เมษายน 2552

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กู่ฉินและการประดิษฐ์ โดย หวังเผิง

หวังเผิง เขียน
ชัชชล ไทยเขียว แปล



ขั้นตอนการทำกู่ฉิน



1. การเลือกวัสดุ
สกุลเหลย(雷氏) ตระกูลช่างทำกู่ฉินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงกู่ฉินจากประสบการณ์อันยาวนานไว้ว่า “ใช้ไม้ดี ใช้ไม้เป็น ห้าร้อยปี มีเสียงตรง” เนื่องจากการบรรเลงกู่ฉิน ต้องใช้นิ้วมือกดสายลงไปให้สัมผัสกับผิวหน้าของเครื่องดนตรีโดยตรง ถ้าหากใช้ไม้ที่ไม้แห้งสนิททำ ต่อมาไม้จะเกิดการคลายความชื้นตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการบิดตัว ตำแหน่งที่กดเสียงก็จะเพี้ยนไปทั้งตัว ด้วยเหตุนี้ช่างทำกู่ฉินในยุคต่อๆมา จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับไม้เป็นอันดับแรก ซึ่งไม้ที่เหมาะในการทำกู่ฉินที่สุดคือเสาเรือนหรือขื่อที่มีอายุร้อยหรือพันปีขึ้นไป สำหรับไม้แผ่นบน ควรเลือกที่มีลายไม้ควรมีระยะห่างเรียงเป็นระเบียบ ไม่แข็งอ่อนมากเกินไป และถ้าไม่มีตาไม้หรือร่องรอยแมลงกัดจะดีมาก ไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่คือไม้ถงและไม้ซาน ส่วนไม้แผ่นล่างจะใช้ไม้อะไรก็ได้ แต่ควรมีความแข็งพอสมควร



2. การขึ้นทรง
รูปทรงของกู่ฉินมีความแตกต่างเฉพาะตัว ถือเป็นความงามที่หลากหลาย ตำรา “ไท่กู่อี๋ยิน” (太古遗音) ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เป็นตำราที่บันทึกเกี่ยวกับรูปทรงต่างๆของกู่ฉินที่เก่าแก่ที่สุด หลายร้อยปีต่อมารูปทรงของกู่ฉินในตำรา “หวู่จือไจฉินผู่” (五知斋琴谱) ในสมัยราชวงศ์ชิง ก็มีมากถึง 50 กว่าแบบ รูปทรงที่มีชื่อเสียงก็มี จ้งหนี(仲尼) เหลียนจู(联珠) ลั่วเสีย(落霞) ฝูซี(伏羲) เจียวแย่(焦叶) เป็นต้น กู่ฉินถึงแม้ว่าจะมีรูปทรงที่หลากหลาย แต่ที่จริงแล้ว ความแตกต่างก็อยู่แค่ช่วยบริเวณคอและเอวของตัวเครื่องเท่านั้น ในทุกวันนี้กู่ฉินรูปทรงใหม่ๆก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เช่น ทรงต้าเผิง(大鹏) หรือทรงอินทรีย์ยักษ์ของอาจารย์หวังเผิง เป็นต้น


ทรงเจียวเย่



ทรงต้าเผิง



3. โครงสร้างภายใน
การกำเนิดเสียงของกู่ฉิน เกิดจากไม้แผ่นบนที่ขุดเป็นร่องและแผ่นล่างที่เรียบสนิทประกอบกันเป็นช่องเสียงอยู่ภายใน ด้วยเหตุนี้ความหนาบางของแผ่นไม้ทั้งสอง รวมไปถึงพื้นที่ของช่องว่างภายในจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ในสมัยรวงศ์ซ่ง หนังสือ “ปี้ลั่วจื่อจั๋วฉิน” (碧落子斫琴) ของ สือหรู่ลี่ (石汝砺) กล่าวไว้ว่า “การทำฉินโดยปกติแล้ว ถ้าแผ่นบนหนา แผ่นล่างบาง เมื่อบรรเลงสายเปล่าเสียงก็จะแน่น เมื่อบรรเลงฮาร์โมนิคเสียงจะใส สายใหญ่เสียงหนาสายเล็กเสียงแน่น (หมายถึงเขตเสียงต่ำและเขตเสียงสูง) ถ้าทำตามหลักนี้แล้ว เสียงโดยรวมจะหนาแน่นละชัดเจน หากแผ่นบนบางแผ่นล่างหนา เมื่อบรรเลงสายเปล่าเสียงก็จะไม่ชัด เมื่อบรรเลงฮาร์โมนิคเสียงจะแผ่ว เหมาะกับสายเล็ก สายใหญ่จะได้เสียงที่ไม่ดี เสียงโดยรวมจะบางเบาไม่น่าฟัง และถ้าหากไม้ทั้งสองหนาเท่ากัน เสียงก็จะหนาบ้างบางบ้าง” จากความความแตกต่างของการกำหนดหนาของไม้ข้างต้น ทำให้กู่ฉินได้คุณภาพเสียงที่แตกต่างกันไป และเป็นสิ่งที่ช่างทำฉินในยุคต่อๆมาให้ความสำคัญอีกเช่นกัน





4. การประกอบกู่ฉิน
การประกบแผ่นไม้ทั้งสองของกู่ฉิน ทำได้โดยการใช้ยางรักทาแล้วประกบ แล้วใช้เชือกรัดไว้ประมาณครึ่งเดือนเป็นอันสำเร็จ




5. การเคลือบผิวไม้
นำเขากวางไปบดให้ได้ความละเอียดสามระดับแตกต่างกัน นำไปผสมกับยางรักแท้คนให้เข้ากัน เมื่อทำการเคลือบ ให้ใช้ส่วนผสมที่หยาบที่สุดทาก่อน แล้วค่อยๆใช้แบบละเอียดไปเรื่อยๆตามขั้นตอน ปกติชั้นเคลือบแต่ละชั้นจะให้เวลานานมากกว่าจะแห้ง ปกติสิบกว่ากันถึงจะสามารถทาเคลือบอีกชั้น ทำไปแบบนี้สิบกว่าชั้น ถึงจะถือว่าสำเร็จขั้นตอน หลังจากนั้นต้องปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติเป็นเวลาอีก 1 ปีกว่า ดังนั้นการทำกู่ฉินหนึ่งตัวปกติใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี





6. การเคลือบละเอียด
เมื่อชั้นเคลือบแห้งสนิทแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมาเคลือบละเอียด การเคลือบละเอียดนั้นก็ใช้ยางรักกับเขากวางบดที่ต่างกันไปสามระดับเช่นกัน แต่จะละเอียดกว่าขั้นตอนก่อนมาก เคลือบชั้นแรกใช้ส่วนผสมแบบหยาบทาบางๆ เมื่อแห้งสนิทให้ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดจนเรียบ ต่อมาเคลือบชั้นที่สองให้ใช้ส่วนผสมที่ละเอียดเข้าไปอีกทาซ้ำ เมื่อแห้งสนิทก็ใช้กระดาษทรายขัดอีก แล้วชั้นสุดท้ายให้ใช้ยางรักบริสุทธิ์ทาอีกครั้ง พอแห้งแล้วให้ใช้กระดาษทรายเบอร์เล็กที่สุดขัดให้ผิวหน้าเรียบสนิท ถ้าผิวหน้ามีบริเวณที่ขรุขระจะทำให้เวลาบรรเลงเกิดเสียงแทรกรบกวน ขั้นสุดท้ายใช้กระดาษทรายน้ำขัดจนเงาก็เป็นอันเสร็จ



7. การเคลือบเงา
ในสมัยโบราณนั้นการเคลือบเงาของกู่ฉินมีหลากหลายวิธีมาก แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ทำให้ผิวหน้าของกู่ฉินมันวาวได้ จะใช้วิธีไหนก็ไม่มีปัญหา




8. ตำแหน่งฮุย
ผิวหน้าของกู่ฉินจะมีจุดขาวๆสิบสามจุด มีหน้าที่บอกตำแหน่งในการลงนิ้ว เรียกว่าฮุย ในการจัดตำแหน่งของฮุยนั้น มีความยาวของสายเป็นปัจจัยหลัก (จากเยวี่ยซานไปถึงเหงือกมังกร) โดยเริ่มจากการดีดเสียงฮาร์โมนิคบริเวณส่วนกลางของสายก็จะได้ฮุยที่เจ็ด ส่วนฮุยที่เหลือ ก็ค่อยๆ หาออกไปทางซ้ายและขวา ซึ่งจะมีระยะห่างจากฮุยเจ็ดเท่าๆ กัน


9. ขากระสา
ช่องเสียงของกู่ฉินมีสองตำแหน่ง เรียกว่า “สระหงส์” และ “สระทังกร” “สระหงส์”นั้นจะอยู่ระหว่างร่องทั้งสองที่อยู่บริเวณเอวของเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “ร่องขากระสา” ซึ่งมีหน้าที่ประกอบขากระสาที่มีไว้รั้งสายนั่นเอง ซึ่งสากระสามีความสะคัญมาก เพราะมีหน้าที่เป็นตัวกลางให้ไม้แผ่นบนและแผ่นล่างอยู่ชุดกันมากขึ้น จึงเป็นผลให้การสั่นสะเทือนบอดี้ของกู่ฉินดีขึ้น นอกจากนี้ขากระขายังมีหน้าที่รั้งสายและเพิ่มความมั่นคงให้กับกู่ฉินเมื่อบรรเลงอีกด้วย



10. การขึ้นสาย
การขึ้นสายกู่ฉินมีนั้น มีลำดับสายอย่างชัดเจน โดยปกติแล้วจะขึ้นสายที่ห้าไปรั้งไว้ที่ขากระสาแล้วตั้งให้ได้เสียงที่ต้องการ หลังจากนั้นก็ตั้งสายที่หกและเจ็ดบนขาเดียวกันตาลำดับ ต่อไปก็ขึ้นสายที่หนึ่งบนขากระสาอีกข้าง แล้วตามด้วยสายที่ สอง สามและสี่ ตามลำดับ เมื่อขึ้นสายเรียบร้อยแล้ว การทำกู่ฉินก็ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์












Create Date : 10 เมษายน 2552
Last Update : 10 เมษายน 2552 15:22:31 น.
Counter : 4818 Pageviews.

26 comments
  
มาเก็บความรู้เช่นเคยค่ะคุณชัช

หนึ่งเครื่องใช้เวลาสองปีเชียว ไ้ม้ที่ใช้เดี๋ยวนี้ยังหาได้อยู่หรือค่ะไม้เสาไม้เรือนอายุมากขนาดนั้น เห็นชื่อต้นไม้แล้วมีเรื่องมาถามคุณชัชชอีกหนค่ะ (แม่คนนี้จะมาเยี่ยมเฉย ๆ ไม่ได้หรืออย่า่งไรเนาะ)

อยากถามค่ะว่าคุณชัชพอจะทราบไหมค่ะว่าต้นไม้เหล่านี้แปลเป็นไทยจะเรียกได้ว่าอย่างไร หรือบอกวงศ์ที่ใกล้เคียง ลักษณะดอกก็ได้ค่ะ
ต้นยั่วมู่ ฮุ่ย หลิวอี้ เจียเชอ ไป๋จื่อ มู่หลัน อู๋ถง หรือพอจะมีเว็บเกี่ยวกับไม้จีนแนะนำอิมาอิบ้างไหมค่ะ ลองไปหาแล้วมันได้มาไม่กี่ตัวเอง อย่างเช่นกุ้ยฮัวที่คนไทยคุ้นเคย คงเท่านี้แหละคะ่ รบกวนอีกแล้วค่ะ
โดย: อิมาอิซัง วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:19:49:48 น.
  
ไม้ถง ไม่ใช่ของไทยครับ ของจีนใต้ๆ
แต่ไทยเอามาปลูกแล้ว ชื่อฝรั่งคือ เพาโลเนีย

ส่วนไม่ซานไทยมีทางเหนือสุดๆ ชื่อว่า สนหนามครับ
มีน้อยมาก ยินว่าอยู่ในเขคอนุรักษ์ ท่าทางจะหายาก
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:20:16:49 น.
  

ขอทรงพระเจริญ



ความหมายที่แท้จริงของเสื้อเหลือง
คือเป็นวันประสูติของในหลวง

แค่นั้นจริงๆ
โดย: พลังชีวิต วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:20:26:26 น.
  
อิมาอิมาก่อนคุณชัชชวนอีก เห็นแล้วตรงรี่มาทันทีค่ะ
ซาน คงหมายถึงภูเขา ต้นสนมักอยู่บนภูเขา เข้าใจถูกหรือเปล่าค่ะนี่
โดย: อิมาอิซัง วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:22:08:56 น.
  
ไม่เกี่ยวข้องกันครับ เป็นชื่อไม้สกุลสนอย่างหนึ่ง
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:22:12:47 น.
  
เข้ามารับความรู้ขั้นตอนการทำกู่ฉินค่ะ
กว่าจะได้แต่ละชิ้นต้องลงใจลงไปไม่ใช่เล่น
แบบนี้ไม่รักกู่ฉินจริงคงถอดใจไปแล้ว

คุณชัชเองเคยลงมือทำกู่ฉินมั๊ยคะ
คืนนี้ดึกแล้ว หลับสบาย ….ฝันดีนะคะ

โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:23:20:56 น.
  
พี่ก๋าเชื่อว่าไม่มีขั้นตอนไหนง่ายเลยสักขั้นตอน
มันเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นมากกว่าเครื่องดนตรีนะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 เมษายน 2552 เวลา:7:03:04 น.
  

เดี๋ยวนี้แปลเรียบเรียงเป็นภาษาไทยได้น่าอ่านมากนะชัช
เยี่ยมๆ

พี่กับเหล่าซือมาอ่านแล้วละ เก่งมากเลย

โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 11 เมษายน 2552 เวลา:19:30:08 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 เมษายน 2552 เวลา:7:26:55 น.
  
วิธีทำละเอียดประณีต เหมือนงานศิลปะเลยค่ะ แบบนี้กว่าจะฝึกเป็นช่างทำฉินให้เก่งได้คงใช้เวลานานน่าดูเลยนะคะ

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยค่ะ
โดย: haiku วันที่: 12 เมษายน 2552 เวลา:14:24:30 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สุขสันต์วันสงกรานต์
ขอให้สุขภาพดี และมีความสุขมากๆค่ะ



อาจเป็นเพราะเมื่อวานบ้านป้ากุ๊กฝนฟ้าให้ศีลให้พรจนชุ่มฉ่ำ..ชุ่มโชก..ท่วมท้นล้นทะลัก
เน็ตเลยเกิดอาการอืดทืดดดดด สุดท้ายสงบเงียบไม่อือไม่แอ
สั่งเดินหน้าถอยหลัง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ไม่ว่าสั่งอะไรไม่เอาทั้งนั้น
ผลที่สุดต้องหยุดจอด หลังจากได้ออกเยี่ยมไม่กี่บ้าน


คุณชัชอยู่ที่นี่คงไม่มีสงกรานต์ให้เล่นหรอกน๊า….…งั้นเรามานั่งเล่นสงกรานต์กันในคอมดีกว่าเน๊อะ


คมคำ : แก้ด้วยการเพิ่ม ยิ่งเสริมปัญหา
แก้ด้วยปัญญา ปัญหาจะลด


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 12 เมษายน 2552 เวลา:16:24:16 น.
  
สวัสดีครับน้องชัช


อย่าว่าแต่น้องชัชจะเป็นหวัดเลย
เมื่อวานผมก็เป็นครับ 5555
อากาซเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว
มีฝนตกอีกต่างหาก

วันเดียว 3 ฤดูเลย

นี่พี่ก๋าก็ยังมึนๆอยู่เลยครับ

ยังไงก็ขอให้หายป่วยเร็วๆนะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 เมษายน 2552 เวลา:6:56:58 น.
  
มาเยี่ยมเยียนวันปีใหม่ไทยจ้าชัช
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โดย: sawkitty วันที่: 13 เมษายน 2552 เวลา:13:54:28 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สุขสันต์วันสงกรานต์
ขอให้สุขภาพดี และมีความสุขมากๆค่ะ


ไม่ได้ออกไปเล่นน้ำ….ขอเล่นที่นี่แล้วกัน เน๊อะ

คมคำ : ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้น บอกถึงเวลาที่เหลือน้อยลง


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 13 เมษายน 2552 เวลา:20:04:34 น.
  
สวัสดีปีใหม่ไทยครับน้องชัช


พี่ก๋าดูข่าวมาก
หมิงหมิงมีอาการแบบนี้เลยครับ หุหุหุ






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 เมษายน 2552 เวลา:6:13:30 น.
  
สวัสดีวันครอบครัวจ้าชัช
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โดย: sawkitty วันที่: 14 เมษายน 2552 เวลา:6:36:39 น.
  



รักร่วมรวมใจ ผูกพันสายใย….ในวันครอบครัวค่ะ


สุขสันต์วันครอบครัวนะคะ


คมคำ : พลังรักจากครอบครัวคือพลังที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าพลังใด


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 เมษายน 2552 เวลา:21:39:34 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช

















โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:7:56:10 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช

หายเป็นหวัดรึยังครับ















โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:7:41:37 น.
  
ตามมาชมคะ หนึ่งตัวใช้เวลาสองปีเชียวหรือนี่
โดย: น้องผิง วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:10:15:32 น.
  
โหยยย....น้องชัช
เสื้อที่หมิงหมิงใส่ก็ทำที่เมืองจีนนั่นแหละครับ
ลองหาซื้อดูสิครับ


มีแน่นอน 555

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:13:38:05 น.
  


คนชนะได้ไปทุกอย่าง … จริงหรือ

มาเยี่ยมด้วยความคิดถึง
รักษาสุขภาพและอยู่กับสุขที่อิ่มเย็นนะคะ

คมคำ : ชัยชนะอาจก่อศัตรูผู้เจ็บใจขึ้นอย่างน้อยหนึ่งคน…..ในแต่ละสนามแข่ง


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:20:38:00 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมามการทำก่อนไปนอนจ๊ะ

โดย: อุ้มสี วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:23:05:59 น.
  
มาอรุณสวัสดิ์ยามเช้าจ้าชัช
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โดย: sawkitty วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:6:25:55 น.
  
หุหุหุ

น้องชัชไม่ลองคิดแบบเปลี่ยนมุม
บางทีถ้าน้องชัชใส่ชุดโดราเอมอนไปเดินเล่นในวิทยาลัย
เพื่อนอาจเยอะขึ้นนะครับ 555555






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:6:58:37 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช












โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:8:09:49 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin