กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
2
4
5
7
11
12
14
18
19
21
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
จุลินทรีย์ ตอนที่ 2
จุลินทรีย์ SM (Super Microbes)

     คือกลุ่มจุลินทรีย์ ( Microbial collaboration ) ซึ่งประกอบด้วย
-   แบคทีเรีย ( Bacteria) 
-   รา (Fungi)     
-   แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes)  


โดยมีคุณสมบัติดังนี้  


-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเซลลูโลส หรือเศษพืช (Cellulolytic Microorganism) ประกอบไปด้วยแบคทีเรีย (Bacteria) รา (Fungi) และ แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะปล่อยเอนไซม์ (Enzymes) ออกมาย่อยสลายเศษพืชและซากสัตว์
-   กลุ่มจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient  Elements  Solubilizing Microorganisms)
-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช  
เช่นออกซิน(Auxin) จิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin) และไซโตไคนิน
(Cytokinin) สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตสารปฏิชีวนะที่ป้องกันและทำลายโรคพืช  
-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ในช่วงอุณหภูมิสูง 50-70 องศา 
เซลเซียส
-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารพิษและสารปนเปื้อนในดิน เช่น สารหนู
แคดเมียม ตะกั่วและปรอท เป็นต้น
-   กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มหลักในกิจกรรมชีวเคมีของ
- วัฏจักรคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
- วัฏจักรไนโตรเจน
- วัฏจักรฟอสฟอรัส
- วัฏจักรซัลเฟอร์  
- การเปลี่ยนแปลงและการหมุนเวียนเหล็ก  
-   กิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยในการปรับปรุงดินให้มีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุยและมีการระบายน้ำและอากาศดี ทำให้ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้นและช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน (ค่า pH) ให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย


จุลินทรีย์ SM (Super Microbes) 
    มีความสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยจากอินทรียวัตถุ เช่นเศษพืช ซากสัตว์ และมูลสัตว์ไว้ใช้ได้เองในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถประหยัดและลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม ทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะและของเสีย ไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวทางในการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนตามแนว และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ SM (Super Microbes) ใช้ผลิต


1.  สารเร่งชีวภาพใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ( Fertilizer Accelerator)                                    

ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย
-   ปุ๋ยหมักแห้ง (Organic Fertilizer – Compost)
-   ปุ๋ยน้ำหมักปลา (Organic Fish Liquid Fertilizer)
-   ปุ๋ยน้ำหมักพืช (Organic Plant Liquid Fertilizer)
-   ปุ๋ยน้ำหมักผลไม้ (Organic Fruit Liquid Fertilizer)
     โดยใช้ระยะเวลาอันสั้นเพียง  7 วัน


2.   สารชีวภาพปรับปรุงดิน ( Bio Soil Amender)
ใช้ปรับปรุงดินด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์กับพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศโดยเติมจุลินทรีย์ให้กับดิน เช่น นาข้าว ไร่และ สวน


3.  สารชีวภาพ ( Bio Decomposer)
-   สารชีวภาพสำหรับผลิต Biogas  
-   สารชีวภาพสำหรับบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
-   สารชีวภาพสำหรับบ่อกุ้งบ่อปลา        

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ SM (Super Microbes) ในการเกษตรกรรม


1. ใช้ในการปรับปรุงดิน (Bio Soil Amender) ด้วยการปล่อย
จุลินทรีย์สายพันธุ์ดีลงไปในดินโดยให้จุลินทรีย์ขยายตัวเป็นจำนวนมากๆไปทั่วพื้นที่เพาะปลูก จะทำให้ดินมีชีวิต มีความสมบูรณ์ทางชีวภาพ

กิจกรรมของจุลินทรีย์จะช่วยปรับปรุงดินให้มีโครงสร้างที่ดีขึ้นดังนี้
ทางกายภาพ
ดินมีลักษณะร่วนซุย มีการระบายน้ำและอากาศดี 


ทางชีวภาพ 
ดินมีชีวิต มีความหลากหลายของจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีและ สิ่งมีชีวิตในดินอย่างสมดุลกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน


ทางชีวเคมี
1.ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง( pH) ที่เป็นกลางอยู่ระหว่าง 5.5 – 8.5 ซึ่งจะเหมาะสมในการทำเกษตรกรรมมากที่สุด ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้น
2. ช่วยในการหมุนเวียนธาตุอาหารพืช (Organic Matter Recycling) ในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของอินทรียวัตถุในการเกษตร เช่น ซากพืช ซากสัตว์และมูลสัตว์ต่างๆ
3. จุลินทรีย์ SM เป็นสารเร่ง (Fertilizer Accelerator)
ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ปุ๋ยหมักชีวภาพต่างๆและปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้ระยะเวลาอ้นสั้นเพียง 7วัน ทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงและมีผลกระทบต่อสภาพดินอย่างมาก
4. จุลินทรีย์ SM มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ของไทยให้เติบโตเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนอันจะนำมาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค สามารถที่จะแข่งขันกับตลาดโลกได้
5. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยนำขยะที่เหลือใช้ในภาคต่างๆมาแปรรูปเป็นปุ๋ยใช้เป็นธาตุอาหารพืชในภาคการเกษตร
6. ช่วยให้ภาคการเกษตรมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นทั้งในด้านการผลิตและผลผลิต อันจะช่วยพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกได้อย่างรวดเร็วและถาวรตลอดไป


เครดิต  จาก  //www.cw-sm.com/




Create Date : 16 กรกฎาคม 2558
Last Update : 16 กรกฎาคม 2558 10:47:22 น.
Counter : 1386 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]