กันยายน 2557

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
“ไอเดียสร้างสรรค์” บวก “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”
“ไอเดียสร้างสรรค์” บวก “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

สูตรรวมพลังปั้นสุขภาวะชุมชน

ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ชีวิตเฉพาะบุคคลของคนทำกิจกรรมที่พอกพูนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่เวลาเดียวกับที่แบบฝึกหัด “ทักษะทางปัญญา” เดินหน้าไป ด้านหนึ่งของชุมชน-ท้องถิ่นในฐานะพื้นที่ทำกิจกรรมยังมีโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆกันกับผู้มาเยือน กลายเป็นพลังความเปลี่ยนแปลงที่ถูกขับเคลื่อนจากกันและกัน


ชุมชนท้องถิ่นคือฐานรากของการพัฒนาในหลากหลายประเด็นอย่างที่ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ย้ำในงาน “ร้อยพลัง สร้างสุข” ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ 

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาตอนหนึ่งว่า การสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็งเป็นภารกิจหนึ่งของ สสส. และภารกิจสำคัญของ

ทุกองค์กร เนื่องจากความเป็นชุมชนได้สร้างศักยภาพ ภูมิปัญญา และแนวทางพัฒนาตนเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีชุมชนจึงเปรียบเสมือนรากฐานที่จะพัฒนาประชากรของประเทศในมิติต่างๆ

หลักคิดข้างต้นถูกอธิบายด้วยหลักฐานผ่านผลลัพธ์ของกิจกรรมต่างๆของ สสส.ซึ่งทั้งหมดถูกออกแบบด้วยวิธีการอันหลากหลาย หากมี “จุดร่วม”ที่เหมือนกันคือการให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้ทำกิจกรรมได้เชื่อมโยงความรู้ที่มีแก่กัน “พนิดา บุญเทพ”ผู้แทนโครงการค่ายอาสาสร้างเสริมสุขภาวะ”หรือที่เรียกกันว่า “ค่ายสร้างสุข” ซึ่ง สสส.ทำร่วมกับมูลนิธิโกมลคีมทอง กล่าวในวงเสวนาย่อย ‘พลังเยาวชน พลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง’ ที่มี สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม เป็นแม่งานว่า 

การออกค่ายของเยาวชนได้ส่งแรงกระตุ้นให้ท้องถิ่นหันมามองตัวเองเพราะบางพื้นความเฉยชาทำให้ชุมชนเพิกเฉยต่อปัญหาที่มี บุคคลภายนอกอย่างเยาวชนจะช่วยให้ชุมชนตั้งคำถามและหาหนทางที่จะพัฒนาให้ไปในทางที่ดีขึ้น ขณะที่ในมุมของเยาวชนเองได้พบประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้นกล้าตัดสินใจแก้ปัญหา โดยเฉพาะการเข้าใจว่าแท้จริงแล้วสังคมมิได้จำกัดเพียงแค่กรุงเทพฯ เท่านั้น 

แต่ยังหมายรวมถึงชนบทซึ่งเป็นรากฐานของสังคมซึ่งยังประสบกับปัญหาจากความไม่เป็นธรรมด้วย

ทั้งนี้กิจกรรมค่ายอาสาฯได้ช่วยชุมชนสำรวจปัญหาพร้อมๆกับสร้างประสบการณ์แก่เยาวชนที่ร่วมกิจกรรมในหลากหลายประเด็นอาทิ 

สิ่งแวดล้อมจากการทำอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีความเชื่อมโยงหลายมิติเหตุนี้การทำกิจกรรมของเยาวชนจึงต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนเพราะไม่สามารถเรียนรู้โดยลำพังได้

“การได้ออกไปสัมผัสกับผู้อื่นอาจทำให้ได้ค้นพบอะไรบางอย่างและการได้เรียนรู้กับชุมชนนั้น จะทำให้เห็นปัญหาว่าสิ่งที่รับรู้ได้ยินจากสื่อต่าง ๆ อาจแตกต่างจากข้อมูลความจริงทั้งหมด ประสบการณ์จากชุมชนได้สอนเรา และเราก็ได้ร่วมแก้ปัญหาชุมชนไปพร้อมๆกัน”พนิดา กล่าว

ส่วนในรูปแบบของกิจกรรมดนตรี “รัชพงศ์ โอชาพงศ์” ผู้แทนโครงการดนตรีเพื่อการเรียนรู้ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “พลังเพลง พลังปัญญา”กล่าวในวงเสวนาเดียวกันนี้ว่า กิจกรรมพลังเพลงฯ เน้นส่งเสริมให้เยาวชนลงพื้นที่ชุมชนเพื่อให้ได้เนื้อหาที่เกี่ยวกับประเด็นสังคมมาทำเป็นบทเพลง และสิ่งที่ค้นพบคือ เด็กและเยาวชนมีความใส่ใจในสิ่งรอบตัว มองเห็นแง่มุมมากขึ้นขณะที่ชุมชนเองได้มองเห็นปัญหาของตัวเองและได้รู้ถึงมุมมองที่คนภายนอกมองเข้ามา กระทั่งทั้ง2ส่วนเกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง เกิดการรวมพลังระหว่างความสร้างสรรค์ของเยาวชนและชุมชนท้องถิ่นที่มีภูมิปัญญา

สำหรับกิจกรรมที่เชื่อมโยงและเกิดผลลัพธ์ในท้องถิ่นชัดเจนอย่าง โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อสุขภาวะ หรือ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ซึ่งสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้สูงอายุในชุมชนโดยเฉพาะนั้น “ธิดา ศรีไพพรรณ” เลขาธิการสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ผู้จัดการโครงการฯ เล่าว่า โครงการเน้น แนวคิดให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันเป็นชมรมเพื่อทำกิจกรรมต่างๆตามความต้องการของสมาชิกเพราะคนในชุมชนย่อมรู้ดีถึงชุมชนของตัวเอง และการทำกิจกรรมยังช่วยก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในชุมชน เช่น ในโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนได้ก่อให้เกิดอาสาดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นคนสูงอายุในชุมชนด้วยกันเอง รวมถึงการสร้างอาสาสมัครผู้สูงอายุน้อย (อผส.น้อย) ซึ่งให้เด็กในชุมชนมาดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ และคนใกล้ชิด

“เราเปิดอบรมแล้ว3-4ปี มีชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วม และมีหน่วยงานระดับท้องถิ่นได้สานงานต่อเกือบ 70% กิจกรรมให้คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจผู้สูงอายุและลดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้นเราจึงเปิดรับสมัครนักเรียนทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่ถูกละเลยจากบุตรหลานซึ่งภายหลังดำเนินโครงการมาเด็กและเยาวชนมีความใส่ใจในบุพการีในบ้าน มีความภูมิใจเป็นค่าการตอบแทนเกิดความสามัคคีในชุมชน ส่วนผู้ใหญ่ก็ได้บุญกุศลตกทอดไปถึงลูกหลาน มีความสุขความเจริญ” ตัวแทนโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเล่าถึงประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน

นอกจากผู้ทำกิจกรรมจะได้ประสบการณ์และทักษะชีวิตที่มากขึ้น ระหว่างที่กิจกรรมเดินหน้าไปคนในชุมชนยังได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆกันทิศทางของคนทำงานต่อจากนี้จึงต้องเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นเกิดกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมๆกัน

พลังความสร้างสรรค์ของนักกิจกรรมกับองค์ความรู้ในท้องถิ่นจึงถูกถ่ายโอนหลอมรวมซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดก้าวสำคัญของความเปลี่ยนแปลง


ล้อมกรอบ

นอกจากเวทีของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมที่มีการพูดคุยถึงการขับเคลื่อนสุขภาวะโดยเฉพาะการมีสุขภาวะทางปัญญาภายใต้ชื่อ”พลังเยาวชน พลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง” แล้ว ในงาน “ร้อยพลัง สร้างสุข” ยังมีกิจกรรมน่าสนใจในงาน อาทิ ปาฐกถาพิเศษ 

“ชุมชนท้องถิ่นกับอนาคตประเทศไทย” การเสวนาห้องย่อย 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. 2กลไกร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ 2.สร้างสรรค์เศรษฐกิจพอเพียงและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต 3.ชุมชนน่าอยู่ด้วยพลังงานชุมชน 4.หลากวิธีสร้างอาหารปลอดภัยในชุมชน 5.นวัตกรรมลดพฤติกรรมเสี่ยงเหล้า บุหรี่ การจัดแสดงนิทรรศการต้นแบบความสำเร็จของชุมชนน่าอยู่จาก 600 ภาคีทั่วประเทศ และเกมตรวจเช็คสุขภาพความเข้มแข็งชุมชน รวมถึงให้คำปรึกษาการเขียนข้อเสนอโครงการเปิดรับทั่วไป.

พร้อมผลักดันสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น


การเชื่อมโยงกับชุมชนคือแนวทางที่สำคัญของการทำโครงการที่มีเป้าหมายของการมีสุขภาวะที่ดี ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าวเสริมสุขภาพ(สสส.) สนับสนุนโครงการรายย่อยที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคกว่า 3,400 โครงการ ส่วนใหญ่ 92% ดำเนินงานในพื้นที่ชนบท อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ทำให้เกิดชุมชนน่าอยู่ 1,390 ชุมชนทั่วประเทศ มีผู้ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 703,000 รวมถึงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ เช่น บริโภคอาหารปลอดภัย จัดการขยะ ลดใช้สารเคมี ออกกำลังกาย ชุมชนน่าอยู่และมีสุขภาวะ ฯลฯ




Create Date : 10 กันยายน 2557
Last Update : 10 กันยายน 2557 15:24:06 น.
Counter : 1088 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]