ตุลาคม 2558

 
 
 
 
1
2
3
6
9
10
11
13
15
16
17
18
23
24
25
28
29
30
31
 
All Blog
กุ้งไทยกำลังเจอทางตัน … (อีกแล้ว)

เมื่อไม่นานมานี้ภาคเอกชน (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF) พึ่งสามารถหาทางแก้ปัญหาเรื่องของโรคตายด่วนในกุ้ง EMS (Early Mortality Syndrome) ในประเทศไทยได้สำเร็จไม่กี่เดือน แต่มาตอนนี้หน่วยงานราชการกำลังจะลอยแพ ทิ้งให้ภาคเอกชน และภาคเกษตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องกุ้งต้องก้มหน้าก้มตารับผลกระทบอีกครั้ง

สำหรับในการแก้ไขเรื่องของโรคกุ้งที่ผ่านมา ทางฝ่ายรัฐบาลแทบจะไม่เคยเข้ามามีบทบาทสำคัญ หรือเป็นแกนนำในการแก้ไขเรื่องโรคกุ้งอย่างจริงจัง และเต็มตัว ทิ้งให้ฝ่ายเอกชน และฝ่ายเกษตรกรต้องหาทางพัฒนา และแก้ไขแต่เพียงลำพัง จนมาเมื่อเร็วๆ นี้ ทาง CPF โดยนายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสออกมาแจ้งว่า

“โรคกุ้งตายด่วนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในการเลี้ยง ซีพีเอฟมีระบบฆ่าเชื้อในน้ำ ใช้โอโซนเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้ง คัดสรรลูกกุ้งที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ด้วยการตรวจจับเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค PHPND หรืออีเอ็มเอสได้อย่างละเอียด

ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตลูกพันธุ์กุ้งที่ได้มาตรฐานสูง ปลอดจากโรค และสารตกค้าง มีการตรวจสอบคุณภาพกุ้ง และเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนอย่างเข้มงวด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ใช้ลูกพันธุ์กุ้งของบริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการสูญเสีย และช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง”

รวมทั้งซีพีเอฟยึดมั่นในกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามหลักการ “Food Safety” โรงเพาะฟักพันธุ์ลูกกุ้งจึงเป็นอีกต้นทางของการผลิตอาหารปลอดภัย ที่มีระบบการเลี้ยงและอนุบาลลูกกุ้งที่สะอาด ปลอดจากเชื้อโรค ปราศสารตกค้าง และมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับทุกขั้นตอนเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของลูกกุ้ง

ที่มา : ซีพีเอฟปลื้มงัด3แผนสู้EMSสำเร็จ ใช้โอโซนPCRสแกน-เพาะแพลงก์ตอนเลี้ยงลูกกุ้ง

ดังนั้น ผู้บริโภคแบบเราๆ ท่านๆ จึงสามารถมั่นใจถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหารจากภายในประเทศได้อย่างมั่นใจ


รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องสินค้าประมงขาดแคลนด้วยการนำเข้ากุ้งจากประเทศอินโดนีเซียมาจำหน่ายในไทยเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในไทย แต่เกษตรกรผู้ประกอบการภายในประเทศกำลังจะต้องเผชิญกับวิกฤติไปทั้งระบบ…

…ประเทศไทยเราเพิ่งฟื้นไข้จากวิกฤติโรคอีเอ็มเอส การเยียวยาในอุตสาหกรรมกุ้งของไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยมีแนวทางชัดเจนในการจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งของไทยดีขึ้นตามลำดับ…เกษตรกรเริ่มมีกำลังใจที่จะกลับมาประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งหลังซบเซามานาน …ซึ่งกว่าจะถึงวันนี้พวกเขาต้องปรับตัวและใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ แล้วหากมาโดนหางเลขกับ การระบาดของโรคตัวนี้ซึ่งยังไม่เคยพบเคยเห็นเลยจะเป็นการซ้ำเติมหรือไม่ เป็นข้อคิดที่น่าเอาไปเป็นการบ้าน….

...ช่วงนี้เป็นช่วงการฟื้นฟูของอุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จึงเป็นจังหวะและโอกาสที่สำคัญมาก ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยกลับมาเป็นผู้ส่งออกเบอร์ 1 ของโลก

คุณสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า

“การนำเข้ากุ้งจากอินโดนีเซีย เป็นมุมหนึ่งในการเปิดประตูให้เข้ามาแย่งชิงตลาด อันจะส่งผลกระทบต่อราคากุ้งให้ตกต่ำแล้ว จะยังเป็นลูกระนาดถึงผู้เลี้ยงกุ้งของไทยแบบเต็มๆ ซึ่ง 80 กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรรายย่อย

อีกเหตุที่สร้างความหวาด คือ ก่อนหน้านี้กุ้งในอินโดนีเซียมีโรคกล้ามเนื้อขาวขุ่นที่เกิดจากเชื้อไวรัสระบาดอย่างรุนแรง แม้ว่ากรมประมงจะยืนยันว่ามีระบบการตรวจเชื้อโรคอย่างเข้มงวดก็ตาม มั่นใจหรือว่าจะไม่มีการเล็ดลอดหรือปนเปื้อนเข้ามา”

“…กรมประมงซึ่งควรจะทำหน้าที่ให้ความดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลายๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิต ราคาที่ตกต่ำและการส่งออกที่สามารถให้ยืนหยัดอยู่บนตลาดโลกได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะ ขวากหนามในการตัดสิทธิภาษีจีเอสพีของสหภาพยุโรป…น่าจะดีกว่าไปอุ้มอินโดฯ…”

ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งฯ เหน็บทิ้งท้ายก่อนผละจาก สื่อมวลชน…!!

ที่มา : “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” โดยดอกสะแบง

#เครดิต ปลาทวนน้ำ

#CPF #EMS #กรมประมง #กุ้ง #โรคกุ้งตายด่วน




Create Date : 07 ตุลาคม 2558
Last Update : 7 ตุลาคม 2558 9:19:17 น.
Counter : 829 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]