โรงเรียน (โครงการ) เพื่อให้ได้ทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้เครื่องมือที่เป็นทักษะในการดำเนินกิจกรรม โดยจะมีการติดตามและสนับสนุนจากโครงการฯ ในรูปแบบอบรมเตรียมความพร้อม การสรุปผลถอดบทเรียนและการพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ขณะเดียวกันโครงการฯได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเป็นองค์ความรู้เชิงลึกและสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย รวมทั้งการผลิตสื่อเพื่อรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง"


เขา ยกตัวอย่างกิจกรรม "โรงเรียนเรา บ้านฉันร่วมจัดการขยะ" ของโรงเรียนบ้านคลองแยง จ.กำแพงเพชร ที่เน้นเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของคนในพื้นที่เพื่อจุดมุ่งหมายการลดขยะในชุมชน กิจกรรม "ห้องเรียนสีเขียว" ของกลุ่มเยาวชนบ้านนิเวศเกษตรศิลป์ จ.สุรินทร์ ที่ใช้เรื่องศิลปะ ผนวกเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นออกมาเป็นนิทานภาพของชุมชน และการทำอาหารพื้นถิ่น รวมไปถึงกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันสานสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรมชาวไทยพื้นราบของโรงเรียนบ้านปิน จ.พะเยา ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มเยาวชนต่างวัฒนธรรมที่ความหลากหลาย อย่างลงตัว "กิจกรรมทั้งหมดนี้ได้สร้างโอกาสให้นักเรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติงานจริงในประเด็นที่ตัวเองสนใจ พร้อมกับสานสัมพันธ์คนในชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาได้แก่ ชาวบ้าน โรงเรียน กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมักแยกกันทำงานคนละส่วนให้มาร่วมกันทำงานได้ และยังแสดงออกถึงศักยภาพ และอัตลักษณ์ของกลุ่ม ชุมชน โรงเรียน ให้มีความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ รวมไปถึง โอกาสในการขยายความคิด และความรู้ของตนต่อผู้อื่นและสังคม ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ การสื่อสารผ่านกิจกรรมเช่น งานบุญประเพณี งานมหกรรม ผ่านช่องทางสื่อ ทั้งยังถือเป็นการสื่อสารที่สร้างพลัง อุปสรรคของการขับเคลื่อนงานสุขภาวะอย่างหนึ่งคือ การไม่ค่อยสื่อสารกัน ทั้งในครัวเรือน และในชุมชน หรือหากจะมีก็เป็นเรื่องที่เป็นทางการ หรือเรื่องของคนอื่น เรื่องราชการ ทำให้เกิดช่องว่างของครอบครัว และชุมชน ซึ่งมีเหตุปัจจัยหลากหลาย แต่กระนั้นก็ต้องฟื้นฟูและพัฒนากลไกการสื่อสารเพิ่มเติม โดยใช้โอกาสทางวัฒนธรรม เช่นวันพระ งานบุญ งานบวช "


สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นหูกับโครงการโรงเรียนวันสุข ก็ไม่ต้องแปลกใจนั่นเพราะกิจกรรมนี้เพิ่งเริ่มดำเนินการเป็นระยะแรกโดยเป็นกิจกรรมที่อยู่ในชุดโครงการความสุขทางปัญญา มีระยะเวลา18เดือน ซึ่งผลจากการทำงานและสรุปผลไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ได้ค้นพบความจริงที่น่าสนใจว่า พบว่า เยาวชนยังสนใจเรื่องชุมชนที่ตัวเองมีความเกี่ยวข้อง และพร้อมดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบของตัวเอง เช่น การใช้ทักษะด้านศิลปะ การเล่นดนตรีพื้นบ้าน การทำเกษตรกรรม "จากการทำโครงการพบว่าถึงเด็กไทยจะติดเกมคอมพิวเตอร์ แต่หากมีพื้นที่ทำกิจกรรมพวกเขาก็พร้อมจะลงมือทำ ซึ่งโครงการโรงเรียนวันสุข ได้เปิดพื้นที่ ให้เด็กได้คิดเป็น ลงมือปฏิบัติได้จริง เปลี่ยนมุมมองของครูและนักเรียนเห็นถึงประโยชน์จากกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเฉพาะตัวเด็กเองที่ได้ฝึกทักษะการคิดเป็นภาพรวมและเชื่อมโยงปัญหาได้ พร้อมกันนี้ยังต้องจัดการกับความรู้สึกตัวเองเพื่อปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่น" ผู้จัดการโครงการสะท้อนภาพหลังคลุกคลีกับเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรม แน่ว่านี่คืออีกหนึ่งเสียงสะท้อนที่กำลังเป็นพลัง ร่วมผลักดันแนวคิด "ความสุขทางปัญญา"กับกลุ่มเยาวชน

หมายเหตุ: สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม

ติดตามผลงานของเราได้ที่ https://www.facebook.com/krajaisukteam




Create Date : 27 มีนาคม 2558
Last Update : 30 มีนาคม 2558 14:20:45 น.
Counter : 763 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]