มกราคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
15
16
17
18
19
21
22
24
25
27
29
30
 
 
All Blog
กู่ฉินกับเส้อ(瑟)
พอดีเห็นในเรื่องที่แล้วพี่ณัฐพูดถึงเรื่อง เส้อ ก็เลยเอามาเขียนซักหน่อย
ผมคิดว่าคงมีไม่กี่คนทีรู้จัก และหรือบางคนรู้จักก็อาจไม่เห็นเห็นภาพ และ "เสียง"

เส้อ นั้นเป็นพิณลักษณะเดียวกับกู่เจิง
แต่เส้อ "ไม่ใช่กู่เจิง"

ผมเคยอ่านบทความหนึ่งเรื่อง
"กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์
เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก
ในบทความมีประโยคที่บอกว่า พบกู่เจิงโบราณที่สุสานเจ้าหญิง
นั่นคือ "เส้อ" ครับ

หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า เส้อ หน้าตาเป็นยังไง แล้วต่างจากกู่เจิงยังไง
มาดูรูปกันเลยครับ


เส้อ


กู่เจิง

เห็นภาพก็พอจะรู้ความแตกต่างแบบคร่าวๆแล้วใช่มั้ยครับ

เส้อจะล่ำซำกว่ากู่เจิงมาก
กู่เจิงจะแสนสแลนเดอร์

เส้อมาตราฐาน มี ยี่สิบห้าสาย
กู่เจิงมาตราฐาน มี ยี่สิบเอ็ด สาย

ถ้าพูดถึงลักษณะทางกายภาพแบบง่ายๆละก็
จะสังเกตุว่า เส้อ หย่องจะแบ่งเป็นสองแถว
และรูปทรงเป็นสี่เหลียมผืมผ้าทื่อๆ
ส่วนกู่เจิง หย่องจะเรียงไปอย่างสวยงานแถวเดียว
และมีความโค้งเว้ามากกว่า

จุดเด่นของเส้ออีกที่หนึ่งคือทรงท้าย จะเห็นเป็นหมุดใหญ่ๆ
ถึงที่อัน ผุดขึ้นมา นั่นคือที่รั้งสายแบบโบราณครับ
เส้อบางตัวก็มีหมุดแค่สามอัน ขึ้นอยู่กับจำนวนสาย
กู่เจิงไม่มีครับ

แน่นอนว่าพอมีคนอ่านข้อความข้างต้นก็ต้องแย้งทันทีเลยว่า
ก็กู่เจิงมีวิวัฒนาการมากจากเส้อ
มันก็เครื่องเดียวกันแหล่ะ

แต่ผมไปอ่านเจอในกวีบทหนึ่ง บรรยายลักษณะของพิณคงโหว(ฮาร์ปจีน)
ไว้ว่า "ไม่ใช่ฉิน ไม่ใช่เส้อ ไม่ใช่เจิง โอบปบรัดดันสายใช้บรรเลง"
(เวลาบรรเลงคงโหวต้องโอบมาจากด้านหลังแบบฮาร์ปฝรั่ง)
จากกวีนี้แสดงให้เห็นว่า คนโบราณแบ่ง ฉิน เส้อ เจิง ไว้อย่างชัดเจน

เส้อนั้นในสมัยโบราณเป็นเครื่องดนตรีที่เอาไว้เล่นแอคคอมให้กับกู่ฉิน
ไม่ใช่เครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว
เส้อมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอๆกับกู่ฉิน
อาจจะพูดได้ว่าเกิดในช่วงเวลาเดียวกันก็ได้
เพราะบันทึกที่มี ก็โบ้ยให้เทพเจ้ารับผิดชอบอีกแล้วครับท่าน

ต่อมาเส้อก็ได้กลายเป็นดนตรีในราชสำนัก
แต่ไม่ได้เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นธรรมดา
เพราะเส้อมีขนาดใหญ่มาก และหนักอึ้ง
(อึ๊งจริงๆ เกือบยี่สิบกิโลกลัม)
ประชาชนไม่ประสงค์จะมีสะสมไว้เป็นของส่วนตัว
ย้านบ้านที เสียไปหนึ่งรอบเต็มๆ เพราะ เส้อ


เส้อในวงมโหรีราชสำนัก ราชวงศ์ชิง

พอไม่ถึงมือชาวบ้าน เส้อก็ค่อยๆหายไปจากวงดนตรีจีน
อน่นอนว่าคนในวัง ไม่มากเท่าประชนชนทั้งประเทศ
พอประชาชนทั้งประเทศไม่นิยม
เปลี่ยมราชวงศ์ เส้อ ก็หายไปในที่สุดในสมัยถัง
แต่ก็ยังมีมาโผล่ๆ บ้างในวงดนตรีโบราณ(เน้น)
วงดนตรีสมัยใหม่ ในสมัยนั้น แทบไม่พบ

ต่อมาศาสตราจารย์ติงเฉิงอวิ่น
แห่งวิทยาลัยดนตรีเสฉวน
ได้ร่วมกับภรรยา ศึกษาเกี่ยวกับเส้อในยุคชุนชิว
ที่ขุดค้นพบในสุสานต่างๆ
อาจารย์ติงบอกว่า อยากจะรู้
เมื่อฉินกับเส้อมาบรรเลงร่วมกัน
ผมจะออกมาเป็นยังไง

แล้วก็ได้ร่วมมือกับช่างทำเครื่องดนตรีผลิตเส้อออกมา
คืนชีวิตให้กับเส้ออีกครั้ง จบประสบความสำเร็จ
และแล้วก็คลอดออกมาเป็นอัลบัม
"ฉินเส้อร่วมบรรเลง"
เป็นอัลบัมแรกของโลกเลยทีเดียว

หลายคนอ่านถึงตรงนี้ก็เริ่มอยากฟังเสียงฉิน กับ เส้อ กันแล้ว
งั้นมาฟังกันเลยดีกว่า


ลองฟังเส้อ โซโล ก่อนครับ


เพลง เทวดา


เพลง ด่านหยางกวานสามท่อน


เพลง ประมงเมายาวเย็น


เพลงด่านภูพระจันทร์


เพลง บทสนทนาของชาวประมงและคนตัดฟืน



จบ

กันง่ายๆ



Create Date : 23 มกราคม 2551
Last Update : 24 มกราคม 2551 11:38:14 น.
Counter : 3049 Pageviews.

7 comments
  
ฟังๆๆๆ
โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:11:20:51 น.
  
นั่นไงครับ คนเล่นด้วยกันเป็นแฟนกันจริงๆ ซะด้วย ฮ่าๆๆๆๆ
ชัชเองก็เถอะ เมื่อไหร่จะมีคนมาบรรเลงเส้อให้ล่ะ?
โดย: ณัฐ IP: 124.121.14.228 วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:12:09:48 น.
  
เข้ามาอ่านเเละฟังครับ ตอนเช้าได้กาเเฟสักหน่อยเสียงบรรเลงที่ไพเราะ....เเจ่มใสขึ้นมาก
โดย: มหาสำลี วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:5:47:55 น.
  
รู้สึกว่าเส้อตามความเชื่อของคนจีนจะเกิดทีหลังฉินนะครับ แต่โบราณพอกัน
คำพูดว่า ฝูซีทำฉิน เสินหนงทำเส้อ แสดงว่าทั้งสองอย่างเกิดในยุคดึกดำบรรพ์ทั้งคู่ แต่ฉินเกิดก่อนเล็กน้อย แน่นอนว่าอันนี้ไม่มีใครพิสูจน์ได้ แต่ถ้าอนุมานจากตรรกะ เส้อมีหย่อง มันซับซ้อนกว่าหน่อยนึง น่าจะเกิดทีหลัง
โดย: ณัฐ IP: 124.122.202.90 วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:12:48:32 น.
  
เพราะอ่ะชอบทุกเพลงเลย เหมือนอยู่ในความสบายตัวเบาเลยอ่ะ....อู๊ยๆๆ ชอบ
โดย: พานจื่อเฉวียน IP: 61.19.227.2 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:41:11 น.
  
แวะมาทักทายค่ะ ตอนนี้ได้ฟังเพลง เทวดา กับเพลงด่านหยางกวานสามท่อนแล้ว

เพลงเทวดา ฟังต้นๆ เหมือนย่องๆ นะคะ แต่พอไปเรื่อยๆ แล้วเหมือนเพิ่มพลังงาน เลยค่ะ

ส่วนเพลงด่านหยางกวานสามท่อนนี่ ฟังครั้งแรกก็ติดหู เป็นเพราะมีเสียงเส้อที่ฟังหวาน สดใส ผสานเข้าไปด้วย ทำให้ฟังแล้วเหมือน เพื่อน ที่คุยกันถูกคอ แบบนั้น หรืออาจจะประมาณแบบ ที่คุณณัฐ แซว เหมือน หยิน มาเจอ หยาง

^^ ช่วงนี้ก็แวะเข้ามาฟังอยู่ค่ะ
โดย: แม่นางเตียว วันที่: 17 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:06:15 น.
  
เพลงแรกเบามาก
เสียงค่อนข้างเบา
แต่ไพเราะมากทีเดียว
เสียงสั้น ห้วน กระชับ

เพราะครับ
เพลงเทวดานี่เพราะเลย

ส่วนเพลงอื่นๆก็เพราะลดหลั่นกันไป

โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:15:35:02 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin