กุมภาพันธ์ 2551

 
 
 
 
 
1
2
5
6
7
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
กู่ฉินกับสมุดภาพคอเลคชั่น "กู่ฉินในพระราชวังต้องห้าม"
เร็วๆนี้ผมได้ซื้อสมุดภาพมาเล่มหนึ่ง
ชื่อว่า 故宫古琴 หรือแปลไทยว่า "กู่ฉินในพระราชวังต้องห้าม"
เป็นสมุดภาพสะสมกู่ฉินที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมาที่ถูกสะสมไว้ในพระราชวังต้องห้าม

รูปร่างเป็นงี้ครับ

หน้าปกครับ



ดูเปรียบเทียบกับมือเจ้าของ
มันหนักมากเลยครับ
ผมต้องแบกมันตลอดทาง



ด้านข้างครับ



เปิดมันออกมา



ป๊าด มีสองเล่ม



ข้างในเป็นกระดาษมันทั้งเล่มครับ
ส่วนนี้เป็นถาพสมัยราชวงศ์จิ้น ชื่อทำฉิน



กู่ฉินตัวแรกในเล่มครับ
มีชื่อเสียงที่สุด



โอ้ว มีวัดสัดส่วนกับ ซีทีแสกนด้วย



ถ่ายมาวิเคราะห์กันแบบมัมมี่เลย



ถ่ายตามส่วนงามๆ



ตัวนี้ก็ดังไม่แพ้กันครับ



เล่มสองครับ
เย็บแบบโบราณเลย



ทั้งเล่มจะเป็นโน๊ตเพลงหน้าหนึ่ง
กับอีกหน้าหนึ่งคือภาพวิวที่ทรงกับเนื้อหาในท่อนนั้น



หน้าตาโน๊ตกู่ฉินครับ



ปิดท้ายด้วย รูปกล่องเก็บ
และโตะที่ใช้บรรเลงกู่ฉินในวังครับ


จบ
กันง่ายๆ



Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 15:35:39 น.
Counter : 2917 Pageviews.

21 comments
  
เออนะ มี XRAY แบบมัมมี่

ชอบพวกสมุดภาพของจีนอะ
กระดาษ ภาพ จัดอาร์ต... สวยไปหมด
ราคาก็พอคบหาได้
โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:04:40 น.
  
มีตำราดีๆเก็บไว้วิเคราะห์แล้วซินะ อิอิ
โดย: ดา ดา วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:57:23 น.
  
จัดทําสวยจังเลย ชอบที่มีเพลง + ภาพวิวค่ะ ..เผื่อฟังแล้วก็หลุดเข้าไปในรูป

โน๊ตกู่ฉินนี่ เป็นการบอกเลยนะ ว่าผู้ไม่รู้ภาษา..อย่าได้แหย๋ม

โดย: เป๋อน้อย วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:18:04 น.
  
กลับมาชมเช่นเคยค่ะ
ขอบคุณที่นำมาฝาก
โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:29:09 น.
  
เอาน้ำมันมวยนวดข้อมือหน่อยมั้ยคะ
โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:46:45 น.
  
ตามมาชมค่อค่ะ
ชอบดู และก็ชอบฟังด้วยค่ะ
โดย: whitelady วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:22:51 น.
  
โดย: มหาสำลี วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:48:11 น.
  
ให้ค้างคาวบินออกเรียบร้อยค่ะ
โดย: เป๋อน้อย วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:27:21 น.
  
เห็นชัดเจนว่า โน้ตสมัยโบราณที่ยังไม่ได้เรียบเรียงใหม่ จะให้กดฮุยแปดแทนเจ็ดเก้า
และนอกจากนั้นอาจมีอย่างอื่นที่ประมาณตำแหน่งต่างออกไปอีก ที่เห็นชัดที่สุดคือฮุยแปดกับเจ็ดเก้านี่แหละ ลองตรวจสอบโน้ตโบราณดู
เป็นไปได้ไหมครับว่า ในเมื่อยังไม่มีมาตรฐานวัดเสียงสูงต่ำถึงขนาดปัจจุบัน ก็ใช้หูฟังเอาแบบคร่าวๆ ในขณะที่ปัจจุบันมีอุปกรณ์วัดอย่างละเอียด จึงรู้ว่าเสียงโน้ตเต็มตกที่เจ็ดเก้า ไม่ใช่ฮุยแปด แต่คนโบราณเข้าใจว่าแปด และเมื่อก่อนไม่มีการเทียบโน้ต กง ซาง เจวี๋ย จื่อ อวี่ กับคีย์ฝรั่งแบบในปัจจุบัน ดังนั้น บางทีหากกดแปดจริงๆ ก็คงเป็นที่ยอมรับได้ (โน้ตโบราณใช้แปดตลอดเวลาจริงๆ จนใหม่ขึ้นมาบ้างแล้ว จึงใช้เจ็ดเก้าแทนแปด)
โดย: ณัฐ IP: 124.121.11.85 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:2:27:10 น.
  

ความผิดพลาดตรงนี้เกิดจากสำนักกู่ฉินที่เกิดขึ้นมากมาย
แต่ละสำนักก็มีการตั้งตามใจฉัน แน่นอนว่าก็เพี้ยนเป็นธรรมดา เหมือนดนตรีไทยไงครับ ดนตรีไทยทุกวันนี้ถ้าเอาทางฝรั่งมาเทียบแล้วตอบไม่ได้เลยว่าคตีย์อะไรเพี้ยนยกชุด แต่นั่นก็เป็นลักษณะเด่นของเพลงสำเนียงไทย
มาต่อเรื่องกู่ฉิน
เรื่องฮุยแปด หรือเจ็ดเก้านี่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของผู้บรรเลงครับ โน๊ตกู่ฉินมีหน้าที่แค่บันทึกเท่านั้น แน่นอนว่าบันทึกย่อมมีการคลาดเคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะคลาดเคลื่อนที่ตัวเครื่องดนตรีเองหรือตัวโน๊ตเพลง แต่ผู้บรรเลงก็อาศัยโน๊ตเป็นเพียงไกด์ครับ และแน่นอนว่าเวลาไปเที่ยว มันต้องมีบ้างแหล่ะครับที่ไกด์มั่ว และด้วยดุลพินิจส่วนบุคคลแล้ว ทำให้เราใช้เหตุและผลสรุปออกมาเองได้ แต่ต่อมากู่ฉินถูกควบคุมโดยทฤษฎีฝรั่งมากขึ้น ทุกอย่างต้องชัดเขจและถูกต้อง จึงมีการแก้ไขเกิดขึ้น ดังนั้นความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องใส่ใจอะไรนัก มันก็แค่เอกสาร

ส่วนเรื่องระบบโน๊ตห้าเสียง(กง ซาง ฯลฯ) มีตั้งแต่สมัยชุนชิวแล้วครับ และระบบสิบสองเสียง ดนตรีจีนก็คิดได้ก่อนฝรั่งเป็นพันๆไปแล้ว ระฆังราวในสุสาน แต่ละชุดมีแค่ห้าใบ แต่ตีได้สิบสิงเสียง ฝรั่งยังอึ้ง แต่โน๊ตกู่ฉินเพิ่งเกิดแค่พันกว่าปีเท่านั้น) ทั้งๆที่ กู่ฉินเกิดมาสามสี่พันปีแล้ว แต่บอกแล้วว่ากู่ฉิน คือเครื่องเนตรีที่ตามใจฉัน ฉันชอบแบบไหนก็ตั้งสายแบบนั้น ฉนั้นความผิดพลาดตรงนี้ไม่เรื่องแปลกเลยครับ
โดย: ชัช IP: 222.28.81.160 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:05:31 น.
  
เกี่ยวกับเรื่องระบบโน้ตห้าเสียง ของจีนนั้นโบราณมากและยังเป็นพื้นฐานให้โน้ตของชนชาติใกล้เคียงด้วย แต่ทราบว่าเสียงใหญ่ห้าเสียงนั้น ไม่ได้เป็นทั้งหมดของดนตรีจีนแน่นอน เพียงแต่ว่าเสียงที่เกิดนอกเสียงใหญ่ห้าเสียงนั้นมีน้อย ความเห็นแบบเดาสุ่มของผม อาจจะเป็นว่าจีนถือว่าเสียงใหญ่ห้าเสียงเป็นเสียงดนตรีบริสุทธิ์ ดังนั้นเสียงใหญ่ห้าเสียงจึงปรากฎเกือบเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของเพลงฉินโดยมาก (ไม่คอนเฟิร์ม ผมทราบเฉพาะที่เคยฟังผ่านมา ราวๆ ร้อยกว่าเพลง) ส่วนเสียงที่เกิดขึ้นระหว่างนั้นมักเกิดขึ้นในสำเนียงท้องถิ่น เช่นพวกเพลงกว๋อเฟิง หรือการสื่อสารอารมณ์เฉพาะบางอย่าง หรืออีกทีก็คือการเลียนเสียงเครื่องดนตรีบางชนิด เพราะว่าแม้แต่ในเพลงกู่ฉิน ซึ่งส่วนมากจะมีเสียงใหญ่ห้าเสียงตลอด ก็ยังมีเสียงกึ่งกลางแทรกอยู่บ้าง แม้จะจำนวนไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้ที่เด่นๆ มี โยวหลาน ต้าหูเจีย ขงจื่อตู๋อี้ กว่างหานชิว อูเยี่ยถี (เพลงอูเยี่ยถีมีเพียงไม่กี่ตัว) เป็นต้น และยังมีตัวอย่างอื่นอีกมากมาย แม้แต่แอบเกิดแค่ตัวเดียวสองตัวในเพลงใหญ่ๆ
ความเก่าแก่ของเพลงโยวหลาน ทำให้เราสรุปได้ว่า ดนตรีจีนมีเสียงย่อยอีกมากมาตั้งแต่โบราณแล้ว จึงไม่ได้เป็นดนตรีที่หยาบอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพียงแต่ได้จำแนกเสียงใหญ่ออกเป็นห้า ต่างจากตะวันตกที่จำแนกเป็นเจ็ด แล้วค่อยใส่ชาร์ปแฟลตในระหว่างนั้นเอา การเทียบโน้ต กง ซาง เจวี๋ย จื่อ อวี่ กับคีย์ฝรั่งในปัจจุบัน เข้าใจว่าทำเพื่อให้ดนตรีจีนมีมาตรฐานมากขึ้น บรรเลงร่วมกับดนตรีชาติอื่นๆ (ก็ฝรั่งนั่นแหละ)ได้แบบไม่เพี้ยนมาก แล้วแน่นอนว่า เมื่อเทียบเสียงทั้งระบบ กู่ฉินก็โดนด้วย เพราะดนจรีจีนทุกชนิดใช้ระบบเสียงนี้ไม่ว่าจะกู่เจิง ผีผา เอ้อร์หูฯลฯ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เสียงอื่นที่เกิดในระหว่าง กง ซาง เจวี๋ย จื่อ อวี่ ผมไม่เคยได้ยินชื่อเลยครับ เพราะศึกษาไม่เพียงพอ อยากถามว่าเขามีวิธีเรียกโน้ตพวกนั้นยังไงครับ จะใช้สัญลักษณ์อะไรมาแทน เช่นถ้าเราพูดถึงเพลงโยวหลาน พวกเสียงกึ่งๆ จำนวนมากที่เกิดในเพลง จะบอกว่าเสียงอะไรดี
โดย: ณัฐ IP: 124.121.11.85 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:53:15 น.
  
เกือบลืมพูดถึงเพลงสำเนียงแปลกอีกเพลงนึง คือเพลง "กูก่วนอวี้เสิน" ครับ
เพลงนี้มีสำเนียงฟ่านอินที่ฟังแปลกหู ออกคล้ายๆ เพลงลัลลาบายของฝรั่ง และตัวเพลงเองก็เกิดสำเนียงนอกห้าเสียงใหญ่เยอะมาก ในบล็อกนี้ก็มี ทุกท่านลองไปฟังกันนะครับ...
โดย: ณัฐ IP: 124.121.11.85 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:57:35 น.
  
Photo Sharing and File Hosting at Badongo.com
<
<
วันนี้เป็นเเรงใจให้นักฟุตบอลไทยด้วยครับ ไทยเเลน์...สู้
โดย: มหาสำลี วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:35:46 น.
  



“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้“ ปีใหม่นี้ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ร่ำรวยๆนะคะ ^^
โดย: น้องผิง วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:56:28 น.
  
รีเควสท์เพลงได้ไหมคร้าบ
อยากฟังเพลง "จวงโจวฝันผีเสื้อ"(庄周梦蝶)เคยฟังแล้วแต่ก็จำทำนองไม่ได้แล้ว มันซับซ้อนอยู่
ช่วยๆ หามาลงบล็อกก็ดีนะ เพลงนี้แปลกดี อยากให้ลองฟังกันหลายๆ คน
ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะรู้สึกจะหายาก ต้องบอกว่าเป็นเพลงสำเนียงประหลาดมาก ดูโน้ตแล้ว ไม่แน่ใจว่าตั้งสายยังไง
โดย: ณัฐ IP: 124.121.11.85 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:20:53 น.
  


หยุดตรุษจีน ไม่รวมแก๊งค์นักเรียนต่างชาติทําอาหารกันเหรอคะ?

กรุงเทพเหตุการณ์ปกติ - ร้านเปิดปกติ รถติดปกติ บริษัทก็เปิดปกติ ...ก็เลยมานั่งปั่นงานเหมือนเดิม
โดย: เป๋อน้อย วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:25:08 น.
  
เล่มใหญ่มากเลยค่ะ
รูปเล่มดูสวยสง่าจัง
โดย: ดอกคูณริมฝั่งโขง วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:44:24 น.
  
สมุดภาพดูน่าสนใจจังเลยคะ ^^
โดย: น้องผิง วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:59:10 น.
  
ได้ยินชื่อ " เครื่องดนตรี " ชิ้นนี้มานาน แต่ไม่เคยได้สัมผัสจริงๆเสียที

คงได้มีโอกาสสักครั้งกับ " เสียง " เครื่องดนตรี ที่ดูลึกลับและน่าชวนสัมผัส

ขอบคุณมากครับ
โดย: crazypaph วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:29:44 น.
  
หูย อยากได้มั่ง ไปหามาจากที่ไหน ซีตันมีมั้ย
โดย: พี่ก้อย IP: 203.131.210.84 วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:13:52:49 น.
  
พี่ก๋าไปเมืองจีนทีไร
ขนหนังสือกลับมาทุกครั้ง
เคยมีครั้งนึงเฉพาะน้ำหนักหนังสือ 20 กิโล
ไม่รู้แบกมาได้ยังไง 5555

หนังสือคุณภาพดี ราคาถูก
และรูปแบบกล่อง รูปเล่มสวยงามมากครับ

พูดแล้วก็อยากไปเที่ยวเมืองจีนอีก 5555

โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:7:35:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin